เปรียบเทียบระหว่างนิทานพื้นบ้านและนิทานอีสป


เปรียบเทียบระหว่างนิทานพื้นบ้านและนิทานอีสป

นิทานพื้นบ้านเรื่อง เศรษฐีเจ้าเล่ห์กับลูกสาวชาวนา

เศรษฐีคนหนึ่งชอบใจลูกสาวชาวนายากไร้ผู้หนึ่ง จึงได้เชิญชาวนากับลูกสาวไปที่สวนในคฤหาสน์ของเขาซึ่งเป็นสวนกรวดกว้างใหญ่ที่มีแต่กรวดสีดำกับสีขาว เศรษฐีบอกชาวนาว่า ท่านเป็นหนี้สินข้าจำนวนหนึ่ง แต่หากท่านยกลูกสาวให้ข้า ข้าจะยกเลิกหนี้สินทั้งหมดให้ แต่ชาวนาไม่ตกลง เศรษฐีจึงบอกว่า "ถ้าเช่นนั้นเรามาพนันกันดีไหม ข้าจะหยิบกรวดสองก้อนขึ้นมาจากสวนใส่ลงในถุงผ้านี้ ก้อนหนึ่งสีดำ ก้อนหนึ่งสีขาว ให้ลูกสาวของท่านหยิบก้อนกรวดจากถุงนี้ หากนางหยิบได้ก้อนสีขาว ข้าจะยกหนี้สินให้ท่าน และนางไม่ต้องแต่งงานกับข้า แต่หากนางหยิบได้ก้อนสีดำ นางต้องแต่งงานกับข้า และแน่นอน ข้าจะยกหนี้ให้ท่านด้วย" ชาวนาจึงตอบตกลง
จากนั้นเศรษฐีได้หยิบกรวดสองก้อนใส่ลงในถุงผ้า บังเอิญหญิงสาวเหลือบไปเห็นพอดีว่ากรวดทั้งสองก้อนนั้นเป็นสีดำ 

เธอจะทำอย่างไร?
หากเธอไม่เปิดโปงความจริง ก็ต้องแต่งงานกับเศรษฐีขี้โกง
หากเธอเปิดโปงความจริง เศรษฐีย่อมเสียหน้า และยกเลิกเกมนี้
แต่บิดาของเธอก็ยังคงเป็นหนี้เศรษฐีต่อไปอีกนาน 

ลูกสาวชาวนาเอื้อมมือลงไปในถุงผ้า  หยิบกรวดขึ้นมาหนึ่งก้อน พลันเธอปล่อยกรวดในมือร่วงลงสู่พื้น กลืนหายไปในสีดำและขาวของสวนกรวด เธอมองหน้าเศรษฐี เอ่ยว่า "ขออภัยที่ข้าพลั้งเผลอปล่อยหินร่วงหล่น แต่ไม่เป็นไร ในเมื่อท่านใส่กรวดสีขาวกับสีดำอย่างละหนึ่งก้อนลงไปในถุงนี้ดังนั้นเมื่อเราเปิดถุงออกดูสีกรวดก้อนที่เหลือ ก็ย่อมรู้ทันทีว่ากรวดที่ข้าหยิบไปเมื่อครู่เป็นสีอะไร ที่ก้นถุงเป็นกรวดสีดำ ดังนั้นกรวดก้อนที่ข้าทำตกย่อมเป็นสีขาว" ในที่สุดชาวนาก้พ้นสภาพลูกหนี้ และลูกสาวไม่ต้องแต่งงานกับเศรษฐีขี้โกงคนนั้น 

ที่มา เว็บไซต์http://www.everykid.com/nitan2/richman_farmer/index.html

นิทานอีสปเรื่อง สิงโตกับที่ปรึกษา

พญาสิงโตได้ถามเเกะตัวหนึ่งว่า "ลมหายใจข้า กลิ่นเป็นอย่างไรบ้าง" เมื่อเเกะดมเเล้วก็ตอบตามความจริงว่า "เหม็นมากเลยท่านสิงโต" สิงโตโกรธมากจึงจับเเกะกินเสีย ต่อมาก็เรียกหมาป่าเข้ามาถาม หมาป่าเลยตอบว่า "ไม่มีกลิ่นเลยท่าน" คำตอบของหมาป่าทำให้สิงโตโกรธ สิงโตจึงจับหมาป่ากินเสีย เพราะคิดว่าหมาป่าได้เเต่ประจบ ไม่มีความจริงใจ ต่อมาสิงโตเรียกสุนัขจิ้งจอกมาถามบ้าง สุนัขจิ้งจอกจึงตอบว่า "วันนี้ข้าเป็นหวัด จมูกคงดมอะไรไม่ได้กลิ่นหรอกท่าน สิงโตเห็นว่ามีเหตุผลจึงปล่อยตัวไป

ที่มา เว็บไซต์http://นิทานอีสป.rakjung.com/data/

จะเห็นได้ว่านิทานทั้ง 2 เรื่องให้ข้อคิดที่เหมือนกัน คือสอนให้รู้ว่า “ถ้ามีปัญญา ก็สามารถที่จะเอาตัวรอดได้” ซึ่งบ่งบอกให้เห็นว่าทั้งคนในโลกตะวันตกและโลกตะวันออกต่างต้องใช้สติปัญญาและไหวพริบในการแก้ไขปัญเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นกับตนและคนรอบข้าง แต่มีความแตกต่างกันตรงที่การนำเสนอเรื่องราว โดยนิทานพื้นบ้านจะเล่าเรื่องราวผ่านตัวละครที่เป็นบุคคล จึงสามารถแสดงการกระทำ และความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ออกมาได้โดยตรง แตกต่างกับนิทานอีสปที่เล่าเรื่องราวผ่านตัวละครที่เป็นสัตว์ ซึ่งถึงแม้จะเป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกันแต่ผู้แต่งก็จินตนาการให้สัตว์ในเรื่องแสดงการกระทำ คำพูด และความรู้สึกนึกคิดที่เหมือนกับมนุษย์ออกมาได้เช่นเดียวกัน

นางสาวทิพนาถ  บัวทิพย์  ม.6/5 เลขที่ 22


หมายเลขบันทึก: 520733เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2013 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2013 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท