พัฒนาชุมชน คืนความสุขสู่ชุมชนหลังวิฤตน้ำท่วมด้วย “ความพอเพียง”


มหา อุทกภัย 2554 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย นับเป็นภัยธรรมชาติครั้งยิ่งใหญ่ ที่สร้างความสูญเสียให้กับประชาชนผู้ประสบภัย ตลอดจนกระทบกับสภาวะเศรษฐกิจ และภาคอุตสาหกรรมภาพรวมภายในประเทศเป็นวงกว้าง แต่ท่ามกลางภัยพิบัติ ก็ยังปรากฎภาพแห่งน้ำใจ ไมตรี และร่วมแรงร่วมใจ และภาพแห่งการช่วยเหลือเกื้อกูนซึ่งกันและกัน จนมาถึงวันนี้ ต่างร่วมกันฟันฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกันอย่างไม่ย่อท้อ

  กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย คือ หน่วยงานหนึ่งที่เดินหน้าภารกิจเร่งด่วนเพื่อเยียวยาผู้ประสบภัยในช่วงวิกฤต มหาอุทกภัยมาอย่างต่อเนื่อง มาจนถึงวันนี้ ก็ยังคงเดินหน้าต่อ เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยการน้อมนำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาบริหารจัดการ และส่งเสริมคนในชุมชนให้สามารถยืนหยัดและพึ่งพากันและกันได้ต่อไปโดยไม่ล้ม ภายใต้แนวทางของ  อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ที่มุ่งเน้นให้ทุกชุมชนผ่านพ้นวิกฤตด้วยแนวทาง ช่วยกันลงแขก ร่วมกันแจกน้ำใจ” ดังตัวอย่างของ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในหลายพื้นที่ ที่กรมการพัฒนาชุมชนเข้าไปมีส่วนผลักดัน และส่งเสริม แม้ในหลายชุมชนต่างได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัย บ้างสูญเสียทรัพย์สิน บ้างพื้นที่ทำมาหากินเสียหาย แต่ด้วยหัวใจแห่งความ “พอเพียง” ที่ได้รับการปลูกฝัง และได้ดำเนินชีวิตตามแนวทางแห่งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ หลายๆหมู่บ้าน หลายๆชุมชน สามารถลุกขึ้นยืนหยัด และสู้ต่อไปได้ด้วยการร่วมแรงร่วมใจ ภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน บางหมู่บ้านสามารถพึ่งพา และเยียวยาแก้ไขปัญหาภายหลังวิกฤตมหาอุทกภัยได้ก่อนที่จะมีความช่วย เหลือจากภาครัฐเข้าไปถึง ในบางหมู่บ้าน ก็สามารถรอดพ้นจากวิกฤตในครั้งนี้ได้ เพราะอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน......

  นับเป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะเท่ากับว่าความพยายามและทุ่มเทในการพัฒนาชุมชน โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่กรมการพัฒนาชุมชนให้การดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องนั้น ได้มีส่วนสำคัญในการช่วยให้ประชาชนในชุมชน สามารถบริหารจัดการ  และ รอดพ้นจากสภาพปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยความแข็งแกร่ง โดยอาศัยการมีส่วนร่วมและกระบวนการพัฒนาชุมชนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนให้ผ่านพ้น วิกฤตที่เกิดขึ้น ผ่านเวทีประชาคม เพื่อสะท้อนปัญหา สถานการณ์ ผลกระทบที่เกิดขึ้น หาแนวทางในการเยียวยา ฟื้นฟูชุมชนและหามาตรการในการป้องกันและจัดทำแผนรองรับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

  ดังจะเห็นได้ว่า การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน โดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง สามารถช่วยให้การฟื้นฟูหลังอุทกภัย ดำเนินไปได้ด้วยความรวดเร็ว และแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด โดยกรอบความคิดและวิธีการที่ช่วยเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญได้แก่ การลดรายจ่าย (ทำสวนครัว ปลอดอบายมุข) เพิ่มรายได้ (มีอาชีพ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม) ประหยัด (มีการออม มีกลุ่มออมทรัพย์ฯ) ส่งเสริมการเรียนรู้ (สืบทอดภูมิปัญญา มีการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ใช้วัตถุดิบในชุมชนประกอบอาชีพ ปลูกต้นไม้) เอื้ออารีต่อกัน (มีการช่วยเหลือกันและกันและความสามัคคี) ซึ่งสามารถแบ่งศักยภาพหมู่บ้านแห่งความพอเพียงเป็น 3 ระดับคือ “พออยู่ พอกิน” ที่มีการใช้ชีวิตพึ่งตนเอง เน้นการปฏิบัติทำกิน ทำใช้ในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และปลอดภัยจากยาเสพติด “อยู่ดี กินดี” ซึ่งมีการบริหารการพัฒนาในรูปแบบกลุ่ม เพื่อเพิ่มรายได้ และขยายโอกาสคนในชุมชน ดังนั้นประชาชน จะไม่มีปัญหายาเสพติด ไม่จน และไม่มีหนี้นอกระบบ “มั่งมี ศรีสุข” มีการบริหารการพัฒนาในรูปแบบองค์กร เครือข่ายเพื่อใช้ศักยภาพในการดำเนินการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน เพื่อขยายโอกาสในการประกอบอาชีพ และส่งเสริมการจัดสวัสดิการให้กับคนในหมู่บ้าน/ชุมชน ผลลัพธ์คือ เป็นชุมชนที่ไม่มียาเสพติด ไม่มีความยากจน ไม่มีหนี้นอกระบบ มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี และมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในชุมชน

  กรมการพัฒนาชุมชน เชื่อมั่นว่า การดำเนินตามรอยแนวทางแห่งความ พอเพียง” จะช่วยนำพาชุมชนก้าวสู่ความเป็น ชุมชนเข้มแข็ง” ได้ด้วยความร่วมแรงร่วมใจ ของประชาชนในชุมชนเอง เพื่อนำมาซึ่งความสุขอย่างยั่งยืนได้นี่สุด


คำสำคัญ (Tags): #พอเพียง
หมายเลขบันทึก: 517219เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2013 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มกราคม 2013 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท