การฝึกปฏิบัติการพยาบาลปฐมภูมิ ผู้ใช้บริการภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง


รายงานการเยี่ยมบ้าน

 การฝึกปฏิบัติการพยาบาลปฐมภูมิ     ผู้ใช้บริการภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง  และ  ครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา พย. 655 ปฏิบัติการพยาบาลปฐมภูมิผู้ใช้บริการภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังและครอบครัวสาขา การพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว      หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต         คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ศูนย์รังสิตภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2549

เป็นการศึกษาในผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและ ความดันโลหิตสูง   โดยมีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม (ทฤษฎีการดูแลตนเอง)     เข้ามาใช้ใน  การฝึกปฏิบัติการพยาบาลปฐมภูมิ  ผู้ใช้บริการภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง  และ ครอบครัว

เหตุผลที่ผู้ศึกษาเลือกใช้กรอบทฤษฎีการดูแลตัวเองของโอเร็ม ในการประเมินผู้ป่วยและประเมินครอบครัว เนื่องจากทฤษฎีนี้มีจุดเน้นของทฤษฎีสอดคล้องกับผู้ป่วยที่ศึกษา เพราะเป็นโรคเรื้อรังที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน จำเป็นต้องสามารถปฏิบัติกิจกรรมเพื่อคงไว้ซึ่งความสามารถในการดูแลตัว ในภาวะที่มีการเบี่ยงเบนทางสุขภาพ โดยระบบพยาบาลเป็นแบบประคับประคองและสนับสนุนให้ความรู้                 

 ผู้จัดทำได้ทำการศึกษากรอบทฤษฎีจากตำราและเอกสารต่างๆ  เพื่อให้เกิดความเข้าใจในประเมินผู้ป่วยและครอบครัว และสนับสนุนการดูแลตนเองเพื่อคงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพที่ดี  ชื่อผู้ป่วยที่อ้างถึงในเอกสารฉบับนี้เป็นชื่อที่สมมุติขึ้น เพื่อการพิทักษ์สิทธิของผู้รับบริการ หากรายงานฉบับนี้มีข้อผิดพลาดประการใดๆ       

 ผู้จัดทำขออภัยไว้    โอกาสนี้   
                                                                                                                                            
ผู้จัดทำ
   23  กันยายน  2549

 

http://gotoknow.org/file/nursing/LongcaseYotaka.pdf  ดาวโหลดอ่านได้ที่นี่

ตัวอย่างการทำรายงานการเยี่ยมจากตัวอย่างของเพื่อนในห้องที่ทำส่งอาจารย์ดังนี้

  • http://gotoknow.org/file/nursing/Long+casepramom.pdf  ของคุณอุษา ทัศวิน
  • http://gotoknow.org/file/nursing/Long+caseausa.pdf กรณีศึกษาฉบับนี้ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางตา คือ โรคเบาหวานขึ้นตา มีการศึกษาผู้ป่วยอย่างละเอียด ทำให้ทราบว่าผู้ป่วยขาดการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสม จึงได้ติดตามดูแลเยี่ยมบ้านต่อ 2 ครั้ง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ตามเหมาะสม และให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยด้วย โดยมีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มและแนวคิดการเพิ่มพลังอำนาจสุขภาพมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้การพยาบาลที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 51674เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2006 02:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท