ตัวอย่างผิวพระสมเด็จวัดระฆังเนื้อปูนเปลือกหอย ที่มีพัฒนาการแบบจัดจ้าน 4 แบบ


ช่วงนี้มีคนสนใจส่งอีเมล์มาถามมากมาย เรื่องเดิมๆ ว่าเนื้อพระมีกี่แบบ ดูอย่างไร

ที่อธิบายยากมาก ก็เลยขอลงรูปให้ดูแทน

ที่ต้องอ้างอิงถึงการสร้างพระว่ามีสามองค์ประกอบหลัก คือ

1. ปูนสุก หรือปูนขาว คือปูนที่ผ่านการเผา มีความเหนียวเมื่อเปียกน้ำ เป็นฝุ่นเมื่อแห้ง

2. ปูนดิบ หรือเปลือกหอย ที่ผ่านการบด ยังมีสภาพที่ละลายน้ำยาก แต่เมื่อเกาะตัวจะมีความแข็งมัน แกร่ง แน่น

3. น้ำมันตั้งอิ้ว ที่เดิมเป็นน้ำมันชักเงาไม้ นำมาผสมเล็กน้อยตอนผสมครั้งแรก เพื่อให้เนื้อปูนนุ่ม ไม่ปริแตกง่าย โดยเฉพาะเมื่อน้ำในเนื้อปูนเริ่มแห้ง แต่ถ้ามากก็จะเละ เนื้อไม่แกร่ง สีออกไปทางเนื้อเทียน เมื่อเนื้อพระแห้ง และแข็งก็จะค่อยๆซึมออกมาด้านนอก เห็นเป็นคราบบางๆ หรือคราบในเนื้อตามรอยปริแตก

ดังนั้นนอกจากจะแก่อย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว ก็จะมีระดับพัฒนาการของเนื้อตามเงื่อนไขการใช้และสภาพแวดล้อมที่ผ่านมา

 

ในที่นี้จะแสดงเฉพาะพระที่มีการพัฒนาแบบจัดจ้าน ดูง่ายเท่านั้น สำหรับมือใหม่หัดส่องจะได้ไม่สับสน

แต่อย่าลืมว่าในความเป็นจริงพระสมเด็จวัดระฆัง ก็ไม่จำเป็นต้องมีการพัฒนาการถึงระดับ "เนื้อจัด" แบบนี้ ทุกองค์เสมอกัน

ขอบอกไว้ เผื่อป้องกันการตีเก๊พระแท้ครับ

 

เนื้อแรกที่จะให้ดูให้ชัด เป็นเนื้อนิยมในวงการ ก็คือ เนื้อสมดุลทั้งสามอย่าง และจัดจ้านมากๆ

องค์นี้เป็นหลังสังขยา ที่ทำเลียนแบบยากมาก

องค์ต่อไปขอเสนอ แก่ปูนดิบ จะมีปูนดิบงอกมาคลุมจนผิวพระแกร่งเป็นหิน แบบหินปูน ครับ

องค์นี้ก็หลังแบบสังขยาเหมือนกัน มีการทำเลียนแบบบ้าง แต่ไม่เนียนเท่านี้ครับ

องค์ต่อไปขอเสนอ แก่ปูนสุกครับ

เนื้อจะอ่อนเหมือนแป้ง แม้ลงรักไว้ก็จะหลุดร่อนออกโดยง่าย รักษาเนื้อไว้ยากมาก

องค์ต่อไปขอเสนอ แก่ตั้งอิ้วครับ

เนื้อจะออกฉ่ำแบบเทียน จึงมักเรียกว่าเนื้อเทียนชัยครับ

ดูด้านหลังครับ

การพัฒนาการจะไม่มาก แบบเดียวกับพระเนื้อดินแก่น้ำว่าน ที่มีการเคลื่อนที่ของน้ำน้อยมาก ก็เลยอยู่แบบ "นิ่งๆ" เหมือนพระไม่มีอายุ แต่จะดูอายุได้จากคราบขาวๆในเนื้อพระ และคราบระเบิดขาวๆตามผิว

ทั้งสี่ตัวอย่างนี้ ไว้เทียบดูมาตรฐานกับพระที่ท่านมีครับ

บางองค์ก็ครึ่งๆกลางๆ ก็อาจใช้หลักการนี้ไปจับได้ครับ

ขอให้โชคดี มีพระแท้ๆกันทุกท่าน และห่างไกลจากพระโรงงาน ทำด้วยพลาสติกอัด แล้วแต่งสีที่ผิวครับ

แต่ถ้าใครยังรักจะเล่นพระพลาสติกอัดต่อไป ก็เชิญตามสบาย ทางใครทางมัน ตามแต่ใจชอบครับ

หมายเลขบันทึก: 517235เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2013 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มกราคม 2013 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

แล้วเนื้อเป็นเทียนชัยไหมครับ อิอิอิ

ในความรู้สืกของผม..เนื้อเป็นผงปูนดิบ..บวก...ปูนสุกครับ..แต่มันฉ่ำคล้ายเทืยน...ให้ความรู้สึก...(น่าใช่ครับ)

เหมือนรูปสุดท้ายในบันทึกไหมครับ นั่นแหละเนื้อเทียนชัย ที่มักมีพัฒนาการน้อย และมีปูนสุกขึ้นประปรายครับ

 

ถ้าพระใหม่ๆอาจจะเรียก "พระผงน้ำมัน" ครับ


เนื้อเทียนชัยเหมือนผมจะเคยเห็น เดี๋ยววันหลังจะเอารูปมาให้อาจารย์ช่วยพิจารณาครับ

อยากถ่ายให้เห็นเน์้อชัดๆแบบที่อาจารย์ลงไว้ แต่พอถ่ายออกมาทีไร ออกมีเป็นแบบนี้ทุกที ตามซอกตามรูมอมเนื้อหาข้างในไม่เห็นเลย(ลบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำวิธีถ่ายรูปให้เห็นรายละเอียดของเนื้อหาด้วยครับ) เวลาส่ององค์จริงตามรูด้านหลังจะเห็นเป็นเนื้องอกออกมาในรูเนื้อดูฉ่ำนุ่มแต่ความเป็นจริงแกร่งมาก ตอนที่ได้มีทรายเกาะอยู่เยอะเลยเอาไปต้มน้ำร้อน ล้างด้วยน้ำยากัดคราบแล้วก็ลงแปรงออกแต่ทรายที่ติด แต่ทำอะไรเนื้อองค์พระไม่ได้เลยครับ ส่วนด้านหลังที่เป็นรอยเปิดเนื้อนั่นเพราะใช้มีดขูดถึงได้เห็นเป็นรอยขาวๆ  ผมอยู่ภาคกลางเคยไปขอนแก่นอยู่บ้างถ้ามีโอกาสอยากจะขอนัดอาจาร์ยให้ช่วยสอนด้วย ขอบคุณครับ

อย่าลำบากเลย กับพระแบบนี้ครับ

แสดงว่ายังไม่อ่าน ซื้อมาเก็บให้รกบ้านมั้ง อิอิอิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท