ตายแล้วสูญ หรือ มีชาติหน้าต่อ โลกหน้า เทวดา บุญ บาป กฏแห่งกรรม มีจริงหรือไม่


ผู้ที่เชื่อในลัทธิวัตถุนิยมจึงใช้ชีวิตอย่างสุดโต่งไปในการแสวงหาความสุขจากการสนองตัณหา หรือการกิน ดื่ม สืบพันธุ์ หรือกิน กาม เกียรติ และการเสพบริโภคอย่างเต็มที่ ไม่คำนึงถึงคุณค่าทางจิตใจ

• ชีวิตภายหลังความตาย

• คนตายแล้วไปเกิดได้อย่างไร 

เรื่องคนตายไปแล้วจะไปเกิดหรือไม่นั้น มีความเข้าใจกันไปหลายกระแส บางท่านก็เข้าใจว่าร่างกายของคนเรานี้ประกอบด้วยรูป หรือวัตถุ ดังนั้นเมื่อคนตาย ร่างกายก็ฝังจมดินไปไม่สามารถจะไปเกิดได้อีกบางท่านเข้าใจว่าตายแล้วก็ต้องไปเกิดอีก ในบรรดาผู้ที่เข้าใจว่าตายแล้วไปเกิดได้นี้ ก็มีความเข้าใจแตกแยกออกไปมาก เช่นผู้ตายจะต้องไปอยู่สวรรค์หรือในนรก ก็แล้วแต่ผลแห่งการกระทำของตน และสวรรค์หรือนรกนั้นได้มีผู้สร้างขึ้นสำหรับลงโทษ หรือให้รางวัลตลอดนิรันดร โดยไม่กลับมาเป็นมนุษย์อีก บางท่านเข้าใจว่าคนที่ตายแล้วต้องไปเกิดเป็นคนเท่านั้น ไปเกิดเป็นสัตว์ไม่ได้ แต่บางท่านว่าไปเกิดเป็นคนหรือเป็นสัตว์ก็ได้ บางคนเข้าใจว่าจิตหรือวิญญาณหรือเจตภูตนี้เป็นอมตะ เมื่อร่างกายของคนแตกดับไปแล้ว วิญญาณก็จะออกจากร่างล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่ บางคนที่ศึกษาวิชาทางโลกทางวิทยาศาสตร์มามากๆ ก็เข้าใจว่าถ้าบุคคลใดมีลูกเต้าสืบต่อไปอีกเรื่อยๆ ก็จะไปเกิดได้อีกตามหลักของชีววิทยา เพราะลูกทุกๆ คนนั้นสืบต่อมาจากเซลล์ของพ่อแม่นั่นเอง เมื่อสืบต่อไปหลายๆ ชั่วแล้ว ชีวิตเดิมก็จะปรากฏขึ้นมาอีก แต่บางคนกลับมีความเห็นว่า ร่างกายนั้นประกอบไปด้วยรูปหรือวัตถุ ความรู้สึกนึกคิดนั้นเป็นหน้าที่ของมันสมอง ซึ่งได้วิวัฒนาการทีละน้อยๆ มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ จนมีอำนาจในการนึกคิดและรู้สึกได้ แต่เมื่อตายแล้วก็เป็นอันหมดเรื่องกัน ไม่สามารถจะไปเกิดได้อีกเลย 

เรื่องนี้เป็นเรื่องมากคนมากความคิดเห็น แม้เจ้าของลัทธิศาสนาใหญ่ๆ หลายศาสนา ก็มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน เพราะเรื่องคนเกิดหรือคนตายเราเห็นได้ง่ายๆ แต่เรื่องตายแล้วไปเกิดได้หรือไม่ เป็นเรื่องลึกลับ เป็นปัญหาโลกแตกมาจนบัดนี้ 

สำหรับคำสอนของพระพุทธศาสนานั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่า คนตายแล้วไปเกิดอีกได้ แต่จะไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเป็นสัตว์ก็ได้ แต่อย่างไรก็ดี พระองค์มิได้ทรงสอนไว้เฉยๆ ลอยๆ ว่า คนตายแล้วไปเกิดได้เท่านั้น หากแต่ได้ทรงแสดงรายละเอียดในเรื่องนี้ไว้เป็นขั้นเป็นตอนอย่างพิสดาร ถึงวิธีที่ไปเกิดได้อย่างไร? มีอะไรบ้าง? ไปอย่างไร? เกิดอย่างไร? พระองค์ทรงสอนไว้ยากง่ายเป็นชั้นๆ แล้วแต่วุฒิของบุคคลผู้ใดสนใจศึกษา มีพื้นฐานมาดี ก็สามารถเข้าใจได้ละเอียดขึ้น 

แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนว่า คนตายแล้วไปเกิดก็ดี แต่ความคิดเห็นของศาสดาอีกหลายท่านที่มีตรงกันในหลักใหญ่ๆ ของพระพุทธศาสนาเพียงว่า “เกิดอีก” เท่านั้น เช่น ศาสนาพราหมณ์ถือว่า คนตายแล้วจิตหรือวิญญาณก็ล่องลอยออกจากร่างไปปฏิสนธิใหม่ เหตุนี้จิตหรือวิญญาณก็เป็นอมตะไม่มีวันตาย เมื่อจากคนนี้ก็ไปสู่ยังคนนั้น เมื่อจากคนนั้นก็ไปสู่ยังคนอื่นๆ ต่อไปตามลำดับ เหมือนคนอาศัยอยู่ในบ้าน เมื่อบ้านพังลงแล้วจะอาศัยอยู่ไม่ได้ ก็ต้องเดินทางไปหาบ้านอยู่ใหม่ต่อไป แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ตรงกันข้าม พระองค์สอนว่า จิตหรือวิญญาณนั้นมิได้เป็นอมตะไม่มีวันตาย หากแต่เกิดดับสืบต่อกันไปไม่ขาดสาย และจิตก็ล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่ไม่ได้เลย จะเทียบคนย้ายจากบ้านที่จะพังหาได้ไม่ ยิ่งกว่านั้น ความเข้าใจที่ว่าการไปเกิดได้ ก็ไปแต่จิตหรือวิญญาณเท่านั้น ก็เป็นความเข้าใจผิด เพราะยังมีรูปอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า กรรมชรูป คือรูปอันเกิดแต่กรรม ก็ร่วมในการปฏิสนธิด้วย สำหรับข้อนี้เป็นอีกข้อหนึ่งที่ท่านจะได้เห็นความพิสดารน่าอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา เพราะไม่ว่าใคร หรือศาสดาองค์ไหนที่เห็นว่า คนตายแล้วไปเกิดได้ ก็จะต้องไปแต่จิตหรือวิญญาณเท่านั้น ทั้งมิได้แสดงการตายการเกิดอย่างไรให้ชัดแจ้ง แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่า นอกจากจิตไม่ใช่ล่องลอยไปแล้ว รูปบางชนิดก็ไปเกิดได้ ส่วนจะไปได้อย่างไร? รูปอะไรบ้าง? มีเหตุผลหลักฐานข้อเท็จจริงอย่างไรนั้น ขอได้โปรดฟังต่อไป 

Ref.  
เฉลิมศักดิ์1http://pantip.com/topic/30270664

พระเจ้าปายาสิ เป็นเจ้าเมืองเสตัพยนคร ในแคว้นโกศล พระองค์ทรงเป็นนักคิด นักปรัชญาคนสำคัญคนหนึ่งของยุคนั้น เหตุการณ์ที่พระองค์ได้ทรง “โต้วาที” กับพระกุมารกัสสปะสันนิษฐานกันว่าน่าจะเกิดขึ้นภายหลังพุทธปรินิพพานประมาณ ๕ ปี จากการแปลปายาสิราชัญญสูตรโดยตลอดทำให้ทราบว่า พระเจ้าปายาสิไม่เพียงเป็นผู้ถือลัทธิ “นัตถิกทิฏฐิ” (Nihilism) อย่างคนธรรมดาๆทั่วไปคนหนึ่งเท่านั้น หากแต่พระองค์ทรงเป็นบุคคลระดับแกนนำคนหนึ่งของลัทธินี้ทีเดียว เพราะข้อโต้แย้งของพระองค์บอกอยู่ในทีว่า ได้ทรงทดลองวิธีการต่างๆ ตามทฤษฏีแห่งลัทธินี้กล่าวไว้อย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุมแล้ว จึงได้ปลงใจเชื่อถือ ด้วยเหตุนี้ เมื่อพระองค์ได้ทรงพบกับพระกุมารกัสสปะถ้อยปุจฉาของพระองค์จึงคมคายมิใช่น้อย

ลัทธินัตถิกทิฏฐิ กล่าวโดยเนื้อหาก็คือปรัชญาจากการมีรากฐานอยู่ก่อนแล้วในระบบความคิดความเชื่อเดิมของสังคมอินเดียหากเทียบกับลัทธิปรัชญาตะวันตกนัตถิกทิฏฐิก็คือปรัชญาวัตถุนิยม (Mate-rialistic philosophy) ซึ่งผู้ศึกษาปรัชญาสายตะวันออกและตะวันตกย่อมจะรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว
หลักการทั่วไปของลัทธินัตถิกทิฏฐิ หรือปรัชญาวัตถุนิยมของตะวันตก(Materialistic philosophy) มีเนื้อหาสอดคล้องกันตรงที่ต่างยอมรับว่าโลกและชีวิตเป็นผลผลิตของการรวมกันอย่างลงตัวของวัตถุหรือสสาร ไม่มีจิตวิญญาณที่เป็นนามธรรม ความจริงมีอยู่เฉพาะในโลกแห่งวัตถุและความจริงนี้ต้องพิสูจน์ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัสเท่านั้น ไม่มีความจริงอื่นนอกเหนือไปกว่านี้

แต่พระพุทธศาสนากล่าวว่า ความจริงไม่ได้มีอยู่เฉพาะในโลกแห่งวัตถุหรือสสารเท่านั้น ยังมีความจริงอีกมากมายที่เรามองไม่เห็น พิสูจน์ไม่ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ แต่อาจพิสูจน์และสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสที่ ๖ (ESP = Extra Sensory Perception) คือจิตหรือใจ   เพิ่มคุณภาพจิต.doc

เมื่อวัตถุนิยมปฏิเสธความจริงทางนามธรรม ก็เท่ากับปฏิเสธเรื่องบุญ บาป ความดี ความชั่ว กฏแห่งกรรม เทวดา พระนิพพาน และพระอรหันต์ผู้รู้แจ้งพระนิพพานด้วย การปฏิเสธบุญบาป เป็นต้น ก็เท่ากับเป็นการปฏิเสธระบบคุณค่าหรือกฏเกณฑ์ทางศีลธรรมจริยธรรมที่ทำให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบร่มเย็นไปด้วยโดยปริยาย

ผู้ที่เชื่อในลัทธิวัตถุนิยมจึงใช้ชีวิตอย่างสุดโต่งไปในการแสวงหาความสุขจากการสนองตัณหา หรือการกิน ดื่ม สืบพันธุ์ หรือกิน กาม เกียรติ และการเสพบริโภคอย่างเต็มที่ ไม่คำนึงถึงคุณค่าทางจิตใจ ให้ความสำคัญต่อวัตถุและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเงิน รถ บ้าน กามารมณ์ เป็นต้น ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่อาจถือเอาเป็นสรณะที่สามารถให้คำตอบสุดท้ายกับชีวิตได้แทบทั้งหมด กล่าวโดยรวมคือสนใจโลกียสุขมากกว่าจะแสวงหาโลกุตรสุขที่อยู่เลยพ้นขึ้นไปจากสุขทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕

เมื่อกล่าวโดยเคร่งครัดลัทธิวัตถุนิยมของพระเจ้าปายาสิจึงไม่ได้หายไปจากความคิดความเชื่อและวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมปัจจุบัน หากแต่ได้คลี่คลายขยายตัวมาอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมิ่งนักในนามของลัทธิวัตถุนิยม บริโภคนิยม ที่กำลังแผ่อิทธิพลครอบงำไปทั่วโลกอยู่ในเวลานี้นั่นเอง 


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=6765

หมายเหตุ   โลกเราปัจจุบันนี้จึงมีแต่ความวุ่นวายยุ่งเหยิง  โลกของนักบริโภคหรือบริโภคนิยม

หลายปีที่ผ่านมานักปรัชญาทั่วโลกก็ต่างหาวิธืแก้ไขจนพบ เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง อันเป็นทางออกจากหายนะU.N.จึงมอบรางวัลแก่ในหลวงอย่างที่ทราบกันแต่ก็มีน้อยคนที่ปฎิบัติได้จริง

The Sufficiency Economy is an approach to life and conduct applicable at every level, from the individual through the family and community, to the management and development of the nation. This philosophy promotes a middle path based on three components, namely moderation, reasonableness and self-immunity leading towards the development of a more resilient and sustainable economy. It also seeks to generate outcomes that are beneficial to the development of the country in order to better cope with the challenges arising from globalization and other changes in today’s society. In 2007, UNDP published the “Thailand Human Development Report: Sufficiency Economy and Human Development”.

หมายเลขบันทึก: 530737เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2013 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มีนาคม 2013 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

* น่าสนใจมากค่ะ....

* มนุษย์และสัตว์...ตายแต่กายตามความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร...หากแต่จิตเดิมยังสถิตย์อยู่ เพื่อรอเกิดใหม่ตามกรรมและกิเลส...

* ตามหลักแห่งพุทธวิถีจึงมุ่งเน้นการหลุดพ้นจากเวียนว่ายตายเกิด ด้วยการปฏิบัติธรรม เพื่อระงับกรรมและกิเลส... 


มนุษย์เราแต่ละคน ถ้านำเอากระดูกชีวิตที่ผ่านมากองรวมกัน จะเท่ากับภูเขาขนาดย่อมๆ

ภัยจากวัฏฏะจึงน่ากลัว เพราะถ้าโชคดีมีบุญก็ได้เกิดเป็นมนุษย์ ทำไม่ดีบุญไม่พอก็กลายเป็นสัตว์หรืออยู่ในอบายภูมิ

ดังนั้น เราจึงไม่ควรประมาท พึงรักษา ศีล ๕ หมั่นทำบุญ เพื่อจะได้กลับมาเป็นมนุษย์อีก

แต่ถ้าเข้าใจและอยากพ้นจากวัฏฏะสงสารก็ต้องเริ่มฝึกการปฏิบัติ สมถะและวิปัสสนา กรรมฐาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท