การเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมในผู้ป่วย Spinal cord injury


                


    

                      โรค Spinal cord Injury 


                       

                   (ที่มาของรูป : http://www.path-sci.com/sites/default/files/spinal-cord-injury-paralysis.jpg )


         อีกหนึ่งโรคที่นักกิจกรรมบำบัดจำเป็นต้องมีส่วนช่วยในการฟื้นฟู คือโรค SCI หรือ โรค spinal cord injury ก่อนอื่นจึงต้องขอทำความเข้าใจกับโรคนี้ก่อน

         โรค spinal cord injury หรือ SCI เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในปัจจุบัน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยทุกเพศและทุกวัย โดยส่วนมากมีสาเหตุมาจากการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ

          คำว่า spinal cord injury นั้น เป็นชื่อที่ถูกใช้เรียกรวมๆในผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหาย หรือเกิดพยาธิสภาพที่ไขสันหลัง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นความเสียหายทางกายภาพ ที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ


          สาเหตุหลักๆของโรคนี้คือการที่กระดูกสันหลัง เอ็นของกระดูกสันหลัง หรือหมอนรองกระดูกสันหลัง เกิดความเสียหาย ซึ่งจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. เกิดจากความเสียหายของกระดูกสันหลังโดยตรง เช่น เกิดจาก การแตกหัก การเคลื่อน หรือมีแรงกดที่กระดูกสันหลังมากกว่าปกติ นอกจากนั้นยังเกิดจากเลือดไหลบริเวณไขสันหลัง การบวม การอักเสบ และการคั่งของของเหลวต่างๆ

  2. ไม่ได้เกิดจากความเสียหายของกระดูกสันหลังโดยตรง เช่น เกิดจากโรคไขข้ออักเสบ โรคมะเร็ง การติดเชื้อ และการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลัง เป็นต้น


         อาการทั่วไปของโรค SCI

    • สูญเสียการเคลื่อนไหว

    • สูญเสียการรับความรู้สึก ประกอบด้วย ความรู้สึกสัมผัส ร้อน-เย็น

    • สูญเสียการควบคุมการถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ

    • รู้สึกเจ็บเนื่องจากไขสันหลังหรือเส้นประสาทไขสันหลังได้รับความเสียหาย

    • การหายใจ การไอ การกำจัดเสมหะออกจากปอด ทำได้ยากขึ้น


    โรค SCI สามารถแบ่งระดับความรุนแรงของพยาธิสภาพแบบง่ายๆ ออกเป็น 5 ระดับ

    แบบA แบบสมบูรณ์(complete) ผู้ป่วยจะสูญเสียการรับความรู้สึกและการควบคุมการเคลื่อนไหวทั้งหมด ตั้งแต่ระดับของไขสันหลังที่ได้รับความเสียหายลงไป

    แบบB แบบไม่สมบูรณ์(incomplete) คือ ผู้ป่วยสามารถรับความรู้สึกได้ แต่จะเสียการควบคุมการเคลื่อนไหวทั้งหมด ตั้งแต่ระดับของไขสันหลังที่ได้รับความเสียหายลงไป

    แบบC แบบไม่สมบูรณ์(incomplete) คือ ผู้ป่วยสามารถรับความรู้สึกได้ กล้ามเนื้อหลักจำนวนมากกว่าครึ่งในตั้งแต่ระดับของไขสันหลังที่ได้รับความเสียหายลงไป สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ แต่มีกำลังกล้ามเนื้อน้อยกว่าระดับ 3 ( muscle strength grade less than 3 )

    แบบD แบบไม่สมบูรณ์(incomplete) คือ ผู้ป่วยสามารถรับความรู้สึกได้ กล้ามเนื้อหลักจำนวนมากกว่าครึ่งในตั้งแต่ระดับของไขสันหลังที่ได้รับความเสียหายลงไป สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ และมีกำลังกล้ามเนื้อมากกว่าหรือเท่ากับระดับ 3 ( muscle strength grade 3 or more )

    แบบE แบบปกติ(normal) คือ สามารถรับความรู้สึก และควบคุมการเคลื่อนไหวทั้งร่างกายได้


    อาการอัมพาต ซึ่งเกิดจากโรค SCI สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ

    1. quadriplegia / tetraplegia (อัมพาตแขน-ขา) เกิดจากผู้ป่วยมีพยาธิสภาพที่ไขสันหลังในระดับสูงกว่ากระดูกสันหลังระดับอก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอัมพาตตั้งแต่ระดับที่เกิดพยาธิสภาพลงไป นั่นทำให้สูญเสียความรู้สึกและการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อแขนและขา อีกทั้งส่งผลกระทบต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหน้าอกและหน้าท้อง ทำให้การหายใจและการไอมีปัญหาไปด้วย

    2. paraplegia (อัมพาตครึ่งท่อน) เกิดจากผู้ป่วยมีพยาธิสภาพที่ไขสันหลังในระดับกระดูกสันหลังระดับอกลงไป ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอัมพาตตั้งแต่ลำตัวลงไป โดยอาการอัมพาตนี้จะเกิดมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระดับพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นที่ไขสันหลังด้วย ทั้งนี้ผู้ป่วยยังสามารถใช้งานแขนได้ตามปกติ

                                           

      (ที่มาของรูป : http://www.mayoclinic.com/images/image_popup/r7_spinalcordinjury.jpg )



    สำหรับผู้ป่วยโรค SCI นั้น นักกิจกรรมบำบัดมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูได้ ดังนี้

    จากที่กล่าวมา ปัญหาของผู้ป่วย คือ ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก และควบคุมการเคลื่อนไหวได้ ดังนั้น นักกิจกรรมบำบัด จึงช่วยในการฟื้นฟู โดยวิธีดังต่อไปนี้



    1. ฝึกกำลังกล้ามเนื้อให้กับผู้ป่วย                                                

    ฝึกกำลังกล้ามเนื้อให้ผู้ป่วยผ่านทางกิจกรรม เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีกำลังกล้ามเนื้อสำหรับทำกิจกรรมต่างๆได้

    (ที่มาของรูป: http://ecx.images-amazon.com/images/I/41v7aqeE9ML.jpg )



                                                     


             2. การบำบัดรักษาแขนและมือ (hand therapy)                 

    การรักษาช่วงการเคลื่อนไหว(ROM) ของข้อต่อต่างๆ , การดูแลและป้องกันอาการบวม (Edema) และการสวมใส่เฝือกอ่อน (splint) เพื่อป้องกันการผิดรูปของกระดูก รวมถึงการบำบัดด้วยวิธีต่างๆ เพื่อฟื้นฟู คงสภาพ ชดเชย การทำงานของแขนและมือ

    (ที่มาของรูป : http://www.irgpt.com/images/photo-of-hand-splint.jpg )




    3. ฝึก functional training และ ADL ให้กับผู้ป่วย

    - ฝึกสอนการดูแลตัวเอง เช่น การอาบน้ำ การแต่งตัว การปรุงอาหาร การรับประทานอาหาร การดูแลทำความสะอาดที่อยู่อาศัย ด้วยสภาพร่างกายที่เหลืออยู่ของผู้ป่วย

    (ที่มาของรูป : http://www.rnoh.nhs.uk/sites/default/files/man-standing-in-wheelchair.jpg )




                - ฝึกสอนการเคลื่อนย้ายตัวเอง เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเคลื่อนย้ายตัว ขณะอยู่บนเตียง การเคลื่อนย้ายไปมา ระหว่าง เตียง , wheel chair , shower chair , ห้องน้ำ , รถยนต์ และอุปกรณ์เคลื่อนย้ายอื่นๆ

    (ที่มาของรูป : http://www.rnoh.nhs.uk/sites/default/files/car-transfers.jpg )





                 

     - ฝึกสอนผู้ป่วยในการใช้ อุปกรณ์เคลื่อนย้าย เช่น รถเข็น (wheelchair) , ไม้ค้ำยัน (crutches), ไม้เท้า(cane) และ คอกหัดเดิน (walker) เป็นต้น นอกจากนั้นยังฝึกให้ผู้ป่วย  ใช้อุปกรณ์เคลื่อนย้ายในสภาพพื้นที่ต่างๆกัน(เช่น พื้นลาดเอียง พื้นขรุขระขึ้น-ลงบันไดหรือฟุตบาท)

    (ที่มาของรูป : http://www.rnoh.nhs.uk/sites/default/files/wheelchairs.jpg ) 




                   - ฝึกสอนผู้ป่วยให้รู้จักการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันแผลกดทับ                                 ไม่ว่าจะเป็นจากการนอนบนเตียง การนั่งบนรถเข็น หรืออื่นๆ

    (ที่มาของรูป : http://www.rnoh.nhs.uk/sites/default/files/Posture-Assessment2.jpg





    4. ฝึกใช้อุปกรณ์ดัดแปลง เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในการสื่อสาร   

                           เนื่องจากผู้ป่วย SCI นั้นมีข้อจำกัดในร่างกายหลายประการ นักกิจกรรมบำบัดจึงต้องหาอุปกรณ์ที่สามารถช่วยเหลือให้ผู้ป่วยสามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น  


                                    

               สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้แขนและมือได้ จะใช้ mouth sticks เพื่อช่วยในการกด keyboard และ จอสัมผัสต่างๆ เพื่อพิมพ์ข้อความ หรือ สามารถต่อดินสอตรงปลายเพื่อใช้เขียนข้อความได้

    (ที่มาของรูป : http://2.bp.blogspot.com/ Ebn6soqx1IE/RqnSoJty2DI/ AAAAAAAAABs/OGvMfuHVkpc/ s320/mouth%2Bstick%2Bvoting.jpg)




                        สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีแรงกำมือ แต่มีแรงแขน เราจะใช้ universal cuff ในการหยิบจับสิ่งของเช่นการแปรงฟัน การเขียนหนังสือ การรับประทานอาหาร การหวีผม เป็นต้น 


    (ที่มาของรูป : http://www.rehabmart.com/images html2/North%20Coast/NC-35350_Norco%20Universal %20Quad%20Cuff-1.jpg)




                        สำหรับผู้ป่วยที่พอมีแรงกำมือแต่ไม่มาก จะใช้ writing grip ช่วยให้การจับดินสอทำได้อย่างมั่นคงมากขึ้น และทำให้ช่วยเหลิอทักษะด้วนการเขียนสำหรับผู้ป่วย

       (ที่มาของรูป : http://www.bindependent.com/prodpics/elc142.jpg )





            การเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรม ( Occupational Performance) ของผู้ป่วย Spinal cord injury โดยอ้างอิงจาก Occupational Therapy model 

             

  อ้างอิงจาก model PEOP 

                 

                          (ที่มาของรูป : http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/881/538/ default_picture21309896555512.png?1361549538)


           " เนื่องจาก Occupational Performance เป็นผลมาจาก 4 ปัจจัย คือ P E O และ P

ดังนั้น การจะเพิ่ม Occupational Performance จึงต้องเพิ่มที่ P E O และ P ดังนี้... "


กระบวนการการเพิ่ม P (person)

ปัญหา = ผู้ป่วยมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง >> เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อให้กับผู้ป่วย ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ

ปัญหา = ผู้ป่วยไม่สามารถรับความรู้สึกได้ >> ฝึกการรับความรู้สึก ผ่านสื่อต่างๆ โดยใช้กิจกรรมเป็นตัวกระตุ้นความสนใจ

ปัญหา = ผู้ป่วยไม่เข้าใจถึงภาวะของโรคที่ตนเองเป็น  >> อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงภาวะของโรค และให้ความรู้เกี่ยวกับโรค เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจและปรับตัวได้ง่ายขึ้น

ปัญหา = ผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้า เนื่องจากไม่สามารถทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจได้ตามปกติ >>  ดัดแปลงกิจกรรมที่     ผู้ป่วยสนใจให้ง่ายและเหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจได้ตามปกติ


กระบวนการการเพิ่ม E (environment)

ปัญหา = สิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยไม่เหมาะสม ต่อการทำกิจกรรมดำเนินชีวิต >> ปรับแต่งสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม    รวมถึงจัดหาอุปกรณ์เสริม ที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกขึ้น

ปัญหา = ครอบครัวของผู้ป่วย ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพของผู้ป่วยได้ >> อธิบาย ให้ความรู้ และปรับ      ความเข้าใจของครอบครัวที่มีต่อตัวโรค และต่อตัวผู้ป่วยเอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจภายใจครอบครัว


กระบวนการการเพิ่ม O (occupation)

ปัญหา = ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจกรรมได้อย่างปกติ เช่น การทำ ADL >> ฝึกสอนให้ผู้ป่วยสามารถทำ ADL และ iADL ด้วยตนเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุด ภายใต้ข้อจำกัดของสภาพร่างกายของผู้ป่วย


กระบวนการการเพิ่ม P (performance)

ปัญหา = ผู้ป่วยไม่มีศักยภาพเพียงพอในการทำกิจกรรม >> เพิ่มความสามารถของผู้ป่วย โดยฝึกผ่านกิจกรรมที่ผู้ป่วยให้ความสนใจ รวมถึงการให้กำลังใจผู้ป่วย


              จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า นักกิจกรรมบำบัดมีส่วนมากในการช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรม (Occupational Performance) ของผู้ป่วย Spinal Cord Injury เพื่อให้ผู้ป่วยได้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติหรือใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด  
              นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต (Quality of Life)  และ เพิ่มความสุข (Well - Being) ให้กับผู้ป่วย  ได้อีกด้วย ดังจะกล่าวในหัวข้อต่อไป  

อ้างอิง

1. Wise Young, Ph.D., M.D.Spinal Cord Injury Levels & Classification[electronic material].[2013 Feb 23]. Available from : http://www.sci-info-pages.com/levels.html

2. Royal National Orthopaedic Hospital.Spinal Cord Injury[electronic material].[2013 Feb 23]. Available from : http://www.rnoh.nhs.uk/clinical-services/spinal-cord-injury-centre/occupational-therapy-spinal-cord-injury-centre








หมายเลขบันทึก: 520479เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท