เยี่ยมผู้สูงอายุเมืองงาช้างดำ (เมืองน่าน) ตอนที่ 4 ชมรมผู้สูงอายุครบวงจร ที่ถืมตอง



ที่อำเภอเมืองน่าน ตำบลถืมตอง ชมรมผู้สูงอายุถืมตอง เป็นชมรมที่เข้มแข็งมาก ด้วยบริบทที่เป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตพอเพียงแบบคนชนบท นับถือเครือญาติ มีภูมิปัญญาพื้นบ้านถ่ายทอดสู่ลูกหลาน การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย การรักษาสุขภาวะสิ่งแวดล้อม ทำให้คุณภาพชีวิตของคนถืมตองดีมาก ถ้าจะดูจากผู้สูงอายุ คุณป้าอี๊ด ผู้นำเสนอการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุถืมตองบอกไว้ว่า ที่นี่มีผู้สูงอายุ กลุ่มติดบ้านติดเตียง เป็น 0

ถืมตอง เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนที่สร้างบ้านด้วยการนำไม้ไผ่มาสาน ขึงตองไว้ตรงกลาง เพื่อเอาไว้บังแดดฝน มีประชากรประมาณ 3,600 คน ชมรมผู้สูงอายุถืมตองมีสมาชิก 450 คน มีจำนวนชมรมในเครือข่ายระดับหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน มีอาสาสมัครเพื่อนช่วยเพื่อน 52 คน ภูมิปัญญาผู้สูงอายุมีในด้านดนตรีพื้นบ้าน การจักสาน หัตถกรรมพื้นบ้าน สมุนไพรและแพทย์พื้นบ้าน อักษาล้านนา (ตั๋วเมือง) ผู้สูงอายุของถืมตองมีผู้สูงอายุกลุ่มที่ 1 ที่ติดสังคม ช่วยเหลือตนเองได้จำนวนมาก ถึง 389 คน กลุ่มที่ 2 จำนวน 61 คน และกลุ่มที่ 3 ไม่มีเลย

ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ มีการคัดกรองที่ รพ.สต. และได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง

การทำกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ หลากหลาย ได้แก่ พมจ. อบต. สอ. รพ.น่าน สสส. โรงเรียน วัด สภาประชาชน และ กศน.

การทำกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุถืมตองมีมากมาย ได้แก่

  • การส่งเสริมสุขภาพกายใจ ด้วยการรำไม้พลอง เปตอง ในช่วงเย็นของทุกวัน
  • การรับบริการตรวจคัดกรองสุขภาพจาก รพ.สต. และการส่งต่อไป รพ.น่าน
  • การถ่ายทอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน เช่น ทำขนม ปลูกต้นไม้ ฟ้อนเจิง
  • วงดนตรีพื้นบ้านเยาวชน ผู้สูงอายุเป็นผู้สอน เช่น อุ๊ยสอนหลาน วงตะเกียงน้อย
  • เรียนรู้อักษรล้านนา (ตั๋วเมือง) ในช่วงสอนพุทธศาสนาที่วัด
  • นำลูกหลานเรียนรู้สิ่งดีดี ของตำบลถืมตอง เช่น ตีกลอง ปั่นฝ้าย และของดีในหมู่บ้าน
  • รวมกลุ่มภูมิปัญญาพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้าน เช่น ช่างซอ วงดนตรีอุ๊ยสอนหลาน
  • การส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี
  • ด้านศาสนา โดยการไปวัดทุกวันพระ และศาสนาวันอาทิตย์
  • อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดโลกร้อน เช่น มีการรับซื้อขยะ เสาร์แรกของเดือน การนำมาขาย ทำดอกไม้จันทน์จากขยะ ผู้สูงวัยร้อยใจปลูกต้นไม้ถวายพ่อหลวง
  • การส่งเสริมอาชีพ เช่น ไม้กวาด ผาขาวม้า สานตระกร้า เครื่องนวด พรมเช็ดเท้า ยาหม่อง
  • ส่งเสริมการอ่านหนังสือ และกฎหมาย เช่น มีห้องสมุดผู้สูงอายุ ที่อาคารเอนกประสงค์ รพ.สต.ถืมตอง การแต่งคาวจ้อยคำเมืองนำเสนอกิจกรรมเวทีต่างๆ และถ่ายทอดทางวิทยุสู่ชุมชน ขยายความดีเยาวชนตำบลถืมตอง การนำเด็ก เยาวชนสวดมนต์ ตามหนังสือสวดมนต์ไหว้พระ ที่ รร.พุทธศาสนาวันอาทิตย์
  • ด้านการออม เช่น สมาชิกออมทรัพย์ในหมู่บ้าน ช่วยเหลือการเจ็บป่วย เสียชีวิต และการกู้ยืม ร่วมโครงการออกวันละบาท ได้ดอกผลเป็นสวัสดิการ เกิด เจ็บป่วย และเสียชีวิต
  • กิจกรรมวันผู้สูงอายุแห่งชาติ เป็นเวทีให้ผู้สูงอายุได้พบปพ และรดน้ำดำหัว
  • ผ้าป่าสามัคคี
  • ยกย่องผู้สูงอายุที่มีผลงานดีเด่น ด้วยการแจกประกาศนียบัตร
  • เยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้าน โดย อผส. เป็นการให้กำลังใจด้วยการร้องเพลง และมีของเยี่ยมถุงผ้าห่วงใยสุขภาพ และแปรงสีฟัน ยาสีฟัน ปัจจัยต่างๆ การสอนการแปรงฟันที่ถูกวิธี
  • การพบปะสมาชิกในแต่ละหมู่บ้าน เช่น เวทีเสี่ยวแอ่วหาเสี่ยว สันทนาการ การรับประทานอาหารร่วมกัน การ้องรำทำเพลง และการออกกำลังกาย
  • ร่วมกับชมรมปั่นจักรยาน ปั่นจักรยานเยี่ยมสมาชิกในหมู่บ้าน ไปแอ่วหาเสี่ยวตำบลไชยสถาน
  • โครงการเตรียมความพร้อมสู่การสูงวัย โดยใช้งบประมาณ สปสช. เชิญอาจารย์พยาบาลมาให้ความู้ เพื่อให้ผู้สูงอายุอยู่อย่างมีความสุข
  • บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในทางศาสนา
  • การพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ให้ความรู้ อผส. เพื่อการดูแลผุ้สูงอายุต่อเนื่อง
  • การศึกษาดูงาน ที่ ศูนย์เอนกประสงค์ผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลหนองตอง อ.หางดง ซึ่งเป็นศูนย์ผู้สูงอายุต้นแบบระดับประเทศ จังหวัดเชียงใหม่ ดูรูปแบบบริการผู้สูงอายุในชุมชน รพ.ขุนตาล เชียงราย และร่วมงานมหกรรม มหกรรมวิชาการ "วิชาการสร้างสรรค์ จุดประกายความคิด เพื่อสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ" ที่โรงแรมริชมอนด์ นนทบุรี งานเสี่ยวแอ่วหาเสี่ยว ชมรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ จ.น่าน (จัดที่ถืมตอง) งานมหกรรมทันตฯ จังหวัดน่าน
  • เป็นศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ ในโครงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ จุฬาฯ และเสนอแผนงานโครงการเข้าสู่แผน 3 ปี ของ อบต.


ในเรื่องของกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากมีการทำกิจกรรม คือ

  • การตรวจสุขภาพช่องปาก  จาก ทันตแพทย์
  • สมาชิกได้รับความรู้จากการเยี่ยมบ้าน และในเวทีกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน
  • การฝึกแปรงฟัน โดยได้รับยาและแปรงสีฟันไปแปรงที่บ้าน และถึงห่วงใยสุขภาพช่องปาก
  • จัดตั้งกองทุนแปรงฟัน ให้มีการจำหน่ายในราคาถูก
  • ซอส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เป็นเพลงซอ เรื่อง สุขภาพช่องปาก
  • การส่งเสริมสุขภาพช่องปากนักเรียน เช่น ที่โรงเรียนมีการให้ความรู้นักเรียน และนักศึกษาทันตแพทย์เชียงใหม่ มาให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ อุ๊ยหลานประสานใจห่วงใยสุขภาพช่องปาก ด้วยการชวนกันดูแลสุขภาพช่องปากนักเรียน การสัญญาไม่ซื้อขนมกรุบกรอบ
  • การส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก ด้วยการทำขนมอ่อนหวาน เน้นให้ผู้ปกครองทำขนมให้เด็กกินเอง อุ๊ยเล่านิทานให้หลานฟัง ร้องเพลง ผูกมือรับขวัญ
  • การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก กลุ่ม อผส. ด้วยการให้ความรู้ผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง และได้รับการดูแลสุขภาพช่องปาก จากทันตแพทย์ และเจ้าหน้าที่ รพ.สต. อย่างต่อเนื่อง
  • การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก สมุนไพรทางเลือก เช่น เปลือกมะขามป้อม เปลือกข่อย เปลือมะขามเทศ เปลือกแค และพ่อปั๋นทำน้ำยาบ้วนปาก
  • มาตรการอาหารปลอดภัยถืมตอง โดย มีการควบคุมอาหารในงานสำคัญที่มีการจัดเลี้ยง ด้านสถานที่มีการกำหนดขอบเขตสถานที่ประกอบอาหาร ป้ายแจ้งสถานที่ประกอบอาหาร มีผ้าขาวบางปกคลุมอาหาร และภาชนะ ด้านอาหารเป็นอาหารแบบปรุงสุก วัสดุปรุงประกอบเน้นของพื้นบ้าน ใช้เกลือไอโอดีน น้ำสมุนไพร ภาชนะใส่ลดพลาสติก เพื่อลดภาวะโลกร้อน ด้านผู้ประกอบอาหาร มีสารวัตรคอยควบคุมดูแล ผู้ประกอบอาหารไม่เจ็บป่วย ไม่มีโรคติดต่อ ไม่เป็นโรคผิวหนัง มีสุขนิสัยที่ดี ผู้เข้าบริเวณปรุงประกอบอาหาร ต้องล้างมือให้สะอาด สวมหมวก ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปาก รองเท้าบู้ท ตามความเหมาะสม


แผนงานต่อเนื่องของถืมตอง ในแผน 3 ปี ได้แก่

  • โครงการพัฒนาศักยภาพเพื่อนช่วยเพื่อน
  • โครงการอุ๊ยหลานประสานใจห่้วงใยสุขภาพช่องปาก
  • โครงการเตรียมพร้อมสู่การสูงวัย

ผลสำเร็จจากการดำเนินงาน

  • พัฒนาการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มศึกษาดูงาน
  • นำลุกหลานเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม รร.พุทธศาสนาวันอาทิตย์ เรียนรู้สิ่งดีดีในชุมชน
  • สืบสานวัฒนธรรมประเพณี ส่งเสริมการเรียนรู้ในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ
  • เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในแต่ละหมู่บ้าน โรงเรียน และศูนย์เด็กเล็ก
  • จัดสร้างศูนย์เอนกประสงค์ของผู้สูงอายุระดับตำบล และจัดหาอุปกรณ์ส่งเสริม และฟื้นฟูสภาพ
  • อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทำป้ายรณรงค์ ปลูกดอกไม้พื้นบ้าน ทำดอกไม้จ้นทน์ จากกระดาษเ้หลือใช้
  • การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุ โรงเรียน และศูนย์เด็กเล็ก
  • สวัสดิการ เจ็บ ตาย

ความภูมิใจ

  • เกิดแผนงาน โครงการ ตามความต้องการของผู้สูงอายุ
  • ผู้สูงอายได้รับการส่งเสริมสุขภาพทั้งกายและใจ
  • มีการนำทรัพยากรในชุมชนมาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพ ด้านคน ความรู้ และทุน
  • เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
  • เกิดกลุ่มคนจิตอาสา
  • เกิดแหล่งเรียนรุ้ คนต้นแบบ ครอบครัวต้นแบบ ที่หลากหลาย
  • เป็นชมรมผู้สูงอายุต้นแบบของจังหวัดน่าน
  • เผยแพร่เรื่องราวในบทความวิชาการของ มหาวิทยาลัยประทุมธานี และ "ถืมตอง" ต้นแบบสภาประชาชน เพื่อสุขภาพแบบพอเพียง
ปัจจัยความสำเร็จ
  • เราทำมานาน
  • ความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย
  • ทุนทางสังคม มีคนต้นแบบที่เป็นผู้นำ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขช่วยเหลือสนับสนุน มีการพัฒนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • พัฒนากิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และชุมชนเห็นประโยชน์
  • วิเคราะห์ประเมินผล ปรับเปลี่ยนกิจกรรมสอดคล้อง เหมาะสมกับกลุ่มเป้ามหายตามบริบทพื้นที่
  • กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ในการดูแลและสร้างเสริมมสุขภาพของชุมชน
  • ปัญหาสถานการณ์ และกระแสสังคม
สิ่งที่เกิดขึ้นมาที่ชุมชนถืมตองก็คือ "มีการปรับวิธีคิดให้เห็นผลจากการทำงาน ที่มีเป้าหมายชัดเจน เกิดความคิดที่เป็นระบบ ที่เป็นความต้องการของสมาชิก โดยเริ่มจากจุดเล็กๆ ก่อนแล้วขยายผล มีการยกย่อง เชิดชู ให้กำลังใจ มีความเสมอภาค ... ต้อง อู้กำเดียวกัน เข้าใจกัน ... และมีการทำงานเป็นทีม"

หมายเลขบันทึก: 515767เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2013 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2013 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

อ่านแล้วขนลุกค่ะ พี่หมอนนท์ ขอบคุณมากๆที่เอาเรื่องชุมชนดีๆที่น่าชื่นชมมาเผยแพร่ค่ะ เป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมจริงๆ

ได้ความคิดจากน่านมาคุยให้ สวพัทลุงฟังอีกแล้ว

  • Ico48
  • ถืมตองนี่มหัศจรรย์มากเลยนะคะ อ.โอ๋
  • เขาทำกิจกรรมกันคึกคัก และเยอะแยะมากมายเลยค่ะ
  • แบบ ทึ่ง จริงๆ

  • Ico48
  • ตอนนี้ กำลัง review เรื่องเล่าจากที่ไปมาทั้งหลาย มาเพื่อให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเพิ่มเติมนะคะ บัง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท