เยี่ยมผู้สูงอายุเมืองงาช้างดำ (เมืองน่าน) ตอนที่ 1 การวางแนวทาง เพื่อประชาชนน่านมีสุขภาพช่องปากที่ดี



คุณหมอกมล ได้เล่าถึงแนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุขจังหวัดน่านไว้ ...

แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุขของจังหวัดน่าน พ.ศ.2542-2563 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ ว่า ประชาชนน่านมีสุขภาพช่องปากที่ดี เหมาะสมกับวัย พฤติกรรมทันตสุขภาพถูกต้อง สามารถดูแลตนเองและครอบครัว เข้าถึงบริการ และได้รับบริการที่มีคุณภาพอย่างเหมาะสม และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทันตสาธารณสุขของชุมชน โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนา 7 ด้่าน และมีเป้าหมายทันตสุขภาพ 14 ข้อ ครอบคลุมเด็กอายุ 3 ปี 6 ปี 12 ปี เยาวชนอายุ 18 ปี ประชาชนอายุ 35-44 ปี และ 60-74 ปี ได้แก่

    • 3 ปี ปราศจากโรคฟันผุไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
    • 3 ปี มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด ในฟันน้ำนมไม่เกิน 1.5 ซี่ต่อคน
    • 6 ปี ปราศจากโรคฟันผุไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
    • 6 ปี มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด ในฟันน้ำนมไม่เกิน 2 ซี่ต่อคน และมีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด ในฟันถาวรไม่เกิน 0.05 ซี่ต่อคน
    • 12 ปี ปราศจากโรคฟันผุไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
    • 12 ปี มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด ในฟันถาวรไม่เกิน 0.4 ซี่ต่อคน
    • 12 ปี มีเหงือกปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 (ค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3 ส่วนใน 6 ส่วน)
    • 18 ปี ปราศจากโรคฟันผุในฟันถาวรไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 มีค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.5 ส่วนใน 6 ส่วน
    • 18 ปี มีฟันใช้งานได้อย่างน้อย 28 ซี่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85
    • 35-44 ปี มีฟันใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 99.5
    • 35-44 ปี มีเหงือกปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.5 (ค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 1 ส่วนใน 6 ส่วน)
    • 60-74 ปี มีฟันใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
    • 60-74 ปี มีเหงือกปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 1

ปัญหาทันตสุขภาพที่พบ (จากการสำรวจในปี 2555) พบว่า

    • กลุ่มอายุ 3 ปี มีปัญหาเป็นโรคฟันผุในทุกอำเภอ พบข้อมูลฟันน้ำนมปราศจากฟันผุเพิ่มขึ้น และค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดลดลงเรื่อยๆ
    • กลุ่มอายุ 5 ปี ยังคงมีปัญหาฟันผุในเขตอำเภอเมือง และภูเพียง พบมีผู้ปราศจากฟันผุ ทั้งฟันน้ำนมและฟันแท้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้ปราศจากฟันแท้ผุมีจำนวนมากเกือบ 100% และมีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดในฟันน้ำนมลดลงเรื่อยๆ
    • กลุ่มอายุ 12 ปี มีร้อยละของผู้ปราศจากฟันผุ และมีค่าเฉลีี่ยฟันผุถอนอุดในฟันแท้ใกล้เคียงเดิมในทุกอำเภอ เด็กครึ่งหนึ่งยังมีฟันผุ เด็กยังมีการกินอาหารเสี่ยง และมีการแปรงฟันก่อนนอนเพียงครึ่งหนึ่ง โดยมี กิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน ครอบคลุม 12 อำเภอ มีกิจกรรมหลักๆ ได้แก่ การแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน การไม่จำหน่ายอาหารเสี่ยงในโรงเรียน โรงเรียนปลอดน้ำอัดลม
    • กลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี พบมีฟันคู่สบ 4 คู่ขึ้นไป ประมาณร้อยละ 58 และมีการแปรงฟันก่อนนอนร้อยละ 77 (ผลการสำรวจล่าสุด)

"จังหวัดน่าน เหมือนเล่นดนตรีวงเดียวกัน แต่คนละเครื่อง ปัญหาที่มีจะเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละอำเภอ" คุณหมอกมลกล่าวไว้

ในเรื่อง กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุนั้น น่านได้จัดรณรงค์ "รวมพลังสามวัย ใส่ใจให้ฟันดี" เปิดรณรงค์เมื่อ 23 ธค.54 เน้นการดูแลเด็ก เนื่องจากเด็กวัยก่อนเรียน วัยเรียน ส่วนใหญ่จะอยู่กับปู่ย่าตายาย ระดมทุกอำเภอมาร่วมกิจกรรม มีการแสดงสามวัยแบบบูรณาการ และได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลาง และภาคเอกชนจังหวัดน่าน

การดำเนินงานทันตสาธารณสุขในภาพรวมของเมืองน่าน

    • มุ่งขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังผู้สูงอายุ
    • มีการขยายบริการสู่ระดับปฐมภูมิ ทั้งหน่วยที่มี และไม่มีทันตาภิบาลประจำ
    • เน้นการแก้ปัญหาพฤติกรรมสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้อง
    • ลดการบริโภคอาหารเสี่ยง
    • และเตรียมเปิดโรงพยาบาลภูเพียง เพื่อรองรับงานสาธารณสุข แห่งใหม่


สำหรับการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุจังหวัดน่าน มีผลการดำเนินงานตั้งแต่ ปี 2553-2555 ได้แก่

  • ปี 2553 มีการทำกิจกรรมที่อำเภอบ้านหลวง และเชียงกลาง
  • ปี 2554 มีการกระจายทำกิจกรรมในทุกอำเภอ
  • ปี 2555 แต่ละ CUP เขียนโครงการมาเพื่อรับการสนับสนุนงบประมาณ

ผลการดำเนินงาน เกิดการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุที่แตกต่างกันไป โดยมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดชมรมต่างๆ ได้แก่

  • วิธีการทำงานของทันตบุคลากร
  • ความมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่
  • ความสามารถแกนนำชมรมผู้สูงอายุ ที่มีพื้นฐาน ภูมิปัญญาที่ต่างกัน
  • ความเข้มแข็งของชมรมผู้สูงอายุ ชุมชน
  • การสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ที่สามารถเพิ่มพลังให้เกิดการทำกิจกรรมได้ดี

ในส่วนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอเมือง โดยใช้งบประมาณจากกองทุนทันตกรรม ในการสนับสนุนแปรงสีฟัน ยาสีฟัน ให้ชมรมผู้สูงอายุ ดำเนินการควบคู่ไปกับการดำเนินงานของอำเภออื่นๆ โดยมีการดำเนิืนการ

  • ตรวจสุขภาพช่องปาก คัดกรองผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงการเป็นโรคในช่องปาก โดยมีการบันทึกในสมุดสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ และสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก
  • วิเคราะห์สภาวะสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ
  • ประชุมอบรมแกนนำผู้สูงอายุ  และฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง และผู้สูงอายุในชมรม
  • วิธีการทำกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุของแต่ละอำเภอ ไม่ได้กำหนดรูปแบบตายตัว ให้อิสระของแต่ละอำเภอ ไปหารูปแบบการดำเนินการเอง
  • การจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลสำเร็จของการทำกิจกรรมในแต่ละอำเภอ
  • สร้างขวัญกำลังใจ โดย มอบเกียรติบัตรให้ผู้สูงอายุฟันดีในชมรมผู้สูงอายุ
  • มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานมหกรรมทันตสุขภาด ของจังหวัด ร่วมกับกลุ่มอายุอื่นๆ

แผนการดำเนินงานในปี 2555-2556 ได้แก่

  • จัดศึกษาดูงาน ในชมรมผู้สูงอายุส่งเสริมสุขภาพ ที่มีผลงานดี
  • ดำเนินการร่วมกับกลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน
  • จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในกลุ่มทันตบุคลากร
  • ตรวจเยี่ยมและประเมินผลการดำเนินงาน

รวมเรื่อง เยี่ยมผู้สูงอายุเมืองงาช้างดำ (เมืองน่าน)

หมายเลขบันทึก: 515733เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2013 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2013 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ  คุณหมอนนท์คนขยัน  ครูอ้อยคิดถึงค่ะ  http://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/515655


  • สวัสดีค่ะ ครูอ้อย
  • สวัสดีปีใหม่ด้วยค่ะ ขอให้ครูอ้อยมีความสุด สดชื่น มีพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคใดๆ นะคะ

ยินดีตอนรับสู่เมืองน่านครับ  

  • Ico48
  • ขอบคุณค่ะ น่านมีของดีมากมายนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท