ณัฐพงศ์
ว่าที่ร้อยตรี ณัฐพงศ์ คงวรรณ์

การออกแบบการสร้างและพัฒนานวัตกรรม


ความหมายของการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา 

นวัตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคาว่า “นว” หมายถึง ใหม่ และ “กรรม” หมายถึง การกระทำ 

เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น นวกรรม หรือนวัตกรรม จึงหมายถึง การกระทำใหม่ ๆ หรือการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งใดๆ แล้วทำให้ดีขึ้น และเมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในวงการศึกษาจึงเรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” 

การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) จึงหมายถึง การกระทำใหม่ การสร้างใหม่ หรือการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งใดๆ แล้วทำให้การศึกษาหรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้ เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว มีแรงจูงใจในการเรียน ทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดกับผู้เรียน

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา 

       นวัตกรรมที่นำมาใช้ในทางการศึกษา ทั้งการกระทำใหม่ใดๆ การสร้างสิ่งใหม่ๆ รวมทั้งการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งใดๆ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ขอแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ 

1. นวัตกรรมด้านสื่อการสอน 

2. นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน 

3. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร 

4. นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล 

5. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ 

1. นวัตกรรมด้านสื่อการสอน ยกตัวอย่างเช่น 

แนวทางการพัฒนาสื่อที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน เช่น 

1. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการคูณสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 

2. การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องระบบนิเวศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 

3. การพัฒนาสื่อประสมเพื่อใช้ในการสอนดนตรี - นาฏศิลป์ ชุดรำวงมาตรฐาน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 

4. การพัฒนาชุดฝึกทักษะเรื่องการอ่านหนังสือและวารสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 

5. การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย 

6. การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียด้วยโปรมแกรมคอมพิวเตอร์ เรื่องการปลูกผักปลอดสารเคมีในกระถาง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 

7. การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระพระพุทธศาสนา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 

8. การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 

9. การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย

10. การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่องคุณธรรมจริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   ฯลฯ

2. นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน ยกตัวอย่างเช่น 

แนวทางการพัฒนาด้านวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบต่างๆ เช่น 

1. การพัฒนารูปแบบการสอนแบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง พืชดอก สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 

2. การพัฒนาการสอนแบบร่วมมือร่วมใจ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4 

3. การพัฒนาวิธีการสอนแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องอุบัติเหตุในชีวิต ประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 

4. การพัฒนาการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง เรื่อง สิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 

5. การพัฒนาการสอนสุขศึกษาเพื่อป้องกันโรคเอดส์ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 

6. การพัฒนารูปแบบการสอนซ่อมเสริม เรื่อง นาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 

7. การพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เรื่องพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 

8. การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระบวนการกร่อนที่เกิดจากกระแสน้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 

9. การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 

10. การพัฒนารูปแบบการสอนแบบซิปปา เรื่องการทำโครงงาน สาหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 ฯลฯ

3. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร ยกตัวอย่างเช่น 

 หลักสูตรสาระเพิ่มเติม 

- หลักสูตรท้องถิ่น 

- หลักสูตรการฝึกอบรม 

- หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 

ฯลฯ 

แนวทางการพัฒนาหลักสูตรใดๆ ทางด้านการเรียนการสอน เช่น 

1. การพัฒนาหลักสูตรสาระเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องผญา สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 

2. การพัฒนาหลักสูตรสาระเพิ่มเติม เรื่อง การสานตะกร้า กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 

3. การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องดอกไม้จันทน์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 

4. การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องเมี่ยง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 

5. การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น รายวิชา ท.031 เรื่อง นิทานพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 

6. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาจิตสำนึกในอาชีพครู 

7. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง เทคนิคการสอนความคิดสร้างสรรค์ สำหรับครูประถมศึกษา 

8. การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องการทำหมูยอสมุนไพร 

9. การพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมนักเรียน เรื่องการสร้างจิตสานึกสาธารณะ 

10. การพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมนักเรียน เรื่องความมีวินัยในตนเอง 

ฯลฯ

4. นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล ยกตัวอย่างเช่น 

- การสร้างแบบวัดต่าง 

- การสร้างเครื่องมือ 

- การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 

ฯลฯ 

แนวทางการพัฒนาด้านการวัดและการประเมินผล เช่น 

1. การสร้างแบบวัดความมีวินัยในตนเอง 

2. การสร้างแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ 

3. การสร้างแบบวัดแววครู 

4. การพัฒนาคลังข้อสอบ 

5. การพัฒนาระบบการลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 

6. การพัฒนาการใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา 

7. การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด 

8. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลโรงเรียน 

9. การพัฒนาโปรแกรมการวิเคราะห์ข้อสอบ 

10. การพัฒนาฐานข้อมูลด้านการเงิน ของโรงเรียน 

ฯลฯ

5. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ ยกตัวอย่างเช่น 

- การบริหารเชิงระบบ 

- การบริหารเชิงกลยุทธ์ 

- การบริหารแบบหลอมรวม 

- การบริหารเชิงบูรณการ 

- การบริหารเชิงวิจัยปฏิบัติการ 

- การบริหารแบบภาคีเครือข่าย 

- การบริหารโดยใช้องค์กรเครือข่ายแบบร่วมร่วมทำ 

- การบริหารโดยใช้โรงเรียน บ้าน วัด ชุมชน และสถานประกอบการ เป็นฐาน 

ฯลฯ

แนวทางการพัฒนากระบวนการบริหารใดๆ เช่น 

1. การพัฒนารูปแบบการนิเทศเชิงระบบ เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนของครู ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 

2. การบริหารแบบร่วมมือร่วมใจ เพื่อการพัฒนางานวิชาการ ระดับประถมศึกษา 

3. การบริหารด้วยวัฎจักรเดมิ่ง เพื่อการพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ 

4. การพัฒนาการบริหารแบบ TOPSTAR เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 

5. การพัฒนากระบวนการกัลยาณมิตรวิจัย เพื่อเพิ่มทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครู 

6. การบริหารงานกิจการนักเรียนแบบร่วมแรงร่วมใจ เพื่อการแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 

7. การพัฒนาการนิเทศภายในแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ เพื่อการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 

8. การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาจิตสานึกประชาธิปไตยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 

9. การพัฒนาการบริหารแบบ ASTEAM เพื่อ การประกันคุณภาพภายในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 

10. การพัฒนากระบวนการบริหารแบบพาคิด พาทำ เพื่อการทำวิจัยของครู ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฯลฯ 

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม

1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น

   - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)

   - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) 

   - เครื่องสอน (Teaching Machine)

   - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)

   - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)

   - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น

   - ศูนย์การเรียน (Learning Center) 

   - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) 

    -การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)

3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด เช่น

    - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)

    - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)

    - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)

    - การเรียนทางไปรษณีย์ 

4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น

  - มหาวิทยาลัยเปิด

   - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ 

   - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป 

   - ชุดการเรียน

 แหล่งสืบค้นตัวอย่างนวัตกรรม 

1. เว็บไซต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

1.1 www.edu.nu.ac.th 

1.2 self – Access room 

1.3 สืบค้นฐานข้อมูลผลงานวิจัย 

1.4 พิมพ์คำสำคัญ “ชื่อนวัตกรรมของท่าน” 

2. เว็บไซต์ สำนักวิทยาบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 

2.1 http://www.library.msu.ac.th 

2.2 สืบค้นวิทยานิพนธ์และงานวิจัย มมส 

2.3 พิมพ์ “..ชื่อนวัตกรรมของท่าน..” 

3. เว็บไซต์ สำนักวิทยาบริการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

3.1 http://library.cmu.ac.th 

3.2 e-thesis 

3.3 พิมพ์ “...ชื่อนวัตกรรมของท่าน…” 

4. เว็บไซต์โครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 

4.1 http://tdc.thailis.or.th 

4.2 Basic Search 

4.3 พิมพ์ “..ชื่อนวัตกรรมของท่าน..” 

5. เว็บไซต์ ครูบ้านนอกดอทคอม 

5.1 www.kroobannok.com 

5.2 ห้องเผยแพร่ผลงานวิจัย 

 ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม 

ขั้นตอนการวิจัยเชิงการพัฒนา (Research and Development) โดยทั่วไปมักกำหนดเป็น3 ขั้นตอนดังนี้ 

ขั้นที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพ โดยดำเนินการในขั้นตอนย่อยๆ ดังนี้ ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ยกร่างนวัตกรรม (สื่อ วิธีการสอน หลักสูตร การวัดและการประเมิน และกระบวนการบริหาร) เสนอผู้เชี่ยวชาญ ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง/เป้าหมาย 1, 2,……. (อาจจะหาประสิทธิภาพ E1/E2 ) 

ขั้นที่ 2 ศึกษาผลการนำไปใช้้นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย ทำการทดสอบผลและประเมินผลการใช้ โดยอาจจะ 

- เปรียบเทียบก่อนใช้ และหลังใช้ ( ใช้ t-test แบบ t-pair) 

- เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ( ใช้ t-test แบบ one-sample) 

ขั้นที่ 3 ประเมินผลใช้แบบวัดความพึงพอใจ แบบวัดทัศนคติ แบบวัดความคิดเห็น หรือใช้รูปแบบประเมินใดๆ เพื่อการประเมินผลการใช้นวัตกรรมนั้น 

กล่าวโดยสรุปขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมคือ เริ่มต้นด้วยการสร้างหรือการพัฒนา ซึ่งหมายถึงการยกร่างนวัตกรรมขึ้นมาใหม่ หรือการพัฒนาวัตกรรมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น จากนั้นสู่ขั้นตอนการนำนวัตกรรมไปใช้ หมายถึง การนำนวัตกรรมไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อรับรองผลว่ามีผลการใช้อยู่ในระดับดี โดยยืนยันจากผลการทดสอบ และในขั้นตอนสุดท้ายคือ การประเมินผลการใช้นวัตกรรม หมายถึงการสอบถามความคิดเห็น หรือความพึงพอใจที่มีต่อนวัตกรรมนั้นๆ ว่าดีมีประโยชน์ มีคุณค่า สามารถนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี โดยยืนยันจากเครื่องมือการวัดและประเมินผลนวัตกรรมนั้น

บรรณานุกรม

มนสิช สิทธิสมบูรณ์, (2549) ระเบียบวิธีวิจัย. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร. 

มนสิช สิทธิสมบูรณ์, (2549) ชุดฝึกปฏิบัติการเหนือตารา: การทำวิจัยในชั้นเรียน. 

คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร. 

มนสิช สิทธิสมบูรณ์, (2550) ชุดฝึกอบรมเหนือตำรา : การทำวิจัยเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ. 

คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร. 

ดร.สุวิมล ว่องวาณิช, การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Grundy,S. and Kemmis, S. (1982) Educational action research in Australia: In S.Kemmis(ed) The Action Research Reader. Victoria: Deakin University Press. 

Henry , C. and McTaggart, R. (1997). EAE 717 Action Research and Critical Social Science. EAE 430/632, Unit Guide, The Faculty of Education, Victoria: Deakin University Press. 

Kemmis, S. and McTaggart, R.(1988), The Action Research Planner. Third substantially revised edition, Victoria: Deakin University Press. Aldershot.


หมายเลขบันทึก: 519066เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2013 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2013 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท