การสร้างสุขภาวะ (Well-Being) ให้กันผู้ป่วย Spinal cord injury




จากสองหัวข้อที่ผ่านมา ได้กล่าวถึง Occupational Performance และ Quality of life ในผู้ป่วย SCI ไปแล้ว

ในหัวข้อนี้ จึงขอกล่าวถึงการเพิ่มความสุข (Well-Being) ในผู้ป่วย SCI

(จากบทความ "การเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรม (Occupational Performance) ในผู้ป่วย Spinal Cord Injury "  http://www.gotoknow.org/posts/520479)

(จากบทความ "การพัฒนาคุณภาพชีวิต (Quality of Life) ในผู้ป่วย Spinal Cord Injury" http://www.gotoknow.org/posts/520581)




well-being

       

          (ที่มาของรูป : http://training.tonyrobbins.com/wp-content/uploads/2012/10/happiness-image.jpg)

           

           ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ความสุข” ถ้าให้กล่าวถึงความหมายของความสุข ก็คงเป็นไปได้ยากที่จะนิยามได้ครอบคลุมถึงความสุขในความรู้สึกของคนทุกคน เพราะความสุขของแต่ละบุคคลก็จะแตกต่างกันไป

            ถ้ากล่าวถึงความหมายของ ความสุขในเชิงวิทยาศาสตร์แล้ว ความสุขคงหมายถึง การที่ร่างกายได้รับสิ่งกระตุ้น แล้วต่อมใต้สมอง เกิดการหลั่งฮอร์โมน Serotonin Dopamine หรือ Endorphine เข้าสู่ร่างกาย เพื่อให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย ลดความเจ็บปวด และทำให้อารมณ์ดีขึ้น

            

           แต่ในกลไกทางจิต กระบวนการที่ทำให้เกิดความสุขนั้น จะต้องมี 6 ขั้นตอน ดังนี้

       1. self esteem (การมีความภูมิใจในตนเอง)

       2. self value (การรู้ถึงคุณค่าในตนเอง)

       3. self confidence (การมีความมั่นใจในตนเอง)

       4. self efficacy (การรู้ถึงความสามารถของตนเอง)

       5. self empowerment (การเพิ่มความสามารถในตนเอง)

       6. well-being (การมีสุขภาวะในการดำเนินชีวิต)



           ในกระบวนการเพิ่ม Well-being ให้กับผู้ป่วย Spinal Cord Injury ด้วยกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดนั้น เราจะต้องทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้


1. การเพิ่ม Self Esteem ให้กับผู้ป่วย ถือเป็นขั้นตอนแรกในการสร้าง Well-being ซึ่งสามารถทำได้โดยจัดหากิจกรรมที่ผู้ป่วยสามารถทำได้หรือทำได้ดีให้ผู้ป่วยทำ อีกทั้งจะต้องเป็นกิจกรรมที่ผู้ป่วยให้ความสนใจ เช่น ในกรณีที่ผู้ป่วยเคยมีหน้าที่ประกอบอาหารให้คนในครอบครัวรับประทานเป็นประจำ การเลือกกิจกรรมทำอาหาร ถือเป็นทางเลือกที่ดีในการเพิ่ม Self Esteem ให้กับผู้ป่วย แต่ข้อควรระวัง คือ นักกิจกรรมบำบัดจะต้องปรับระดับความยากของกิจกรรม (Grading Activity) , ปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับศํกยภาพของผู้ป่วย รวมถึงดัดแปลงและจัดหาอุปกรณ์ต่างๆเพื่อทำให้การทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จมากที่สุด


2. การเพิ่ม Self Value ให้กับผู้ป่วย เป็นผลมาจากการเพิ่ม Self Esteem ในปริมาณที่มากเพียงพอ โดยเมื่อเรามีความภูมิใจในตนเอง (Self Esteem)มากเพียงพอ ก็จะเกิดการรู้ถึงคุณค่าของตัวเอง (Self Value) ขึ้น เช่น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความภูมิใจที่สามารถทำอาหารให้คนในครอบครัวรับประทานได้ ผู้ป่วยก็จะรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากขึ้น


3.การเพิ่ม Self Confidence ให้กับผู้ป่วย ก็จะเป็นผลมาจากการเพิ่ม Self Value ในปริมาณที่มากเพียงพอ เช่น ในกรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ที่สามารถประกอบอาหารให้คนในครอบครัวรับประทานได้เป็นประจำแล้ว ผู้ป่วย ก็จะมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ว่าตนเองสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างคนปกติ ผู้ป่วยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงโดย มีความต้องการที่จะเดินทางออกไปซื้อวัตถุดิบจากตลาดหรือร้านค้าด้วยตนเอง (แต่ในความเป็นจริงแล้ว (ผู้ป่วยอาจมีระดับความสามารถไม่เพียงพอ ในการทำกิจกรรมดังกล่าว)


4. การเพิ่ม Self Efficacy ให้กับผู้ป่วย เป็นผลมาจากการเพิ่ม Self Confidence ในปริมาณที่มากเพียงพอ โดยเมื่อผู้ป่วยมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ก็จะทำให้มีความกล้าที่จะยอมรับความจริง ถึงข้อจำกัดของตนเอง แต่ก็จะทำให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงความสามารถ ที่ตนเองสามารถทำได้ ดังเช่นเมื่อผู้ป่วยรับรู้ถึงความสามารถในการทำอาหารของตนเอง จนมีความมั่นใจในตนเองและมีความต้องการที่จะเดินทางออกไปซื้อวัตถุดิบนอกบ้าน ก็ทำให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงข้อจำกัดทางร่างกาย และระดับความสามารถในการเดินทางของผู้ป่วย และยอมรับถึงข้อจำกัดที่ตนเองมีได้


5. การเพิ่ม Self Empowerment ให้กับผู้ป่วย เป็นผลมาจากการเพิ่ม Self Efficacy ในปริมาณที่มากเพียงพอ เมื่อผู้ป่วย รับรู้ถึงความสามารถและข้อจำกัดของตนเอง (Self Efficacy) ผู้ป่วยก็จะรู้จักพัฒนาระดับความสามารถที่ตนเองต้องการ ให้ไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสมได้ เช่น ผู้ป่วยรับรู้ถึงความสามารถและความสำคัญในการทำอาหารของตนเอง แต่ผู้ป่วยก็รับรู้ถึงข้อจำกัดทางร่างกายและความสามารถในการเดินทางของตัวผู้ป่วยเองเช่นกัน ดังนั้นจึงทำให้ผู้ป่วย ต้องการฝึกฝนทักษะในการเดินทางต่อไป (ตามขั้นตอนทางกิจกรรมบำบัด)


6. การสร้าง Well-being ให้กับผู้ป่วย ก็เป็นผลมาจากการกระบวนการทั้ง 5 ขั้นตอน ดังที่กล่าวมาแล้ว เมื่อ Self-Esteem , Self-Value , Self-Confidence , Self-Efficacy และ Self-Empowerment เพิ่มขึ้น จนอยู่ในระดับที่เหมาะสม ผู้ป่วยก็จะเกิด Well-Being หรือความสุข ในชีวิตผู้ป่วย 




จะเห็นได้ว่า นักกิจกรรมบำบัด มีบทบาทมากในการช่วยเหลือผู้ป่วย Spinal Cord Injury ไม่ว่าจะเป็น 

   - การเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรม (Occupational Performance) ให้กับผู้ป่วย 

   - การพัฒนาคุณภาพชีวิต ( Quality of Life) ให้กับผู้ป่วย 

   - การสร้างสุขภาวะในการดำเนินชีวิต (Well-Being) ให้กับผู้ป่วย 

ทั้งสามข้อนี้ เป็นเสมือน  "แสงแห่งความหวัง" ที่นักกิจกรรมบำบัดสามารถมอบให้กับผู้ป่วยและครอบครัวได้ 







ต่อให้พื้นดินแห้งเพียงไหน ถ้าเรามี "ความหวัง"                      ต้นไม้ก็สามารถงอกงามขึ้นมาได้ 

เปรียบดังต่อให้ประสบกับโรคร้ายเพียงใด  ถ้าเรามี "ความหวัง"    เราก็จะผ่านพ้นมันไปได้




(ที่มาของรูป : http://www.mesothelioma.com/images/blog/posts/Happiness.jpg)




หมายเลขบันทึก: 520602เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2013 01:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2013 01:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เขียนได้ดีทีเดียวครับน้องขนุน บอกเพื่อนๆ นะว่า พี่จะค่อยๆ เข้าไปอ่านบันทึกนะ ตอนนี้มีเวลาอ่านได้ไม่มากนัก โชคดีครับ

ขอบคุณครับอาจารย์

ดีใจที่ได้พบน้องๆ หลังจากฟื้นจากอาการป่วย ขอบคุณมากครับที่น้องๆรักและห่วงใยวิชาชีพกิจกรรมบำบัดและพี่ ยินดีที่ไม่เป็นอันเรียนในการสังเกตพี่ ถ้าเป็นโอที ต้องสังเกต "ความสุขความสามารถ" และตั้งใจเรียนนะครับผม 555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท