หลักการ “ดูเนื้อ” พระเนื้อผง


โดยทั่วไปส่วนใหญ่แล้วพระเนื้อผงจะประกอบด้วยมวลสารที่สำคัญพื้นฐาน
คือ


1.  ปูนดิบ หรือ ปูนที่ยังไม่ได้เผา
หรือเผายังไม่ถึงระดับทำลายโครงสร้างของโมเลกุลของปูน ยังเป็น แคลเซียมคาร์บอเนตอยู่
ละลายน้ำน้อย เมื่อตกผลึกจะเป็นแร่ที่เรียกว่า แคลไซท์ สีขาวใส แบบเดียวกับผลึกหินอ่อน
แข็งทนทานต่อการกร่อน แต่ไม่ทนกรด

2.  ปูนสุกหรือปูนที่เผาแล้วหรือปูนขาว ที่โมเลกุลถูกเผาจนกลายเป็น
แคลเซียมออกไซด์ เมื่อละลายน้ำจะเป็นแคลเซียมไฮดร็อกไซด์ หรือภาษาไทยเรียก
น้ำปูนใส และเมื่อทำปฏิกิริยากับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ บางส่วนจะตกตะกอนเป็นฝ้าขาวๆ
ตกตะกอนเป็น แคลเซียมไบคาร์บอเนต หรือภาษาไทยเรียกว่า ตะกรัน และ

3.  น้ำมันผสานเนื้อ กันการปริแตก ที่เรียกว่าเป็นภาษาจีนว่า
ตั้งอิ้วภาษาไทยคือ น้ำมันชักเงาไม้
ที่ทำมาจากพวกยางไม้ น้ำมันจากพืช หรือภาษาเดิมๆ ในสมัยโบราณเราเรียก น้ำว่าน

4.  นอกนั้น ก็จะเป็น “มวลสาร” พุทธคุณ ประกอบอีกเล็กๆน้อยๆ
ประปราย ที่แล้วแต่วัดและแหล่งผลิต ที่พระเก๊ เขาก็ทำไว้ให้ดูแล้วครบถ้วน
แม้จะไม่เหมือนมากนัก แต่ “มือใหม่” ก็คงจะดูไม่ออกอยู่ดี

ตามการอนุมานของผมเอง
ผมคาดว่า สาระสำคัญของพระเนื้อผง น่าจะเป็นเป้าหมายในเชิงความทนทานของพระเนื้อผงปูน
ก็คือ ปูนดิบ เพราะ เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ ปูนดิบจะงอกเป็นเม็ดใสๆ ทับซ้อน และ ตกผลึกแบบหินอ่อนออกมาเคลือบผิวด้านนอก โดยเฉพาะในส่วนนูนจนแข็งแกร่งทั้งนี้น่าจะเป็นไปได้ว่า ปูนดิบนั้น เมื่ออยู่ในระบบสารละสาย
จะเบากว่าปูนสุก จึงลอยตัวขึ้นที่สูงได้มากกว่า
จึงทำให้เห็นการงอกของปูนดิบในส่วนนูนขององค์พระเป็นหลัก ถ้าเสมอกัน มักเป็นพระเก๊เนื้อพลาสติกอัด
พ่นเม็ดพลาสติกที่ผิว

 

ปูนสุกนั้น เป็นเพียงตัวเชื่อมในเบื้องต้น
ในช่วงไม่เกิน 20 ปี ต่อมาจะละลายตัวงอกออกมาเป็นผงแป้ง ไม่ช่วยอะไรมากนักในความแข็งแรงถ้าแก่ปูนดิบจะพองตัวเป็นฝุ่นแป้งยุ่ยๆ แบบขนมโก๋
หรือขนมแป้ง ที่กร่อน หรือแตกหักได้ง่าย

 

น้ำมันตั้งอิ้วนั้น เดิมๆใช้น้ำว่านที่ไปหาว่านมาเคี่ยวจนเหลือแต่น้ำมัน ผสมเล็กน้อยลงไปในน้ำ ส่วนผสม
จะทำให้เนื้อปูนเมื่อแห้งตัว จะนุ่มไม่ปริแตกหรือหักง่าย โดยเฉพาะในช่วงต้นๆ
ไม่เกิน 10 ปี แต่เมื่อนานๆไป เมื่อเนื้อพระแห้งมากขึ้น น้ำมันตั้งอิ้วจะกลั่นตัว
ซึมงอกออกมาที่ผิว ตามรอยปริแตก หรือถ้าพระเนื้อแก่ปูนสุกหน่อย ก็ไหลแทรกซึมออกมาแบบธรรมดาๆ
ขึ้นมาที่ผิวส่วนบน เป็นคราบเหลืองๆ ลอยบนผิวสูงๆลักษณะนี้จะเกิดได้เร็วขึ้น ถ้าพระโดนไอร้อนจากตัวบ่อยๆ
ทำให้พระที่ใช้นานๆ จะดู “ฉ่ำ” จากการใช้มากๆ แต่พระไม่ใช้ จะดู “นวล”
เพราะเนื้อปูนสุกออกมาคลุมผิวตามกลไกของความชื้นในอากาศตามธรรมดา

ทั้งสามกระบวนการนี้ เมื่อเวลานานเข้าจะมีการงอกทับซ้อนจนดูหลากชั้น
จนดูดูเหี่ยวๆแบบเป็น “ระบบ” ชัดเจน ที่พระเก๊ จะทำผิวโปะ
แบบ “มั่วๆ” ไล่ชั้น และอายุไม่ได้

นั่นคือหลักการพิจารณาเนื้อพระ
จาก 3 องค์ประกอบ ที่ต้องมีครบ

แต่เวลาที่ทีการสร้างจริงๆ
สัดส่วนผสมจะไม่แน่นอน อาจมีทั้ง

 

1.  แก่ปูนดิบ เนื้อแกร่ง แน่น (แข็งใสขาว)แต่ก็จะงอกแบบเหี่ยวย่นทั้งองค์



2.  แก่ไปทางปูนสุกบ้าง(ออกแป้งนวลยุ่ย) หรือ



3.  แก่ตั้งอิ้ว(เนื้อใสแบบเทียน) บ้างที่มักเรียกว่า เนื้อ เทียนชัย หรือ



4.  เนื้อสมดุล มีทั้งสามองค์ประกอบพอดีๆ ก็จะเป็นเนื้อที่
“เซียน” ในวงการบอกว่า เป็นที่นิยม



ที่จริงคำว่า
“นิยม” ก็คือ เซียนเขาชอบแบบนั้น เขาก็บอกแบบนั้นเท่านั้น ใครจะนิยมอย่างไรหรือไม่ก็เป็นที่เราเชื่อตามเขาหรือไม่เท่านั้น

การดูอายุ และเก๊แท้ ก็ดูการเกิดตามลำดับและมีของทั้งสามองค์ประกอบ
และพิจารณาว่า พระที่เรามี เนื้อเป็นแบบไหนและมีแบบและระดับการพัฒนาการดี
(เหี่ยวทับซ้อน) มากน้อยแค่ไหน



ในระยะแรกๆ
5-10 ปีขึ้นไป จะมีการงอกของเนื้อ “ปูนสุก” ขาวนวล ไปเรื่อยๆในส่วนต่ำสุด รอยปริ
และในซอกขององค์พระ



ระยะประมาณ
10-20 ปี ขึ้นไป จะมีปูนดิบงอก เป็นเม็ดใสๆในส่วนนูน ไปเรื่อยๆ

ระยะประมาณ
20-30 ปี ขึ้นไป มีเริ่มมีคราบนำมันตั้งอิ้ว เหลืองๆ ลอยขึ้นมาเกาะรอบๆส่วนนูน



ระยะประมาณ
50 ปีขึ้นไปจะมีสภาพปูนงอก ทั้งปูนดิบเป็นก้อนหินอ่อนเคลือบด้านนอกส่วนบน
และปูนสุกในส่วนต่ำ คราบตั้งอิ้วเป็นธารน้ำตา แบบ สายน้ำปูนและสายตั้งอิ้วผสมผสานกัน



อย่างมีที่เกิด
และมีที่มา


ถ้าไม่มีที่เกิด
ไม่มีรูระบาย ที่เป็นหลักการเดียวกับ “ถ้ำหินปูน” ในภูเขาหินปูน
ก็แสดงว่าไม่ใช่พระเนื้อปูน



หลักการของ
“รูระบาย” ความชื้นนี้ใช้ดูได้ทั้งเก๊แท้ และความเก่าหรืออายุได้ด้วย

เมื่อมีครบ เป็นระบบ พัฒนาการมากก็มั่นใจได้เลยครับ

ลองพิจารณาดูนะครับ

หมายเลขบันทึก: 519733เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2013 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2013 13:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณครับอาจารย์ มีความรู้ขึ้นมากโขเลยครับ

ศรัณย์นนท์ ผันอากาศ

ภาพประกอบความรู้ของอาจารย์หายไปไหนหมดครับ

ความรู้ที่ไม่เคยรู้มาก่อนเลยขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท