ซากุระ ณ อ่างขาง (๑) ออกเดินทาง


มีอะไรดี ๆ ที่เชียงใหม่น้อ  ปีที่แล้วไปเชียงใหม่  ๒  รอบ   ผ่านปี  ๒๕๕๖  มา  ๑  เดือน  ได้รับโอกาสจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย....ขึ้นเชียงใหม่อีกครั้ง


แต่ก่อนจะถึงเชียงใหม่  ข้ามไปเชียงรายกันก่อนนะคะ  นอนพักที่อำเภอเมือง  โพธิ์วดลรีสอร์ท  เก๋มาก....ภาพฝาผนังที่กั้นส่วนห้องนอนและห้องน้ำ  ด้านในห้องน้ำมีสลักเปิดออกแล้วเลื่อนภาพออกจากกันได้  กลายเป็นช่องหน้าต่าง  หากมีอุบัติเหตุสลักเปิดออกระหว่างอาบน้ำ.....อิอิ  ไม่อยากคิด


    


หลังทานอาหารเช้า  คณะเรา  ๑๓๐  ชีวิต  เปลี่ยนมานั่งรถตู้เช่าจากเชียงใหม่  ๑๕  คัน  ขับตามกันเป็นขบวนตามลำดับหมายเลข  ทุกคันมีวิทยุสื่อสารกันได้  มีไมโครโฟนเล็ก ๆ ยื่นมาจากบริเวณขอบบนขวาของประตูด้านคนขับ  น้องไก่ย่างเป็นโชเฟอร์ปิดท้ายขบวน  ผู้ร่วมเดินทางอีก  ๘  คน  รวมน้องโอปอ...ไกด์หนุ่มอารมณ์ดีจากดูดีทัวร์  บรรยายและหยอดมุกฮาเป็นระยะ  ถูกใจน้องเจี๊ยบ อินโดจีน...ยิ่งนัก

^_,^


คนที่ถูกใจน้องเจี๊ยบอีกคน  น่าจะเป็น....น้องน้อย  นางแบบคู่กับตากล้องฉันใด  น้อยและเจี๊ยบก็คู่กันฉันนั้น  พิเศษกว่า คือ สลับกันเป็นตากล้อง  ฝีมือดีทั้งคู่ (พี่อ้อรอใช้ File ภาพสวย ๆ อยู่นะคะ)


เจ็ดโมงเช้าวันอังคาร  เอ๊ย !!! ไม่ใช่  วันพุธแล้ว  ๖  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖  พวกเรามุ่งหน้าสู่อำเภอแม่จัน  ผ่านหน้าโรงพยาบาลแม่จันประมาณ  ๑๐  นาที  เห็นแล้วแยกซ้ายไปดอยแม่สลอง  ยัง ๆ ไม่เลี้ยว....ตรงไปก่อน 


เป้าหมายแรกของวันนี้ คือ เลี้ยวซ้ายไปวัดถ้ำป่าอาชาทอง  วัดที่สร้างตามแนวตะเข็บชายแดนไทย – พม่า  เผยแผ่หลักคำสอนองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า  ตอนนี้มีถึง  ๑๒  สาขาแล้ว


   


ภูเขาลูกเล็กระหว่างทาง  ลำน้ำใสกว้างใหญ่พอหล่อเลี้ยงแปลงผักข้างทาง  กองฟางสะสมใช้เป็นวัสดุคลุมแปลงช่วงรอพืชผักเติบโต  บางช่วงเห็นฝายเล็ก ๆ กั้นน้ำ  มีลำคลองเล็ก ๆ ให้สายน้ำไหลลดหลั่นแยกเข้าแปลงปลูกพืช


 


บางช่วงมีท่อพีวีซีสีฟ้ายื่นจากพื้นประมาณ  ๑  เมตร  วางระยะเท่า ๆ กันระหว่างแปลงผัก  สุดปลายท่อมีหัวสปริงเกอร์หมุนจ่ายน้ำ


 

ดินเชิงเขามีแร่ธาตุไหลลงมาสะสม  ริมฝั่งน้ำมีตะกอนเช่นกัน  ดินที่หนองคายบ้านเราแถวริมแม่น้ำโขงก็อุดมสมบูรณ์  ซึ่งสัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐานเป็นบ้านเป็นเมือง  ริมฝั่งแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง  แม่น้ำโมงมีอำเภอท่าบ่อ  แม่น้ำสวยมีอำเภอโพนพิสัย  สองอำเภอใหญ่ประชากรจึงหนาแน่น  ตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน  น้ำ  ป่า (ร่อยหรอไปมากแล้ว)  ทรัพยากรพื้นฐานของอาชีพเกษตรกรรม  ซึ่งเป็นอาชีพของชาวหนองคายส่วนใหญ่ 


ยังมีอีกหลายอำเภอ  หลายตำบลของหนองคาย  ที่ปัจจัยพื้นฐานของอาชีพเกษตรกรรม  ปัจจัยการผลิตยังไม่สมบูรณ์นัก

^_,^


หัวใจของการค้าชายแดนหนองคาย คือ ย่านเศรษฐกิจเขตเทศบาลเมืองหนองคาย  ซึ่งแต่ละอำเภอ  ตำบลต้องวิเคราะห์ต่อว่าจะพยายามจัดระบบสุขภาพของคนที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางเศรษฐกิจ  ให้มีความเท่าเทียมกับคนในเมืองหนองคายได้อย่างไร 


แต่ละพื้นที่จะออกแบบการทำงานอย่างไรให้กว้างขวางกว่าการไม่เจ็บป่วย  กว้างขวางกว่าความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายและจิตใจ  เชื่อมโยงสุขภาพในความหมายที่เกี่ยวโยงไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของพื้นที่ที่ตนเองทำงาน  ทั้งการทำมาหากิน  สภาพแวดล้อม  สภาพสังคม  วัฒนธรรม  หลักคิด  ความเชื่อ  สิ่งที่ชาวบ้านเคารพนับถือ  การศึกษา  ทั้งในระบบ  และการศึกษาของผู้ใหญ่ที่ออกจากโรงเรียนนานแล้ว  แต่มีการเรียนรู้โดยตรงจากประสบการณ์ของชีวิตในแต่ละวัน


หากเราสามารถพัฒนาบทบาทตนเองในฐานะนักสาธารณสุข  ให้เพิ่มสัดส่วนการเรียนรู้ไปด้วยกันกับชาวบ้าน  เรียนรู้จากสิ่งรอบตัว  จากธรรมชาติ  เพื่อพัฒนาด้านสภาพแวดล้อม  ด้านการทำมาหากิน   ด้านการพัฒนาความคิด  ความเชื่อ  การเรียนรู้  แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคม  การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีผลต่อสุขภาวะฯ 


เมื่อนั้น จะมีโอกาสสูงขึ้นที่ “สุขภาพ” ไม่ใช่ภาระของนักสาธารณสุข  แต่เป็นกิจของทั้งสองฝ่าย คือ ชาวบ้านชาวช่องประชาชนทั่วไปด้วย  ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองให้มีความสุข  ครอบครัวอบอุ่นยิ่งขึ้น  ชุมชนน่าอยู่มากขึ้น....ลงมือทำเอง  พึ่งตนเองให้มากที่สุด

^_,^

 


เห็นไหมเล่า....การออกเดินทางมาศึกษาชีวิตของผู้คนต่างบ้านต่างเมือง  ภูมิประเทศ  ภูมิประวัติ  ภูมิสังคม  ภูมิวัฒนธรรมต่างกัน  ยังได้ประโยชน์กลับสู่คนหนองคายเสมอ


ตามเขาตามดอยอย่างนี้  พระท่านจึงลงมาบิณฑบาตที่หมู่บ้านเชิงเขาด้วยพาหนะที่เป็นที่มาชื่อวัดนั่นเอง  ม้าแกลบม้าไทยจึงเป็นพระเอกของวัดนี้


นอกจากตักบาตรพระสงฆ์แล้ว  ผู้ที่มาทำบุญก็ต้องมีหญ้าให้ม้ากินด้วย  พอท้าย ๆ แถวสงสัยว่าม้าจะอิ่ม  มีคายทิ้งด้วย

.....

สัมมาอะระหัง  มีรอยยิ้มบนใบหน้า....ทำอะไรก็สำเร็จ

^_,^

 


โปรดติดตามตอน  ๒  นะคะ  จะได้ชมดอกซากุระ (เมืองไทย) เต็มอิ่มหรือไม่


 

หมายเลขบันทึก: 519125เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2013 01:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2013 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

อรุณสวัสดิ์รับเรื่องราวน่าสนใจและภาพงดงาม..สุขสันต์ตรุษจีนค่ะ



เป็นภาพที่หาดูได้ยากนะจ๊ะ  ขอบคุณจ้ะ

พระขี่ม้าบิณฑบาตรดูแปลกๆดี ยังงัยๆก็น่าเลื่อมใสศรัทธาอยู่ดี

มาเยี่ยม ภาพ  ที่หาดูได้ยากค่ะ

ภาพชวนน่าไปเที่ยวบ้าง สวยงามมากครับ ขอให้่มีความสุขมากๆ ครับ

สวัสดีวันตรุษจีนนะคะคุณป้าใหญ่  ขอบพระคุณค่ะ

เพิ่งเคยเห็นเองครั้งแรกนี่ละค่ะคุณมะเดื่อ  ขอบคุณนะคะ

ขอบคุณมากค่ะคุณหยั่งราก ฝากใบ

เป็นเพราะภูมิประเทศน่ะค่ะคุณเครื่องหมาย ? คำถามเดียว  พระท่านต้องลงมาจากเขา  จึงต้องใช้ม้าแกลบขี่มาแต่เช้าเพื่อมาบิณฑบาต  ให้ชาวบ้านได้ใส่บาตรที่บริเวณเชิงเขา

ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณค่ะคุณครูทิพย์

เป็น Unseen ที่หาดูไม่ง่ายนะคะ  หากมีโอกาสควรหาเวลาไปศึกษานะคะอาจารย์ Dr. Pop  อาจารย์น่าจะชอบ

มีความสุขจริง ๆ ค่ะ  ขอบคุณนะคะ

มือสมัครเล่น  ขอบคุณนะคะพี่หนูแจ๋ว

  • แสนเพลินตา เพลินใจ กับรูปที่หลากหลาย...เหมือนได้มาด้วย.จริงๆ
  • ขอบพระคุณครับ

ดีใจที่คุณสามสักเพลินใจนะคะ  ขอบคุณมากค่ะ

ต้องใช้แว่นขยายไหมคะอาจารย์ศิลา....เหมือนการ์ตูนนักสืบไงคะ

ขอบคุณนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท