ทำไมน้ำมันไทยแพงตอนที่ 3 ความรู้จากผู้รู้เรื่องน้ำมันไทย จาก ปตท.


น้ำมันไทย ไม่รู้ไว้บ้างไม่ได้ อาจทำให้ต้องใช้น้ำมันแพงไปตลอดกาลเพราะความไม่รู้ทันพวกขี้โกง

น้ำมันไทย ไม่รู้ไว้บ้างไม่ได้ อาจทำให้ต้องใช้น้ำมันแพงไปตลอดกาลเพราะความไม่รู้ทันพวกขี้โกง

ความจริงที่คนไทยไม่เคยรู้ และยากที่จะรู้ แต่สามารถรู้ได้

โดย ม.ล. กรกสิวัฒน์ เกษมศรี

นำมาจาก  http://thai-energy.blogspot.com/2013/02/blog-post.html

1. ประเทศไทยผลิตน้ำมันดิบ ติดอันดับ 33 ของโลก

ข้อมูลของรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา EIA ได้จัดอันดับไทยให้อยู่่ลำดับที่ 24 ของโลกในการผลิตก๊าซธรรมชาติ และลำดับที่ 33 ของโลกในการผลิตน้ำมัน จากประเทศที่ผลิตน้ำมันกว่า 200 ประเทศ โดยสูงกว่าประเทศบรูไนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเศรษฐีน้ำมัน

แต่ทำไมส่วนแบ่ง ผลประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมของไทยจึงต่ำที่สุดในกลุ่มอาเซียน และต่ำกว่าประเทศที่สูบน้ำมันและก๊าซได้น้อยกว่าประเทศไทย เช่น พม่าหรือกัมพูชา ???

สาเหตุเพราะ ประเทศไทยไม่เคยเจาะสำรวจปริมาณสำรองของแหล่งพลังงาน ทำให้

ไม่มีข้อมูล โดย ตรง จึงต้องเชื่อข้อมูลที่ได้รับสัมปทานโดยตรง ฝ่ายเดียว ซึ่งต่างจากประเทศอื่นที่ต้องสำรวจศักยภาพปิโตรเลียมก่อนแล้วจึงให้สัมปทาน

การที่มาอ้างว่าไม่มีงบประมาณ ทั้งๆที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 20 ปี มูลค่าก๊าซและน้ำมันดิบที่สูงกว่า 3.4 ล้าน ล้าน บาท ก็จะสูงกว่าค่าขุดเจาะมาก คือเสียเพียง 3.4 หมื่นล้านบาท (ซึ่งคิดเป็นเพียง 1%ของรายได้ที่ควรได้ ) แต่กลับไม่ทำ ในขณะที่กัมพูชายังจ้างบริษัทที่ปรึกษาถึง2บริษัทเพื่อมาประเมินศักยภาพ ปิโตรเลียมในประเทศตน (แต่ไทยไม่ทำ)

2. น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติบนขวานทองของไทย

ปิโตรเลียม (ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ) ของประเทศไทย มีทั้งบนบกและในทะเล (ข้อมูลที่ยืนยันคือประเทศไทย พบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ จำนวนมาก แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่) ข้อมูลจากองค์กรกลุ่มโอเปกในรายงานประจำปี (Annual Statistical Bulletin 2010/2011) ระบุว่าไทยมีก๊าซธรรมชาติ มากกว่า กลุ่มประเทศโอเปก 8 ประเทศ

ทุกวันนี้ประเทศไทยมีบ่อผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ 2768 แห่ง

แหล่งปิโตรเลียม

ล้านลิตรต่อปี

แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ (กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์)

2,000 ล้านลิตรต่อปี

แหล่งเพชรบูรณ์

94 ล้านลิตรต่อปี

แหล่งสุพรรณบุรี

90 ล้านลิตรต่อปี

แหล่งเชียงใหม่

60 ล้านลิตรต่อปี

แหล่งในทะเล เช่น แหล่งบงกช

10,000 ล้านลิตรต่อปี

3. ประเทศไทยผลิตก๊าซธรรมชาติ ติดอันดับ 24 ของโลก

ปัจจุบัน ราชการอ้างว่า ปิโตรเลียมบ่อเล็กกำลังจะหมด แต่จากรายงานประจำปีของกระทรวงพลังงาน พบว่า ปริมาณน้ำมันปิโตรเลียมที่ขุดได้กลับเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่าน มา ข้อมูลการขุดน้ำมันในเดือนพฤษภาคม 2555 คือ 1ล้านบาร์เรล หรือ 160 ล้านลิตรต่อวัน

Census Bureau (หน่วยงาน กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ) จัดประเทศไทย ให้อยู่ในกลุ่ม World Major Producer ของก๊าซธรรมชาติ ติดอันดับการผลิตน้ำมัน Top 15% ของโลก แต่ผลประโยชน์ที่กลับคืนสู่ประเทศไทยกลับต่ำกว่า ประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตที่ต่ำกว่า

ที่ประเทศสหรัฐ จะมีการทำข้อมูลทรัพยากรปิโตรเลียมอย่างโปร่งใส มีหน่วยงานกลางคอยเก็บข้อมูลเพื่อป้องกันการสร้างผลประโยชน์ทับซ้อนของคน บางกลุ่ม นอกจากนั้นสหรัฐ ยังมีระบบที่สามารถตรวจสอบและถ่วงดุลกันได้

ในขณะที่ประเทศไทยกลับเอาผู้มีผลประโยชน์ทางด้าน พลังงาน ไปนั้งกำกับดูแลธุรกิจพลังงาน และคนดูแลเก็ยข้อมูลพลังงานกลับมีผลประโยชน์ร่วมกับผู้รับสัมปทาน ทำให้งบการเงินของบริษัทขุดเจาะและผู้ค้าน้ำมัน มีกำไรมหาศาลจากปิโตรเลียมของไทย เป็นหลายแสนล้าน

4. สหรัฐนำเข้า น้ำมันดิบจากไทย แต่ขายถูกกว่าไทยลิตรละ 10 บาท

คนไทยใช้น้ำมันเบนซิน ดีเซลเพียง 73-75 ล้านลิตร ซึ่งเป็นอัตราคงที่มากว่า 8 ปีแล้ว ไทยส่งออกน้ำมันดิบชั้นดี มีมลภาวะต่ำ ไปขายสหรัฐ มีข้อมูลในเว็บของ Census Bureau (http://www.census.gov) ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์ สหรัฐ ระบุชัดเจนว่า สหรัฐนำเข้าน้ำมันดิบจากไทยมานานแล้ว

ปี 2551 ไทยส่งออกปิโตรเลียม (น้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว) รวมเกือบ 300,000 ล้านบาทหรือประมาณ 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นมูลค่าที่มากกว่าข้าวและยางพารา

ต้นเดือน มกราคมปี 2555 ไทยส่งออกน้ำมันดิบไปสหรัฐมาถึง 1.2 ล้านบาร์เรล แต่ราคาน้ำมันเบนซินหน้าปั้มของสหรัฐ กลับมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซินที่ขายในไทยถึงลิตรละ 10-14 บาท ทั้งๆที่สหรัฐเป็นประเทศการค้าเสรี ที่บริษัทพลังงานไม่อุดหนุนราคาน้ำมัน ดังนั้นแม้สหรัฐจะขายในราคานี้ สหรัฐก็ยังมีกำไรแน่นอน  ฯลฯ 

ยังมีต่อคลิ๊กอ่านได้ในเว็บไซต์ข้างต้นครับ


หมายเลขบันทึก: 521876เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2013 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2013 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9490000062851 

 “โสภณ” แฉคนไทยถูกปล้นจากราคาน้ำมัน “นักการเมือง-ทุนสิงคโปร์” งาบไป 5 แสนล้าน

ศูนย์ข่าวขอนแก่น - อดีต ส.ว.กรุงเทพฯ “โสภณ สุภาพงษ์” ระบุคนไทยต้องเผชิญปัญหาน้ำมันรุนแรงกว่าต่างชาติ เหตุเจอนักการเมืองขายชาติ สร้างผลประโยชน์ให้พวกพ้อง ปล้นคนไทยทั้งชาติด้วย แปรรูป ปตท.ฟันกำไรเหนาะกว่า 210,000 ล้านบาท อีกทั้งใช้อำนาจรัฐกำหนดราคาขายน้ำมันให้สูงกว่าความเป็นจริง สวาปามตลอดระยะเวลา 3 ปี กว่า 300,000 ล้านบาท อ้างรัฐได้ประโยชน์ ทั้งที่ถือหุ้นแค่ 30% ส่วนที่เหลือ 70% ถูกทุนสิงคโปร์ นักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐงาบ

 วันนี้ (13 พ.ค.) พันธมิตรประชาชนขอนแก่นเพื่อประชาธิปไตย จัดบรรยายในหัวข้อ “ใครอยู่เบื้องหลังน้ำมันแพง” มีนายโสภณ สุภาพงษ์ รักษาการสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพฯ ในฐานะอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจาก ปิโตรเลียม เป็นผู้บรรยายในหัวข้อดังกล่าว ซึ่งได้รับความสนใจจากบุคลากรในมหาวิทยาลัยขอนแก่น นักธุรกิจ ประชาชนทั่วไป ร่วมรับฟังไม่น้อยกว่า 200 คน ณ ห้องบรรยาย 3 คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
 นายโสภณ กล่าวถึงประเด็นปัญหาราคาน้ำมันว่า ณ ปัจจุบันประชาชนทั่วโลก กำลังเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันอย่างรุนแรง โดยทุกๆ ประเทศต้องเผชิญปัญหาราคาน้ำมันในลักษณะเดียวกัน คือ การเก็งกำไรจากราคาน้ำมันดิบของบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาเก็งกำไร ปั่นราคาน้ำมันดิบ จากต้นทุนไม่เกิน 3-4 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล แต่ถูกบริษัทข้ามชาติเข้ามาเก็งกำไรราคาน้ำมัน จนราคาขึ้นมาถึง 60-70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
 ขณะที่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศกลับต้องเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมัน มากกว่าประเทศอื่น ด้วยปัจจัยภายในประเทศถึง 2 ปัจจัย คือ ประการแรก การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปตท. ถูกนำไปขายราคาต่ำให้กับต่างชาติสิงคโปร์ นักการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐบางคน เป็นส่วนใหญ่ โดยมีคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นประธานเห็นชอบให้ขายในราคา 35 บาทต่อหุ้น ทั้งหมด 850 ล้านหุ้น รวมมูลค่า 30,000 ล้านบาท
 
 ถือเป็นการนำเอาทรัพย์สินของประชาชน ไปขายให้กับต่างชาติ นักการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐ ในราคาต่ำ เพื่อสร้างผลประโยชน์และกำไรให้กับตนเอง ณ ปัจจุบันราคาหุ้นปตท. มีราคาสูงถึง 245 บาทต่อหุ้น หรือรวมกันประมาณ 210,000 ล้านบาท เท่ากับหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของประชาชนคนไทยทั้งประเทศได้ถึง 180,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นหากำไรในระดับแรก
 
 นายโสภณ กล่าวต่อว่า นอกจากคนไทยต้องเผชิญกับหากำไรจากจากการกำหนดราคาน้ำมันของคณะกรรมการนโยบายพลังงาน ที่มีนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ 5-6 คนเป็นทั้งผู้ถือหุ้น เป็นประธาน หรือกรรมการบริษัทน้ำมัน 7 บริษัท ประกอบด้วยโรงกลั่นในเครือ ปตท.4 บริษัท คือ สตาร์, ระยอง, ไทยออย์, บางจาก บริษัทน้ำมัน ESSO, RPC, TPI และบริษัท ปตท. ด้วยการกำหนดควบคุมราคาขายน้ำมันของบริษัทน้ำมันให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่วันที่ 13 กพ. 46 เป็นต้นมา ทำให้ตลอดระยะเวลา 3 ปี ผลกำไรของ ปตท.และบริษัทน้ำมันทั้ง 7 แห่ง มีตัวเลขกำไรรวมจาก 22,099 ล้านบาท เมื่อปี 2545 (ก่อนกำหนดควบคุม) เป็นกำไร 56,686 ล้านบาทในปี 2546 กำไร 120,989 ล้านบาท ในปี 2547 และมีกำไรสูงถึง 202,020 ล้านบาท เมื่อสิ้นปี 2548 ที่ผ่านมา
 
 กำไรของบริษัทน้ำมันมาจากคณะกรรมการนโยบายกำหนดราคาน้ำมันให้บริษัทน้ำมันเพิ่มขึ้นมหาศาลมากกว่าต้นทุนค่าน้ำมันดิบที่เพิ่มจริง จากการปล่อยให้หากำไรจากสต๊อกน้ำมันราคาต่ำได้ และจากราคาก๊าซ เป็นต้น
 
 นายโสภณ กล่าวต่อว่า การหาผลประโยชน์จากราคาน้ำมันดังกล่าว ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์มักจะอ้างว่ารัฐหรือประเทศชาติได้รับผลประโยชน์ จากการที่รัฐเข้าไปถือหุ้นบริษัทน้ำมัน แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว รัฐถือหุ้นเพียง 30% เท่านั้น ส่วนที่เหลือ 70% มีทุนสิงคโปร์ นักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ เป็นผู้ถือหุ้น และได้รับผลประโยชน์จากการกำหนดราคาดังกล่าว
 
 นอกจากการหาผลประโยชน์จากราคาน้ำมันแล้ว นักการเมืองยังคิดที่จะแปรรูปประเทศ เพื่อหวังครอบครองธุรกิจน้ำมัน ไฟฟ้า ธุรกิจโทรคมนาคม ธุรกิจการบิน ด้วยการแปรรูปเป็นบริษัทเอกชน โดยธุรกิจน้ำมัน คนไทยต้องจ่ายเงินซื้อน้ำมันไม่น้อยกว่าปีละ 8 แสนล้านบาท
 
 ส่วนการใช้ไฟฟ้า ปัจจุบันคนไทยใช้ไฟฟ้าไม่น้อยกว่าปีละ 120,000 ล้านหน่วย/ปี คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 3 แสนล้านบาท/ปี หากนักการเมืองสามารถเข้าไปครอบครอง กำหนดค่าไฟฟ้าเพิ่มอีก 1 บาท/หน่วย จะสามารถสร้างกำไรได้ถึง 120,000 ล้านบาท/ปี ส่วนโทรคมนาคม มีมูลค่าถึง 200,000 ล้านบาท/ปี
 
 โครงสร้างดังกล่าว หากมีกลุ่มทุนเข้าไปครอบครองได้ทั้งหมด ด้วยการเอาทรัพย์สินของคนไทยทั้งประเทศ ไปแปรรูปเข้าตลาดหุ้น จะได้ผลประโยชน์สูงมาก สามารถสร้างผลกำไรได้ถึง 1.3 ล้านบาท/ปี และที่น่าเป็นหากกลุ่มทุนดังกล่าวเป็นนักการเมืองด้วยแล้ว จะหาผลประโยชน์ได้อย่างมหาศาล ด้วยการเข้าไปกำหนดราคา กำหนดนโยบาย เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจดังกล่าว


ท่านผู้รู้เรื่องน้ำมันอุสาห่ทำการ์ตูนให้ดูกัน ก็ช่วยกันดู เรียนรู้กันไปนะครับ

เรื่องที่ 1 อ้างอิง ราคาน้ำมัน ที่โรงกลั่นสิงคโปร์เพื่อ...

 http://www.facebook.com/l.php?u=http%3A%2F%2Fwww.youtube.com%2Fwatch%3Fv%3D5CPdti4D6Ms%26feature%3Dshare%26list%3DPL8jy_FROuwvrAyugtotiuuBfQpgahB7RJ&h=FAQEDoTjY 


เรื่องที่ 2 อมน้ำมัน ตอน หลุมน้ำมัน

http://www.facebook.com/l.php?u=http%3A%2F%2Fwww.youtube.com%2Fwatch%3Fv%3DuCxiSOwBCCQ%26feature%3Dshare%26list%3DPL8jy_FROuwvrAyugtotiuuBfQpgahB7RJ&h=-AQH02jB8  

ท่านนายกรัฐมนตรีท่านก็อยากให้คนไทยใช้น้ำมันไม่แพง 

http://youtu.be/mY4pRwpVHKM 

5 สาเหตุน้ำมันแพง  

http://men.postjung.com/661566.html  

มล.กรกสิวัฒน์ กล่าว ถึงข้อสรุปสาเหตุที่น้ำมันแพงว่ามี 5 ข้อ ประกอบด้วย

1.กำหนดราคาขายคนไทยแพงกว่าส่งออก โดยหนังสือชี้ชวนของโรงกลั่นที่เข้าตลาดหลักทรัพย์เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า กรณีจำหน่ายในประเทศให้ใช้ราคาเทียบเท่าราคานำเข้า ส่วนราคาส่งออกเทียบเท่าส่งออก โดยราคาจะต่างกันประมาณ 2 บาท ซึ่งข้ออ้างที่มีการชี้แจงในกรรมาธิการฯ วุฒิสภา คือเพื่อสร้างแรงจูงใจให้โรงกลั่น ทั้งนี่ หากมีการขายตามกลไกตลาด ราคาจะใกล้เคียงราคาส่งออก

2.การครอบงำธุรกิจการกลั่น จากกิจการโรงกลั่นทั้งหมด 6 โรง ปัจจุบัน 5 โรง มีผู้ถือหุ้นใหญ่รายเดียวกันคือ ปตท. ส่งผลให้ธุรกิจการกลั่นไม่มีการแข่งขันและทำให้บริษัทพลังงานขนาดใหญ่มีอำนาจเหนือตลาด สามารถกำหนดค่าการตลาดได้สูงกว่าที่ควรจาก 1-1.5 บาทต่อลิตร ไปเป็น 2-12 บาทต่อลิตร ยกตัวอย่าง เบนซิน 95 ซึ่งสินค้าขายปริมาณการขายลดลง แต่มาจิ้น (ค่าการตลาด) เพิ่มขึ้น ซึ่งกลายเป็นข้อสงสัยทางเศรษฐศาสตร์ ขณะที่ปั๊มน้ำมันได้ค่าส่วนแบ่งการตลาดน้อยมาก และตั้งแต่ปี 48-49 ค่าการตลาดติดลบ ทำให้ปั๊มน้ำมันที่ไม่มีโรงกลั่นต้องปิดตัวลงจำนวนมาก

3.เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเพื่ออุ้มราคา LPG (ก๊าซหุงต้ม) ให้ธุรกิจปิโตรเคมี โดยตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจปิโตรเคมีใช้ LPG เพิ่มขึ้น และอยู่ในอันดับสูงสุด คือประมาณ 1.6 ล้านตัน มากกว่าภาคยานยนต์ซึ่งตกเป็นจำเลยว่าแย่งใช้ก๊าซจากภาครัวเรือนและเป็นการใช้ก๊าซผิดประเภท ที่ใช้มากขึ้น 4.6 แสนตัน ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีซื้อ LPG ต่ำกว่าภาคครัวเรือนซึ่งต้องจ่ายภาษีเพื่อไปจากกองทุนน้ำมันอีกต่อหนึ่ง และซื้อต่ำราคาตลาดโลกประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่เคยใส่เงินเข้ากองทุนน้ำมันเลย ก่อนหน้าปี 2555

“ที่ควักเงินกองทุนน้ำมันไป แล้วทำให้น้ำมันแพง ก็คือเอาเงินไปหนุนราคาวัตถุดิบให้ธุรกิจปิโตรเคมีนั่นเอง ถามว่ากองทุนน้ำมันคือกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ไปรักษาระดับราคาวัตถุดิบแปรว่าอะไรครับ นี่แหละครับใช้ผิดประเภท ชัดเจนไหมครับ” มล.กรกสิวัฒน์ กล่าว

มล.กรกสิวัฒน์ กล่าวด้วยว่า ในปี 2555 ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตปิโตรเลียมรวมถึง 968,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เราเป็นประเทศที่ไม่เอาส่วนแบ่งการผลิตหรือส่วนแบ่งรายได้ เก็บแค่เพียงภาษีอากรกับค่าภาคหลวง รวมแล้วคือ 30 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่า ขณะที่พม่าและกัมพูชาเก็บส่วนแบ่งกำไร และเมื่อปี 2547 ราคาน้ำมันอยู่ที่ 28 เหรียญต่อบาร์เรล ต่อมาขึ้นเป็น 100 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งแทบทุกประเทศในโลกมีการแก้ไขกฎหมาย แต่เราไม่แก้ เหล่านี้ส่งผลทำให้ส่วนแบ่งรายได้ของรัฐต่ำ

4.การให้สัมปทานถูก ผลประโยชน์จึงตกแก่บริษัทพลังงานอย่างมหาศาล ทั้งที่ประเทศไทยมีแอ่งสะสมก๊าซและน้ำมันดินจำนวนมากในทั่วทุกภูมิภาค แต่คนไทยต้องใช้ก๊าซแพงกว่าประเทศสหรัฐและเพื่อนบ้าน

5.การส่งออกน้ำมันดิบ ทั้งที่ขาดแคลน ทำให้ต้องนำเข้าทั้งน้ำมันดิบและก๊าซหุงต้มมากกว่าที่ควรเป็น

สุดท้ายในส่วนข้อเสนอ มล.กรกสิวัฒน์ กล่าวว่า ต้องแก้กฎหมาย พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 ซึ่งใช้มากกว่า 40 ปี และ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม (แก้ไขครั้งที่ 4) ปี 2532 เรื่องผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และต้องแก้ไขมติ ครม.เรื่องการเอาก๊าซ LPG ไปให้ธุรกิจปิโตรเคมีก่อนประชาชน และควรขายให้ธุรกิจปิโตรเคมีในราคาตลาดโลก

"มูลนิธิผู้บริโภค" แฉโครงสร้างการผูกขาดธุรกิจพลังงานไทย-พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ เอื้อประโยชน์ทับซ้อน


5 สาเหตุน้ำมันแพง  

http://men.postjung.com/661566.html

มล.กรกสิวัฒน์ กล่าว ถึงข้อสรุปสาเหตุที่น้ำมันแพงว่ามี 5 ข้อ ประกอบด้วย

1.กำหนดราคาขายคนไทยแพงกว่าส่งออก โดยหนังสือชี้ชวนของโรงกลั่นที่เข้าตลาดหลักทรัพย์เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า กรณีจำหน่ายในประเทศให้ใช้ราคาเทียบเท่าราคานำเข้า ส่วนราคาส่งออกเทียบเท่าส่งออก โดยราคาจะต่างกันประมาณ 2 บาท ซึ่งข้ออ้างที่มีการชี้แจงในกรรมาธิการฯ วุฒิสภา คือเพื่อสร้างแรงจูงใจให้โรงกลั่น ทั้งนี่ หากมีการขายตามกลไกตลาด ราคาจะใกล้เคียงราคาส่งออก

2.การครอบงำธุรกิจการกลั่น จากกิจการโรงกลั่นทั้งหมด 6 โรง ปัจจุบัน 5 โรง มีผู้ถือหุ้นใหญ่รายเดียวกันคือ ปตท. ส่งผลให้ธุรกิจการกลั่นไม่มีการแข่งขันและทำให้บริษัทพลังงานขนาดใหญ่มีอำนาจเหนือตลาด สามารถกำหนดค่าการตลาดได้สูงกว่าที่ควรจาก 1-1.5 บาทต่อลิตร ไปเป็น 2-12 บาทต่อลิตร ยกตัวอย่าง เบนซิน 95 ซึ่งสินค้าขายปริมาณการขายลดลง แต่มาจิ้น (ค่าการตลาด) เพิ่มขึ้น ซึ่งกลายเป็นข้อสงสัยทางเศรษฐศาสตร์ ขณะที่ปั๊มน้ำมันได้ค่าส่วนแบ่งการตลาดน้อยมาก และตั้งแต่ปี 48-49 ค่าการตลาดติดลบ ทำให้ปั๊มน้ำมันที่ไม่มีโรงกลั่นต้องปิดตัวลงจำนวนมาก

3.เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเพื่ออุ้มราคา LPG (ก๊าซหุงต้ม) ให้ธุรกิจปิโตรเคมี โดยตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจปิโตรเคมีใช้ LPG เพิ่มขึ้น และอยู่ในอันดับสูงสุด คือประมาณ 1.6 ล้านตัน มากกว่าภาคยานยนต์ซึ่งตกเป็นจำเลยว่าแย่งใช้ก๊าซจากภาครัวเรือนและเป็นการใช้ก๊าซผิดประเภท ที่ใช้มากขึ้น 4.6 แสนตัน ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีซื้อ LPG ต่ำกว่าภาคครัวเรือนซึ่งต้องจ่ายภาษีเพื่อไปจากกองทุนน้ำมันอีกต่อหนึ่ง และซื้อต่ำราคาตลาดโลกประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่เคยใส่เงินเข้ากองทุนน้ำมันเลย ก่อนหน้าปี 2555

“ที่ควักเงินกองทุนน้ำมันไป แล้วทำให้น้ำมันแพง ก็คือเอาเงินไปหนุนราคาวัตถุดิบให้ธุรกิจปิโตรเคมีนั่นเอง ถามว่ากองทุนน้ำมันคือกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ไปรักษาระดับราคาวัตถุดิบแปรว่าอะไรครับ นี่แหละครับใช้ผิดประเภท ชัดเจนไหมครับ” มล.กรกสิวัฒน์ กล่าว

4.การให้สัมปทานถูก ผลประโยชน์จึงตกแก่บริษัทพลังงานอย่างมหาศาล ทั้งที่ประเทศไทยมีแอ่งสะสมก๊าซและน้ำมันดินจำนวนมากในทั่วทุกภูมิภาค แต่คนไทยต้องใช้ก๊าซแพงกว่าประเทศสหรัฐและเพื่อนบ้าน

5.การส่งออกน้ำมันดิบ ทั้งที่ขาดแคลน ทำให้ต้องนำเข้าทั้งน้ำมันดิบและก๊าซหุงต้มมากกว่าที่ควรเป็น

สุดท้ายในส่วนข้อเสนอ มล.กรกสิวัฒน์ กล่าวว่า ต้องแก้กฎหมาย พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 ซึ่งใช้มากกว่า 40 ปี และ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม (แก้ไขครั้งที่ 4) ปี 2532 เรื่องผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และต้องแก้ไขมติ ครม.เรื่องการเอาก๊าซ LPG ไปให้ธุรกิจปิโตรเคมีก่อนประชาชน และควรขายให้ธุรกิจปิโตรเคมีในราคาตลาดโลก

"มูลนิธิผู้บริโภค" แฉโครงสร้างการผูกขาดธุรกิจพลังงานไทย-พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ เอื้อประโยชน์ทับซ้อน


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท