แก้ปัญหาดินดานแบบยั่งยืน


ปัญหาดินดานแน่นแข็งนั้นมักสร้างปัญหาต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ ทำให้ระบบรากที่มีหน้าที่หาอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่ เพราะไม่สามารถที่จะแผ่ขยายเจริญเติบโตออกไปได้จากสภาพดินที่แข็งกระด้างอย่างจัด อีกทั้งยิ่งเป็นดินที่ขุดจากดินชั้นล่างนำมาถมปรับปรุงพื้นที่ด้วยแล้วจะสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนคือปลูกกี่ครั้งก็ยังจะตายอยู่นั่นเอง ดินถมส่วนใหญ่จะมีอนุภาคของเหล็กอยู่มาก เมื่อทำปฏิกิริยากับอากาศ (oxidation) ก็จะเกิดสีสนิมขึ้นที่เนื้อดินและส่วนใหญ่จะมีสภาพเป็นกรดรุนแรงจึงปลูกพืชไม่ค่อยโตเท่าที่ควร


 ถ้าพบดินในลักษณะนี้จะต้องหมั่นรดน้ำพรวนดิน พลิกฟื้นผืนดินให้ได้รับกับอากาศอยู่บ่อยๆ ด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนโดยเฉพาะพืชตระหกูลถั่ว ปอเทือง โสนแอฟริกัน ฯลฯ แล้วทำการไถกลบ ขุด ถาก ถอน พรวน ทับหมักกับดินเพื่อใช้เป็นปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์และอาจจะเสริมด้วยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกเข้ามาอีกสักประมาณ 100 - 200 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 งาน เพื่อปรับปรุงบำรุงดินไปทีละน้อยๆ ก็สามารถที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว ช่วยพลิกฟื้นผืนดินให้กับมามีโครงสร้างที่แข็งแรงอุดมสมบูรณ์สมบูรณ์พร้อมต่อการเพาะปลูก แต่ถ้าต้องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแบบเร่งด่วนเพื่อให้ต้นไม้ที่ปลูกไปแล้วอยู่รอดก็สามารถใช้สารละลายดินดาน ALS29 ในอัตรา 30-50 ซี.ซี.  ต่อน้ำ 20 ลิตรราดรดฉีดพ่นในพื้นที่ 1 งานและตามด้วยสารปรับปรุงดิน พูมิชซัลเฟอร์ (หินแร่ภูเขาไฟ) ร่วมด้วยช่วยกันกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกเพื่อรักษาโครงสร้างดินให้ดำรงสภาพมีโครงสร้างที่สมบูรณ์ยาวนานต่อไป


 ในส่วนของดินที่มีปัญหาเรื่องความเป็นกรดและด่างก็ต้องปรับปรุงแก้ไขในเรื่องนี้เพิ่มเติมด้วยโดยในกรณีที่ดินเป็นกรดอาจจะต้องใช้ขี้เถ้า (ที่มีลักษณะสีขาว ชาวบ้านเรียกขี้เถ้าหัวหงอก), ปูนเปลือกหอย, แคลเซียม, โดโลไมท์และฟอสเฟต ซึ่งทั้งหมดนี้คือกลุ่มของวัสดุปูนมีความเป็นด่าง เมื่อจะนำมาใช้จะต้องตรวจวัดกรดด่างของดินให้ดีเสียก่อน ในอีกกรณีที่ดินเป็นด่างให้ใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกเป็นพื้นฐาน เพื่อให้จุลินทรีย์ได้ย่อยและเกิดกรดอินทรีย์ (organic acid) (แต่วิธีนี้อาจจะต้องใช้ระยะเวลาหน่อย เหมาะสำหรับผู้ปลูกพืชผักไว้รับประทานเอง สามารถใช้ฟอสโฟยิ่ปซั่ม (ผลิตผลที่จากการผลิตปุ๋ยฟอสฟอรัส) และภูไมท์ซัลเฟตถุงสีแดง (หินแร่ภูเขาไฟแต่งเติม (formulate) กับหินแร่ภูเขาไฟ) ก็สามารถที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดินด่างได้รวดเร็วทันใจขึ้น


 มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ.  www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 520882เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2013 18:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2013 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท