ฉากที่ 4 พระตรีโลกนาถแผ้ว
เผด็จมาร
สันติสุขกับสงครามนั้นสลับสับเปลี่ยนกันอยู่เสมอ
สงครามครั้งสำคัญในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
เมื่อปีพุทธศักราช 2091 ทำให้กรุงศรีอยุธยาสูญเสีย
“สมเด็จพระสุริโยทัย” พระอัครมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
แต่วีรกรรมของพระองค์ในครั้งนั้นก็เป็นเกียรติยศและเกียรติศักดิ์ของชาติไทย
คนไทยล้วนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณมิรู้ลืม ครั้นปีพุทธศักราช 2135
ในรัชสมัยของ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช”
ก็เกิดสงครามครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง คือ สงครามยุทธหัตถี
ชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรเหนือพระมหาอุปราชานั้นยิ่งใหญ่สมพระเกียรติยศขัตติยราช
พระเดชานุภาพเกิกไกรไปทั่วทุกทิศ
ปัจจามิตรไม่กล้ามารุกรานพระนครศรีอยุธยาอีกยาวนาน
ฉากที่ 5 ไตรรัตน์รุ่งเรืองจรูญ เจริญศาสนา นา
บ้านเมืองสงบร่มเย็น
ชีวิตของชาวเมืองมีระเบียบแบบแผนและขนบธรรมเนียมประเพณี
เป็นอารยธรรมที่แสดงถึงความเจริญสืบทอดกันมา
เมื่อย่างเข้าฤดูฝนพระมหากษัตริย์จะทรงโปรดฯ
ให้ประกอบพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ครั้นสิ้นวสันต์ออกพรรษา
การทอดกฐิน
ทอดผ้าป่าก็เป็นประเพณีปฏิบัติของทั้งชาวบ้านและชาววัง
ถึงฤดูน้ำหลากชายหญิงยุคนั้นก็ลอยเรือเล่นสักวา เล่นเพลงเรือ
เป็นที่บันเทิงรื่นเริงรมย์ทั่วกัน
ฉากที่ 6 มาแต่งไตรรัตน์เรือง รอบหล้า
พระปรางค์วัดมหาธาตุเด่นตระหง่านฝ่าแดดฝนมานานถึง 240
ปีเศษ ครั้นถึงรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
พระมหาธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ก้ถล่มทลายลงมา
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดฯให้ประชุมนักปราชญ์ราขกวี
นิพนธ์มหาชาติคำหลวงและสร้างพรไตรปิฎกจนจบบริบูรณ์
เพื่อปลอบขวัญบำรุงใจไพร่ฟ้า
แต่ยังไม่ทันได้ซ่อมสร้างพระปรางค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน
จนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองจึงระดมช่างซ่อมสร้างพระมหาธาตขึ้นใหม่
สูงกว่าเดิม 3 วา เมื่อพุทธศักราช 2176
และโปรดฯให้มีการเฉลิมฉลองครั้งใหญ่
โปรดติดตามตอนต่อไปครับ