การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช (Pest Risk Analysis)


การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช (Pest Risk Analysis)

        เป็นกระบวนการประเมินหลักฐานด้านชีววิทยา หรือด้านวิทยาศาสตร์อื่นๆ และด้านเศรษฐกิจ เพื่อพิจารณาว่าศัตรูพืชชนิดหนึ่งควรได้รับการควบคุมหรือไม่ และมาตรการสุขอนามัยพืชใดที่เหมาะสมต่อการจัดการศัตรูพืชชนิดนั้น กระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน

         ขั้นตอนที่ 1 การเริ่มต้นวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยพิจารณาว่าหากศัตรูพืชดังกล่าวเข้ามาระบาด อะไรคือสิ่งเลวร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้น เช่นการระบาดทำให้เกิดความเสียหายต่อพืชอย่างไร และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจขนาดไหน เรียกว่า Pest Identity

         ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความเสี่ยงศัตรูพืช โดยจะต้องตอบคำถามว่าโอกาสที่จะเกิดการระบาดเป็นอย่างไร หากเกิดขึ้นแล้วจะเป็นอย่างไร ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นสามารถยอมรับได้หรือไม่ เรียกว่า Overall pest risk โดยการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืช แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

         2.1 การประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชสำหรับศัตรูพืชกักกัน (Pest risk assessment for quarantine pest) หมายถึง การประเมินผลของความเป็นไปได้ของการนำเข้ามา และการแพร่กระจายของศัตรูพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง และสิ่งที่ติดตามมาทางเศรษฐกิจที่มีศักยภาพที่เกี่ยวข้อง

         2.2 การประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชสำหรับศัตรูพืชที่ไม่ใช่ศัตรูกักกัน (Pest risk assessment for regulated non-quarantine pest) หมายถึงการประเมินผลของความเป็นไปได้ที่ศัตรูพืชชนิดใดชนิดหนึ่งในพืชปลูกที่มีผลกระทบต่อการใช้ที่ตั้งของพืชปลูกเหล่านั้น และมีผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ไม่สามารถยอมรับได้

           ขั้นตอนที่ 3 การจัดการความเสี่ยง โดยจะต้องพิจารณาว่าความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในขั้นตอนที่ 2 เราสามารถจัดการความเสี่ยงได้อย่างไร นั้นคือ การตอบสนอนต่อความเสี่ยง (Response risk) โดยหากเป็นการบริหารจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชสำหรับศัตรูพืชกักกัน (Pest risk management for quarantine pest ) หมายถึงการประเมินผลและการเลือกทางเลือกต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงของการนำเข้ามา และการแพร่กระจายของศัตรูพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง ส่วนการบริหารจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชสำหรับศัตรูพืชที่ไม่ใช่ศัตรูพืชกักกันที่ต้องมีการควบคุม(Pest risk management for regulated non-quarantine pest) หมายถึงการประเมินผล และการเลือกทางเลือกต่างๆเพื่อลดความเสี่ยงที่ศัตรูพืชชนิดใดชนิดหนึ่งในพืชสำหรับปลูก เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลกระทบที่ไม่สามารถยอมรับได้ทางเศรษฐกิจในการใช้พืชเหล่านั้นอย่างตั้งใจ

         ในระหว่างกระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชทั้ง 3 ขั้นตอน จะต้องมีการสื่อสารความเสี่ยง(Risk communication) ไปพร้อมกันเพื่อสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งระบบ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการกำหนดมาตรการสุขอนามัยพืช และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบการกักกันพืช


 

หมายเลขบันทึก: 516439เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2013 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มกราคม 2013 11:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท