เลี้ยงโคแบบพอเพียง


คนที่เลี้ยงตัวเองได้ ต้องผลิตอาหารเลี้ยงตัวเองและเลี้ยงสัตว์ได้

เลี้ยงโคอย่างไรไม่ให้มีพยาธิและแมลงมารบกวน

             โดยปกติทั่วไปเราจะเห็นชาวบ้านไล่ต้อนโคไปเลี้ยงตอนสาย ๆ ประมาณ 09.00 - 10.00 น.    ซึ่งจะมีผลต่อยวดยานพานะที่สัญจรไปมาตามท้องถนน  เพราะบรรดาโคทั้งหลายจะจองพื้นที่บนถนนเกือบหมด  บางครั้งก็ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้  อีกทั้งยังสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนด้วย   ด้วยความสงสัยจึงถามลุงอานที่สวนป่าครูบาว่า  ทำไมชาวบ้านชอบไล่ต้อนโคไปเลี้ยงตอนสาย ๆ  ทำไมไม่ไปเลี้ยงตั้งแต่เช้า ๆ จะได้ไม่มีปัญหาบนถนนหนทาง ลุงอานบอกว่า  ชาวบ้านจะหลีกเลี่ยงการนำโคออกไปเลี้ยงในช่วงเช้า แต่จะรอให้สายก่อน เพราะช่วงเช้าพยาธิจะอยู่บริเวณหญ้าที่มีน้ำค้าง แต่พอสาย ๆ มีแสงแดดพยาธิจะน้อยลง 

             ส่วนการป้องกันไม่ให้แมลงมารบกวนโคนั้น  ชาวบ้านยุคนี้พัฒนาขึ้นมากถึงขั้นกางมุ้งให้โค แต่ลงทุนสูง อาจจะไม่เหมาะกับเกษตรกรที่มีทุนน้อยและลงทุนครั้งแรก  วิธีการป้องกันแมลงที่ง่ายและลงทุนต่ำแต่ต้องอาศัยความขยันนั้นมีหลายวิธี เช่น

           -   การแขวนกระสอบป่านที่เก่าแล้ว ให้ชายของกระสอบสูงจากพื้นประมาณ 0.75 -1.5  เมตร หรือ ต่ำกว่าความสูงของโคเล็กน้อย  เวลาโคเดินไปมาในคอก  กระสอบที่แขวนไว้ก็จะทำหน้าที่เช็ดปัดกวาดเอาแมลงและความสกปรกบนหลังโคไปในในตัว

           -  การจุดไฟบริเวณใกล้คอกเพื่อไล่แมลงไม่ให้มารบกวนโคในเวลากลางคืน  โดยอาจจะเผาแบบให้มีควันนิดหน่อยจะได้ผลผดี 

           -  การเผาลำต้นหรือใบของพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณไล่แมลง เช่น ตะไคร้หอม  ยุงจะไม่มารบกวนโค  แต่ต้องไม่เผาโดยใช้ไฟแรงเพราะจะทำให้ต้นตะไคร้หอมหมดเร็ว  เว้นแต่ว่าเกษตรกรปลูกต้นตะไคร้หอมได้ในปริมาณมาก  สามารถนำต้นตะไคร้หอมไปกล่นเอาน้ำมันหอมระเหย  เศษใบที่เหลือจะนำมาเผาไล่ยุงได้ด้วย

           -  การเผากิ่งก้าน ใบของต้นพะยุงไล่ยุง  เนื่องจากในตอนเด็กนั้น พ่อจะให้ไปตัดกิ่งและใบของต้นพะยุงมาเผารวมกับฟืน  โดยเมื่อติดไฟได้แล้วเอากิ่งหรือใบของพะยงที่ยังสดไปคลุมกองไฟให้ค่อยๆไหม้  กลิ่นเหม็นไหม้ของใบพะยุงจะไล่แมลงและยุงได้เป็นอย่างดี  ดังนั้นถ้าเกษตรท่านใดที่ปลูกหรือมีต้นพะยุงตามหัวไร่ปลายนา สามารถนำใบมาเผาไล่ยุงไล่แมลงให้กับโคได้  อีกทั้งไม้พะยุงยังเป็นไม้เนื้อแข็งที่เกษตรกรสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการก่อสร้างได้อีกด้วย

           ขอบคุณค่ะ

           พันดา  เลิศปัญญา

             

หมายเลขบันทึก: 52372เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2006 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณมากครับอาจารย์พันดา ที่นำเรื่องเกี่ยวกับสมุนไพร ไล่แมลง โดยเฉพาะยุง มาเล่าสู่กันฟัง

เพราะความรู้แบบนี้นักเกษตรรุ่นไหม่ไม่ค่อยรู้ ซึ่งจะเป็นการจัดการความรู้ ให้เกิดความเหมาะสมต่อไปในอนาคต อีกทั้งเป็นการพัฒนาระบบการเกษตรของบ้านเราให้สมดุลต่อไป

ขอบคุณครับ

ผมมีขีดจำกัดการเข้า internet ที่ฝรั่งเศส จะขอตอบ และอ่านหลังกลับเมืองไทยวันเสาร์นี้นะครับ  ขออภัยใความไม่สะดวก บอกเพื่อนๆ ด้วยนะครับ จะโทรหาก็ติดขัดเรื่องเวลาไม่ตรงกัน  มีเรื่องต้องการคุยและหารือมากมาย กลัวจะนานเกินไป และเสียเวลากับเรื่องนอกประเด็นมากเกินไป

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ สัปดาห์หน้าหนูและเพื่อน ๆจะออกพื้นที่ที่บุรีรัมย์เพื่อหาปัญหาที่แท้จริงของผู้เลี้ยงโคและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจของแต่ละคน  อาจจะต้องรบกวนอาจารย์อีกรอบเพราะต้องรายงานความก้าวหน้า  ส่วนอาทิตย์นี้กำลังยุ่งอยู่กับการเรียนภาษาอังกฤษและจะสอบในวันที่ 29 กันยายนนี้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ 

ระบบการกำจัดศัตรูให้วัวเป็นความรู้ที่สอดคล้องกับระบบการเลี้ยงวัว ในมุมใดของการจัดการเลี้ยงบ้าง ต้องใช้ระบบทรัพยากร และความสามารถแบบไหนบ้าง เป็นชุดความรู้ที่ควรนำมาจัดการในมุมหน๊งเป็นวิทยานิพนธ์ของคุณได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท