การศึกษาปัจจัย ICT ในงานวิจัย นวัตกรรมและการจัดการความรู้


1.หลักการและเหตุผล

ICT ถูกมองว่าอยู่เบื้องหลังความเจริญด้านเศรษฐกิจยาวนานอย่างที่ไม่เคยคิดมาก่อนช่วงทศวรรษที่แล้ว มันช่วยพัฒนาพื้นฐานของเศรษฐกิจได้แก่ไฟฟ้า น้ำประปา ระบบการขนส่ง และช่วยสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างนวัตกรรมและสร้างค่านิยมเศรษฐกิจที่สำคัญมากไปกว่านั้น ICT ช่วยให้โลกเราเสมือนหนึ่งอยู่ใกล้กันมากขึ้นโดยการปรับปรุงการเผื่อแพร่ความรู้อย่างไร้พรมแดนเปิดกว้างแก่สาธารณชนกระตุ้นให้เกิดงานวิจัย, นวัตกรรมและการอำนวยความสะดวกต่อการทำงานร่วมกันเกิดเป็นเศรษฐกิจความรู้ วงจรชีวิตของ ICT สั้นลงและมีการพัฒนา ICT ให้ทันสมัยมากขึ้นเพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ที่ใช้แข่งขันเศรษฐกิจสร้างความก้าวหน้าในงานทำให้ชีวิตดีขึ้น

งานวิจัยจำเป็นต้องใช้ความรู้เดิมและความรู้ใหม่การจัดการความรู้เป็นการแก้ปัญหาการแข่งขันในเศรษฐกิจด้านความรู้การศึกษาที่สูงขึ้นมีบทบาทอย่างมากในกระบวนการทั้งหมดด้วยการเตรียมและการจัดหาความสามารถของมนุษย์ที่ต้องการผ่านการศึกษาการสร้างและการกระจายความรู้แก่สังคมและเศรษฐกิจโดยตรง

 

2.วัตถุประสงค์ ศึกษาปัจจัย ICT ในงานวิจัย นวัตกรรมและการจัดการความรู้ โดยใช้คำถามวิจัยดังนี้

2.1  ค่านิยมถูกสร้างอย่างไร ที่ไหน
2.2  ICT ได้สร้างอะไรให้แก่กระบวนการสร้างสรรค์ด้านค่านิยม
2.3 การศึกษาระดับสูงมีบทบาทอะไรบ้าง และมันได้ปรับต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป อย่างรวดเร็วอย่างไร

3.ประโยชน์ที่ได้รับ

3.1 เข้าใจวัฏจักรความรู้ เพื่อให้เห็นภาพรวมการศึกษาปัจจัย ICT ในงานวิจัย นวัตกรรมและการจัดการความรู้
3.2 ทราบถึงบทบาทของ ICT ในการสร้างคุณค่าแบ่งเป็น 5 ด้านต่อไปนี้

     3.2.1 ประโยชน์ของ ICT ด้านงานวิจัย
             1) ช่วยเปลี่ยนข้อมูลดิบให้เป็นข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ เช่นข้อมูลธุรกิจ
             2) ช่วยให้ก่อเกิดงานวิจัยและนวัตกรรมด้วยทรัพยากรข้อมูลสารสนเทศที่เปิดกว้างไร้พรมแดน

     3.2.2 ประโยชน์ของ ICT ด้านนวัตกรรม
            1)
สร้างนวัตกรรมด้านความสัมพันธ์กับลูกค้าและสร้างความเป็นผู้นำด้านผลผลิต โดยการทำประวัติของลูกค้า, ฐานข้อมูลของลูกค้าช่วยในการจัดหาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการแก่ลูกค้าได้ขณะที่มีการเคารพสิทธิส่วนบุคคลของลูกค้า, การใช้เทคโนโลยีก้าวหน้าในการจัดการโปรแกรมข้อมูลคลังสินค้าทั้งหมดนี้อาจช่วยให้องค์กรมีประสิทธิภาพส่งผลให้ตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น

     3.2.3 ประโยชน์ของ ICT ด้านการท้าทายสังคม

            1) รัฐบาล ICT จัดหาบริการสาธารณชนที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้เป็นอย่างดี
           
2) ความมั่นคงด้านสังคมและสาธารณสุข ICT ช่วยให้ผู้ที่ประกอบอาชีพทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย ช่วยให้ระบบของการสาธารณสุขดีมีประสิทธิภาพโดยคุ้มค่ากับการลงทุน
           
3) พลังงาน / สิ่งแวดล้อมการใช้คอมพิวเตอร์สำรวจธรณีวิทยาช่วยการสำรวจน้ำมันและก๊าซช่วยลดค่าใช้จ่ายของการสำรวจและผลิตน้ำมัน, และช่วยในการพยากรณ์อากาศ
           
4) การขนส่งและการวางแผนในชนบท ช่วยบริหารจัดการด้านการจราจรในตัวเมืองทำให้ลดปัญหาการจราจรคับคั่งได้
            5)
การศึกษา ICT ทำให้ครูสะดวกที่จะถ่ายทอดความรู้ลงในอินเตอร์เน็ตและผู้เรียนเข้าถึงความรู้ง่าย,
ICT ใช้ได้ไม่จำกัดเวลา, สถานที่และเนื้อหาที่เรียนทำให้ขยายความรู้ไปสู่ชุมชนอย่างทั่วถึงไม่จำกัดเพศ อายุ วัย ฟรี

     3.2.4 ประโยชน์ของ ICT ด้านการท้าทายด้านธุรกิจ
             1)
การปรับปรุงคุณภาพการบริการลูกค้า
             2)
การอำนวยความสะดวกด้านการบริโภคขายสินค้าหลากหลายชนิด
             3)
การปรับปรุงกระบวนการผลผลิต
             4)
การทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ
             5)
การคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่

    3.2.5 ประโยชน์ของ ICT ด้านการจัดการความรู้ ช่วยจัดเก็บ, เผยแพร่ประสบการณ์ และปัจจุบันมีเครื่องมือซอฟแวร์ที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดซึ่งช่วยให้การปฏิบัติการด้านธุรกิจทันสมัยดีขึ้น

3.3 ช่วยตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาระดับสูง ว่าบทบาทของการศึกษาไม่เพียงแต่การเผยแพร่และการสร้างสรรค์ความรู้เท่านั้นแต่ยังรวมถึงการนำความรู้ไปใช้ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อสังคมและธุรกิจด้วย

4.วิธีดำเนินการ

4.1 วัฏจักรความรู้

          การศึกษาปัจจัย ICT ในงานวิจัย นวัตกรรมและการจัดการความรู้เริ่มศึกษาจากนวัตกรรมวัฏจักรความรู้เพื่อให้เห็นภาพรวมของการศึกษา ประกอบด้วยการได้มาซึ่งความรู้ การซึมซับความรู้และการพัฒนาความรู้จะนำมาซึ่งการสร้างสรรค์ค่านิยมใหม่และการค้นพบเทคโนโลยี/ความรู้ใหม่สู่การท้าทายด้านธุรกิจหรือสังคม นวัตกรรมวัฏจักรความรู้ประกอบ ด้วย 3 องค์ประกอบหลักดังนี้
           1) การได้มาซึ่งความรู้/เทคโนโลยี
          
2) การซึมซับความรู้/เทคโนโลยี
          
3) และการพัฒนาความรู้

           การจัดการความรู้สัมพันธ์กับความต้องการของสังคมและธุรกิจเน้นการนำประสบการณ์และความรู้มาใช้สร้างนวัตกรรมใหม่โดยจะเป็นการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหรือเป็นการพัฒนาจากนวัตกรรมที่มีอยู่แล้วให้เกิดเป็นนวัตกรรมที่ดีขึ้นโดยการรวมตัวกันของความรู้ระหว่าง ICT, ปัญหาธุรกิจ/สังคม

5.ระบบนิเวศวิทยาสำหรับนวัตกรรม

          งานวิจัยใช้ความรู้ปัจจัยที่ทำให้งานวิจัยสำเร็จคือคุณภาพโดยดูจากงานวิจัยนั้นจะต้องช่วยพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาให้อุตสาหกรรมและรับบาลได้และสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเกิดความยั่งยืนงานวิจัยจะประสบผลสำเร็จมหาวิทยาลัยควรจะจัดลำดับความสำคัญโดยเลือกทำงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมและรัฐบาลคือการทำงานร่วมกันของรัฐบาล,อุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัย ในช่วงเวลาที่เหมาะสม

6.ICT ในการจัดการความรู้

           การจัดการความรู้เป็นกระบวนการของการจัดการวัฏจักรความรู้ ICT ให้เครื่องมือและวิธีการอย่างกว้างขวางที่จะอำนวยความสะดวกการสร้างสรรค์กระบวนการอย่างมีคุณค่าช่วยจัดเก็บ, เผยแพร่ประสบการณ์และปัจจุบันมีเครื่องมือซอฟแวร์จำนวนมากที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดซึ่งช่วยให้การปฏิบัติการด้านธุรกิจทันสมัยดีขึ้น

           การศึกษาระดับสูงเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมระบบนิเวศวิทยาทำหน้าที่
          
1) การเผยแพร่ความรู้
           2)
การสร้างองค์ความรู้ใหม่  
           3)
การนำความรู้ไปใช้

            ผลผลิตขั้นสุดท้ายของมหาวิทยาลัยคือความรู้และคนงานที่มีความรู้ ซึ่งเป็นความต้องการของสังคมและธุรกิจการที่จะได้ผลเช่นนั้นมหาวิทยาลัยจะต้องเข้าใจความต้องการของเศรษฐกิจและสังคมเพื่อกำหนดหลักสูตรของมหาวิทยาลัยและผู้สอนต้องมีเกณฑ์ที่ได้มาตรฐานการศึกษา

  6.1 เกณฑ์ที่ได้มาตรฐานสำหรับการศึกษา

        6.1.1 ความสามารถในการทำงาน มีความสอดคล้องกับการศึกษาเพราะจะต้องสนองความต้องการของชุมชน
และการฝึกงานกับภาคธุรกิจจะได้ประสบการณ์การทำงานในชีวิตจริง 
        
6.1.2 ความสามารถหลายด้าน  นวัตกรรมและอาชีพในปัจจุบันต้องการความรู้ที่หลากหลายด้านธุรกิจและเทคโนโลยีโปรแกรมการศึกษาควรจะให้นักเรียนรู้ในศาสตร์ที่หลากหลาย
      6.13. ความสามารถในการปรับตัว  ตามที่โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็วนักศึกษาควรจะมีการเตรียมตัวรับมือกับสิ่งที่ไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นด้วยผลนี้ควรจะได้คิดพิจารณาหลักสูตรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต

 6.2 เกณฑ์ที่ได้มาตรฐานสำหรับการวิจัย

       6.2.1 คุณภาพ เลือกหัวข้อที่งานวิจัยอยู่บนความต้องการของธุรกิจและสังคม
       
6.2.2 ความสอดคล้องสัมพันธ์กัน จะต้องแน่ใจว่าผลงานวิจัยอาจะให้คุณค่าแก่รัฐบาล/ธุรกิจ
และผู้ใช้งานวิจัยหรือนวัตกรรมจะเป็นผู้สร้างสรรค์ทุนวิจัยต่อได้ในอนาคตโดยสอดคล้องของธุรกิจและสังคม
       
6.2.3 ความสามารถในความคงอยู่ต่อไป

7.สรุปผลการศึกษา

         เราได้พูดคุยกันถึงวัฏจักรความรู้/เทคโนโลยีว่าประกอบด้วยส่วนหลักๆ คือการได้มาซึ่งความรู้ การซึบซาบความรู้และการพัฒนาอย่างมีคุณค่า บทบาทของ  ICT ในการจัดการวัฏจักรความรู้เกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาอย่างมีคุณค่า (วิจัยและนวัตกรรม) ถูกอธิบายให้เห็นภาพชัดเจนโดยใช้บทบาทความท้าทายด้านธุรกิจ

          ในตอนสุดท้ายเราพูดถึงบทบาทของการศึกษาระดับสูงไม่เพียงแต่การเผยแพร่และการสร้างสรรค์ความรู้เท่านั้นแต่ยังรวมถึงการนำความรู้ไปใช้ตรงตามความต้องการของสังคมและธุรกิจทั้งนี้ต้องการทำงานร่วมกันของรัฐบาล, อุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัยในช่วงเวลาที่เหมาะสม

         สิ่งที่จะยืนยันคุณภาพคือ: ความยั่งยืนของงานวิจัย
        
สิ่งที่จะยืนยันว่าไม่ได้คุณภาพคือ: สภาวะการว่างงาน, สมองไหลที่เกิดขึ้นในสังคม

                                                               ----------------------

อ้างอิงจาก...นางสาวจงกลณี  ช้างวิเศษ










 

คำสำคัญ (Tags): #it#km#นวัตกรรม#ไอที
หมายเลขบันทึก: 519801เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2013 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2013 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท