หมากฝรั่ง_ทำเราเก่งขึ้น


 

Menshealth ตีพิมพ์เรื่อง 'Boost your athletic performance in 10 seconds'
= "เล่นกีฬาให้เก่งขึ้นใน 10 วินาที", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ทีมวิจัยญี่ปุ่นทำการศึกษาใหม่ในกลุ่มตัวอย่าง 17 คน (ตีพิมพ์ใน Brain and Cognition) พบว่า การเคี้ยวหมากฝรั่ง (gum), เมล็ดทานตะวัน (sunflower seeds) หรือฟันยาง (mouth guard แบบที่นักมวยใช้) มีส่วนทำให้ระบบประสาททำงานได้เร็วขึ้น


การศึกษานี้พบว่า การเคี้ยวทำให้ระบบประสาททำงานได้ดีกว่าตอน "ปากว่าง (empty-mouthed)" หรือไม่มีอะไรอยู่ในปากดังนี้

  • ปฏิกริยาตอบสนอง (reaction time) เร็วขึ้น = 7% = 36 มิลลิวินาที = 36/1,000 วินาที
  • ความรู้สึกตื่นตัว (alertness) ดีขึ้น

กีฬาหลายอย่างใช้ทักษะในการตอบสนองอย่างรวดเร็ว เช่น การขว้างลูกเบสบอลไปยังฝ่ายรับมักจะใช้เวลาน้อยกว่า 0.5 วินาที = 500 มิลลิวินาที ฯลฯ

อะไรที่ทำให้นักกีฬาตอบสนองได้เร็วขึ้น น่าจะทำให้มีความได้เปรียบสูงขึ้น

ดร.โยชิยูกิ ฮิราโนะ จากมหาวิทยาลัยชิบะ ญี่ปุ่น อธิบายว่า การเคี้ยวอาจจะทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น โดยไปกระตุ้นสมองส่วนสั่งการกล้ามเนื้อ (premotor cortex)

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การเคี้ยวทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เลือดสูบฉีดได้ดีขึ้น

การศึกษานี้พบว่า สมองจะทำงานได้ดีขึ้นหลังเริ่มเคี้ยวหมากฝรั่ง 10 วินาที และจะทำงานได้ดีหลังหยุดเคี้ยวไปอีก 15 นาที

ข้อควรระวังในการเคี้ยวหมากฝรั่งได้แก่

(1). หมากฝรั่งส่วนใหญ่มีน้ำตาล > ทำให้คนเราได้รับน้ำตาลเพิ่มขึ้น

(2). หมากฝรั่งชนิดน้ำตาลเทียม > อาจทำให้คนบางคนท้องอืด แน่นท้อง หรือท้องเสียได้ โดยเฉพาะถ้ากินเข้าไปมากๆ

(3). เคี้ยวหมากฝรั่งแรงๆ, เคี้ยวนาน หรือเคี้ยวบ่อยเกินไป เพิ่มแรงกดต่อฟัน โดยอาจทำให้วัสดุอุดฟันจะเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

วิธีเคี้ยวหมากฝรั่งที่น่าจะดี คือ เคี้ยวเบาๆ และถ้าเคี้ยวไปเดินไป น่าจะทำให้ได้ออกแรง-ออกกำลังไปในตัว

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ


                                                                         

[ Twitter ]

  • Thank Menshealth > http://news.menshealth.com/chewing-athletic-performance/2013/02/24/?cm_mmc=DailyDoseNL--1226202--03112013--BoostAthleticPerf--link
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 19 มีนาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

 


 

 

 
หมายเลขบันทึก: 530694เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2013 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มีนาคม 2013 06:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท