จากต่างคนต่างเรียนเป็นเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ


การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เป้าหมายคือนร. ได้ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งหมายความว่านร. ต้องฝึกปฏิบัติเพื่อให้ได้ทักษะ และทักษะอย่างหนึ่งที่ถือเป็นหัวใจคือทักษะการทำงานเป็นทีมซึ่งจะได้จากการเรียนรู้เป็นทีม (team learning)


          ในการประชุมเวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่๑๓ จัดโดย สสค. เมื่อบ่ายวันที่ ๕ ก.พ. ๕๖  มีการฉายวิดีทัศน์เรื่องการพัฒนาการเรียนรู้ในจ. จันทบุรี และกำแพงเพชร   ผมสังเกตว่าการจัดห้องเรียนในทั้งสองจังหวัดยังจัดเป็น classroom  นักเรียนนั่งที่โต๊ะเป็นแถวหันไปทางหน้าชั้นที่ครูยืนสอน  ที่ผมเรียกว่าจัดเป็น "ห้องสอน"  ไม่ใช่ "ห้องเรียน" 

          เป็นการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่๒๐  ไม่เป็นการเรียนรู้ในศตวรรษที่๒๑  ซึ่งต้องจัดห้องเรียนเป็น "ห้องทำงาน" (studio)  เพื่อการเรียนของนักเรียน  ไม่ใช่เพื่อการสอนของครู

          ภาพการจัดห้องในรร. และสถาบันการศึกษาเป็นแบบ "ห้องสอน" บอกกระบวนทัศน์ของการศึกษาในประเทศไทยว่ายังเน้นที่การสอนของครู  ไม่ใช่เน้นการเรียนของนักเรียน 

          ในห้องสอนแบบนี้ครูเป็นศูนย์กลาง  ไม่ใช่เด็กเป็นศูนย์กลาง 

          ในห้องสอนแบบนี้นักเรียนต่างคนต่างเรียน

          ในห้องสอนแบบนี้นักเรียนเรียนจากการรับถ่ายทอดความรู้จากครู

          การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑  เป้าหมายคือนร. ได้ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑  ซึ่งหมายความว่านร. ต้องฝึกปฏิบัติเพื่อให้ได้ทักษะ  และทักษะอย่างหนึ่งที่ถือเป็นหัวใจคือทักษะการทำงานเป็นทีมซึ่งจะได้จากการเรียนรู้เป็นทีม (team learning)

          การเรียนรู้เป็นทีมเป็นการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ (interactive learning through action)  เพื่อฝึกฝนทักษะจำนวนมากในคราวเดียวกัน  สำหรับการดำรงชีวิตในศตวรรษที่๒๑

          เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้  ต้องเปลี่ยนสภาพห้องเป็น“ห้องปฏิบัติ”หรือห้องทำงาน (studio)

          ผมจึงเสนอต่อที่ประชุมว่า  เพื่อบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ  ต้องเปลี่ยนสภาพห้องในโรงเรียนของทั้ง๒จังหวัดไม่ให้มีห้องแบบที่เห็นในวิดีทัศน์ภายใน๒- ๓ปี  เปลี่ยนมาเป็นห้องทำงานกลุ่มของนักเรียน  โดยครูเปลี่ยนจากยืนสอนหน้าชั้น  มาเป็นเดินไปโค้ชนักเรียนตามโต๊ะทำงานของนักเรียน


วิจารณ์  พานิช

๕ ก.พ. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 522319เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2013 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2013 11:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บทความของอาจารย์จุดประกายให้ดิฉันสนใจเปลี่ยนวิถีการเตรียมการสอน  เป็นการเตรียมการจัดการเรียนของนักศึกษา  ขออนุญาตนำแนวคิดไปทดลองฝึกใช้ในวิชาที่สอน  ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท