เมืองสนสองใบ ประวัติความเป็นมาอำเภอพบพระ


เมืองสนสองใบ

[img src="file:///C:\DOCUME~1\pimsiri\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image004.jpg" align="left" height="225" hspace="12" width="211">

  ดอกสนสองใบและใบสน

 

สนสองใบ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 เมตร ลำต้นตรง เรือนยอดสมบูรณ์เป็นพุ่มกลม เปลือกมีสีค่อนข้างดำ หรือน้ำตาลปนดำ แตกเป็นร่องลึกและเป็นเกล็ดหนาแข็ง มักมียาง สีเหลืองอ่อนใส ๆ ขึ้นออกมาตามร่องแตก กระพี้สีเหลืองอ่อน มียางซึมออกทั่วไป ใบยาวเรียวออกเป็นกระจุกๆละสองใบ ยาว 15-25 เซนติเมตร โคนใบอัดแน่นอยู่ในกาบหุ้ม

[img src="file:///C:\DOCUME~1\pimsiri\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image006.jpg" align="left" height="177" hspace="12" width="185">ดอกตัวผู้จะออกเป็นช่อสีเหลืองแบบหางกระรอก

ดอกสนสองใบเมื่อแก่

 

อยู่ติดกันเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่ง ยาว 2-4 เซนติเมตร  ดอกตัวเมียออกชิดติดกิ่งเข้ามา  มักออกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะเจริญเติบโตเป็นผลอ่อนรูปค่อนข้างยาว 5-8 เซนติเมตร คล้ายดอกยอ เมื่อผลแก่จัดจะแตกเป็นเกล็ด หรือกลีบแข็งซ้อนติดกัน แกนกลางของผลคล้ายดอกรักเร่ มีปีกบางติดอยู่ด้านในของกลีบๆละสองเมล็ด เมล็ดรูปรีสีน้ำตาลอ่อน ชอบขึ้นเป็นหมู่ตาม

  ภูเขาที่แห้งแล้ง และขึ้นผสมในป่าเต็งรังทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นได้ตั้งแต่ความสูงระดับน้ำทะเลจนถึงความสูง 1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกเดือนพฤศจิกายน - มกราคม


[img src="file:///C:\DOCUME~1\pimsiri\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image008.png" alt="คำอธิบาย: ปีนภูดูทะเลดอกไม้ในป่าสน บนภูสอยดาว จ.อุตรดิตถ์" height="385" width="584">

ความงดงามของป่าสนเขา

ที่มา : http://travel.mthai.com/blog/4980.html

 

  ลักษณะต้นสน  ลักษณะดอกสนสองใบ

  ที่มา : http://www.qsbg.org  ที่มา : http://www.qsbg.org

แหล่งที่พบ

พบขึ้นกระจายพันธุ์ในอินเดีย พม่า ไทย อินโดจีน ในประเทศไทยพบขึ้นเป็นกลุ่มบนภูเขา  และมีขึ้นประปรายตามป่าเต็งรังในภาคเหนือที่ความสูง 50-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล

ความสัมพันธ์กับชุมชน

เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างได้ดี ทำเครื่องใช้ เช่น ตู้ โต๊ะ เตียง ฯลฯ เนื้อไม้มีคุณสมบัติเหมาะ  ทำกระดาษ น้ำมันและชันใช้ทำน้ำมันชักเงาซึ่งให้ปริมาณยางมากกว่าสนสามใบ ป่าสนมีความสวยงามเหมาะสำหรับเป็นแหล่งท่องเที่ยวและการศึกษาเพื่อหาความรู้

ความงดงามของป่าสนและระบบนิเวศของป่าสน

ที่มา: http://www.sadoodta.com

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ อุตสาหกรรมทำกระดาษและทำน้ำมันชักเงา ในระดับชุมชน  มีรายได้จากการจำหน่ายไม้เพื่อการก่อสร้าง การทำเฟอร์นิเจอร์ และจำหน่ายน้ำมันและชันของต้นสนสองใบ ไม้สน  แปรรูปแล้วใช้ทำฟืน ฝา รอด ตง และสิ่งก่อสร้างในร่ม เช่น เครื่องเรือน ลังใส่ของ เสากระโดงเรือ เครื่องดนตรี และยังเหมาะแก่การทำเยื่อกระดาษมีเส้นใยยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ยางสนได้จากการเจาะลำต้นนำไปกลั่นเป็นน้ำมันได้ น้ำมันสนใช้ผสมยา ทำกระบูนเทียม สบู่  

ชัง ใช้ในกิจการอุตสาหกรรมทำกระดาษ ผ้าสี ผ้าดอก น้ำมันวานิช กาว และยางสังเคราะห์ใช้ถูคันชักของเครื่องดนตรีบางชนิด เช่น ไวโอลิน ซออู้ ซอด้วง เป็นต้น เนื้อไม้มีน้ำยาง จึงมักนำมาใช้แทนขึ้ไต้จุดไฟ

ประวัติความเป็นมาของอำเภอพบพระ

[img src="file:///C:\DOCUME~1\pimsiri\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image017.png" alt="คำอธิบาย: 74" height="274" width="535">


[img src="file:///C:\DOCUME~1\pimsiri\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image019.jpg" alt="คำอธิบาย: คำอธิบาย: http://photo.sadoodta.com/image/view/16697/600+pixel" align="left" height="231" hspace="12" width="313">  อำเภอพบพระเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตาก ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดตาก  มีระยะทางห่างจากจังหวัดตาก 135 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอแม่สอด 47 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร 565 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางจากจังหวัดตากถึงที่ว่าการอำเภอพบพระประมาณ  2 ชั่วโมง ที่ว่าการอำเภอพบพระตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลพบพระ หมู่ที่ 3 ตำบลพบพระ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก พิกัด MU 6761128 ความสำคัญของอำเภอพบพระในทางภูมิศาสตร์ถือเป็นอำเภอที่เป็น  ต้นกำเนิดของแม่น้ำเมย หรือเรียกกันว่า“แม่น้ำตองยิน” ซึ่งเป็นแม่น้ำพรมแดนสายสำคัญระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า

คำว่า "พบพระ" มาจาก  “เพอะพะ”  แปลว่า เฉอะแฉะ เปียกชื้น  เดิมเป็นหมู่บ้านชาวปากะญอ  ชื่อว่า ”ชิกูแนะ”  พอคนมาค้าขายเห็นเข้าว่ามีน้ำดี ดินดี ก็พากันมาอยู่และเข้ามาจับจองที่อยู่อาศัย  มากเข้าก็ก่อตั้งชื่อบ้านว่าเพอะพะ ตามสภาพพื้นที่เฉอะแฉะเลอะเทอะและมีน้ำขัง

สภาพพื้นที่เฉอะแฉะของบ้านเพอะพะในอดีต

  ที่มา: http://www.sadoodta.com

เขตพื้นที่อำเภอพบพระเดิมอยู่ในเขตการปกครองของตำบลช่องแคบ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก คำว่า "พบพระ" มีคำบอกเล่าของ นายสูน อดีตผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 ของบ้านเพอะพะว่าเมื่อตนอายุได้ 12 ปี ได้อพยพมาพร้อมกับบิดาจากบ้านแม่ตาว อำเภอแม่สอด ได้มาตั้งบ้านเรือนพร้อมญาติรวม 4 หลังคา  ซึ่งในสมัยก่อนท้องที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์มีป่าไม้แหล่งน้ำและสัตว์ป่ามากมาย โดยเฉพาะที่ตั้ง  ของโรงพยาบาลพบพระปัจจุบัน มีลักษณะพื้นที่เป็นดงป่าหวาย ดงเต๋ย และดงแข๋ม มีน้ำไหลออกมาจากรู ท่วมขังบริเวณนี้เฉอะแฉะ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า "เพอะพะ" ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองภาคเหนือ แปลว่าบริเวณที่มีน้ำขังเป็นแอ่งเป็นโคลนตมไปทั่ว เมื่อตั้งบ้านเรือนมาได้ 3 ปี ทางราชการจึงประกาศ เป็นหมู่บ้านขึ้น เรียกชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านเพอะพะ" ตามลักษณะพื้นที่แห่งนี้ ต่อมาได้มีการเสนอแยกตำบลออกจาก  ตำบลช่องแคบ ให้ชื่อตำบลใหม่ว่า "ตำบลพบพระ" เพื่อให้สอดคล้องกับคำเดิมและให้ได้ความหมายเป็นสิริมงคล

ลักษณะน้ำออกรูบ้านเพอะพะในอดีต

ที่มา: http://www.sadoodta.com

เนื่องจากอำเภอแม่สอดมีพื้นที่กว้างขวาง มีอุปสรรคต่อการปกครองดูแลราษฎรที่อยู่ในพื้นที่  ที่ห่างไกล โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลช่องแคบ และตำบลพบพระ มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์แทรกซึม ดังนั้น พ.ศ. 2513 จึงแยกตำบลคีรีราษฎร์เป็นอีกตำบลหนึ่ง รวมเป็น 3 ตำบล และขอเสนอตั้งกิ่งอำเภอใหม่ซึ่งเรียกชื่อกิ่งอำเภอใหม่ว่า "กิ่งอำเภอพบพระ" ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2520 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2520 ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2530 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 104 ตอนที่ 156 ลงวันที่ 12 สิงหาคม 2530 และมีผลตั้งแต่ วันที่ 13 สิงหาคม 2530 เป็นต้นมา

ที่ว่าการอำเภอพบพระในอดีต

ที่มา :  http://www.tak.go.th/history_pobpra.htm

ตลาดพบพระในอดีต

ที่มา :  http://www.tak.go.th/history_pobpra.htm

ปีพ.ศ. 2537 มีตำบลใหม่อีกหนึ่งตำบลคือ ตำบลรวมไทยพัฒนา ส่วนตำบลวาเล่ย์คือตำบลล่าสุด  ของอำเภอพบพระ ปัจจุบันมีเขตการปกครอง 5 ตำบลคือตำบลพบพระ ตำบลช่องแคบ ตำบลคีรีราษฏร์ ตำบลรวมไทย และตำบลวาเล่ย์ มี 54 หมู่บ้าน 6 ชุมชน

[img src="file:///C:\DOCUME~1\pimsiri\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image028.jpg" alt="คำอธิบาย: คำอธิบาย: sdffcj" height="236" width="590">สภาพทั่วไป และลักษณะทางกายภาพของอำเภอพบพระ

ที่ตั้งและอาณาเขต

 

อำเภอพบพระตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัดตาก มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ   ติดต่อกับอำเภอแม่สอด

ทิศตะวันออก  ติดต่อกับเมืองตาก อำเภอวังเจ้า และ อำเภอคลองลาน

(จังหวัดกำแพงเพชร )

ทิศใต้   ติดต่อกับ อำเภออุ้มผาง และ รัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า)

ทิศตะวันตก   ติดต่อกับรัฐกะเหรี่ยง(ประเทศพม่า)

[img src="file:///C:\DOCUME~1\pimsiri\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image030.png" alt="คำอธิบาย: http://photos2.hi5.com/0075/035/001/ej.3HD035001-02.jpg" border="0" height="355" width="607">

แผนที่แสดงอาณาเขตติดต่ออำเภอพบพระ

ที่มา : http://www.photos2.hi5.com.


หมายเลขบันทึก: 519779เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2013 17:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2013 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท