ณัฐพงศ์
ว่าที่ร้อยตรี ณัฐพงศ์ คงวรรณ์

นวัตกรรม


ความหมายของนวัตกรรม

       นวัตกรรม เป็นศัพท์บัญญัติทางการศึกษา ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือประมวลศัพท์บัญญัติวิชาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ หน้า 95 คาที่ 368 ใช้แทนคา Innovation ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า Innovare แปลว่า to renew หรือ to modify คาว่า นวัตกรรมมีรากศัพท์มาจาก นว + อตต (บาลี) = ใหม่ + กรรม (สันสกฤต) = การกระทา การปฏิบัติ ความคิด หมายถึง ความคิดหรือการกระทาใหม่ๆ ที่นามาใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ (สมบูรณ์ สวงนญาติ. 2534 : 14)

นักการศึกษาหลายท่านให้คานิยามของคาว่า นวัตกรรม ดังนี้

       โรเจอร์ส (Everette M. Rogers 1983 : 11) ได้ให้ความหมายของคาว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่านวัตกรรม คือ ความคิด การกระทา หรือวัตถุใหม่ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลแต่ละคนหรือหน่วยอื่นๆ ของการยอมรับในสังคม (Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the individual or other unit of adoption)

       โรเจอร์และชูเมคเกอร์ (Rogers and Shoemaker.1971: 19) ให้ความหมายไว้ว่าเป็นการนาเอาวิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติ ซึ่งผ่านการทดลองและได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ ตั้งแต่การคิดค้น (Invention) พัฒนาการ (Development) และทดลองในวงแคบ (Pilot Project) แล้วจึงนามาใช้ปฏิบัติจริง โดยการปฏิบัติจะแตกต่างจากเดิม

       ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes, 1971) ได้ให้ความหมาย "นวัตกรรม" ว่าเป็นการนาวิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจมีการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot project) แล้วจึงนาไปปฏิบัติจริง ซึ่งแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา

       ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2521: 3-4) ได้ให้ความหมายไว้ว่า หลักการวิธีปฏิบัติและแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมของประเทศหนึ่งอาจจะเป็นนวัตกรรมของประเทศอื่น ก็ได้และสิ่งที่ถือว่าเป็นวัตกรรมแล้วในอดีต หากมีการใช้กันอย่างแพร่หลายแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมแต่สิ่งที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีต หากมีการนามาปรับปรุงใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งนั้นถือได้ว่าเป็นนวัตกรรม

       กิดานันท์ มลิทอง (2543: 255-278) ให้ความหมายว่านวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใครใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิม ที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิมทั้งยังช่วยประหยัด เวลาและแรงงานอีกด้วย

       ทิศนา แขมมณี (2526 : 12) ให้ความหมาย นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง กระบวนการ แนวคิดหรือวิธีการใหม่ๆ ทางการศึกษาซึ่งอยู่ในระหว่างการ ทดลองที่จะจัดขึ้นมาอย่างมีระบบและกว้างขวางพอสมควร เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพ อันจะนาไปสู่การยอมรับนาไปใช้ในระบบการศึกษาอย่างกว้างขวางต่อไป

       โดยสรุป นวัตกรรม หมายถึง กรรมที่เป็นประโยชน์ ซึ่งผ่านกระบวนการคิด การทดลองและได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้วถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ ด้วยตัวบุคคลแต่ละคนหรือหน่วยอื่นๆ ของการยอมรับในสังคม

เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรม

ศาสตราจารย์ ดร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมไว้ 4 ประการ คือ

       1. นวัตกรรมจะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจเป็นของเก่าใช้ไม่ได้ผลในอดีต แต่นำมา ปรับปรุงใหม่ หรือเป็นของปัจจุบันที่เรานำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น

       2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่นำเข้าไปในกระบวนการ และผลลัพธ์ โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง

       3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า "สิ่งใหม่" นั้นจะช่วยแก้ปัญหาและการดำเนิน

งานบางอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม

       4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันหาก "สิ่งใหม่" นั้น ได้รับการเผยแพร่และยอมรับจน กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนั้นไม่ถือว่าสิ่งใหม่นั้นเป็น นวัตกรรม แต่จะ เปลี่ยนสภาพเป็นเทคโนโลยีอย่างเต็มที่

       ทิศนา แขมมณี กล่าวว่า ความใหม่มิใช่เป็นคุณสมบัติประการเดียวของนวัตกรรม ถ้าเป็นเช่นนั้น ของทุกอย่างที่เข้ามาใหม่ๆ จะเป็นนวัตกรรมทั้งสิ้น นวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นด้านใด จาเป็นต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ ดังนี้

       1. เป็นสิ่งใหม่ ซึ่งมีความหมายในหลายลักษณะด้วยกัน ได้แก่

           1.1 เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือใหม่เพียงบางส่วน

           1.2 เป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยมีการนำมาใช้ในที่นั้น กล่าวคือ เป็นสิ่งใหม่ในบริบทหนึ่ง แต่อาจเป็นของ เก่าในอีกบริบทหนึ่ง ได้แก่ การนำสิ่งที่ใช้หรือปฏิบัติกันในสังคมหนึ่งมาปรับใช้ในอีกสังคมหนึ่ง นับเป็นนวัตกรรมในสังคมนั้น

           1.3 เป็นสิ่งใหม่ในช่วงเวลาหนึ่งแต่อาจเป็นของเก่าในอีกช่วงเวลาหนึ่ง อาทิเช่น อาจเป็นสิ่งที่เคย ปฏิบัติมาแล้ว แต่ไม่ได้ผลเนื่องจากขาดปัจจัยสนับสนุนต่อมาเมื่อปัจจัยและสถานการณ์อำนวยจึง นำมาเผยแพร่และทดลองใช้ใหม่ ถือว่าเป็นนวัตกรรมได้

       2. เป็นสิ่งใหม่ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิสูจน์ทดสอบว่า จะใช้ได้ผลมากน้อยเพียงใดในบริบทนั้น

       3. เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับนาไปใช้แต่ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปกติ หากการยอมรับการ นำไปใช้นั้น ได้กลายเป็นการใช้อย่างปกติในระบบงานของที่นั่นแล้ว ก็ไม่ถือเป็นนวัตกรรมอีกต่อไป

       4. เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับนาไปใช้บ้างแล้วแต่ยังไม่แพร่หลาย คือยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่าง

กว้างขวาง

กระบวนการทางนวัตกรรม (Innovation Process)

       การค้นหาความคิดใหม่ (Idea Generation) : 6 แหล่งที่มาของความคิดที่เป็นนวัตกรรม

•. ความรู้ใหม่

•. การใช้ประโยชน์จากความคิดของลูกค้า

•. การเรียนรู้จากกลุ่มผู้ใช้ที่มีหัวก้าวหน้า

•. การออกแบบที่เข้าถึงใจคน

•. ฝ่ายวิจัยและพัฒนา

• นวัตกรรมจากภายนอกองค์กร

       การรับรู้ถึงโอกาส (Opportunity Recognition)

• “สิ่งที่สำคัญก็คือ เราต้องฉลาดพอที่จะรับรู้ว่า สิ่งนั้นจะเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่เมื่อเราเห็นมัน อยู่ตรงหน้า” (Norman Augustine)

• หลักการรับรู้โอกาสด้วย “แผนผังอรรถประโยชน์”

- นวัตกรรมสร้างอรรถประโยชน์มากที่สุดในด้านใดได้บ้าง

- อรรถประโยชน์นั้นมากกว่าหรือน้อยกว่าเทคโนโลยีของผู้อื่นเพียงใด

- อรรถประโยชน์ใดมีความสำคัญมากที่สุด

- สามารถปรับเปลี่ยนแนวคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมที่เป็นอรรถประโยชน์สูงสุดได้อย่างไ

       การประเมินความคิด (Idea Evaluation)

• ความเหมาะสมของนวัตกรรมกับกลยุทธ์ขององค์กร

• ความสามารถด้านเทคนิคขององค์กรในการสร้างนวัตกรรม

• ความสามารถทางด้านธุรกิจที่ส่งผลให้นวัตกรรมประสบความสำเร็จ

       การพัฒนานวัตกรรม (Development)

การนำนวัตกรรมเข้าสู่ตลาด (Commerciali-zation)

• การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (breakeven analysis)

• การวิเคราะห์กระแสเงินสดคิดลด(discounted cash flow analysis)

การแพร่กระจายนวัตกรรม (Diffusion of Innovation)

       Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายคำว่าการแพร่กระจาย หรือ "Diffusion" ดังต่อไปนี้ “การแพร่กระจาย คือ กระบวนการ ซึ่งนวัตกรรมถูกสื่อสารผ่านช่องทางในช่วงเวลาหนึ่งระหว่างสมาชิกต่างๆ ที่อยู่ในระบบสังคม (Diffusion is the process by which an innovation is communicated through certain channels overtime among the members of a social systems)

ส่วนประกอบของการแพร่กระจายนวัตกรรม

1. นวัตกรรม (Innovation)

2. ช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels)

3. ช่วงระยะเวลาหนึ่ง (Time)

4. ระบบสังคม (Social system)

ขั้นตอนการยอมรับนวัตกรรม (Adoption Process)

      ในการแพร่กระจายนวัตกรรมไปสู่สังคมนั้น นวัตกรรมจะถูกนาไปใช้หรือยอมรับโดยบุคคล Rogers (1971 : 100) ได้สรุปทฤษฎีและรายงานการวิจัยเกี่ยวกับขั้นตอนการยอมรับนวัตกรรม 5 ขั้นตอน ดังนี้คือ

       1. ขั้นตื่นตัวหรือรับทราบ (awareness) เป็นขั้นแรกที่บุคคลรับรู้ว่ามีความคิดใหม่ สิ่งใหม่หรือวิธีปฏิบัติใหม่ๆ เกิดขึ้นแล้วนวัตกรรมมีอยู่จริงแต่ยังไม่มีข้อมูลรายละเอียดของสิ่งนั้นอยู่

       2. ขั้นสนใจ (interest) เป็นขั้นที่บุคคลจะรู้สึกสนใจในนวัตกรรมนั้นทันทีที่เขาเห็นว่าตรงกับปัญหาที่เขาประสบอยู่หรือตรงกับความสนใจ และจะเริ่มหาข้อเท็จจริงและข่าวสารมากขึ้น โดยอาจสอบถามจากเพื่อนซึ่งได้เคยทดลองทามาแล้วหรือเสาะหาความรู้จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมนั้นเพื่อสนองตอบความอยากรู้ของตนเอง

       3. ขั้นประเมินผล (evaluation) ในขั้นตอนนี้บุคคลจะพิจารณาว่า นวัตกรรมนั้นจะมีความเหมาะสมกับเขาหรือไม่ จะให้ผลคุ้มค่าเพียงใด หลังจากที่ได้ศึกษานวัตกรรมนั้นมาระยะหนึ่งแล้ว นวัตกรรมนั้นมีความยากและข้อจากัดสาหรับเขาเพียงใด และจะปรับให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างไร แล้วจึงตัดสินใจว่าจะทดลองใช้ความคิดใหม่ๆ นั้นหรือไม่

       4. ขั้นทดลอง (trail) เป็นขั้นตอนที่บุคคลได้ผ่านการไตร่ตรองมาแล้วและตัดสินใจที่จะทดลองปฏิบัติตามความคิดใหม่ๆ ซึ่งอาจทดลองเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด การทดลองปฏิบัตินี้เป็นเพียงการยอมรับนวัตกรรมชั่วคราว เพื่อดูผลว่าควรจะตัดสินใจยอมรับโดยถาวรหรือไม่

       5. ขั้นยอมรับปฏิบัติ (adoption) ถ้าการทดลองของบุคคลได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ก็จะยอมรับความคิดใหม่ๆ อย่างเต็มที่และขยายการปฏิบัติออกไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งนวัตกรรมนั้นกลายเป็นวิธีการที่เขายึดถือปฏิบัติโดยถาวรต่อไป ซึ่งถือเป็นขั้นสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวร

กระบวนการยอมรับทั้ง 5 ขั้นนี้ Rogers และ Shoemake ชี้ให้เห็นว่ายังมีข้อบกพร่องอยู่ในบางประการคือ

       1. กระบวนการยอมรับ เป็นกระบวนการที่อธิบายเฉพาะในด้านบวก (Positive) เท่านั้น ซึ่งความจริงแล้วในขั้นสุดท้ายของกระบวนการเกษตรกรอาจจะไม่ยอมรับก็ได้ หากได้ทดลองปฏิบัติแล้วไม่ได้ผลหรือไม่ได้ผลคุ้มค่ากับการลงทุน

       2. กระบวนการยอมรับทั้ง 5 ขั้นนี้ ในความเป็นจริงแล้วอาจเกิดไม่ครบทุกขั้นตอนหรือบางขั้นตอนอาจเกิดขึ้นทุกระยะ เช่น ขั้นทดลองอาจจะไม่เกิดขึ้นเลย หรือขั้นประเมินผลอาจเกิดขึ้นได้ทุกระยะก็ได้

       3. ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการยอมรับปฏิบัติทั้ง 5 ขั้นนี้ยังไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถาวรทีเดียว แต่เขาจะหาสิ่งอื่นๆ หรือบุคคลยืนยันความคิดของเขา และถ้าหากว่าไม่ได้รับการยืนยันว่าสิ่งที่เขารับปฏิบัติตามแนวคิดใหม่นี้ถูกต้อง เขาก็อาจจะเลิกล้มไม่ยอมรับความคิดนั้นก็ได้

กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)

       Rogers’s และ Shoemaker จึงได้เสนอโครงสร้างใหม่ เรียกว่า กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process) ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ

       1. ขั้นความรู้ (knowledge) เป็นขั้นตอนที่รับทราบว่ามีนวัตกรรมเกิดขึ้นและหาข่าวสารจนเข้าใจในนวัตกรรมนั้นๆ

        2. ขั้นชักชวน (persuasion) เป็นขั้นตอนที่เกษตรกรมีทัศนคติต่อสิ่งใหม่ๆ ในทางที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยต่อ "นวัตกรรม" นั้นๆ

       3. ขั้นตัดสินใจ (decision) เป็นขั้นที่เกษตรกรสนใจเข้าร่วมกิจกรรมที่นาไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแล้ว และตัดสินใจว่าจะรับนวัตกรรมนั้นหรือไม่ แต่การตัดสินใจนั้นยังไม่ถาวรอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ภายหลัง

       4. ขั้นยืนยัน (confirmation) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการ ซึ่งเป็นการหาข้อมูลมาสนับสนุนการตัดสินใจของเขา อาจมีระยะเวลายาวนาน จนกระทั่งยอมรับแนวความคิดใหม่ๆ ไปปฏิบัติเป็นการถาวรจริงๆ

ประเภทการยอมรับนวัตกรรม (adopter categories)

       ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม Diffusion of Innovations Theory (DOI) ของ Everett Roger แนวความคิดทฤษฏีของ Roger ได้แบ่งกลุ่มคนในสังคมที่จะยอมรับการแพร่กระจายทางเทคโนโลยีไว้ดังนี้

       1. Innovators 2.5% ต้องเป็นคนแรก ผู้ที่ชอบเสี่ยง เป็นนักประดิษฐ์หรือมีความรอบรู้เทคโนโลยี 2. Early adopters 13.5% ชอบลองของใหม่ ชอบเป็นผู้นำ ได้รับความนิยมทางสังคม มีการศึกษา ชอบความใหม่ 3. Early majority 34% อยากมีบ้าง เป็นคนรอบคอบ ชอบแบบสบายๆ ไมเป็นทางการ 4. Late majority 34% จำเป็นต้องมี เป็นคนช่างสงสัย หัวโบราณ ฐานะไม่ดี 5. Laggards 16% มีก็ดีเหมือนกัน รับฟังข้อมูลจากคนรอบข้าง เช่น เพื่อน หรือญาติ และกลัวกาน เป็นหนี้

       กระบวนการ Social Adoption นั้น การยอมรับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี จะต้องอาศัยช่องทาง(Channels) ในการสื่อสารของบุคคลกลุ่มต่างๆ ในสังคม เพื่อสื่อสารจากกลุ่มหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มหนึ่ง เมื่อ Innovators หรือผู้ที่ชื่นชอบเทคโนโลยีหรือนักประดิษฐ์หรือผู้สร้างกระบวนการสังคม เกิดการยอมรับนวัตกรรมใดแล้ว จะเกิดกระบวนการสื่อสารให้บุคคลกลุ่มถัดมาได้รับรู้ข้อมูลและการยอมรับ กลุ่มต่อมาคือ

       กลุ่ม Early Adopters เป็นกลุ่มผู้ที่ชอบลองอะไรใหม่ๆ มีความรู้สูง ค่อนข้างมีฐานะและสนใจข่าวสารใหม่อยู่เสมอ การยอมรับเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีของกลุ่มนี้ถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด เพราะถือเป็นกลุ่มชั้นผู้นำในการยอมรับของสังคม ไม่ว่าเทคโนโลยีหรือการยอมรับองค์กรใดที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคนกลุ่มนี้จะเป็นผู้ชี้ว่า “มีอยู่หรือดับไป” ด้วยการตอบคำถามจนสิ้นสงสัยก็จะข้ามพ้นหุบเหวแห่งการยอมรับ (The Chasm) และคนกลุ่มอื่นที่เหลือในสังคมจะเกิดการยอมรับเอง

       ถัดมาเป็นกลุ่ม Early Majority เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดอีกกลุ่มหนึ่งในสังคม กลุ่มนี้จะตัดสินใจได้ต้องคิดหลายรอบและคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้รับ การตัดสินใจเลือกนวัตกรรมหรือการยอมรับเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีของกลุ่มนี้มักดูจากการตัดสินใจของสองกลุ่มแรกก่อนและให้น้ำหนักไปที่การยอมรับของกลุ่มที่สองLate majority เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดอีกกลุ่มหนึ่งในสังคม อาจจะเป็นชนชั้นแรงงานที่ไม่รู้กระบวนการหาความรู้ในการเลือกยอมรับเทคโนโลยี โดยคุณลักษณะจะเป็นคนช่างสงสัย, หัวโบราณ, ฐานะไม่ดี การยอมรับของคนกลุ่มนี้จะดูจากการยอมรับของกลุ่ม Early Majority และการจะมีใช้เทคโนโลยีของคนกลุ่มนี้ต้องมีความจำเป็นจริงๆ Laggards เป็นกลุ่มคนหลังสุดในสังคมที่จะยอมรับเทคโนโลยี โดยวิธีการยอมรับจะฟังข้อมูลจากคนรอบข้าง เช่น เพื่อน หรือญาติ และกลัวการเป็นหนี้ แต่การมีใช้เทคโนโลยีจะไม่ถึงกับมีความจำเป็นเพียงแต่เห็นประโยชน์ว่ามีก็ดีเหมือนกัน เป็นลักษณะการคล้อยตามผู้อื่นมากกว่า แบบจำลองการแพร่กระจายที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ แบบจำลองของ Roger (1995) ดังรูปที่ 1 ซึ่งเขานิยามไว้ว่าคือ กระบวนการซึ่งนวัตกรรมถูกสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ ของระบบสังคม โดยใช้เวลาในการเข้าสู่สมาชิกในสังคม ทั้งสีส่วนประกอบหลักในสังคมนั่น คือ นวัตกรรม ช่องทางในการสื่อสาร เวลา และ ระบบสังคม

ปัจจัยต่างที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรม ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ หลายประการ มีดังนี้

       1. ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเป็นสิ่งใหม่ที่กาเนิดมาจากงานวิจัย (Research) และการพัฒนา (Development) รวมทั้งมาจากประสบการณ์ของผู้ใช้นวัตกรรมนั่นเอง ดังนั้นนวัตกรรมแต่ละอย่างจึงมีลักษณะเฉพาะตัวซึ่งสามารถนามาใช้แก้ไขปัญหาหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้ตามสถานการณ์และความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรมนั้นๆ ซึ่งไม่จาเป็นที่นวัตกรรมซึ่งใช้ได้ผลดีในที่แห่งหนึ่ง จะได้ผลดีในที่อื่นๆ ด้วยขึ้นอยู่กับว่านวัตกรรมนั้นๆ มีความเหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ หรือไม่ ดังนั้น ลักษณะของนวัตกรรมนั่นเองจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการโน้มน้าวใจ (persuasion) ให้เกิดการยอมรับโดยนาไปใช้เป็น ข้อมูลในการประเมินนวัตกรรมของผู้รับสารและตัดสินใจได้ว่าจะดาเนินการอย่างไรต่อไป คุณลักษณะของนวัตกรรมที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับ ได้แก่

           1.1 ผลประโยชน์ที่ได้รับจากนวัตกรรม คือ ระดับของการรับรู้หรือความเชื่อว่านวัตกรรมนั้นมีคุณสมบัติที่ดีกว่าความคิดหรือสิ่งที่มีอยู่เดิม ซึ่งถูกแทนที่ด้วยสิ่งใหม่ ถ้าหากนวัตกรรมนั้นมีข้อดีและให้ประโยชน์ต่อผู้ในนวัตกรรมนั้นมากเท่าใด ก็มีโอกาสที่จะมีผู้ที่ยอมรับมากขึ้น ดังนั้น การพัฒนานวัตกรรมเพื่อนามาใช้แก้ปัญหาหรือเพิ่มประสิทธิภาพการทางานจึงต้องมีการศึกษาค้นคว้ามาอย่างดีให้ตรงกับความต้องการและเกิดประโยชน์จากผู้ใช้สูงสุดจึงจะมีการยอมรับอย่างรวดเร็ว

          1.2 การเข้ากันได้ดีกับสิ่งที่มีอยู่เดิม คือ ระดับของนวัตกรรมซึ่งมีความสอด คล้องกับคุณค่า ประสบการณ์และความต้องการที่มีอยู่แล้วในตัวผู้รับนวัตกรรมนั้นๆ ถ้านวัตกรรมนั้นสามารถเข้ากันได้ดีกับสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาก็มีโอกาสได้รับการยอมรับได้ง่าย

           1.3 ความซับซ้อน คือ ระดับของความเชื่อว่านวัตกรรมนั้นมีความยากต่อการเข้าใจและการนาไปใช้ นวัตกรรมบางอย่างสามารถทาความเข้าใจและนามาใช้ได้ง่ายในขณะที่บางอย่างมีความซับซ้อนและเข้าใจยอมรับนวัตกรรมที่มีความซับซ้อนน้อยกว่ามีโอกาสที่จะได้รับการยอมรับมากกว่าความซับซ้อนของนวัตกรรมอาจเกิดจากกรรมวิธีที่ใช้ในการปฏิบัตินั้นมีความยุ่งยาก จาเป็นต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ระดับสูงมาสนับสนุนจึงจะใช้งานได้ผลอุปกรณ์ที่ใช้มีความยุ่งยากจนผู้ใช้อาจหมดความอดทนที่จะเรียนรู้

        1.4 การทดลองได้ คือ ระดับของนวัตกรรมที่สามารถมองเห็นผลจากการทดลองปฏิบัติเพื่อให้เห็นผลได้จริงอย่างน้อยภายใต้สภาพที่จากัดความคิดเหล่านี้สามารถทดสอบหรือทดลองได้อย่างเป็นขั้นตอนหรือเป็นช่วงๆ ไป ก็จะได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วนวัตกรรมที่ไม่สามารถทดลองได้ก่อนมีโอกาสที่จะไดรับการยอมรับน้อยกว่า

        1.5 การสังเกตได้ คือ ระดับของนวัตกรรมที่สามารถมองเห็นกระบวนการในการปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม สามารถสัมผัสและแตะต้องได้จริงๆ การเสนอขายสินค้าที่เป็นแบบขายตรงที่ได้รับผลสำเร็จสูง

       ถึงแม้ว่าราคาจะค่อนข้างแพงก็เนื่องมาจากคุณสมบัติของนวัตกรรมในข้อนี้ ก็สามารถนามาให้ลูกค้าชมและสาธิตให้ดูว่าสินค้าชิ้นนี้มีข้อดีอย่างไร เป็นขั้นๆ เมื่อดูแล้วลูกค้ามีความเห็นว่าดีจริงจึงจะซื้อสินค้านั้น

2. ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม การที่บุคคลจะยอมรับนวัตกรรมหรือไม่ ปัจจัยหนึ่งก็คือตัวของผู้รับนวัตกรรมนั้นเอง เพราะถึงแม้ว่านวัตกรรมและเทคโนโลยีจะมีลักษณะที่ดีและเหมาะสมเพียงใด แต่ผู้รับนวัตกรรมนั้นไม่มีความพร้อมที่จะยอมรับและปฏิบัตินวัตกรรมนั้นก็ไร้ความหมาย ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรมนั้น ได้แก่

        2.1 สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม ผลงานวิจัยเป็นจานวนมากศึกษาภูมิหลังของประชากรที่เกี่ยวกับสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมของตัวบุคคลว่าจะมีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีหรือไม่ ซึ่งการวิจัยส่วนใหญ่จะเน้นศึกษานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเฉพาะเรื่องและผลการวิจัยส่วนใหญ่ก็มีแนวโน้มแสดงว่าสถานภาพทางเศรษฐกิจ ได้แก่ เพศ การศึกษา รายได้ ฐานะทางเศรษฐกิจ อาชีพ ตลอดจนการมีตำแหน่งเป็นผู้นาในสังคมล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับ

       2.2 คุณลักษณะของบุคลิกภาพ เป็นลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลที่ได้รับการสั่งสมกันมาตั้งแต่เล็กจนโต จากการหล่อหลอมของครอบครัว ขนบธรรมเนียมประเพณี จนกระทั่งถึงสถาบันการศึกษา เป็นส่วนที่ทาให้เกิดบุคลิกภาพ เช่น อาจจะเป็นคนที่อ่อนโยน แข็งกระด้าง การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การต่อต้านสังคม เป็นต้น ลักษณะทางบุคลิกภาพย่อมเป็นส่วนที่เกื้อหนุนหรือต่อต้านการยอมรับนวัตกรรมก็เป็นได้ ข้อสรุปบางประการที่เป็นผลจากการศึกษาเปรียบเทียบการยอมรับของกลุ่มต่างๆ คือ

                2.2.1 สิ่งสำคัญที่ควรบันทึกไว้ก็คือนวัตกรรม โดยปกติแล้วจะเป็นผู้ที่พยายามหาข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา กลุ่มคนเหล่านี้มีการรับข่าวสารจากสื่อมวลมากกว่าบุคคลกลุ่มอื่นๆ ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลและมีเครือข่ายของตนเอง

               2.2.2 ลาดับขั้นตอนการยอมรับมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ที่ยอมรับก่อนใช้เวลานานกว่าผู้ที่ยอมรับทีหลังในการเปลี่ยนจากขั้นทดลองไปสู่ขั้นยอมรับเนื่องจากผู้ยอมรับ ทีหลังมีความเสี่ยงน้อยกว่าผู้ยอมรับก่อน

               2.2.3 ผู้ที่ยอมรับก่อนหรือนวัตกรรมและผู้นาทางความคิดมีส่วนคล้ายกันบางอย่าง เช่น รับรู้ข่าวสารมาจากแหล่งอื่นที่ไกลตัวออกไป มีการศึกษาดี มีสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจสูงกว่า ผู้ที่ยอมรับทีหลังมีความสัมพันธ์ต่อสื่อมวลชนหากสื่อมวลชนต้องการทาหน้าที่เผยแพร่ข่าวสารให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็ต้องมีความเข้าใจผู้ที่ยอมรับก่อนและผู้นาทางความคิดเพราะพลังของบุคคลสามารถช่วยเร่งให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วหรือช้าได

               2.2.4 ผู้นาความคิดเห็นจะเป็นเสมือนช่องทางการแพร่กระจายข่าวสารและสร้างเครือข่ายการสื่อสารในสังคมซึ่งจะแพร่กระจายข่าวสารผสมผสานกับความคิดเห็นส่วนตัวไปยังสมาชิกในกลุ่มสังคมนั้น นอกจากนี้ผู้นาความคิดเห็นมักจะเป็นผู้มีโอกาสในการรับสื่อและมีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมสูงกว่าบุคคลอื่นๆ เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับสมาชิกในกลุ่มสังคมมากเป็นผู้ที่กล้าเสี่ยงและยอมรับการเปลี่ยนแปลง

3. ปัจจัยทางด้านระบบสังคม คือ หน่วยที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาร่วมกันเพื่อให้เกิดความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย เมื่อพูดถึงระบบสังคมเราศึกษาไปถึงคุณสมบัติเฉพาะของบุคคลที่อยู่ในระบบนั้น ดังนั้น ระบบสังคมจะประกอบไปด้วยความสัมพันธ์ที่เกิดระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคลหรือองค์กรซึ่งประกอบกันเป็นโครงสร้างของสังคม

4. ปัจจัยทางด้านการติดต่อสื่อสาร เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและกระบวนการแพร่กระจายนวัตกรรมเป็นการติดต่อส่อสารประเภทหนึ่ง กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับข่าวสารที่เป็นแนวความคิดใหม่ๆ ข่าวสารเหล่านี้จึงมีความแตกต่างจากข่าวสารทั่วๆ ไปในชีวิตประจาวันและเกี่ยวข้องกับระดับความเสี่ยงของผู้รับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น งานวิจัยด้านการติดต่อสื่อสารในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งทีสำคัญในการแพร่กระจายนวัตกรรม จึงอาจศึกษาถึงส่วนประกอบในกระบวนการติดต่อสื่อสาร ได้แก่ แหล่งของข่าวสาร ข่าวสาร ช่องทางและผู้รับสาร ยกตัวอย่างเช่น มีการศึกษาว่าแหล่งข่าวมีอิทธิพลอย่างไรในการยอมรับนวัตกรรมทางด้านความน่าเชื่อถือ ทักษะในการติดต่อสื่อสารและฐานะทางสังคม ข่าวสารที่เกี่ยวกับนวัตกรรมควรมีรูปแบบใดที่เหมาะสมกับผู้รับ อิทธิพลของช่องทางหรือสื่อประเภทใดที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมและมีผลในขั้นตอนใดมากที่สุดตลอดจนศึกษาลักษณะของผู้รับสารที่เอื้ออานวยต่อการยอมรับนวัตกรรมมากที่สุด เป็นต้น ผลของการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อการนาไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนงาน ในการส่งเสริมเผยแพร่นวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

เทคโนโลยี

        คำ ว่า เทคโนโลยี ตรงกับคาภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่ระบบ อย่างไรก็ตามคาว่า เทคโนโลยี มักนิยมควบคู่กับคาว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ซึ่ง พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ วิทยาการ ที่เกี่ยวกับศิลปะในการนาเอวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทาง ปฏิบัติและอุตสาหกรรม นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คืออารานุกรมเอ็น

       คาร์ทา(Encarta1999)ได้ให้ที่มาและความหมายของคาว่า เทคโนโลยี(Technology)ไว้ว่าTechnologyเป็นคาที่มาจากภาษากรีก 2คำรวมกัน คือ Tekhne หมายถึง ศิลปะหรืองานช่างฝีมือ(art of craft)และlogiaหมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา(art of study)ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้วเทคโนโลยี จึงหมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ

       พจนานุกรมเว็บสเทอร์(Websters1994) ได้ให้ความหมายของคาว่าเทคโนโลยี ไว้ดังนี้1)ก.การใช้ทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพานิชกรรม ข.องค์รวมทั้งหมดของ วิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้2)องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูนฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญ เพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ

       เดล(Dale 1969)ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือและกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว

       กัลเบรท(Galbraith1967)ได้ให้ความหมายของคาว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้คือเทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนาไปสู่ผลในทางปฏิบัติ

ครรชิต มาลัยวงศ์(2539)ได้ให้รายละเอียดของคาว่าเทคโนโลยีหมายถึง

1. องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์

2. การประยุกต์วิทยาศาสตร์

3. วัสดุ เครื่องยนต์กลไกเครื่องมือ

4. กรรมวิธีและวิธีดาเนินงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์

5. ศิลปะและทักษะในการจำแนกและรวบรวมวัสดุ

        กล่าวอีกนัยหนึ่งเทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้างและการใช้สิ่งของ กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง

       ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนาไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนาความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคาด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพ

       ชานาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนาเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ

       (สสวท, 2544) เทคโนโลยี (TECHNOLOGY) เป็นการนาความรู้ทักษะ และทรัพยากรทางเทคโนโลยี มาสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการโดยผ่านขบวนการเพื่อแก้ปัญหา สนองความต้องการหรือเพิ่มความสามารถในการทางานของมนุษย์

        จากการที่มีผู้ให้ความหมายของ เทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นาเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษา ง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนามาทาให้เป็นประโยชน์นั่นเอง

ลักษณะของเทคโนโลยี

ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น3ลักษณะ คือ (Heinich,Molendaand Russell. 1993)

        1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ( process)เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้เพื่อนาไปสู่ผลในทางปฏิบัติโดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนาไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ

       2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต(product)หมายถึงวัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี

        3. เทคโนโลยีในลักษณะ

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 519064เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2013 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2013 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท