การอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ


การอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ

         สำหรับรายวิชาการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการนี้จริงๆ แล้วเราจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อเป็นพื้นฐานของการอ่าน บทความเชิงวิชาการ การอ่านรายงานต่างๆ ตลอดจนการอ่านบทคัดย่อ ซึ่งนอกจากนักศึกษาจะต้องมีความรู้ในเรื่องของ เทคนิคการกวาดสายตา การใช้ดิกชันนารี การอ่านประโยครูปแบบต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันในโครงสร้างแล้ว นักศึกษาควรจะมีทักษะการอ่านที่เหมาะสมด้วย โดยวิธีการอ่านที่ได้รับการยอมรับกันในวงกว้าง ซึ่งอาจารย์แนะนำบ่อยๆ ในรายวิชาการอ่านนั่นคือ การอ่านแบบ SQ3R ค่ะ หรือที่พอจะจำง่ายๆ ได้ว่า สำรวจ ถาม อ่าน ท่อง ทวน ก็ได้

          S = Survey       การสำรวจ

          Q = Question   การตั้งคำถาม (ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ทำไม)

          R = Read         อ่าน (การอ่านจริงๆ อยู่ขั้นนี้)

          R = Recite       ท่อง (หลังจากอ่านแล้วก็ลองพยายามจำศัพท์สำคัญ หรือใจความหลัก ฯลฯ)

          R = Review      ทวน (ทบทวนอีกครั้งจะได้จำได้ซึ่งถัดจากขั้นนี้บางคนก็จะใช้การจดสรุปอีกรอบค่ะ)

          จากตรงนี้นักศึกษา ก็ลองไปฝึกฝนกับบทอ่านที่อาจารย์หามาให้ในใบงานอย่าลืมว่่าการอ่านเป็นทักษะ ยิ่งฝึกมาก ยิ่งเก่งมาก บางทีเราอาจจะได้ศัพท์มากกว่าการท่องจำเป็นตัวๆ ซะอีก

        นอกจากการอ่านแบบ SQ3R แล้วเทคนิคการอ่านหนังสือเชิงวิชาการอีกประเภทที่น่าสนใจสำหรับนักศึกษาเนื่องจากอาจารย์สังเกตเห็นว่า บทอ่านที่ให้งานไป มักจะมีร่องรอยของการขีดเส้นใต้ ซึ่งมากน้อยแล้วแต่ความสามารถในการเข้าใจคำศัพท์ของแต่ละคน ซึ่งบางครั้งก็มีแต่ร่องรอยขีดจนไม่สามารถจับแนวทางได้ว่า นักศึกษามีเกณฑ์ในการขีดอย่างไร ดังนั้น อาจารย์จึงได้หาแนวทางการขีดเส้นใต้บทอ่านที่ดีมาให้ โดยคัดบางตอนมาจากหนังสือ เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, สมุทร  เซ็นเชาวนิช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ซึ่งกล่าวถึงหลักในการขีดเส้นใต้ดังนี้

1. ก่อนที่จะขีดเส้นใต้คำหรือข้อความใดๆ จะต้องอ่านบทอ่านนั้นอย่างเร็วๆ ให้จบเสียก่อน ขณะที่อ่านควรใช้วิธีตั้งคำถามหาคำตอบไปด้วย โดยในการอ่านครั้งแรกไม่ควรขีดเส้นใต้ใดๆ ทั้งสิ้นเพราะอาจจะยังไม่ทราบแน่ชัดว่า คำใด หรือข้อความตอนไหนบ้างที่จะเป็นสาระสำคัญของเรื่องที่กำลังอ่านอยู่ ควรรอจนอ่านจบแล้วตกตะกอนความเข้าใจในครั้งแรกเสียก่อน จึงขีดเส้นใต้ในการอ่านครั้งที่สอง

2. ในการขีดเส้นใต้นั้นควรขีดเฉพาะคำหรือข้อความที่คิดว่าสำคัญๆ เท่านั้นเช่น ข้อความที่เกี่ยวกับคำจำกัดความ เป็นต้น โดยเราอาจทำสัญญลักษณ์ เป็นอักษรย่อ หรือ เป็นเครื่องหมาย * หรือ / หรือ # ฯลฯ ไว้ที่ขอบริมหนังสือก็ได้ (เพื่อไม่ให้รกหรือ ลายตา เมื่อกลับมาอ่าน)

3. การขีดเส้นใต้ที่ดีคือ จะต้องแยกข้อความที่เป็นประเด็นสำคัญออกจากรายละเอียดปลีกย่อยได้อย่างชัดเจน

นักศึกษาลองดูตัวอย่างต่อไปนี้นะคะ

             

Activity is an important factor in learning.  Most tasks require at least some type of mental activity in order for them to be mastered by the student.  Because it is difficult for mental activity to be seen by the teacher, often some type of physical activity such as writing is required.  Students also might find it helpful to ensure mental activity if they force themselves to do some sort of physically active task.  (Fry, 1963 :8 อ้างถึงใน สมุทร เซ้นเชาวนิช)

            จะเห็นได้ว่า ผู้ที่ขีดเส้นใต้ไม่ได้ขีดทุกคำ แต่ขีดให้เห็นชัดเจนว่า ข้อความใดเป็น ใจความหลัก ซึ่งจะทำให้กลับมาอ่านอีกครั้งได้เข้าใจง่ายขึ้น สำหรับศัพท์ที่ไม่เข้าใจก็ลองอ่านผ่านๆ ใช้ บริบทในการเดาเสียก่อน หากเห็นว่าศัพท์นั้นไม่ใช่ใจความหลัก ที่เมื่อไม่แปลใจความก็ไม่เสียหาย หรือศัพท์ประเภท structure words ก็ข้ามไปเลย แต่หากจำเป็นต้องแก้ เช่นอาจเป็นศัพท์คำว่า 

Activity

เลยก็อาจทำเครื่องหมายไว้ เช่น *

Activity 

แล้วค่อยมาเขียนคำแปลไว้ด้านข้างกระดาษหรือท้ายกระดาษก็ได้

เมื่อศึกษาเทคนิคการอ่านทั้ง SQ3R และการขีดเส้นใต้แล้ว ก็ลองทำแบบฝึกหัดต่อไปนี้ดูนะคะ

* ให้นักศึกษาอ่านเรื่องที่กำหนดให้แล้วขีดเส้นใต้ใจความหลัก # โดยส่งคำตอบไปที่ [email protected] ค่ะ ก่อน 08.30 น. วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 ค่ะ

Parts of an Abstract

Despite the fact that an abstract is quite brief, it must do almost as much work as the multi-page paper that follows it. In a computer architecture paper, this means that it should in most cases include the following sections. Each section is typically a single sentence, although there is room for creativity. In particular, the parts may be merged or spread among a set of sentences. Use the following as a checklist for your next abstract:

  • Motivation:
    Why do we care about the problem and the results? If the problem isn't obviously "interesting" it might be better to put motivation first; but if your work is incremental progress on a problem that is widely recognized as important, then it is probably better to put the problem statement first to indicate which piece of the larger problem you are breaking off to work on. This section should include the importance of your work, the difficulty of the area, and the impact it might have if successful.
  • Problem statement:
    What problem are you trying to solve? What is the scope of your work (a generalized approach, or for a specific situation)? Be careful not to use too much jargon. In some cases it is appropriate to put the problem statement before the motivation, but usually this only works if most readers already understand why the problem is important.
  • Approach:
    How did you go about solving or making progress on the problem? Did you use simulation, analytic models, prototype construction, or analysis of field data for an actual product? What was the extent of your work (did you look at one application program or a hundred programs in twenty different programming languages?) What important variables did you control, ignore, or measure?
  • Results:
    What's the answer? Specifically, most good computer architecture papers conclude that something is so many percent faster, cheaper, smaller, or otherwise better than something else. Put the result there, in numbers. Avoid vague, hand-waving results such as "very", "small", or "significant." If you must be vague, you are only given license to do so when you can talk about orders-of-magnitude improvement. There is a tension here in that you should not provide numbers that can be easily misinterpreted, but on the other hand you don't have room for all the caveats.
  • Conclusions:
    What are the implications of your answer? Is it going to change the world (unlikely), be a significant "win", be a nice hack, or simply serve as a road sign indicating that this path is a waste of time (all of the previous results are useful). Are your results general, potentially generalizable, or specific to a particular case? (source: http://www.ece.cmu.edu)


หมายเลขบันทึก: 515745เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2013 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2013 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท