ชมพู่กับวิธีการดูแลรักษาโรคแมลง


ชมพู่ จัดเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกับหว้า ฝรั่ง ยูคาลิปตัส และเป็นพืชที่ชอบน้ำมาก มีพันธุ์ดั้งเดิมอยู่ 3 ชนิด คือชมพู่มะเหมี่ยว, ชมพู่สาแหรกและชมพู่น้ำดอกไม้ (จากพันธุ์ดั้งเดิมของชมพู่น้ำดอกไม้นี้เองกระมังจึงทำให้ชาวปักษ์ใต้เรียกชมพู่ว่าน้ำดอกไม้ในภาษาถิ่นมาจนถึงปัจจุบัน) หลังจากนั้นก็มีชมพู่พันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมาอีกมากมายหลายชนิด ทั้งชมพู่เพชรสายรุ้ง, ชมพู่เพชรสามพราน, ชมพู่เพชรน้ำผึ้ง,ชมพู่พันธุ์ทูลเกล้าและชมพู่ทับทิมจันทร์ ส่วนใหญ่จะปลูกกันมากในแถบนครปฐม ราชบุรี และสมุทรสาคร ส่วนในภาคอื่นๆก็ปลูกกันแบบประปรายเป็นผลไม้ประจำถิ่น การตลาดส่วนใหญ่ก็จะขายให้แก่ผู้บริโภคภายในประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ การส่งออกค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับมะม่วงและมังคุด
นอกจากชมพู่จะเป็นพืชที่ชอบน้ำมากๆแล้วในเรื่องของดินก็ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในดินที่เป็นกรด-หรือด่างจัด มักจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่เป็นกรดอ่อนๆประมาณ 5.8 – 6.3 หรือแม้กระทั่งค่าพีเอชที่ขึ้นไปถึง 7 คือเป็นกลางก็ยังถือว่าไม่มีปัญหาหรือกระทบต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตมากนัก ปัญหาส่วนใหญ่ของชมพู่ก็คือเรื่องของหนอนและเพลี้ยแป้งที่เข้ามาทำลายใบและผล ส่วนในเรื่องของความชื้นแฉะทางดินก็มีให้เห็นอยู่บ้างแต่จัดว่าไม่มากเท่าใดนัก ปัญหาเรื่องเพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้งมักจะมากเกาะกลุ่มอยู่ที่บริเวณผิวใบอาจจะพบได้ทั้งด้านล่างและด้านบนสังเกตุเห็นเป็นลักษณะคล้ายแป้งฝุ่นสีขาวๆ(เพลี้ยแป้ง) และกลุ่มแมลงตัวเล็กๆกลมๆรีๆคล้ายไข่ของแมลงมาวางเอาไว้ต้องหมั่นสังเกตุให้ดีๆ มิฉะนั้นกลุ่มเพลี้ยเหล่านี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจนกิ่งใบเหี่ยวแห้งเลี้ยงไม่โต โดยเฉพาะต้นเล็กๆเริ่มปลูก

การดูแลป้องกันต้องหมั่นสังเกตุสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบการระบาดของเพลี้ยในระยะแรกๆให้รีบทำการรักษาป้องกันแบบปลายเหตุด้วยการใช้สารชีวภาพกำจัดเพลี้ยที่ชื่อว่าจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ (บิวเวอร์เรียและเมธาไรเซียม) ในอัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ก่อนใส่ควรใช้สารจับใบ (ม้อยท์เจอร์แพล้นท์) หรือน้ำยาล้างจานเพื่อทำลายจุดแข็งของเพลี้ยที่มักฉีดพ่นไปแล้วไม่สามารถเกาะติดหรือสัมผัสกับตัวเพลี้ยได้เนื่องจากมีผงฝุ่นผงแป้งและคราบน้ำมันลื่นๆทำหน้าที่ปกป้องตัวของเพลี้ยทำให้การฉีดพ่นสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงก็ไม่สามารถกำจัดหรือรักษาได้โดยเฉพาะลักษณะการฉีดพ่นแบบเดินเร็วเดินไวฉีดเป็นเพียงละอองฝอยๆเพราะจะโดนหรือสัมผัสเฉพาะตัวแก่ที่อยู่ด้านบนส่วนตัวลูกๆที่อยู่ด้านล่างจะไม่ตาย ดังนั้นต้องฉีดให้เปียกชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำหรือฝนตก แต่การใช้จุลินทรีย์ทริปโตฝาจจะช่วยให้การกำจัดมีประสิทธิภาพมากกว่าเพราะเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถเติบโตและขยายจำนวนได้ อีกทั้งยังปลอดภัยไร้สารพิษไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com


หมายเลขบันทึก: 517342เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2013 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2013 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท