การพัฒนาคุณภาพชีวิต (Quality of Life) ในผู้ป่วย Spinal cord injury


           การพัฒนาคุณภาพชีวิต (Quality of Life) ในผู้ป่วย Spinal cord injury

                

               (ที่มาของรูป : http://www.surfermag.com/files/2010/11/wpid-LRO-Ambassadors-535.jpg )


จากหัวข้อก่อนหน้านี้ที่กล่่าวถึงโรค SCI และการ เพิ่ม Occupational Performance ไปแล้ว นักกิจกรรมบำบัดยังสามารถเข้าไปมีส่วนช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Quality of life) ในผู้ป่วยได้อีกด้วย

(บทความการเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วย SCI http://www.gotoknow.org/posts/520479 )


ก่อนอื่นนั้น จึงต้องขออธิบายเกี่ยวกับคำว่า Quality of life ก่อน

คุณภาพชีวิต (quality of life) คือ องค์ประกอบของชีวิตที่นำมาสู่ความสุขและความพึงพอใจ คุณภาพชีวิตของบุคคลหนึ่ง จะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่มีและที่เป็นอยู่ของบุคคลนั้นๆ ซึ่งสิ่งแวดล้อมนั้นแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท


              1. สิ่งแวดล้อมทางความคิด

              2. สิ่งแวดล้อมทางสังคม

              3. สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม

              4. สิ่งแวดล้อมทางด้านจิตใจ

              5. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ


ผู้ป่วยที่เรานำมาวิเคราะห์ครั้งนี้คือผู้ป่วยโรค Spinal cord injury ซึ่งมีปัญหามากมาย การพัฒนาคุณภาพชีวิตนั้นต้องพัฒนาในด้านสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมทุกด้านหรือใกล้เคียงที่สุด


1. สิ่งแวดล้อมด้านความคิด ในระยะแรกผู้ป่วยอาจจะมีปํญหาด้านความเครียด ความวิตกกังวล และความคิดในแง่ลบอื่นๆที่จะส่งผลเสียต่อตัวผู้ป่วย สาเหตุมาจากการที่ยังไม่สามารถรับสภาพตนเองได้เนื่องจากตนเองมีสภาวะ      อัมพาต นักกิจกรรมบำบัด จึงมีบทบาทในการเข้าไปปรับความคิด ความเข้าใจให้กับผู้ป่วย โดยการให้ความรู้ หรือโดยเทคนิคอื่นๆตามกรอบความคิดของนักกิจกรรมบำบัด


2. สิ่งแวดล้อมทางสังคม คำว่า สังคม นั้นอาจดูกว้างไป ดังนั้นในการเริ่มปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมทางสังคม จึงต้องเริ่มปรับเปลี่ยนจากสังคมที่เล็กที่สุด นั่นก็คือ “ครอบครัว” ของผู้ป่วยเองก่อน โดยการให้ความรู้และทำความเข้าใจกับครอบครัวของผู้ป่วย เกี่ยวกับสภาวะของโรคและสภาวะของตัวผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางจิต นอกจากนั้น  นักกิจกรรมบำบัดยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง ในการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้ทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน


3. สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม นั้นไม่ได้หมายถึงแค่วัฒนธรรมประเพณีที่่สืบต่อกันมาของคนส่วนใหญ่ แต่หมายถึงความเชื่อ หรือสิ่งที่ประพฤติสืบทอดกันมาในกลุ่มคนกลุ่มคนหนึ่ง ซึ่งจะมีความลึกซึ้ง แตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละบุคคลนักกิจกรรมบำบัด จะมีหน้าที่ทำความเข้าใจความลึกซึ้งเหล่านั้น และปรับสภาพสิ่งแวดล้อมนั้นๆ            ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยให้มากที่สุด


4. สิ่งแวดล้อมทางด้านจิตใจ อาจหมายถึงความสุข-ทุกข์ ของตัวผู้ป่วยและคนรอบข้าง ซึ่งความสุขของคนเรานั้น  มีมากมายหลายประการ และสาเหตุของความสุขของแต่ละบุคคลก็แตกต่างกันและความสุขของคนๆหนึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา เช่นเมื่อตอนที่ผู้ป่วยยังปกติยังสามารถเดินได้ ความสุขก็อาจจะเป็นการอยู่บ้านเฉยๆ นอนพักผ่อนเพราะเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน แต่พอผู้ป่วยเปลี่ยนสภาพกลายเป็นคนพิการไม่สามารถเดินได้   ความสุขของผู้ป่วยอาจจะเปลี่ยนเป็นการเดินทางออกจากบ้านก็เป็นได้ นักกิจกรรมบำบัด มีหน้าที่มอบความสุขที่ถูกต้องและเหมาะสม ต่อบุคคลนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวผู้ป่วยเอง หรือคนรอบข้างของผู้ป่วย


5. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ อาจจะหมายถึงสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น บ้านของผู้ป่วย เป็นต้น ซึ่งสิ่งแวดล้อมด้านนี้  ก็ส่งผลต่อตัวผู้ป่วยมากต่อความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วย นักกิจกรรมบำบัด มีหน้าที่ปรับเปลี่ยน ดัดแปลงสิ่งแวดล้อมนี้ ให้เหมาะสมต่อสภาพของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการจัดความสูงของโต๊ะ การปรับสภาพของห้องน้ำให้เหมาะสมต่อผู้ป่วยซึ่งต้องใช้รถเข็น (wheel chair) เป็นต้น




            ในยุคปัจจุบัน คุณภาพชีวิตที่ดี เป็นสิ่งที่คนเราให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ

นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทมากในการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยในทุกๆด้าน ให้เหมาะสมกับผู้ป่วย Spinal Cord Injury ดังนั้นการเข้ารับ การบำบัด จากนักกิจกรรมบำบัด จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วย เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Quality of Life)   ของผู้ป่วย และครอบครัว 


          

                 ( ที่มาของรูป : http://nevadahomebuy.com/wp-content/uploads/quality-of-life.jpg )

หมายเลขบันทึก: 520581เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2013 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2013 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

...อ่านแล้วดีจังเลยค่ะ .... ขอบคุณ นะคะ ....

ให้รายละเอียดในสิ่งแวดล้อมแต่ละอย่างได้ละเอียดและเข้าใจง่ายมากเลยคะ

น่าจะเป็นประโยชน์มากๆเลยนะคะ   ^    ^

ขอบคุณมากครับ คุณ Dr.Ple และ คุณ SNITCH

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท