Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

บัตรบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนกับบัตรบุคคลบนพื้นที่สูง อันไหนมีสิทธิมากกว่ากันหรอค่ะ....คำถามจากอดีตเด็กในสถานสงเคราะห์ของ พม.


หมายเหตุของอาจารย์แหวว - คุณกานต์เข้ามาหารือปัญหาของเธอกับ อ.แหววในท้ายบันทึกในโกทูโนตั้งแต่เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖ โดยเธอแนะนำตัวเองว่า “เกิดที่ไหนอันนี้หนูก็ไม่รู้ค่ะ รู้แต่ว่าพ่อแม่เสียชีวิตตั้งแต่เล็กๆ เท่าที่จำความได้ประมาณ ๓ -๔ ขวบค่ะ เมื่อก่อนมี ท.ร.๑๓ สัญชาติเวียดนาม อายุ ณ ตอนนี้ ๒๔ ปี อายุนี่เขาก็เดาให้ รวมทั้งวัน/เดือน/ปี เกิดด้วยค่ะ เมื่อสมัยเด็กๆ อยู่ที่สันมหาพลค่ะ พอดีมีคนถามว่า หนูอยากจะเรียนไหม หนูก็ตอบอยากจะเรียนมากๆ ค่ะ หลังจากที่พ่อมาเสียชีวิตแล้ว เขาก็ส่งมาที่บ้านเวียงพิงค์ ซึ่ง ๒ ที่นี้อยู่ที่เชียงใหม่ค่ะ ต่อมาได้ย้ายมาอยู่สถานสงเคราะห์เด็กบ้านธารน้ำใส จ.ลำพูน หลังจากธารน้ำใสปิด ซึ่งตอนนั้นได้เรียนอยู่ป.๓ ก็ได้ย้ายมาอยู่ที่สถานสงเคราะห์เด็กบ้านเอลีชา จ.หนองบัวลำภู และได้เรียนจบ ม.๖ ก็ได้ช่วยเป็นพี่เลี้ยงน้องๆ รุ่นต่อมา ประมาณ ๑ ปี ค่ะ หลังจากนั้นก็ออกมาทำงานที่เชียงใหม่ ซึ่งก็ได้ดำเนินเรื่องมาโดยตลอดๆ ค่ะ แต่ก็ไม่สำเร็จ จนหนูเรียนจบ ม.๖ ก็ขอยื่นเรื่องอีก จึงได้ บัตรผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนค่ะ ส่วนตอนนี้มาอยู่ที่เชียงใหม่ กำลังหางานทำใหม่อยู่ค่ะ ไม่มีงานเป็นหลักเป็นแหล่งเลยค่ะ ๓ – ๔ เดือนก็ออกหางานใหม่อยู่บ่อยๆ ค่ะ”

ตอบคุณกานต์เรื่องคุณภาพแห่งสิทธิของคนถือบัตรบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนกับคนถือบัตรบุคคลบนพื้นที่สูง  

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕

https://www.facebook.com/note.php?saved&&note_id=10151549646073834

--------

คำถาม

-------

เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖  คุณกานต์ได้เข้ามาตั้งคำถามต่อ อ.แหววใน

http://www.gotoknow.org/posts/314147 ว่า

“อาจารย์ค่ะ บัตรบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนกับบัตรบุคคลบนพื้นที่สูง อันไหนมีสิทธิมากกว่ากันหรอค่ะ แล้วบัตรแบบหนูสามารถไปต่างประเทศได้ไหมค่ะ. แล้วขึ้นเครื่องบินได้ไหมค่ะ และสามารถสอบใบขับขี่ต่างจังหวัดได้ไหมค่ะ”

--------

คำตอบ

-------

เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖  อ.แหววจึงได้ตอบคำถามของคุณกานต์ใน

http://www.gotoknow.org/posts/314147 ว่า

ในประการแรกที่ต้องเข้าใจ ก็คือ บัตรเป็นเอกสารยืนยันสิทธิค่ะ ถ้าสิทธิไม่มี แต่มีบัตร ก็ไม่มีสิทธิค่ะ การไปซื้อบัตรมา ก็ไม่มีสิทธิ บัตรทั้งสองแบบออกมาตามกฎหมายการทะเบียนราษฎรค่ะ ซึ่งความเป็นราษฎรประเภทไหนก็เป็นไปตามธรรมชาติของบุคคลค่ะ ทั้งคนถือบัตรบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนหรือคนถือบัตรบุคคลบนพื้นที่สูง ก็ถูกถือเป็นคนต่างด้าวในระหว่างการพิสูจน์สิทธิฯ และเมื่อพิสูจน์แล้วพบว่า ไม่มีสัญชาติไทย ก็จะต้องถือบัตรนี้ต่อไป จนกว่าจะได้สิทธิที่ดีกว่าค่ะ

ในประการที่สอง การจะทราบว่า บุคคลธรรมดามีสิทธิมากน้อยเพียงใดในประเทศไทย จึงต้องทราบถึงจุดเกาะเกี่ยวระหว่างรัฐไทยและบุคคลธรรมดานั้นๆ ดังนั้น การจะตอบได้ว่า คุณกานต์มีสิทธิเพียงใดในประเทศไทย จึงต้องทราบว่า ธรรมชาติของคุณกานต์เป็นอย่างไร จึงจะกำหนดคุณภาพแห่งสิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมายที่คุณกานต์จะมีในประเทศไทย

ในประการที่สาม เราคงต้องตระหนักว่า  สิทธิที่ดีกว่านั้นไม่ขึ้นอยู่กับบัตรที่ถือค่ะ ขึ้นอยู่กับคุณภาพแห่งสิทธิอาศัยที่มีค่ะ ถ้าเป็นคนที่มีสิทธิอาศัยที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็น่าจะมีสิทธิที่ดีกว่าคนที่ไม่มีสิทธิอาศัยในไทยเลย แต่การอาศัยอยู่เป็นไปเพราะได้รับการผ่อนผันทางนโยบาย หรือถ้าเป็นคนที่มีสิทธิอาศัยถาวรก็ย่อมมีสิทธิดีกว่าคนที่มีสิทธิอาศัยชั่วคราว หรือคนที่มีสิทธิอาศัยชั่วคราวโดยมีสิทธิเข้าเมืองที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ก็ย่อมดีกว่าสิทธิอาศัยชั่วคราวที่ไม่มีสิทธิเข้าเมือง หรือคนที่มีสิทธิอาศัยถาวรเพราะมีสิทธิในสัญชาติไทย ก็ย่อมมีสิทธิที่ดีกว่าคนต่างด้าวที่มีสิทธิอาศัยถาวรตามกฎหมายคนเข้าเมือง

------------------------------

หมายเหตุของอาจารย์แหวว

------------------------------

คุณกานต์เข้ามาหารือปัญหาของเธอกับ อ.แหววในท้ายบันทึกในโกทูโนตั้งแต่เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖ โดยเธอแนะนำตัวเองว่า “เกิดที่ไหนอันนี้หนูก็ไม่รู้ค่ะ  รู้แต่ว่าพ่อแม่เสียชีวิตตั้งแต่เล็กๆ เท่าที่จำความได้ประมาณ ๓ -๔ขวบค่ะ เมื่อก่อนมี ท.ร.๑๓สัญชาติเวียดนาม  อายุ ณ ตอนนี้ ๒๔ปี  อายุนี่เขาก็เดาให้ รวมทั้งวัน/เดือน/ปี  เกิดด้วยค่ะ  เมื่อสมัยเด็กๆ อยู่ที่สันมหาพลค่ะ พอดีมีคนถามว่า หนูอยากจะเรียนไหม หนูก็ตอบอยากจะเรียนมากๆ ค่ะ หลังจากที่พ่อมาเสียชีวิตแล้ว เขาก็ส่งมาที่บ้านเวียงพิงค์ ซึ่ง ๒ ที่นี้อยู่ที่เชียงใหม่ค่ะ  ต่อมาได้ย้ายมาอยู่สถานสงเคราะห์เด็กบ้านธารน้ำใส  จ.ลำพูน หลังจากธารน้ำใสปิด ซึ่งตอนนั้นได้เรียนอยู่ป.๓ก็ได้ย้ายมาอยู่ที่สถานสงเคราะห์เด็กบ้านเอลีชา จ.หนองบัวลำภู และได้เรียนจบ ม.๖ก็ได้ช่วยเป็นพี่เลี้ยงน้องๆ รุ่นต่อมา ประมาณ ๑ปี ค่ะ หลังจากนั้นก็ออกมาทำงานที่เชียงใหม่  ซึ่งก็ได้ดำเนินเรื่องมาโดยตลอดๆ ค่ะ แต่ก็ไม่สำเร็จ  จนหนูเรียนจบ ม.๖ก็ขอยื่นเรื่องอีก จึงได้ บัตรผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนค่ะ  ส่วนตอนนี้มาอยู่ที่เชียงใหม่ กำลังหางานทำใหม่อยู่ค่ะ ไม่มีงานเป็นหลักเป็นแหล่งเลยค่ะ  ๓ – ๔เดือนก็ออกหางานใหม่อยู่บ่อยๆ ค่ะ”

หมายเลขบันทึก: 525068เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2013 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มีนาคม 2013 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท