การทำเกษตรกรรมของภาคเหนือ


วัฒนธรรมที่สืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรม

     คนไทยในอาณาจักรล้านนามีชีวิตและความเป็นอยู่ โดยการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา หุบเขา มีพื้นที่ราบจำนวนน้อย คือ ประมาณ 1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ชาวบ้านทำนาแบบนาทดน้ำ พื้นที่สูงปลูกข้าวไร่ พื้นที่ที่ราบในแอ่งเขาอุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าวและพืชอื่นๆ ได้ดี คือ พื้น
ที่ราบแอ่งเชียงใหม่ลำพูน และแอ่งเชียงราย ส่วนลำปาง แพร่ น่าน ผลิตข้าวได้น้อย ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบผลิตเพื่อให้พออยู่พอกิน การติดต่อค้าขายระหว่างกันก็จะเป็นประเภทวัวต่างสินค้า มีของป่า เกลือ ผ้า อัญมณี เป็นต้น ส่วนการค้าขายในหมู่บ้านก็จะมี “กาดมั่ว”ใครมีของอะไรก็นำมาวางขายได้

คำว่า “กาดมั่ว” เป็นภาษาพื้นบ้านของทางล้านนา ซึ่งหมายถึง ตลาดที่คนเรานิยมไปซื้อทั้งของกินของใช้ ของกินพื้นบ้านทางภาคเหนือ และของใช้ที่ชาวบ้านประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา แล้วจะออกนำมาขายไม่ว่าจะเป็น
น้ำพริก แกงฮังเล แกงโฮะ ใส้อั่ว จิ้นปิ้ง (หมูปิ้ง) ขนมจีนน้ำเงี้ยว เป็นต้น ตลอดจนข้าวของเครื่องใช้ในชีวิต ประจำวัน ซึ่ง 'กาดมั่ว' จะเป็นตลาดที่ขายของปนเปกันไปอย่างไม่มีระเบียบเรียบร้อย


กาดมั่ว

     ชาวเหนือส่วนใหญ่จะมีอาชีพทำไร่ทำนา การทำนาส่วนใหญ่ก็่จะเป็นนาดำ ที่ลุ่มมากๆ จึงทำนาหว่านคน เหนือมักจะปลูกข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะบริโภคข้าวเหนียว ข้าวเหนียวภาคเหนือถือว่าเป็นข้าวที่มี
คุณภาพดี นึ่งสุกแล้วก็จะขาวสะอาดอ่อน และนิ่มน่ารับประทาน ข้าวพันธุ์ที่มีชื่อเสียง คือ "ข้าวสันป่าตอง"นอกจากทำนาแล้วยังปลูกพืชไร่อื่นๆ เช่น หอม กระเทียม ถั่ว ยาสูบ เป็นต้น นอกจากปลูกข้าวแล้วอาชีพทำ สวนก็เป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะทำสวนลำไย และลิ้นจี่ นอกจากจะขายให้คนไทยได้รับประทานแล้ว ยังส่ง ขายต่างประเทศอีกด้วย

     ยังมีอาชีพอีกอย่างหนึ่งซึ่งจะเป็นวัฒนธรรมของชาวบ้านภาคเหนือ คือ "การทำเมี่ยง" ซึ่งชาวเหนือชอบ กินหมากและอมเมี่ยง โดยเอาใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนนำมาหมักให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักนานได้ที่ เวลาจะเอาใบเมี่ยงมาอมก็ผสมเกลือเม็ดหรือของกิน หรืออย่างอื่นแล้วแต่จะชอบ

     นอกจากการอมเมี่ยงของคนล้านนา ทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่ มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือและยาวเกือบคืบ ชาว บ้านภาคเหนือเรียกบุหรี่ชนิดนี้ ว่า “ขี้โย” หรือ “บุหรี่ขี้โย” ที่นิยม สูบกันมาก อาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงจะทำให้ ร่างกายอบอุ่นขึ้น

     นอกจากอาชีพเกษตรกรรม ชาวเหนือยังประกอบอาชีพอื่นอีก อาจ เรียกได้ว่าเป็นหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ได้ คือ ผู้หญิง จะทอผ้า เมื่อเสร็จจากการทำนา นอกจากนั้นยังมีการแกะสลักไม้หรือ เทียน การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน และการทำเครื่องเหล็ก เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 522095เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2013 22:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2013 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท