วิวัฒนาการเรื่องเสียง


กลับมาอีกครั้งแล้วครับ ผมจะมาต่อเรื่องสัญญาณเสียงดิจิตอลนะครับ หลังจากหายหน้าหายตาไปนาน

รอบนี้จะกล่าวถึง "ข้อมูลของเสียงที่บันทึกในรูปแบบดิจิตอล" โดยสรุป

ย้อนความกลับไปในยุค 60s 70s 80s ที่กำลังรุ่งเรือง

เหล่าผองพี่ๆ ทั้งหลายซึ่งตอนนั้นผมก็ยังไม่เป็นตัวอ่อนเลย  คงจะนึกถึงวงดนตรีอย่างเช่น Elvis Presley, Pink Floyd, Shocking Blue, Santana, Kiss, Queen, Rolling Stones, The beatles, Bee Gees, อีกมากมายนับไม่ถ้วน  ในสมัยนั้นจะฟังเพลง ก็ยากเย็นยิ่นัก  ฟังผ่านวิทยุ  และแผ่นไวนิล    (ขออภัยที่ผมไม่ค่อยเชี่ยวชาญศิลปินไทยสมัยก่อนนะครับ อย่างน้อย ก็มีท่านสุรพล สมบัติเจริญ ล่ะครับ ช่วงนั้นมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในกิจการสถานีกระจายเสียง และโทรทัศน์)

  

แผ่นเสียงดังกล่าว ทำจากวัสดุประเภทพลาสติก (เราจะไม่ย้อนเรื่องแผ่นเสียงสมัย ร.4 เพราะนั่นทำจากเซรามิก)  ข้อเสียคือ ขูดมากๆ (โดยเข็มอ่านแผ่น) จะทำให้เป็นรอย เสียงตกร่อง  ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีคนสรรหา สะสมอยู่นะครับ  แผ่นเก่า 4 -5 ร้อย แต่แผ่นใหม่ๆ โจ๊ะ ก็ราคาหลักพัน

ต่อมาเป็นยุค เทป คาสเซ็ท

ยุคนี้ผมก็เกิดทันนะครับ  ตอนนั้น มอส   ทาทา ยัง  Time   นากา  คาราบาว  หรือเจ้าของบทเพลง เกรงใจ แรปเตอร์ หลุยส์ ก็ยังอยู่ในยุคนี้ (Generation NEXT by pepsi) ศิลปินเยอะแยะมาก ผุดเป็นดอกเห็ด  หรือ ร็อคต่างประเทศ Linkin Park  Limp Bizkit     Red Hot Chilli Pepers  และอีกมากเลยทีเดียว

นับได้ว่าเป็นยุคก้าวกระโดดอีกครั้งหนึ่งของมนุษยชาติ  (ไม่นับการบันทึกเสียงรูปแบบชนิดยิบย่อยนะครับ อันนี้รู้สึกจะเด็ดมาก ในช่วงเวลาหนึ่ง)  เทป คาสเซ็ท จะเป็นแถบแม่เหล็ก เส้นยาวๆ  เล่นโดยเครื่องเล่นเทป วิทยุ  หรือ วอล์คแมน อันโด่งดัง  (ประวัติศาสตร์ของวอล์คแมน คือ  มีผู้บริหารบริษัทโซนี่ เนี่ยแหละ  ต้องบินไปประชุมที่ต่างประเทศบ่อยๆ  แต่บนเครื่องบินยุคนั้นไม่มีอะไรให้ทำครับ  นอกจากหลับๆๆๆ อย่างเดียว  จึงจัดการให้วิศวกรประจำบริษัท ทำโจทย์ชิ้นหนึ่ง โดยระบุปัญหาว่า  "อยากฟังโอเปร่า แต่พกพาติดตัวได้"  หลังจากนั้นก็กำหนดเป็นเครื่องอ่านเทปคาสเซ็ท แบบพกพา ชื่อดังกล่าว)

ถ้าฟังมากๆ  เจ้าเทปนี่ก็ยืดย้วยได้  ท่านต้องเอาไปแช่ตู้เย็นล่ะจ้า 555+

ยุคก้าวกระโดดอีกครั้งไปสู่ดิจิตอล 


   

และแล้วอะไรๆ ก็ไม่จีรังยั่งยืน  โลกแห่ง 0 1 0 1 0 1  กำเนิดขึ้นแล้ว !


ยุคเปลี่ยนแปลงแบบชนิดที่อุตสาหกรรมผลิตเทป ต้องตกกระป๋อง  
สมัย CD หรือ Compact Disc เป็นการบันทึกสัญญาณถอดรหัสจำพวกแสง (Optical Disc) โดยจะถอดรหัสเป็น 0 1 0 1 หรือ ที่เรียกว่าเลขฐานสอง นั่นเองครับ ยุคนี้ทำให้อุตสาหกรรมสิ่งบันเทิงพวกเทป ต้องตกกระป๋อง เพราะอะไรครับ ?   
ก็เพราะ  หาง่าย  พกง่าย  ไม่อารมณ์เสียจากเทปยืด (รวมถึงวิดีโอเทปด้วยนะครับ  ผมทันดูหนังพวก Con Air Anaconda  Starship Trooper ด้วยนะครับ)  นอกจากไม่ทำแผ่นจนลายเต็มไปหมด ตากแดด มันแทบจะไม่พัง  ถ้าเจ้าสีรุ้งๆ สะท้อนแสงไม่หลุดลอกออกไป
ยุคนี้ข้อเด่นที่เห็นได้ชัดเรื่องเทคโนโลยีคือ
ความเป็น Digital เที่ยงตรง  คมชัด ไม่ผิดพลาด
ก็เมื่อสมัยก่อนเครื่องบันทึก  เครื่องอ่าน  สื่อทั้งหลายเป็น Analog  นับว่าเป้นความคลาสสิคอย่างหนึ่งเลยทีเดียว  ถ้าว่าเรื่องเสียงแบบ analog มันก็จะละมุน อุ่น กลมกลืน  แต่ว่าถ้าบันทึกในรูปแบบ digital แล้วละก็  จะได้ยิน หรือ ได้เห็นความคมชัด  อย่างเช่น  หนัง ไฮเดฟฟินิชั่น (Hi-Def)  ยิ่งช่วงนี้ LED TV ,HD Player , ชุดเรื่องเสียง  มาแรง และราคาถูก แข่งขันกันเยอะ  หามาครอบครองโดยง่าย
พอนึกภาพออกไหมครับ ว่าเทคโนโลยีสมัยนี้ ก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว   ผมขอยืนยันว่า ณ ตอนนี้ คงไม่มีใครไปเปิดชมหนังในรูปแบบวิดีโอเทปแล้ว 
แต่ว่า  ความเป็น Digital ที่ว่านี้นะครับ  มักจะถูกรบกวน  โดยกระแสไฟฟ้า  สายสัญญาณไม่ดี    หมายความว่า  กระแสไฟฟ้า  จ่ายไฟไม่คงที่   ความต่างศักย์ไม่ถูกต้อง และไม่คงที่ (ใน กทม. มักจะ เกิน 220v ไปเป็น 229 -240v และต่างจังหวัดมักจะอยู่ประมาณ 190-230v)  ทำให้เกิด Resonance ในการส่งสัญญาณ  ให้นึกถึงท่านขึงเชือกตึงๆ กับตะปู  แล้วมีคนมาสะกิดเชือก ตรงกลางเส้นเชือก  ตรงตะปู  เชือกเราก็จะสั่น  ทำให้คุณภาพของระบบออกมาไม่ดี (แน่นอนกระทบเรื่องเสียงเต็มๆ  ส่วนเรื่องภาพ สังเกตไม่ค่อยได้)   นี่คือสิ่งที่ทำให้นักเล่นเครื่องเสียง จำเป็นต้องลงทุนให้ได้เพื่อระบบเครื่องเล่นเสียงที่ดีที่สุด

ยุคนี้ข้อด้อยที่รุนแรงอย่างเห็นได้ชัดคือ
เนื่องจากเป็นการบันทึกข้อมูลในรูปแบบ "Data Files"
ก็เลยถูก Copy ได้ง่าย  ส่งข้อมูลจาก user ถึง user โดยง่าย  ดังนั้น  จึงไม่แปลกเลยที่ทำให้ อุตสาหกรรมภาพยนต์  อุตสาหกรรมเพลง  ขาดทุนปีหนึ่ง  รวมๆ ทั้งโลก เป็นหมื่นหมื่นล้าน (หน่วยสกุลเงินไม่ทราบจ้า เยอะมาก 555)

ครั้งหน้าจะพูดถึงคลื่นเสียง  ที่บันทึกในรูปแบบดิจิตอลครับ

วิธวินท์

คำสำคัญ (Tags): #เสียง
หมายเลขบันทึก: 518874เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2013 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2013 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท