มาตรฐานการศึกษาวัดกันตรงไหน?


เนื่องจากการทำงานที่อยู่ในสายงานทางด้านสุขภาพ  ก็เลยไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการศึกษามากนัก  แต่เท่าที่สังเกตดูก็ทำให้รู้ได้ว่า  การเรียนสมัยก่อนกับปัจจุบันนี้มันช่างแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง   แต่จะเปรียบปัจจุบันกับเมื่อก่อน ชลัญว่า มันก็ไกลไปล่ะ  เอาใกล้ๆนี่ล่ะกัน  อย่างการเรียนของลูกชลัญ กับลูกเพื่อน อีก 2 คน  อยู่ต่างกัน คนละที่  บังเอิญว่ามีโอกาสมาพบปะกัน ก็เลยถามไถ่เรื่องการศึกษาของลูก  โห !  วัยเดียวกัน  มันคือต่างกันแท้  งง?

  ลูกชลัญ อยู่ อ. 2  เรียน จันทร์ – ศุกร์  ไม่มีเรียนพิเศษ  เลิกเรียน เล่น  เสาร์อาทิตย์ เที่ยว กับพ่อแม่

  ลูกเพื่อนชลัญ คนที่ 1  เรียน ครบ 7 วัน  จันทร์ – ศุกร์  เรียนพิเศษ – 2 ทุ่ม  เสาร์ อาทิตย์ เรียน ครึ่งวัน  อีกครึ่งวันที่เหลือเรียน ดนตรี

  ลูกเพื่อนชลัญคนที่ 2 เรียน สัปดาห์ ละ 6 วัน  หยุดวันอาทิตย์  จันทร์ – ศุกร์  เรียน ถึง หกโมงเย็น  เสาร์เรียน ครึ่งวัน  อีกครึ่งวันเรียนดนตรี

  เพื่อชลัญถามว่า  ทำไมไม่ให้ลูกเรียนพิเศษ  งกเงินจริง  ชลัญรีบแก้ตัวว่าเปล่างก ( จริงๆ ก็งกล่ะ อิ อิ ) แต่แถบบ้านชลัญ ไม่เห็นมีใครเขาสอนพิเศษอนุบาล  ก็เลยไม่รู้ว่าเรียนพิเศษของอนุบาล  นี่เขาจ้างสอนวิชาอะไร  ดูการบ้านลูก  โอ๊ะ .......ซำบายมาก เลข  ภาษอังกฤษ  ภาษาไทย  ไม่เกินสมองแม่แน่  สอนเองหมด  แล้วเรียนพิเศษเขาสอนอะไรกัน ???? 

  เพื่อนชลัญบอกไม่งั้นลูกจะไม่ทันเพื่อน  อ้าว !  แล้วตกลงเขาเรียนอะไรกันนี่ชลัญถามเพื่อนกลับ  มันยังมีการ  บวก  ลบ  นับเลข  แบบพิสดาร อีกหรือนี่  ตายล่ะ ไจ่ไจ๋เอ๊ย ท่าจะได้ทำนาแน่ อนาคต  ????

  เริ่มทำให้ชลัญสงสัยหนักว่า พบ.อย่างชลัญ  จะเอามาตรฐานไหนให้ลูกเรียน   จะต้องส่งลูกไปเรียนตามเขามั๊ย  แต่เอ๊ะ  แล้วทำไม่ โรงเรียนไม่ปรับระบบให้เหมือน กัน หากเห็นว่า ดี  แล้ว อนุบาลนี่เรียนพิเศษไปจะทำให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ในอนาคตมั๊ย? 

 งง??????????????????????

ชลัญธร


หมายเลขบันทึก: 518353เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2013 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2013 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ถ้าชีวิตผมไม่ติดเงื่อนไขคงต้อง พบ.101 ได้สะดวกใจกว่านี้....

ส่วนตัวผมคิดว่า...... พ่อและแม่สอนลูกเองได้นั้นสุดยอดแล้วครับ....  เด็กไม่ต้องการอะไรที่ดีไปกว่าความอบอุ่นที่พ่อแม่มีให้ มีเวลาให้......ตัวต่อตัว หัวชนหัว..... 5555    

มันเป็นความไม่มั่นใจในหลักสูตรของ ศธ.
หากจะพูดในฐานะสายวิชาชีพการศึกษา

หลักสูตรของ ศธ. ไม่ได้ตอบโจทย์สิ่งที่เด็กจะนำไปใช้ในชีวิตจริง

เช่น ลดการบ้าน ทานทรงผม นิยมแท็บเล็ต เป็ดเด็กไทย ;)...

เรียนพิเศษอาจไม่ใช่หมายถึงแต่วิชาที่โรงเรียนสอน  เนื่องจากโรงเรียนมีงบประมาณไม่เพียงพอ  จะให้สอนดนตรีได้อย่างไร  ดนตรีต้องเรียนตั้งแต่เด็กๆ เช่น เปียโน ไวโอลิน ดนตรีไทย  คนแก่ๆมักพูดเสอๆว่า  อยากจะเล่นดนตรีเป็น อยากจะดีดเปียโนเพลงไทยเพราะสักเพลง มาเรียนตอนแก่ก็สายเสียแล้ว  ให้ลูกเรียนแทนดีกว่า  เด็กๆถ้าชอบดนตรีจะเรียนได้เร็ว  ทำไมไม่ให้ลูกเรียนเสียตั้งแต่เป็นเด็ก  จะรออะไรอยู่

พอโตขึ้นตอนเรียนมัธยมก็สายเสียแล้ว

กีฬาก็เหมือนกัน  ต้องให้เรียนต่างหาก เด็กจะได้แข็งแรง  เช่น ว่ายน้ำ ฟุตบอล ....  

อย่าให้ลูกเล่นแต่คอมพิวเตอร์ iPad, iPhone  คุณจุ๋มสาวนิวยอร์คก็ส่งลูกไปเรียน Ice Skating 

ซึ่งลูกผมตอนเล็กๆ ก็ไปเล่น  พอเล่น Ice Skating เป็น  Ski ก็เล่นเป็น

พอโตขึ้น ไปเที่ยวภูเขา กีฬาพวกนี้มันก็มาเอง  ชีวิตก็มีคุณค่า  ได้ทดลองกับสิ่งใหม่ๆ

ส่วนวิชาในโรงเรียนพ่อแม่ก็ต้องช่วยสอน ถ้าเด็กไม่เข้าใจ ถ้าเข้าใจแล้วก็พยายามให้ลูกอ่านหนังสือให้มากๆ พออ่านมาก ก็เขียนเก่งขึ้น  ทุกอย่างเป็นเหตุเป็นผล  

สรุป เราให้ลูกเรียนในสิ่งที่โรงเรียนไม่ได้สอน มันเป็นกำไรของชีวิตถ้าลูกเราได้รู้สิ่งเหล่านี้ครับ

สวัสดีค่ะคุณ..ชลัญธร..เชื่อมั่น..ในความคิด..ของตน..(ปลาตังนิดเดียว..มัน..ย้งอม ลูกๆได้หมด..ครอก)..อิอิ..แล้ว..ชลัญ..เก่งกว่า..ปลา..เยอะเล้ย...ยายธีว่า...

อ่านแล้ว คิดถึงสมัยยังเป็นเด็ก ถูกเลี้ยงมาอย่างหลานไจ่ไจ๋ เพราะมีแม่เป็นครูอาชีพ..แต่เมื่อมาเลี้ยงหลานป้า วงจรชีวิตเปลี่ยนไป โอกาสทางการศึกษาเปิดกว้างมากมายนอกห้องเรียน..จึงต้องเลือกให้เหมาะสมลงตัวกับพัฒนาการของเด็กและความเป็นอยู่ที่สมดุลกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท