กรอบแนวคิดวิถีทางความเจ็บป่วย (Trajectory Framework)


กรอบแนวคิดวิถีทางความเจ็บป่วย (Trajectory Framework)
            จากกรอบแนวคิดความเจ็บป่วยเรื้อรังในปี ค.ศ.1960, ค.ศ.1970 ของ Strauss และเพื่อนร่วมงาน ได้มีการพัฒนาแนวคิดวิถีทางความเจ็บป่วยเพิ่มเติมในปี ค.ศ.1980 โดย Corbin และ Strauss

การพัฒนากรอบแนวคิดนี้เพื่อให้พยาบาลควรได้รับ
1. ความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์การเจ็บป่วยเรื้อรังของผู้ป่วย
2. รวบรวมบทความเกี่ยวกับการปฏิบัติการเจ็บป่วยเรื้อรังที่มีอยู่
3. จัดหาทิศทางการสร้างแนวทางการปฏิบัติการพยาบาล, การสอน, วิจัยและการสร้างนโยบาย 

               วิถีทางความเจ็บป่วย ถูกอธิบายว่าเป็น ช่วงเวลาของการเจ็บป่วยที่ใช้เวลานานมากๆ รวมทั้งการปฏิบัติตนของผู้ป่วย ครอบครัวและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่จะบริหารช่วงเวลาที่เกิดการเจ็บป่วย  วิถีทางความเจ็บป่วย ถูกกำหนดโดยพยาธิสรีระวิทยา, การเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพ แต่ว่ามีกลยุทธ์ที่สามารถกำหนดรูปแบบวิถีทางความเจ็บป่วยของภาวะใกล้ตายโดยผู้ป่วย ครอบครัวและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

วิถีทางความเจ็บป่วยจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคลถึงแม้ว่าจะเกิดโรคเหมือนกัน, นำไปอธิบายลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล

ข้อสรุปของวิถีทางความเจ็บป่วยจะถูกเปลี่ยนหรือว่าโรคถูกรักษา วิถีทางความเจ็บป่วยอาจจะถูกกำหนดรูปแบบหรือถูกเปลี่ยนแปลงโดยการกระทำของผู้ป่วย ครอบครัว

วิถีทางของโรคจะคงที่, ความรุนแรงของโรคลดลงและอาการแสดงถูกควบคุมดีขึ้นภายในรูปแบบนี้

ระยะต่างๆของประสบการณ์การเจ็บป่วยเรื้อรังของผู้ป่วยวิถีทางความเจ็บป่วยมี 9 ระยะ และถึงแม้ว่าวิถีทางความเจ็บป่วยสามารถอธิบายเป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่อง แต่ว่าวิถีทางความเจ็บป่วยไม่ได้ดำเนินเป็นเส้นตรง สามารถย้อนกลับไประยะแรกได้ หรือว่าบางช่วงมีการยืดขยายของเวลามากกว่าส่วนอื่นๆ
ความหมายอื่นๆที่ใช้กับรูปแบบนี้ คือ ประวัติบุคคล (พฤติกรรมด้านสุขภาพ) ซึ่งประกอบไปด้วย ประสบการณ์การเข้าโรงพยาบาล, วิธีจัดการที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น, ความเชื่อเกี่ยวกับความเจ็บป่วยและประสบการณ์ในชีวิตอื่นๆ

ระยะเริ่มแรกของรูปแบบวิถีทางความเจ็บป่วย คือ Pretrajectory phase หรือ ระยะการป้องกัน ในระยะนี้วิถีทางความเจ็บป่วยยังไม่เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามมีปัจจัยทางพันธุกรรม หรือพฤติกรรมวิถีทางการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดความเสี่ยงของคนต่อภาวะเรื้อรังของโรค ตัวอย่าง เช่น คนอ้วน, ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจของครอบครัว, ไขมันในเลือดสูงและการไม่ออกกำลังกาย
ระยะTrajectory phase เกิดอาการและอาการแสดงของโรคปรากฏและการวินิจฉัยโรคเกิดขึ้น บุคคลเริ่มจัดการกับปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น
ระยะ Stable phase อาการแสดงความเจ็บป่วยอยู่ภายใต้กาควบคุมและจัดการ โดยการจัดการ/ดูแลระดับปฐมภูมิเกี่ยวกับโรคจะเริ่มเกิดขึ้นที่บ้าน
ระยะ Unstable phase คือ ระยะขาดความสามารถในการรักษา/ควบคุมอาการที่เกิดขึ้น
ระยะ Acute phase คือ เกิดความรุนแรงและอาการแสดงที่ไม่สามารถบรรเทา หรือเกิดอาการแทรกซ้อนของโรค
ระยะ Crisis phase คือ เกิดภาวะฉุกเฉินหรืออยู่ในสถานะชีวิตถูกคุกคามและต้องการการรักษาที่เร่งด่วน
ระยะ Comeback คือ เป็นการแสดงการย้อนกลับของความเจ็บป่วยเรื้อรังกลับมาอย่างทีละนิดและยอมรับว่าเกิดการเจ็บป่วยและอาการแสดง
ระยะ Downward phase คือ เป็นลักษณะที่มีภาวะเพิ่มขึ้นของการทดถอย, ความพิการเพิ่มขึ้นและอาการแสดงเพิ่มขึ้นรูปแบบวิถีทางความเจ็บป่วยจะจบลงในระยะ Dying phase ซึ่งมีการเพิ่มขึ้นทีละนิดหรือร่างกายหยุดการทำงานอย่างรวดเร็ว

คำสำคัญ (Tags): #trajectory#framework
หมายเลขบันทึก: 53041เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2006 00:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แอบมาค้นข้อมูล

ขอบคุณมากนะครับ

พี่ผู้ร่วมวิชาชีพ...

ขอบคุณมากครับ ถ้าจะค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมหาได้ที่ไหนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท