การพัฒนาคุณภาพชีวิต(Quality of Life)ในผู้มีภาวะกลืนลำบาก(Dysphagia)


ในบทความนี้ซึ่งจะกล่าวถึง คุณภาพชีวิต(Quality of Life) ในผู้มีภาวะกลืนลำบาก 

ซึ่งต่อยอดมาจากบทความที่แล้วความสามารถในการทำกิจกรรมดำเนิชีวิตของผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia

          การที่ผู้ป่วยมีภาวะกลืนลำบากนั้น นอกจากจะส่งผลทางด้านความสามารถในการทำกิจกรรม(Occupational Performance)แล้ว ยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิต(Quality of Life)  อีกด้วย ซึ่งในทางกิจกรรมบำบัดนั้นมีจะมีการบำบัดรักษาด้วยวิธีต่างๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต

          บทบาทนักกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก

               1. ประเมินความสามารถในด้านการกลืนของผู้ป่วย

               2. ให้การรักษาทางด้านกิจกรรมบำบัดเกี่ยวกับการกลืน

               3.ให้คำแนะนำอุปกรณ์ช่วยในการรับประทานอาหารหรือเลือกอาหารในการฝึกแต่ละระดับ

               4. ฝึกให้ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารเองได้โดยไม่เป็นภาระกับผู้อื่น

1.จะต้องประเมินความสามารถในการกลืนของผู้ป่วยก่อนว่าสามารถกลืนได้ในระดับไหน โดยต้องดูถึงชนิดของอาหารในการกลืน ปริมาณ เป็นต้น
2.จะมีการแนะนำขั้นตอนในการกลืน การฝึกกล้ามเนื้อในการกินเช่น กล้ามเนื้อลิ้น กล้ามเนื้อที่คอยควบคุมริมฝีปาก


โดยมีวิธีการดังนี้

          1. จัดท่าผู้ป่วยในท่านั่ง  เข่างอ 90 องศา เท้าราบพื้น หลังตรงศรีษะอยู่กึ่งกลางกับเล็กน้อย

          2. กระตุ้นกล้ามเนื้อควบคุมริมฝีปากและลิ้น

              2.1 Quick stretch ยึดกล้ามเนื้อปากโดยใช้นิ้วหัวแม่มือวางที่มุมปากกดแรงลงแล้วปัดลงถ้าเป็นริมฝีปากล่าง ริมฝีปากบนปัดขึ้น

              2.2  การบริหารกล้ามเนื้อปาก เช่น ทำท่ายิ้ม...ทำปากจู๋..เคลื่อนไหวริมฝีปาก  ไปซ้าย - ขวาฝึกออกเสียง อา-อี-อู  เม้มปาก..อ้าปาก..ปิดปาก สลับกัน

                        

          2.3. การบริหารกล้ามเนื้อลิ้น

             2.3.1 ใช้ลิ้นแตะมุมปากทั้งสองข้างสลับกัน

             2.3.2 ใช้ลิ้นดันกระพุ้งแก้มทั้ง 2 ข้าง สลับกัน

             2.3.3.ใช้ไม้กดลิ้นดันด้านข้างของลิ้นผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยดันต้านกับไม้กดลิ้นทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง

             2.3.4. ให้ผู้ป่วยแลบลิ้นออกมาด้านหน้า

             2.3.5. ฝึกออกเสียง ลา ๆๆๆ ทา ๆๆ

          3. ตักอาหารในปริมาณเล็กน้อย (1/3-1/2่ ช้อนชา)

          4. ให้ผู้ป่วยก้มศรีษะก่อนกลืนอาหาร

             4.1 ครั้งที่ 1 กลืนอาหารที่อยู่ในปากลงไป

             4.2 ครั้งที่ 2 กลืนซ้ำอีก 1 ครั้ง

             4.3 ตรวจดูว่ามีอาหารตกค้างอยู่ในปากหรือไม่ ก่อนป้อนอาหารคำต่อไป

ลำดับขั้นการเลือกอาหารในการฝึกกลืน

อาหารผู้ป่วยที่ภาวะกลืนลำบาก แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้

1. Thick Puree - No liqlds อาหารในระดับนี้ยกตัวอย่าง เช่น  วุ้น เยลลี่ สังขยา

2. Thick and thin puree-thick liqulds เริ่มเมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารระดับ 1 ได้ดี เช่น โจ๊กข้น ๆ  โยเกิร์ต

3. Mechanical soft-thick liquids เช่น ข้าวต้ม เนื้อปลา

4. Mechanical soft dlet - liquids as tolerated เป็นอาหารธรรมดาที่เคี้ยวง่าย เช่น ก๋วยเตี๋ยว ข้าวต้มเครื่อง

          โดยหลักๆแล้วหน้าที่ของนักกิจกรรมบำบัดต่อการบำบัดรักษาผู้ป่วยเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนั้น จะอยู่ที่การฝึกให้ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้เองเป็นหลัก ซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวเองมีคุณค่าและไม่เป็นภาระต่อคนรอบข้าง รวมถึงยังทำให้สามารถรับประทานอาหารได้ดียิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตในด้านต่างๆของผู้ป่วยนั้นดีขึ้นตามลำดับ

          ซึ่งอย่างที่กล่าวไปเมื่อบทควาทที่แล้ว ว่าภาวะการกลืนลำบากนั้นเป็นภาวะแทรกซ้อนอันเกิดมาจากโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่แล้ว การที่คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจะดีขึ้นนั้นยังต้องอาศัยการร่วมมือของสหวิชาชีพเพื่อรักษาโรคที่เป็นอยู่ให้หายหรือให้ดียิ่งขึ้น

อ้างอิง:

อนุชิต อุปเวียง.ภาวะกลืนลำบาก(Dysphasia)[ElectronicMaterial].2555[2013 Feb 21].Available from :http://mccormickhospital.blogspot.com/2012/05/dysphasia.html


หมายเลขบันทึก: 520411เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 23:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013 00:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท