ฟักทองติดผลน้อย เพราะด้อยธาตุอาหารที่สำคัญ


ฟักทองนั้นเป็นพวกเดียวกันกับบวบ ฟัก แฟง ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของพืชตระกูลแตงเหมือนกัน เป็นที่นิยมอย่างมากในบ้านเรา รับประทานได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่ เป็นได้ทั้งกับข้าวและขนมหวาน โดยเฉลี่ยฟักทองมีอายุตลอดการเก็บเกี่ยวก็จะอยู่ในระยะ 3-4 เดือน โดยจะเริ่มติดดอกออกผลเมื่อปลูกไปได้เพียงเดือนครึ่งถึงสองเดือน หลังจากนั้นก็จะใช้เวลาผสมเกสรอีกหนึ่งถึงสองสัปดาห์ และอีกประมาณอีกเดือนกว่าๆก็สามารถที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตไปจำหน่าย ส่วนขนาดและอายุที่ต้องการเก็บเกี่ยวนั้นก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดเพราะฟักทองสามารถขายได้ทั้งแบบผลอ่อนและผลแก่ ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเกษตรกรผู้ที่จะตกลงกับผู้รับซื้อกันอย่างไร

ช่วงระยะเวลาที่สำคัญของพืชตระกูลนี้ก็คือเรื่องการผสมเกสร เพราะการทำให้ติดดอกนั้นไม่ยากนักแต่ทำอย่างไรให้ฟักทองติดผลไม่น้อยกว่าปรกติเป็นเรื่องยากกว่า ซึ่งในกรณีนี้นั้นจำเป็นต้องพึ่งพิงพึ่งพาระบบนิเวศน์จากธรรมชาติค่อนข้างมาก ไม่ควรฉีดพ่นยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมทำให้สิ่งมีชีวิตในดินและธรรมชาติเสียหายล้มตายโดยเฉพาะผึ้ง ผีเสื้อและแมลงต่างๆ ที่ช่วยในเรื่องของการผสมเกสรแบบธรรมชาติโดยไม่ต้อนสิ้นเปลืองแรงงานที่นับวันยิ่งสูงขึ้นถึง 300 บาทต่อวัน ทำให้ต้นทุนภาคแรงงานโดยเฉพาะภาคเกษตรก็ต้องสูงตามไปด้วย ศักยภาพในการแข่งขันระดับอาเซียนก็จะน้อยลงจากต้นทุนสินค้าที่แพงขึ้น

นอกจากจะใช้แมลงในการผสมเกสรฟักทองแล้วในพื้นที่ปลูกขนาดเล็กแบบหัวไร่ปลายนาเกษตรกรสามารถใช้แรงงานคนนำดอกเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียผสมเกสรได้เช่นกันโดยโน้มดอกตัวผู้นำไปครอบหรือป้ายดอกเกสรตัวเมีย ในระยะที่ดอกอยู่ห่างกันก็ใช้วิธีการเด็ดและนำไปป้ายกับดอกตัวเมียหลายๆดอกก็สามารถทำได้เช่นกันขึ้นอยู่กับความสะดวกสบายของแต่ละท่าน ระยะเวลาที่เหมาะควรเป็นช่วงเช้าไม่เกิน 9.00 น. จะเป็นช่วงระยะเวลาที่ดีที่สุด นอกจากจะเทคนิคที่ทำให้การติดดอกของฟักทองดีแล้วควรต้องเพิ่มสารอาหารที่จำเป็นหรือสำคัญในระยะออกดอกด้วยนั่นคือแร่ธาตุสังกะสีที่ช่วงสร้างคลอโรฟิลล์สังเคราะห์แสงปรุงอาหารผลิตฮอร์โมนกลุ่มอ๊อกซินที่จำเป็นในระยะออกดอก

ช่วยทำให้ขั้วเหนียวแน่นไม่หลุดร่วง, โบรอนพืช ช่วยทำหน้าที่ขยายรังไข่ เมื่อรังไข่ใหญ่ ดอกก็ใหญ่และได้ผลที่ใหญ่ตามมา, วิตามินอีที่ทำหน้าที่ช่วยผสมเกสร ช่วยให้เกสรไม่เป็นหมันและซิลิสิค แอซิด ที่ทำหน้าที่ร่วมกับแคลเซียมส่งเสริมกันทำให้เซลล์แข็ง แบ่งตัวยืดตัวได้เร็วไม่แตกหักหรือเปราะง่าย รสชาติจะกรอบ อร่อย อายุการเก็บรักษานานขึ้น

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com


หมายเลขบันทึก: 517339เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2013 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2013 11:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท