สัมมนาโครงการพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่สื่อมวลชน สำนักงานกสทช. ระหว่างวันที่ 14-22 และ 28 มีนาคม 2556


สวัสดีครับชาว Blog ทุกท่าน

ผมได้รับเกียรติจากสำนักงานกสทช. ให้จัดสัมมนาโครงการพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่สื่อมวลชน  ณ สำนักงาน กสทช. ระหว่างวันที่ 14-15 มีนาคม 2556  เดินทางไปดูงานที่ญี่ปุ่นวันที่ 17-22 มีนาคม 2556 และ เยี่ยมชมดูงาน ระบบการรับส่งวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล สถานโทรทัศน์ไทยพีบีเอส วันที่ 28 มีนาคม 2556 

โดยมีกำหนดการดังนี้ครับ 

วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๖

๑๕.๐๐ น.  ลงทะเบียน ณ หอประชุม ชั้น ๒ อาคารหอประชุม สำนักงาน กสทช.

๑๕.๓๐ น.  นายฐากร  ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวถึงวัตถุประสงค์โครงการ

๑๕.๔๐ น.  “บทบาทขององค์กรกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ

โทรคมนาคมของประเทศไทย”

โดย  พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี  ประธาน กสทช.

๑๖.๓๐  น.  รับประทานอาหารว่าง 

๑๗.๐๐ น.  “ถึงเวลา 4G ประเทศไทย”

โดย  พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธาน กทค.

  คุณเจษฎา ศิวรักษ์ 

  อาจารย์ลิขิต หงส์ลดารมภ์ที่ปรึกษากรรมการ กสทช.

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปราย โดย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

วันศุกร์ที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๖

๑๓.๓๐ น.  ลงทะเบียน ณ ห้องประชุม 3  ชั้น ๒ อาคารอำนวยการ สำนักงาน กสทช.

๑๔.๐๐ น.  “การเปลี่ยนผ่านระบบ Analog TV สู่ Digital TV”

  โดย   พันเอก ดร. นที  ศุกลรัตน์  รองประธาน กสทช. และประธาน กสท.

๑๕.๓๐ น.  “บทเรียนจากการประมูลคลื่นความถี่ กรณีศึกษา การวิเคราะห์มูลค่าคลื่นความถี่ 3G”

โดย  รองศาสตราจารย์ ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการ กสทช.

๑๖.๓๐  น.  รับประทานอาหารว่าง 

๑๗.๐๐ น.  “นโยบายกับความจริงเรื่องการครองสิทธิ์ข้ามสื่อของประเทศไทย”

โดย  ผศ.ดร. พิรงรอง  รามสูต รณะนันทน์ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  ผู้บริหาร บริษัท GMM Grammy

  ผู้บริหาร บริษัท อสมท.

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปรายโดย

  อาจารย์วีรวรรณ วรรุตม์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

๑๘.๓๐ น.  แนะนำการเตรียมตัวเดินทางไปทัศนศึกษาดูงาน

วันพุธที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๖

๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น.  เยี่ยมชมดูงาน ระบบการรับส่งวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล สถานโทรทัศน์ไทยพีบีเอส







หมายเลขบันทึก: 522427เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2013 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2013 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สรุปการบรรยายหัวข้อ การสัมมนาโครงการพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่สื่อมวลชน

ระหว่างวันที่ 14 มีนาคม 2556

สำนักงาน กสทช.

บทบาทขององค์กรกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ

โทรคมนาคมของประเทศไทย

โดย  พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี  ประธาน กสทช.


ทำไมต้องมีการกำกับดูแล

1.  สร้างระบบการจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส

2.  การส่งเสริมการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่

3.  คุ้มครองผู้บริโภคและสร้างมูลค่าสาธารณะ

4.  กำหนดทิศทางอุตสาหกรรมกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาค

-  การประมูล 3 จี ได้เงิน 4 หมื่นล้าน เข้ากระทรวงการคลัง

-  ประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้น เนื่องจาก 3จี ทำให้คุณภาพดีขึ้น

-  คุ้มครองผู้บริโภค ราคา 3 จี ลดลง 15 %

กสทช. ในปัจจุบัน มาจากการสรรหาโดยตั้งคณะกรรมการสรรหา 15 ท่าน จากหน่วยภาครัฐเอกชน 2 ชุด ทั้งหมด 44 คน แล้วคัดเลือกเหลือ 11 คน

การบริหารคลื่นความถี่

1.  จัดทำแผนแม่บท

2.  จัดสรรคลื่นความถี่

3.  ออกใบอนุญาต

การกำกับดูแลประกอบกิจการ

1.  ด้านกำกับดูแล

2.  ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

3.  ด้านการให้บริการโดยทั่วถึง

การบริหารกองทุนวิจัย

ให้ประชาชนไดรับประโยชน์อย่างทั่วถึง

ผลงาน

-  Digital TV

-  Digital Radio

-  3g

-  4g

ปีแห่งการคุ้มครองผู้บริโภค

-  คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพผู้ใช้บริการ

-  มีศูนย์การเรียนรู้

เป้าหมายที่ท้าทายกสทช.

การเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ  และเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ


สรุปการบรรยาย หวัข้อ “ถึงเวลา 4G ประเทศไทย

โดย  พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธาน กทค.

คุณเจษฎา ศิวรักษ์

อาจารย์ลิขิต หงส์ลดารมภ์ ที่ปรึกษากรรมการ กสทช.

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปราย โดย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

-  วันนี้เป็นช่วงที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ขอยินดีกับนักข่าวที่จะไปด้วยกันในครั้งนี้

ดร.เจษฎา ศิวรักษ์

-   ก่อนจะพูดถึง 4 G เราเริ่มทำ 1 G คือสมัยการทำโทรศัพท์ยุคที่ 1 ให้บริการ NMP หรือระบบ Amp มีผู้ใช้ไม่กี่คนประมาณ 100,00 คน

-  2G เป็นระบบเอามาใช้แทนที่โทรศัพท์ประจำที่ เป็นระบบดิจิตอล แทน Analog

-  จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่มากกว่า 6,500ราย โทรศัพท์เคลื่อนที่ทดแทนโทรศัพท์ประจำที่ เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีและช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี

-  3G เป็นการเกิดขึ้นของการให้บริการโทรศัพท์แบบ Data มีการใช้ VDO call  และ Voice Call

-  4G มาพร้อมสิ่งใหม่เรียกว่า M2M (Machine to Machine) เป็นการตีตามจำนวนสิ่งของที่สามารถคุยกันได้  มีความถี่ใหม่ ๆ ที่เข้ามา เทคโนโลยี LTE (Longterm Evaluation) ญี่ปุ่นเช่น Docomo นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดี เปิดให้บริการภายใต้ชื่อของ CXI 2.1 กิกกะเฮิร์ต คาดว่าในปี 2515 น่าจะเพิ่มผู้ใช้เป็น 41 ล้านราย ญี่ปุ่นเริ่มพัฒนาเข้าสู่ 4 G มากขึ้น

พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

-  ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก ๆ ที่ ใช้ 3 G เป็นการเปลี่ยนเทคโนโลยีในปี 2000 ตัวอย่าง Docomo  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล

-  ในอนาคตอันใกล้ อาจจะมีความนิยมใช้งานกันเช่นในระบบ Cloud เช่นถ้าเราจะไปพารากอน ขับรถไปชิดลม เอารถไปจอดไว้ เอาบัตร ID ไปแตะ เพื่อสามารถเช่ารถอีกคันหนึ่งได้ นี่คือระบบการใช้เทคโนโลยีแบบ M2M

-  ในอนาคตอาจมีข้อถกเถียงว่าใครจะเป็นคนดูแลกันแน่ อย่างตัวอย่างในเมืองนอกมีเพียงองค์กรเดียว แต่ไทยยังต้องดูก่อน มีการประมูลสัญญาสัมปทาน  ในอนาคตอาจทำให้มีการแข่งขันมากขึ้น และเข้า AEC  ดังนั้นในอนาคต ต้องมีการเปลี่ยนแปลง มีการเข้ามาลงทุนมากขึ้น เกิดโอเปอเรเตอร์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น สิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนคือการทำแบบ Licensing รัฐกับเอกชน ในทั่วโลกมีการตั้งองค์กรเป็น Regulator และมีกระทรวง ICT ขึ้นอยู่กับใครจะ  Authorize

-  เราเป็น Regulator  ในการให้คำปรึกษาและดำเนินการเทคนิค

-  สิ่งที่สำคัญคือย่างก้าวต่อไป ยังมีข้อโต้แย้งกัน เป็นเรื่องธรรมดาเหมือนทุกประเทศ เช่นว่าทำไม กสทช.ยังเอาคลื่นมาประมูลหลังจากหมดสัญญา กสทช.ถือว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ การเปลี่ยนระบบสัญญาสัมปทานมาสู่ใบอนุญาตเพื่อให้โอเปอเรเตอร์มีจุดกำเนิดที่เท่าเทียมกันสามารถแข่งขันกันได้

-  1800 เมกะเฮิร์ต ซึ่งเข้ามาใช้งานในระบบ Longterm Evaluation  ในขณะนี้ ITU ได้รับรองการเห็นพ้องกันในระดับชุมชน พบว่าเป็นคลื่นทีรับรองในหลายประเทศ  2 รายที่จะหมดสัญญาสัมปทาน 2.5 เมกะเฮิร์ตยังแย่งกันอยู่ คือ1,800 เป็นไปได้ทั้งระบบเก่าและระบบใหม่

-  การบริหาจัดการทางกฎหมายค่อนข้างเยอะ  ในอนาคตจะมีเทคโนโลยีที่สามารถทำอะไรก็ได้ ระบบเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียว เทคโนโลยีในอนาคตจะหาช่องที่ว่างแล้วไปใช้เทคโนโลยีตรงนั้น ระบบการบริการการเปลี่ยนแปลงใช้การจัดการที่มาก  ส่วนใหญ่ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นอิสระด้านเทคโนโลยีมาก เพราะเขาทำเทคโนโลยีเอง  เพราะฉะนั้นทุกอย่างเปลี่ยนไปมากแล้วในปัจจุบัน การบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงไป การคิดมูลค่าคลื่นเปลี่ยนไปมาก อย่างในญี่ปุ่นไม่มีการประมูลคลื่นอย่างเรา แต่เขาจะ Assign ไปให้ทำ ไม่ยึดติดกับการประมูลคลื่นเท่าไหร่ ไม่เหมือนในยุโรป และอเมริกา ที่ยึดการทำออกชั่นในการประมูล

ดร.เจษฎาศิวรักษ์

ที่ญี่ปุ่น มีการ Assign ให้บริษัททำ Docomo 1 ปีหลังจากการ Assign เปิดบริการได้ เขาทำมา 10 กว่าปีคิดว่าคลื่น 2,100 เมกะเฮิร์ต เหมาะกับการทำ 4 G ได้ จึงได้ลงมือทำ ทั่วโลกตอนนี้ 4 G อยู่ที่ 1800 เมกะเฮิร์ต  พบว่าคนที่กำหนดเทคโนโลยีโลกในวันนี้คือคนที่ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือมือถือ ที่ใช้กันอยู่ ไม่ใช่ Regulator

พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

-  ญี่ปุ่นเป็น Case พิเศษมาก ๆ เพราะเขามีเทคโนโลยีของเขา เพียงแต่ไม่ได้ไป Fill out ITU เท่านั้น

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

-  ฝากให้สื่อมวลชนมองในอนาคตว่าประโยชน์สูงสุดของ 4 G ในประเทศไทยคืออะไร  ต้องมองเรื่องเทคโนโลยี ราคา การใช้สอย ประโยชน์ต่าง ๆ เรื่องการเมือง เรื่องกฎหมาย Complexity  การฟังแล้วต้องข้ามศาสตร์ ไม่ใช่เทคโนโลยีอย่างเดียวเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางราคา

ดร.ลิขิต  หงส์ลดารมภ์

-  ถึงเวลา 4 G ประเทศไทย คือเทคนิค เราต้องทำความเข้าใจว่าใครใช้อะไร ต้องใช้

1.  เวลาศึกษาว่า 4 G ประเทศไทยคืออะไร  ใครเป็นคนกำหนด  เทคโนโลยีที่เป็นกลาง ที่เราจะใช้คืออะไร  ประโยชน์ของ 4 G  ใครเป็นคนกำหนด

2.  ใครเป็นผู้กำหนดทิศทางอุตสาหกรรม คือ กสทช. ใครเป็นผู้กำหนดนโยบายการดำเนินงานของประเทศไทย  เรามีนโยบาย ICT 2010 ,2020  ไปญี่ปุ่น นโยบายที่เขาดำเนินการระบบโทรคมนาคมของญี่ปุ่น กำหนดทิศทางของอุตสาหกรรม ไม่ใช่กำหนดว่ามีหรือไม่

3  .ประโยชน์ของ 4 G  การกำหนดของ 4 G ต้องดูว่า GDP เพิ่มเท่าไหร่ เช่น ในอังกฤษบอกว่าจะมีกาเพิ่มการลงทุนประมาณ 500 ล้านปอนด์ใน 5 ปี สหรัฐบอกว่า 2 G ไป 3 G เพิ่มงาน 1.6 ล้านคน จาก 3G  ไป 4G เพิ่มงาน 2 ล้านคน  เจ้าภาพด้านนโยบายเทคโนโลยีของประเทศไทยไม่มีใครเป็นเจ้าภาพ สิ่งที่ได้ประโยชน์กับผู้บริโภคจะให้ประโยชน์มหาศาลหรือไม่ 4 G เร็วกว่า 3 G ประมาณ 6- 10 เท่า

  ปัญหาใครได้ประโยชน์ ประเทศได้ประโยชน์แน่นอน ผู้บริโภคได้ประโยชน์ ประเทศไทยได้ประโยชน์หรือเสียเปรียบ ไทยผลิตไม่ได้เลยซื้ออย่างเดียวแต่ข้อดีคือ เงินบาทแข็งค่า เราสั่งได้เยอะมาก ไทยมีศักยภาพในการสรรหา แต่เสียเปรียบคือ Net Benefit ได้หรือไม่ ใครเป็นคนกำหนดเรื่องนี้ ประเทศไทยยังไม่มีเจ้าภาพ

  ประโยชน์สรุปคือ เทคโนโลยีหาได้ ประเทศมีกำลังซื้อ เรามีความพร้อมที่จะมี 4 G หรือไม่ ตัวอย่างของประเทศจีน ผู้ผลิตยังไม่ได้รับประโยชน์สูงสุด ผู้ผลิตยังไม่สามารถพัฒนาได้ นี่เป็นตัวอย่างของการมองตัวเอง แต่ไทยไม่ค่อยมองตัวเองเท่าไหร่ สิ่งสำคัญคือ  กสทช.ไม่มีหน้าที่

พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

-  กสทช.มีหน้าที่คือทำให้การใช้เทคโนโลยีได้เต็มประสิทธิภาพ 

-  ประเทศไทยเคลี่อนตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในโลก

-  ส่วนใหญ่ประเทศที่มีอำนาจเทคโนโลยีมาก ๆ จะกำหนดทางเดินได้

-  เทคโนโลยีก้าวไปเร็ว กสทช.มีหน้าที่ดูว่าคลื่น 1,800 เมกะเฮิร์ต ITU กำหนดอย่างไร เช่นเป็นบรอดแบรนด์เป็นต้น  กสทช.ไม่สามาถกำหนดได้ว่าลึก ๆ จะเป็นอย่างไร

ดร.เจษฎา  ศิวรักษ์

-  เราทำหน้าที่บริหารคลื่นความถี่ให้ได้ดีสุดตามกลไกที่ให้ไว้  การบริหารคลื่นความถี่ ยิ่งใช้มาก ยิ่งดี

-  ผู้ให้บริการ OTT Player ถ้าค่าใช้โทรศัพท์แพงอาจไปใช้ Line  หรือ Skype แทนได้ ดังนั้นธุรกิจ OTT ส่วนใหญ่เป็นการให้บริการฟรี และสปอนเซอร์ แต่ปัญหาเกิดการสั่นคลอนในวงการมือถือพอสมควร

พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

-  พฤติกรรมผู้บริโภคเริ่มไปกำหนดการใช้งานเช่นการใช้ Line ทำให้การ Investment ผิดพลาดหมด

แสดงความคิดเห็น

-  อยากให้วิจารณ์เปรียบเทียบระบบใบอนุญาต 3 G กับที่ญี่ปุ่นที่ Assign ให้โอเปอเรเตอร์ไปเลยแต่ละระบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ดร.เศรษฐพงศ์ตอบ กสทช. ต้องทำตาม พ.ร.บ. แต่ทางเทคนิคอาจไม่ถูกต้องมากนัก ข้อดีข้อเสียมีต่างกัน บางประเทศให้บริการคลื่นความถี่เป็นหลัก บางประเทศมีประสบการณ์บอบช้ำเช่นญี่ปุน จะมองทั้งระบบ เขาต้องมองไปในอนาคต 10ปี จึงมองว่าการประมูลเป็นเรื่องเล็กมาก อย่าง Docomo เหมือน TOT ในไทยที่แยกไปเป็นบริษัทเอกชน ข้อดี ข้อเสีย เช่น อังกฤษ ประมูลทีหนึ่งได้เงินมาเยอะมากแต่เจ๊งระหว่างทาง รัฐต้องเข้าไปช่วย

ดร.เจษฎา ตอบ  กสทช.เป็นองค์กรบริหารคลื่นความถี่แล้วมาสู่เครื่องมือจัดสรรคลื่นความถี่ มีหลายแบบ  คลื่นไม่ต้องไปกำกับดูแล เช่นคลื่น 2.4 การ Assign คือการไม่เข้าไปกำกับดูแล  มีกลไกย่อย 2 อันคือ  Comparative Selection Procedure (Beauty Contest) และ  Competitive Selection Precedure (Auction)  อย่าง EU ใช้วิธีทั้ง Beauty contest และ Auction

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

-  อยากให้สื่อมวลชนที่อยู่ในห้องนี้ Educate คนข้างนอกด้วย

-  Asean 2015 จะมีการตกลงเรื่องการลงทุน  เกี่ยวข้องกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในต่างประเทศ  กสทช.อาจมีงานวิจัยสักเรื่องในการเข้าสู่อาเซียน 2015

-  พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

-  ถ้าไปจำกัดคลื่นประมูลทั้งหมดอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องประสิทธิภาพ แต่ติดที่ข้อจำกัดทางกฎหมาย ดังนั้นควรหันมามองเรื่องกฎหมายเพื่อการแก้ไขในบางเรื่องเพราะว่าในระบบโทรคมนาคมควรดูทางด้านเทคนิคด้วย

แสดงความคิดเห็น

ในอนาคตคลี่นจะเป็นอย่างไร ?

ตอบ

-  คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ต GSM ยังอยู่ในประเทศไทย  คลื่นจาก 2 G เป็น 4 G  ส่วนคลื่น 900 เป็นหลักรับ GSM  เพราะว่าคนที่จะอยู่ได้ต้องใช้คลื่น 900 และ 1800

-  GSM 2.5 G จะอยู่กับโลกไปเกือบ 10 ปี งานวิจัยจะใช้ทั้ง 2 G  และ 4 G แตะกันอยู่

-  คลื่น 700 มีแนวโน้มไปทางคลื่น 4 G  ในยุโรปใช้คลื่น 700 มาทำบรอดแบรนด์

-  มีบริษัททำวิจัยคลื่น 700 จะเป็นอย่างไร

แสดงความคิดเห็น

กสทช.มองว่าตัวเองเป็นผู้บริหารคลื่นความถี่ หน้าที่คือแจกคลื่นเท่านั้นหรือ มีผลกระทบที่เกิดขึ้นมากมาย  กสทช.เคยมองเรื่องโทรศัพท์ที่ถูกโละทิ้งตรงนี้บางหรือไม่ กฎหมายเรื่องความปลอดภัย

ข้อเสนอแนะที่อยากจะเสนอในอนาคต 4 G มีทั้ง Assign และประมูล กสทช.ทำไมไม่เอา 2 ข้างมามิกซ์ เช่นคลื่น 1800 เอามาใช้ใน 4 G ทำไมไม่แบ่งกัน  ทำให้ในอนาคตโอเปอเรเตอร์สามารถแชร์ข้อมูลได้ดี  ใช้ทำให้ Win Win 3 ฝ่ายคือ User Operator และ กสทช.

ตอบ สิ่งที่หนักอกคือ Quality  ปัญหาที่เกิดคือจะอยู่ในชุมชนที่ค่อนข้างหนาแน่น เราจะทำอย่างไรเพราะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ เขาจะทำอย่างไรให้บริหารได้ดีขึ้น เรื่องขยะ อิเล็กทรอนิกส์เป็นหลายส่วนไม่ใช่กสทช.อย่างเดียว แต่กสทช.ก็ควรทำ Green Telecom  มีแนวโน้มในอนาคตเริ่มเปลี่ยนแปลงมากขึ้น  ก.ไอซีที กสทช. ก.อุตสาหกรรมต้องหันหน้ามาคุยกันในเรื่องนี้

กสทช.ได้จัดสรรคลื่นแค่อย่างเดียวคือ 2.1 กิกกะเฮิร์ต  และการให้บริการที่ดีก็เป็นเรื่องที่กสทช.ควรทำ

แสดงความคิดเห็น

ถ้าคลื่น 900 หมดสัมปทานเราจะมาใช้คลื่นอะไร

ตอบ ในปี 2 ปี โทรคมนาคมจะเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือเริ่มมีการใช้ระบบ Cloud Computing  ยังไม่สามารถตัดสินใจได้เรื่องระบบคลื่น 900

ดร.จีระ

-  กสทช. ควรมีการทำประเมินวัดผลหลังจากที่ให้การประมูล 3 G ไปอนาคตจะเป็นอย่างไร

-  นักข่าว สื่อมวลชนควรทำหน้าที่ในการกระจายข้อมูล

-  กสทช.ควรดูถึงผลกระทบต่อประชาชน และสิ่งแวดล้อมในอนาคตด้วย 


การเปลี่ยนผ่านระบบ Analog TV สู่ Digital TV”

โดย   พันเอก ดร. นที  ศุกลรัตน์  รองประธาน กสทช. และประธาน กสท.

และ พสุ ศรีหิรัญ  ผู้อำนวยการ สำนักงาน กสทช.

15 มีนาคม 2556

สำนักงานกสทช.

พสุ ศรีหิรัญ : การเปลี่ยนผ่านสู่การรับส่งสัญญาณระบบดิจิตอลของประเทศญี่ปุ่น

-  เริ่มวางแผนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลตั้งแต่ปี 1998

-  มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกฎหมายวิทยุคมนาคม (Radio Act) ในปี 2001 เพื่อให้รองรับกับแนวทางการเปลี่ยนผ่าน

  ปลายปี 2003 ประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มออกอากาศระบบดิจิตอลในสามเมืองใหญ่ได้แก่ โตเกียว โอซาก้า และนาโกย่า และขยายต่อไปทั่วประเทศ

ขั้นตอนสำคัญในกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิตอลของญี่ปุ่น

1.  การเตรียมการ

2.  ทำ Roadmap

3.  ทำการทดลอง

มีการปรับปรุงจุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อให้เหมาะสมกับประเทศไทยมากขึ้น

จำนวนครัวเรือนและเครื่องรับสัญญาณในระบบดิจิตอล เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

ประชาชนกว่า 120 ล้านคนใน 50 ล้านครัวเรือน สามารถรับชมโทรทัศน์ดิจิตอลภายในภายในเป้าหมายปี 2011

พันเอก ดร. นที : ญี่ปุ่นเป็นเจ้าของเทคโนโลยี เป็นอันดับ 2 รองจากยุโรป และเทคโนโลยีที่ดีมาก Mobile TV ของญี่ปุ่นมีคุณภาพที่ดีมาก เรียกว่า one seg รับสัญญาณดิจิตอลทีวีผ่านmobile ซึ่งเป็นฟรีทีวี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งประสบความสำเร็จมากเป็น compliment แถมมาให้กับตัวของ Mobile เลย

-  มีทีวี 7 ช่องเป็น Hi-Def ทั้งหมด  (ไม่มี Network)

-  กิจการโทรทัศน์ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ทำให้ระบบ TV ของญีปุ่นเป็นเอกชนทั้งหมด หรือไม่ก็เป็น TV สาธารณชน

-  NHK มีการเตือนภัยพิบัติสาธารณะผ่าน TV รวดเร็ว แม่นยำ

-  ประเทศไทยแบ่ง Infra license ญี่ปุ่นก็เช่นกัน แต่ไทยจำเป็นต้องมี network

-  องค์กรกำกับดูแลของญี่ปุ่นไม่เน้นเนื้อหา (Self – Regulation) เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีวินัย

คำถาม

นักข่าว: มีการออกใบอนุญาตอย่างไร

พันเอก ดร. นที: เป็นระยะยาว เน้นการคัดเลือก

นักข่าว: Mobile TV

พันเอก ดร. นที: เทคโนโลยีของยุโรปไม่สามรถ แต่ปัจจุบันของเราสามารถทำได้ ดังนั้น ใบอนุญาต Mobile TV น่าจะออกได้ในปีนี้ ใบอนุญาตบริการโทรทัศน์ (ดูด้วยอะไรก็ได้)  ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตใหม่ เป็นใบอนุญาตเดียว

นักข่าว: เงื่อนไขการประมูล Hi – Def. องค์กรขนาดใหญ่ถือหุ้นร่วมกันจะเปิดโอกาสให้ประมูลได้หรือไม่

คนที่เข้ามาประมูลจะต้องไม่มีความสัมพันธ์กันทั้งในเชิงของหุ้น และในเชิงการบริหาร

นักข่าว: ญี่ปุ่นมีกระบวนการให้ใบอนุญาตเป็นอย่างไร?

พันเอก ดร. นที: ไม่แน่ใจ

นักข่าว: ญี่ปุ่นมีวิธีการเปลี่ยนผ่านไปสู่ TV Digital อย่างไร?

ญี่ปุ่นมีจุดแข็ง คือ การทำ Digital Promotion คือ ทำให้คนสูงอายุยอมรับที่จะเปลี่ยนมาใช้ระบบใหม่ โดยสร้างแรงจูงใจ แจกคูปอง ใช้ Mascos

นักข่าว เงินที่ได้จากการประมูล แล้วเผยแพร่เข้าสู่ที่ไหน

พันเอก ดร. นที: เงินที่ได้เข้าสู่กองทุนการพัฒนาสาธารณะ ไม่ได้สนับสนุนสถานี 

มีจำนวนคุณภาพ และเนื้อหา ควรเปลี่ยนเข้าไปสู่ระบบดิจิตอล กฎหมายควรให้เกิดการปฏิรูป เป็นช่องทางบริการสาธารณะ

หากเป็นเคเบิ้ล โฆษณา 6 นาที ขณะที่ฟรีทีวีมุ่งการหาค่าใช้จ่ายในการโฆษณา

นักข่าว: 48 ช่องฟรีทีวี เยอะไปหรือไม่ เพราะญี่ปุ่นมี 7 ช่อง

พันเอก ดร. นที: เคเบิลเป็นทางเลือกเสียเงินเพื่อให้ได้มา แต่ฟรีทีวี ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม จำนวนช่องที่เยอะไม่มีปัญหาหากผลิตออกมามีคุณภาพ

นักข่าว: ขอถามเรื่อง Mobile TV

พันเอก ดร. นที: โมบายทีวี Nice to have แต่ ไม่ nice to pay  จะประสบความสำเร็จหากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและ ต้องไม่ผูกสัญญากับ Mobile operator

นักข่าว: การใช้ 3g และ 4g มีประโยชน์อะไร

พันเอก ดร. นที: เพื่อให้บริการวีดีโอ บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ใหม่

นักข่าว: หากเอกชนมาประมูลกันเยอะ จะทำอย่างไรให้คนยอมรับ หรือ ควรมีองค์กรใดมาช่วยประมูลเยอะๆ

พันเอก ดร. นที: เงินจากการประมูล ต้องส่งกลับไปให้ประชาชน เพื่อให้ประชาชนกลับมาดู

บทเรียนจากการประมูลคลื่นความถี่ กรณีศึกษา การวิเคราะห์มูลค่าคลื่นความถี่ 3G”

โดย  รองศาสตราจารย์ ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการ กสทช.

การประมูลคลื่นความถี่ เป็นการประมูลครั้งแรก มีการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งทางบวกและลบกันอย่างหลากหลาย จึงอยากให้ศึกษา เพื่อเป็นบทเรียนในการประมูลครั้งต่อไป

  ประเด็นในวันนี้ อยากสะท้อนให้เห็นปัญหา หรือจุดอ่อนที่พบในการประมูลครั้งที่แล้ว ปัญหาที่สำคัญที่สุด คือ ในเรื่องการสื่อสาร เกี่ยวกับตัวบอร์ด และหน่วยงานอื่นๆหลายองค์กร รวมทั้งสื่อมวลชนด้วย

  ประเด็นแรก ปัญหาการสื่อสาร คือ การทำความเข้าใจ เพราะเกี่ยวข้องกับหลายส่วน ส่วนแรก คือ ในองค์กรเอง ตั้งแต่บอร์ด 5 คน กสทช. 11 คน พนักงาน 1000 คน การสื่อสารในองค์กรต้องทำให้เกิดความเข้าใจ พนักงานมีญาติ เพื่อนฝูง ที่อยากทราบ พนักงานก็ไม่สามารถสื่อสารในรายละเอียดได้ จึงเป็นปัญหา

  คณะกรรมการ ทำงานแยกส่วนกัน บางเรื่องก็ไม่ทราบเรื่องของอีกฝ่าย เรื่องการประมูลทีวีดิจิตอล ประมูลมูลค่าใบอนุญาต ของฝ่าย กสท. ซึ่งขาดรายละเอียด ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่ต้องดำเนินการที่ต้องให้มีการรับทราบอย่างทั่วถึง

  ส่วนที่สอง เป็นการสื่อสารในเรื่องต่างๆในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนผู้สนใจ ซึ่งมีหลายกลุ่ม กลุ่มแรก ผู้อยากใช้บริการ  กลุ่มที่สอง ผู้ที่ติดตามการทำงานของกสทช. ว่ามีหลักธรรมาภิบาลมากน้อยแค่ไหน  ส่วนนี้เองถ้าเรามีการสื่อสาร แปละให้ข้อมูลที่ถูกต้องปัญหาต่างๆก็เกิด ปัญหาภายหลัง คือ มีการฟ้องร้อง แม้กระทั้ง ปปช. เกิดจากข้อบกพร่องของการสื่อสาร

  ส่วนสุดท้าย คือ กลุ่ม สื่อมวลชน ที่ต้องเอาข้อมูลที่ได้รับไปเผยแพร่ ไปยังภาคประชาชนอย่างถูกต้อง ซึ่งบางครั้งถูกบิดเบือน พูดไม่หมดบ้างก็มี

  ประเด็นต่อมา ให้ความสนใจในเรื่องของตัวเงิน ว่าผู้ประกอบการได้อะไรเสียอะไร  ซึ่งเป็นการมองเฉพาะส่วน ซึ่งต้องมองในภาพรวมทั้งหมด ว่าหาก 3G เกิดขึ้นแล้วรัฐบาลจะได้อะไรอีก

  การประมูลคลื่นความถี่ เรื่องที่ต้องพิจารณามีเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีพรบ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม เกี่ยวกับใบอนุญาต การเชื่อมต่อโครงข่าย ค่าบริการ

พรบ.จัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งกสทช.จะต้องมาดำเนินการต่อ ว่าช่วงไหนว่างก็เอามาจัดสรร โดยวิธีการประมูลเท่านั้น เมื่อกฎหมายกำหนดโดยวิธีการประมูล ซึ่งการออกแบบการประมูล ต้องดูว่า คลื่นความถี่จะออกใบอนุญาตกี่ใบ กี่ปี  และเลือกแบบที่เหมาะสม และมูลค่าคลื่นที่ออกแบบ เหมาะสมอย่างไร

  เรื่องหลัก 3 เรื่อง เรื่องแรก คือ จำนวนใบอนุญาต ว่าทำไมต้องเป็น n-1  หมายความว่า ให้น้อยกว่าผู้เข้าร่วมการประมูล 1 ใบ เพื่อให้เกิดการแข่งขัน  พบว่า การใช้ n-1 ก็ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาของการแข่งขัน

เรื่องที่สอง คือ เรื่องประเด็นการประมูล ยังไม่มีแผนแม่บทในการบริหารลื่นความถี่

เรื่องสุดท้าย คือ มูลค่าคลื่นที่กำหนดว่าเหมาะสมมากน้อยเพียงใด

ปัญหา คือ การตั้งมูลค่าคลื่นที่ไม่เหมาะสม ตั้งน้อย ฮั๊วง่าย เงินค้ำประกันที่เอามาวางน้อย  ตั้งสูง ทำให้มีคนมาประมูลน้อย ราคาเริ่มต้น และราคาที่ชนะ อยู่ที่ 67%

ประเด็น เรื่องการนำข้อมูลไปเผยแพร่ ซึ่งพูดไม่หมดบ้าง ข้อมูลไม่ครบบ้าง ทำให้คนรับข้อมูลได้รับข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง

นักข่าว:  การประมูล คลื่น 1800 เพราะจำนวน operator ไม่ได้มากกว่านี้ คาดหวังว่าจะไบทเรียนอะไรมากกว่าการผิดพลาดจากการสื่อสาร น่าจะเป็นการออกแบบที่ผิดพลาด

รองศาสตราจารย์ ประเสริฐ: ต้องดูทั้งระบบ ตั้งแต่กฎหมาย วิธีการประเมิน ซึ่งการสื่อสารเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น

คุณพิชญ์ภูรี:  ราคาประมูลทราบมาว่า มากกว่า 4,000 ล้านบาท

รองศาสตราจารย์ ประเสริฐ:  ราคาประมูลต้องไม่น้อยเกินไป ไม่อย่างนั้นจะเกิดการฮั้วกันได้  หากเรากำหนดราคาขั้นต่ำ แล้วมีคนขอใบสมัครมา ต้องเช็คคุณสมบัติก่อนว่ามีครบถ้วนหรือไม่

รองศาสตราจารย์ ประเสริฐ:   บทเรียนของการประมูลทั้งประสบความสำเร็จ และไม่สำเร็จทั่วโลก

การคัดเลือกของกสทช. ต้องสมัคร และสถาบันเป็นส่ง และเลือกกันเอง อีกจำนวนหนึ่ง และส่งไปให้วุฒิสภาโหวต

อ.จีระ: อยากให้รู้ว่า นักข่าวต้องคิด และศึกษา เพราะกรรมการมีบทบาทสูง ถือว่า กสทช.มีความโปร่งใสอยู่แล้ว

นโยบายกับความจริงเรื่องการครองสิทธิ์ข้ามสื่อของประเทศไทย

โดย  ผศ.ดร. พิรงรอง  รามสูต รณะนันทน์

อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปรายโดย

อาจารย์วีรวรรณ วรรุตม์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รณะนันทน์

-  การครองสิทธิ์ข้ามสื่อ ตั้งแต่ 1980 จะเห็นการควบรวมกิจการและการครอบครองซื้อของสื่อมากขึ้น และธุรกิจต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเห็นชัดเจนใน 1990

-  ความเป็นองค์การสื่อขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ สื่อเป็น Media Confirmarate เพิ่มขึ้น

-  ก่อนที่จะ Cross Leadership มีความเป็นเจ้าของ เป็นบริษัทหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ การกำกับดูแลตนเองด้วย Rating

-  การขยายความเป็นเจ้าของข้ามสื่อต่างประเภทกัน เช่น  Warner เริ่มจากเพลง ขยายไปสตูดิโอ และ Production House ขยายไปจนถึง TV ไป Merge กับ แพลทเทินเนอร์

-  พบว่ามีสื่อต่างประเภทในเจ้าของเดียวกัน มีการทำหลายอย่างใช้ร่วมกันได้

-  การผลิตครั้งแรก ครั้งเดียว มีการ Merge AOL  ไทม์ วอนเนอร์ อเมริกาออนไลน์มีการรับสมาชิกจำนวนมาก สามารถขยายไปสู่สมาชิกเกิด Synergy

-  ยิ่งสื่อเป็นลักษณะ Cross Media เท่าไหร่ ยิ่งดี แต่ถ้ามองในแง่สังคมอาจเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคเนื่องจากเกิดการผูกขาดทางความคิด

-  ความหลากหลายทางความคิด ตลาดแข่งขัน ตลาดสื่อ ซึ่งบางครั้งถูกผูกขาด

-  Anti Trust 

-  Google เป็นผู้ Dominate ตลาด ครองตลาดประมาณ 82 % เป็นผู้ใช้ Youtube  ที่เหลือเป็นของ Mobile Phone ประชาธิปไตยไม่ Function อย่างไม่เสรีภาพ

-  การครองสิทธิ์ข้ามสื่อจะเจอคำว่า Convergent คือการไร้รอยต่อ รวมเป็นเนื้อเดียวกัน 

-  สิ่งสำคัญคือ Diversity เน้นคุณภาพและความหลากหลาย ระดับการโอเปอเรตของสื่อ 

-  The Big 4  เป็นผู้คุมการผลิตระดับโลก

-  ปัจจุบัน มีของ วอลซ์ดิสนีย์  ,Fox Network ,ช่องสกาย สื่อในระดับประเทศ  CNN , Biocom

-  การการันตีความหลากหลาย และพหุนิยม  เพื่อไม่ให้การบริหารจัดการท้องถิ่นถูกครอบงำ

-  ปี 2003 มีกฎหมายฉบับใหม่ สามารถเป็นเจ้าของสื่อรายเดียวได้หมดแล้ว 45 %

-  เมืองไทยถ้ามองในแง่โครงสร้างการถือครอง จะมีความพยายามในการถือครองสิทธิ์ข้ามสื่อ เช่น TNN โดยคุณไพบูลย์ ไปครอบครองซื้อมติชน โดยซื้อหุ้นในตลาดทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการครอบงำสื่อ และความสัมพันธ์ระหว่างคุณไพบูลย์และคุณทักษิณอาจเป็นที่มาของการครอบครองสื่อ

-  ทรัพยากรการสื่อสารใช้คลื่นโทรคมนาคม อย่างคุณทักษิณเป็นเจ้าพ่อไทยคม มีกรณีที่ชินฯ ไป Acquire ITV มาเป็นต้น  อาจเป็นการทับซ้อนเรื่องการเมืองและครองสิทธิ์ข้ามสื่อ

-  การเป็นเจ้าของข้ามสื่อ ลงทุนน้อย Content มีอยู่แล้วทำให้เกิดการขยายไปสู่ผู้รับรายอื่น

กสทช.เรื่องทีวีดิจิตอล พอมี 48 ช่องจะประมูลอย่างไร ไม่ให้เป็นลักษณะครองสิทธิ์ข้ามสื่อ เป็นอะไรที่จะรอดูต่อไป

คุณพิชญ์ภูรี

พอจะเปิดเผยได้หรือไม่ว่านโยบายของกสทช.จะดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ

ดร.พิรงรอง

-  ที่ทราบครั้งสุดท้ายยังไม่มีสูตรสำเร็จ เพียงแต่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องทำ แต่สูตรยังไม่เสร็จ

-  กสทช. และเป็นกสทช.และกทค. อยู่ใน 3 อนุ ไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย ไม่สามารถตอบได้จริง ๆ

คุณพิชญ์ภูรี

นโยบายการกำกับดูแลครองสิทธิ์ข้ามสื่อควรเป็นอย่างไรในประเทศไทย และกฎเกณฑ์ออกมาช้าจะมีผลอย่างไร

อาจารย์วีรวรรณ

-  ไม่ว่าเรื่อง 3 G และเรื่อง ดิจิตอลทีวี ได้รับมอบหมายจากคุณมิ่งขวัญให้ออก Roadmap ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000  แต่ปัจจุบันยังไม่ถึงไหนเลยอย่างในพม่าออกอากาศในระบบดิจิตอลได้แล้ว และลาวออก 4G ได้แล้ว

-  การครองสิทธิ์ข้ามสื่อตอนนี้ข้ามไปหมดเรียบร้อยแล้ว ทุกอย่าง Cross ไปหมดเรียบร้อยแล้ว  ปี 1980 มีอินเตอร์เนต  ปี 1990 หนังสือพิมพ์ใช้ระบบอินเตอร์เนต

-  สรุปคือกฎหมายเราช้ากว่าเทคโนโลยีมาก ๆ และเมื่อออกมาแล้วกฎหมายลูกก็ยังไม่ออกมาอีก ทั้ง ๆ ที่เราคุยเรื่องเทคโนโลยีมานานแล้ว ปัญหาอยู่ที่อะไร

-  อย่างไรก็ตาม มองว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการมีกฎหมายต้องมีการกำกับหรือไม่

-  FCC ของต่างประเทศต้องนำเสนอ Congress ของอเมริกา  5 เสียงใน Commission เป็น เดโมแครต 3 เสียง รีพับริกัน 2 เสียง  ของอเมริกา ถ้าเป็นเจ้าของไม่ได้มองไปถึงจำนวนเปอร์เซ็นเทจ  แต่ของบ้านเรา เช่นการดูเรื่องละครคนดูประมาณ 50 กว่าเปอร์เซ็น เราน่าจะดูถึงการเข้าถึงผู้บริโภคด้วย  ต้องมองถึงภาคประชาชนว่ามีสิทธิ์เป็นเจ้าของหรือไม่ เช่น FCC เป็นสื่อ โอเคหรือไม่คุ้มครองผู้บริโภคหรือไม่ อย่าง FCC เป็นกรณีเห็นชัดมาก อย่างฝรั่งเศสมี CSA  มีขนาดประเทศใกล้เคียงกัน เปลี่ยนจาก analog เป็นดิจิตอลใกล้เคียงกัน เราอาจต้องศึกษาตัวอย่างดู

ผอ.

-  ที่เห็นตัวอย่างคนที่อยู่ในสื่อการที่โทรคมนาคมจะมาถือครองสิทธิ์ข้ามสื่อมีมุมองในเรื่องนี้อย่างไร

ดร.พิรงรอง

-  ตามกฎหมายมองจากบรอดแคส หรือสื่อหนังสือพิมพ์  ประเด็นคือโทรคมนาคมคือผู้ผลิตเนื้อหาที่มีท่อ  ยังมีการแบ่งตามลักษณะของสื่อ แต่ก็มีการทำแบบไร้รอยต่อ

ผู้เข้าร่วม

อย่างในสิงคโปร์โทรคมนาคมมีสื่อในมือเขาด้วย อย่างในประเทศไทยก็คือเป้าหมาย Intouch ด้วย

ดร.พิรงรอง

-  ท่อมีเนื้อหา มีช่องทางไปสู่ผู้บริโภค อย่างไรก็ตามต้องเปลี่ยนไปที่ผู้บริโภคเพื่อการแยกแยะได้

-  เราควรเน้นไปที่ผู้บริโภครู้ถึงสถานการณ์ที่ควรจะเป็น

ดร.จีระ

-  คิดอยู่แล้วว่าแนวนี้น่าจะเกิดขึ้นเพราะสังคมไทยเป็นสังคมบ้าอำนาจและผูกขาด

-  ไม่ Happy ที่ ก.ศึกษาธิการให้ Nation ทำมหาวิทยาลัย

-  โดยข้อสรุปน่าจะมี 3 ประเด็น

1.ประโยชน์ของการไขว้กัน Diversity ต้องเลี่ยน Diversity เป็นมูลค่าให้ได้

2. ระหว่างยังไม่มีกฎหมายยอมรับ สิ่งที่จะเสนอคือ การศึกษาคุณธรรม จริยธรรมของเจ้าของให้ดีว่าเป้าหมายทำไปเพื่ออะไร

3. กสทช.ต้องไปศึกษา Competitive Law ที่กระทรวงพาณิชย์มีกฎหมายห้ามการผูกขาดอยู่แล้ว อำนาจของการเมืองวันนี้กับอำนาจของสื่อถ้าอยู่ในมือเดียวกันยุ่ง สิ่งสำคัญคืออยากให้สนใจคุณธรรมของผู้บริหารเหล่านี้ ว่าทำเพื่ออะไร กฎหมายต้องรอเวลาอีกนิดนึง อยากให้ถามตัวเองว่าเป็นสื่อเพื่ออะไร ตราบใดก็ตามเป็น Monopoly ที่เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวมจะไม่มีปัญหา  ในระหว่างการเตรียมการไม่มีปัญหา การ Cross Over บางส่วนดี แต่ถ้าผู้บริหารไม่หวังดีต่อประเทศ สิ่งนั้นน่ากลัว เพราะไม่รู้ว่าจะนำการบริหารไปสู่ทิศทางใด บทบาทของกสทช.คืออะไร

อาจารย์วีรวรรณ

-  ขอเพิ่มเติมเรื่องการข้ามสื่อโดยใครก็ตาม อย่างรูเพิร์ท เมอร์ดอก เป็นคนออสเตรเลียทำสื่อที่อังกฤษและอเมริกา เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ร้อยกว่าฉบับ เป็นเจ้าของโทรทัศน์มากกว่า 40 สถานี ทำให้อเมริกา ต้องเข้าไปดูสื่อว่าถ้าเกิน 45 % ที่ครอบคลุมผู้บริโภคไม่สามารถตีพิมพ์สื่อได้

-  วงการทีวี คนโทรทัศน์ 40 % ที่มีรายได้ ยังถือว่าเป็นการ Dominate และมีรายได้มากกว่าสื่ออื่น ๆ

-  Hot spot wireless มีการใช้มากที่ อเมริกา จีน ฝรั่งเศส …..

-  Cross เป็นได้ตลอด แต่ใครจะได้ประโยชน์สูงสุด

ดร.พิรงรอง

-  การที่พรรคการเมืองเป็นเจ้าของสื่อไม่ได้ห้าม แต่การเป็นนักการเมืองเป็นเจ้าของสื่อในมาตรา 47 ห้าม

-  มหาวิทยาลัยกับสื่อไม่คิดว่าน่ากลัว เพราะว่าอาจไม่ได้สำเร็จมากนัก

ความคิดเห็น

-  เห็นมานานแล้วว่าสื่อมีการเลือกข้างพรรคการเมืองอย่างเช่น สื่อ Blue Sky ในไทย แล้วอย่างใดเรียกว่าเหมาะสมสำหรับประเทศไทย

ดร.จีระ

-  ถ้าดีก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าล้างสมองก็อันตราย

-  สื่อวันนี้เป็นคนที่รับผิดชอบสูง ขอฝากให้คิดถึงส่วนรวมเยอะ ๆ

ดร.พิรงรอง

-  สื่อเลือกข้างเป็นเรื่องหนึ่ง พรรคการเมืองเป็นเจ้าของสื่ออีกเรื่องนึงเช่น Fox เป็นเจ้าของโดย รีพับลิกัน  Blue Sky เป็นเจ้าของโดยประชาธิปัตย์เป็นต้น

-  จริยธรรม เป็นเรื่องที่เป็นปัญหามาก และพบว่าสื่อกำลังเล่นการเมือง

-  สื่อจะเลือก Politic อะไร ต้องการไปใน Dynasty ไหน สื่อทำเพื่อความอยู่รอด

แสดงความคิดเห็น

ทีวีดิจิตอลเมื่อมีการประมูลต้องมีทุน เช่นทุนทางตะวันตก หรือทุนจีน  เป็นต้น

ดร.พิรงรอง

-  โดยหลักต้องมีการกลายสภาพ เช่น พ.ร.บ.ธุรกิจ  ทุนข้ามชาติ ทุนการเมือง

อาจารย์วีรวรรณ

-  พรรคการเมืองหรือสื่อเลือกข้างน่าเกลียดหรือไม่ ไม่น่าเกลียดเพราะเมืองนอกทำอยู่ แต่สิ่งที่ทำคือต้องมีจริยธรรม และให้มีจรรยาบรรณของสื่อ ให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง  FCC ดูอยู่และออกกฎว่าไม่ให้เกิน 47%

ดร.จีระ

-  อยากให้เน้นเรื่อง Enforcement ด้วย อย่างกสทช. บทบาทออกคำสั่งดี แต่การออกคำสั่งไม่ Effective

-  การควบคุม Regulator ส่วนใหญ่มีการควบคุมเฉย ๆ  อยากให้เขียนเรื่องคุณธรรม จริยธรรมเยอะหน่อย อ่านแล้วมีวิจารณญาณของตนเองจะช่วยได้เยอะ

-  ศักดิ์ศรีของสื่อคือพึ่งความจริง และไม่โกหก

อาจารย์วีรวรรณ

-  อเมริกามี Enforcement


โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/894/856/original_chiranaewnaASEAN_1japan.mht?1364186524

ที่มา: แนวหน้า วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2556 หน้า 5

http://www.naewna.com/politic/columnist/5918

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท