การใช้กระบวนการ Note Taking กับการบันทึกในกิจกรรมการบรรยาย


การบันทึกการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ Parallel Notes และ T-Method 

วันนี้ผมได้ทำหน้าที่ในการบันทึกการเรียนรู้สำหรับกิจกรรมการบรรยายในหัวข้อ "Outcome Based Education" และ "Learning Tools" โดยเริ่มต้นคาดหวังไว้ว่า จะใช้กระบวนการในการบันทึกคือ Parallel Notes (การบันทึกแบบคู่ขนาน) และ T-Method (สำหรับการสรุปประเด็นและข้อคำถาม) 

การบันทึกนั้นจะแบ่งออกเป็นสองฝั่ง คือ ฝั่ง Keyword หรือประเด็นหรือภาพที่สำคัญ และฝั่งขยายความและข้อคิดเห็นของผู้สอนหรือผู้บันทึก 


ตัวอย่างการ Note Taking สำหรับกระบวนวิธี Parallel Notes 

หลังจบช่วงการบรรยายจะทำการเขียน Summary สำหรับสรุปสาระสำคัญ และ Question / Self-Testing สำหรับการทบทวนในครั้งต่อไป


ตัวอย่างการใช้ T-Method สำหรับการเขียนสาระสำคัญโดยสรุปและคำถามประเด็นต่างๆ 

การใช้กระบวนการบันทึกด้วย Parallel Notes กับ T-Method นั้นจะทำให้มีการจัดแบ่งได้ง่ายขึ้น เข้ามาทำความเข้าใจภายหลังได้สะดวก 

หลังจากการบันทึกการเรียนรู้ หลังจากนี้จะต้องทำการถอดบทเรียน โดยการเรียบเรียง ค้นคว้าเพิ่มเติมอีกครั้งออกเป็นรูปแบบ เอกสาร หรือ File เพื่อให้เกิดการจัดเก็บข้อมูลให้มากขึ้นต่อไป ทั้งนี้การบันทึกการเรียนรู้ในเนื้อหาเรื่อง Outcome Based Education และ Learning Tools จะดำเนินการเขียนในครั้งต่อไปครับ :) 

สามารถติดตามได้ที่ gotoknow ของผมครับ หรือ ติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook : https://www.facebook.com/rakrok12 ครับ :)

คำสำคัญ (Tags): #Note Taking#Parallel Notes#T-Method
หมายเลขบันทึก: 522656เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2013 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2013 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท