หลักสูตร 3PBL



จากการทำงานเรื่องการศึกษามาเกือบ 3 ปี วันนี้ ทีมเรา LLEN มหาสารคาม ได้ตัดสินใจร่วมกันพัฒนาหลักสูตรพัฒนาการคิด พัฒนาทักษะการทำงาน หรือคือ พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 .....ลองพิจารณาและช่วยคอมเมนท์ด้วยครับ ......

  • ชื่อ "หลักสูตร 3PBL" (อ่านว่า Three-P-B-L) มากจากขั้นตอนการพัฒนาทักษะ 3 ระดับ ได้แก่
    • 1st_PBL คือ Pattern-based Learning (การพัฒนาการเรียนรู้ในรูปแบบ) เน้นการพัฒนาทักษะการคิด โดยใช้สื่อและแบบฟอร์มต่างๆ เป็นเครื่องมือช่วยในการ ถอดบทเรียน (สะท้อน ทบทวน แลกเปลี่ยน ระดมสมอง)
    • 2nd_PBL คือ Project-based Learning (การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม/โครงการ) เน้นการ "ถอดบทเรียน" จากโครงการหรือกิจกรรม ที่ทำร่วมกัน โดยอาจเป็นกิจกรรมที่ครูเป็นผู้ออกแบบ กิจกรรมที่ทางโรงเรียนดำเนินการเป็นประจำทุกปี หรือกิจกรรมใดๆ ที่นักเรียนทำภายในโรงเรียน เช่น กิจกรรมลูกเสือ กิจกรรมชุมนุม ชมรม เป็นต้น รวมทั้ง กิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆ ที่ครูเป็นผู้นำพา ทุกกิจกรรมจะต้องมีการ สร้างโอกาสให้นักเรียนได้ "ถอดบทเรียน" (ทำ BAR, DAR, AAR) ก่อนทำ ระหว่างทำ และหลังทำ.... นักเรียนจะได้ฝึกทักษะการคิดและทักษะการทำงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA, Plan, Do, Check, Act)
    • 3rd_PBL คือ Problem-based Learning (การพัฒนาการเรียนรู้บนฐานปัญหา) เน้น "การเรียนรู้ด้วยตนเอง" ของนักเรียน นักเรียนจะเป็นผู้ คิด ทำ และนำเสนอ ครูเป็นเพียงผู้อำนวย และช่วยเหลือแนะนำเพื่อเสริมแรงบันดาลใจเป็นหลัก PBL ที่ถูกต้องจะทำให้นักเรียนเกิด ทักษะในศตวรรษที่ 21 และพวกเขาจะเรียนอย่างมีความสุขสนุกที่ได้เรียน

  • วัตถุประสงค์
    • 1st_PBL เพื่อพัฒนาทักษะการคิด
    • 2nd_PBL เพื่อพัฒนาทักษะการทำงาน
    • 3rd_PBL พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
  • คุณลัษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน
    • มีทักษะการคิดที่ดี มีอุปนิสัยพอเพียง
    • สามารถทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นกระบวนการตามวงจรคุณภาพ (PDCA)
    • มีทักษะในศตวรรษที่ 21
  • เนื้อหาที่จำเป็นสำหรับครูและนักเรียน
    • การจัดการความรู้ เทคนิคกระบวนการเรียนรู้ BAR, AAR, Deep Listening, Dialogue, จิตศึกษา
    • ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการศึกษา
    • ทักษะในศตวรรษที่ 21
  • ระยะเวลาในการใช้หลักสูตร
    • ไม่ตายตัว
    • หลักสูตร 6 เดือน - 1 ปี
    • อย่างน้อยควรใช้ 2 คาบต่อสัปดาห์
  • ข้อตกลงสำคัญในการใช้หลักสูตร
    • ต้องเน้น Active Learning คือ จัดให้นักเรียน เรียนจากการปฏิบัติ ไม่เน้นเนื้อหา แต่เน้นกระบวนการเรียนรู้
    • ครูเปลี่ยนบทบาทมาเป็น "กระบวนกร" คือ ไม่เน้นบอกความรู้ บอกวิชา แต่มาเป็นผู้อำนวยให้เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกมีความสุข คือ เน้นสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนเป็นหลัก
    • เรียนแบบทีม สอนแบบทีม ลดการเรียนแบบเดี่ยว สอนแบบตัวใครตัวมัน

รายละเอียดอื่นๆ รวมทั้งเครื่องมือต่างๆ จะนำมาเผยแพร่ต่อไปครับ

รายละเอียดและตัวอย่างหลักสูตร 3PBL โหลดได้ที่นี่ครับ หลักสูตร 3PBL.pdf (เพิ่มเติมไว้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2556)

หมายเลขบันทึก: 516104เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2013 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2017 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

น่าสนใจมากครับ จะติดตามนะครับ

ขออนุญาตสอบถาม/เสนอแนะความคิดเห็นครับ


น่าสนใจในเรื่องนี้ ขออนุญาตติดตามต่อไปครับ เพราะตอนนี้ผมกำลังผม Problem based learning วิชาวิทยาศาสตร์ ม.2 อยู่ ถือว่าข้อมูลนี้น่าสนใจครับ


และจากรูปแบบ 3PBL ที่กล่าวมา อาจารย์คิดว่า รูปแบบใดเหมาะสมกับการนำมาใช้สอน วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) มากที่สุดครับ ?

ขอบคุณท่าน ผอ.ชยันต์ ที่ให้ความสำคัญครับ 

สำหรับพันเทพ..... หลักสูตร 3PBL เป็นหลักสูตรเน้น "กระบวนการ" ที่เน้น "หลักการ" ไม่ใช่หลักสูตรทางการศึกษาทั่วไปที่เน้น "การถ่ายทอด" ซึ่งให้ความสำคัญกับ "เนื้อหาความรู้" ดังนั้น 3PBL จึงไม่ตายตัว เช่น 

  • ไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้ PBL ตัวใด ขึ้นอยู่กับ ระดับทักษะเดิมในตัวนักเรียน เช่น หากนักเรียน คิดเป็นแล้ว กล้าพูด กล้าทำแล้ว ก็เน้น Problem-based ได้เลย  แต่ถ้านักเรียนยังไม่มีทักษะดังที่กล่าวมาข้างต้นเลย อาจต้องใช้ Pattern-based ให้มากหน่อย เป็นต้น 
  • การใช้ Pattern-based ก็ไม่ตายตัว หากมีนักเรียนจำนวนไม่มาก อาจเป็น "การถาม" ด้วยชุดคำถามจากครู โดยไม่ต้องใช้แบบฟอร์มบนกระดาษ เช่น  เปิดหนังเรื่อง เหนือเมฆ 2 ตอนที่เป็นข้อพิพาทษ์ให้ดูแล้ว ครูถามให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น เป็นต้น แต่ถ้านักเรียนจำนวนมาก อาจต้องใช้ Pattern form ในลักษณะ ใบงานแบบส่วนตัวหรือแบบกลุ่ม  ฯลฯ 
  • ทั้ง 3 PBL อาจใช้พร้อมกันได้เลย เช่น ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนฟิสิกส์ระดับ ม.2  ใช้การถอดบทเรียนเพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องเนื้อหา และความเชื่อมโยงกับชีวิต ถอดบทเรียนจากกิจกรรม และทำโครงงาน 
โดยสรุปคือ หลักสูตรนี้ เหมาะกับทุกระดับตั้งแต่ ประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึง ระดับมหาวิทยาลัย แตกต่างกันที่ "การเน้น" และ "ความลึก" ในการใช้  ระดับประถมศึกษา อาจต้องเน้น PBL ตัวแรก ระดับมัธยมอาจเน้น PBL ตัวหลัง ส่วน ระดับมหาวิทยาลัย ไม่ควรต้องมาคุยกันเรื่องนี้ เพราะ นิสิตควรเรียนรู้ด้วยตนเองแบบ "ไรรูปแบบ" ได้เองอย่างมีความสุข 

อยากให้ทุกโรงเรียนในมหาสารคามได้สัมผัส 3 PBL เร็ว ๆ อยากให้ถึงวันทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายในเมษายนนี้คะ

หลังจากทำความเข้าใจแล้วกำลังจะทดลองทักษะขั้นที่หนึ่งค่ะส่วนขั้นที่สองและสามนักเรียนมีพื้นฐานการถ่ายทอดสู่ชิ้นงานที่สอนโดยใช้แผนภาพความคิด แปลงร่างเป็นชิ้นงาน  แฟ้มงาน  โครงงาน สมุดเล่มจิ๋ว แล้วจะแจ้งผลนะค่ะ

อาจารย์คะ ขั้นตอน ของแต่ละ PBL เหมือนกันไหมคะ นู๋ยังงงอยู่

จะเขียนแบบโปรเจ๊คอ่ะคะ จำเป็นต้องเป็นโครงงานไหมคะ เพราะในรายวิชาอื่นให้งานที่เป็นโครงงานไปแล้ว ถ้าจะให้อีกคงเป็นการหนัก ช่วยอธิบายP โปรเจ๊คให้ฟังหน่อยได้ไหมคะ เพราะตอนนี้ รร เน้นแผน 3PBL แต่ยังไม่กระจ่างเลยเขียนไม่ได้คะ

3PBL เป็นแนวคิดการจัดการเรียนการสอนจากง่ายไปยากครับ ขั้นตอนแต่ละอันจะเน้นวัตถุประสงค์แตกต่างกัน สิ่งที่สำคัญมาก ๆ อย่างหนึ่งคือ บทบาทของผู้สอนหรือครู กับบทบาทของผู้เรียน จะแตกต่างกัน ตัว Project โดยทั่วไป จะหมายถึงโครงงาน แต่ใน 3PBL ไม่เน้นว่าจะเป็นโครงการหรือโครงงาน แต่จะกำหนดว่า ถ้าหากครูเข้าไปช่วยคิดช่วยทำ แสดงว่ายังอยู่ขั้นที่ 2ndPBL แต่ถ้า นักเรียนคิดเอง ทำเอง แก้ปัญหาเอง สรุปเอง ทั้งหมด โดยที่อาจารย์แต่เพียง เข้าไปวิพากษ์ แนะนำ เป็นโค้ชเท่านั้น จึงเรียกว่า 3rdPBL ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท