ห้องสมุดแห่งอนาคต


  • ห้องสมุดควรมีบริการอะไรบ้าง

การออกแบบห้องสมุดให้ก้าวทันยุคสมัยการเรียนรู้ในโลกอนาคตที่มีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางเทคโนลียีและทางสังคมอย่างรวดเร็วนั้น จะต้องวิเคราะห์ถึงบทบาทและหน้าที่ของห้องสมุดที่อาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีและสังคมด้วย ซึ่งจากการศึกษาจากบทความวิจัยต่างๆพบว่า เราสามารถสรุปบทบาทหน้าที่ของห้องสมุดในอนาคตได้ดังต่อไปนี้

- Available everywhere ห้องสมุดในอนาคตจะสามารถเข้าถึงได้จากทุกหนทุกแห่ง โดยห้องสมุดจะเป็นที่เก็บสาระความรู้โดยรวบรวมไว้เป็น Collection ที่ง่ายในการค้นหา เพราะคนที่เข้ามาค้นหาข้อมูลในห้องสมุดจะไม่ได้มาเพียงแค่ค้นหาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่จะมาเพื่อให้ได้ชุดหรือกลุ่มของข้อมูลที่สนใจ

- Help people to learn  ห้องสมุดจะต้องมีส่วนในการสนับสนุนให้ผู้ใช้บริการเกิดการเรียนรู้ หรือสนับสนุนเพื่อก่อให้เกิดความอยากเรียนรู้ซึ่งไม่จำกัดเพียงเฉพาะอาจารย์ผู้สอนเท่านั้น

- Must be tools of change ห้องสมุดจะต้องเป็นเครื่องมือที่ผู้ใช้บริการสามารถรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลข่าวสารได้ตลอดเวลา มีการเก็บรวบรวมและนำเสนอข้อมูล การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การพูดคุย การแสดงวิสัยทัศน์ต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การต่อยอดและเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ต่อไป

- Offer paths for exploration ห้องสมุดจะต้องสามารถเป็นผู้นำเสนอแนวทางทางการค้นคว้าหาความรู้ โดยอาจมีการออกแบบขั้นตอนของการบริการเพื่อให้นักศึกษาและมหาวิทยาลัยใช้ร่วมกันในการสร้างและจัดเก็บองค์ความรู้สำหรับใช้ต่อๆไป และห้องสมุดจะเป็นตัวช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ถึงกระบวนการในการจัดเก็บและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

- Be designed to get better through use ห้องสมุดจะไม่ใช่เป็นเพียงแค่ที่เก็บความรู้ แต่จะต้องเป็นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และสามารถแปลงสภาพไปเป็นองค์ความรู้ใหม่ และยังเป็นที่ที่ก่อให้เกิดการพบปะกันทางสังคมของบุคคลที่มีความรู้

- Must know where they are ห้องสมุดจะต้องสามารถนำเสนอข้อมูลรหรือองค์ความรู้ได้โดยตรงไปยังอุปกรณ์ต่างๆของผุ้ใช้บริการที่ต้องการค้นคว้าหาความรู้ได้ทันทีไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม

- Must be portable ห้องสมุดต้องมีความพร้อมที่จะรองรับการค้นหาหรือสืบหาข้อมูลอยู่ตลอดทุกที่ทุกเวลา และสามารถจัดเก็บข้อมูลหรือองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นเพื่อการสืบค้นหรือค้นหาครั้งต่อไป

- Must tell the story ห้องสมุดจะต้องมีความพร้อมในการนำเสนอความรู้ในรูปแบบสื่อต่างๆอย่างครบถ้วน

- Must speak for the people ห้องสมุดจะต้องเป็นหน่วยงานที่สามารถดูแลในเรื่องของลิขสิทธิ์ การจดทะเบียน สิทธิบัตรต่างๆ รวมถึงการดูแลสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล และควบคุมการใช้องค์ความรู้อย่างถูกต้อง

- Help forge memory ห้องสมุดจะต้องมีการควบคุมในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้พร้อมต่อการใช้งานอยู่ตลอดเวลา

- Study art of war ห้องสมุดจะต้องมีการศึกษากลยุทธ์ในการบริหารจัดการองค์ความรู้อยู่เสมอเพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีและการใช้งานของผู้รับบริการที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

  • ห้องสมุดควรมีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนรู้หรือไม่

ควรเป็นอย่างยิ่ง  เพราะห้องสมุดในอนาคตจะไม่ใช่สถานที่ที่คนมานั่งอ่านหนังสือ แต่จะเป็นสถานที่ที่คนมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ และห้องสมุดก็จะต้องมีศักยภาพในการจัดเก็บองค์ความรู้ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเหล่านั้นอย่างเป็นระบบ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างการต่อยอดทางความคิดต่อไป

  • บรรณารักษ์ควรมีบทบาทเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างไร
บรรณารักษ์จะต้องเปลี่ยนบทบาทตัวเองใหม่หมด ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ผู้จัดทำ calatog หนังสือ หรือจัดเก็บข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ หากแต่จะต้องเข้าใจถึงข้อมูลและการคัดกรองข้อมูลเหล่านั้นผ่านการวิเคราะห์เบื้องต้น จากนั้นสามารถที่จะนำข้อมูลนั้นๆ มานำเสนอหรือจัดแสดงภายในพื้นที่ห้องสมุด เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ดังนั้นเราจะเห็นว่าบทบาทของทั้งห้องสมุดและบรรณารักษ์จะต้องสอดคล้องกัน กล่าวคือจะต้องเป็นผู้กระจายองค์ความรู้ไปยังผู้ใช้บริการให้มากที่สุด ยิ่งถ้าเราสามารถคัดกรองข้อมูลหรือองค์ความรู้ให้เหมาะสมกับผู้ใช้เป็นเฉพาะบุคคลได้หรือเป็นลักษณะ personal learning ก็จะทำให้ผู้ใช้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  • เทคโนโลยีการสืบค้นข้อมูลควรปรับเปลี่ยนหรือไม่
ห้องสมุดในอนาคตอาจจะไม่ใช่เป็นสถานที่ที่ผู้ใช้เข้ามาค้นหาข้อมูลอีกต่อไป เพราะทุกวันนี้เราสามารถสืบค้นข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้อยู่แล้ว แต่ห้องสมุดควรมีหน้าที่ที่จะกระจายหรือส่งต่อข้อมูลที่ได้คัดกรองอย่างเหมาะสมให้กับผู้ใช้ตามความต้องการของแต่ละบุคคล หรือ push information ผ่านอุปกรณ์สื่อสารไร้สายอย่างสมาร์ทโฟนหรือแท๊ปเบล็ต ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปวิเคราะห์หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันต่อได้
  • บรรยากาศสิ่งแวดล้อมในห้องสมุดน่าจะเป็นอย่่่างไร

จากภารกิจหลักของห้องสมุดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและมีความสอดคล้องกับแนวความคิดของ Learning space สามารถนำมากำหนดเป็นแนวทางการออกแบบห้องสมุดจึงควรที่จะมีพื้นที่หลักสำคัญ 4 ส่วนคือ

1. พื้นที่สำหรับส่งผ่านความรู้ ทั้งในรูปแบบของ Broadcasting และ Publishing

2.พื้นที่ที่สามารถทำงานร่วมกันหรือ Learning studio

3.พื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนความรู้ แสดงแนวความคิด หรือ Open theater

4. พื้นที่สำหรับรองรับการประชุมหรือการทำงานเป็นกลุ่มย่อย หรือ Meeting room

  • บรรณารักษ์ควรเป็นผู้ที่คอยช่วยส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อะไรบ้างให้แก่ผู้เรียนหรือประชาชนทั่วไป
บรรณารักษ์ควรมีพื้นฐานของทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และควรมีทักษะในการที่จะถ่ายทอดวิธีการเรียนรู้แบบใหม่เพื่อให้ผู้เรียนหรือประชาชนเข้าใจและสามารถมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตลอดชีวิตหรือ Life Long Learning ซึ่งเมื่อผู้เรียนหรือประชาชนส่วนใหญ่มีทักษะดังกล่าวแล้ว ก็จะนำพาไปสู่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆต่อไป
  • ห้องสมุดประชาชนกับห้องสมุดโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยควรจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ห้องสมุดที้งสองแห่งจะมีความเหมือนในลักษณะของการจัดพื้นที่หรือ Physical Space เพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 และส่งเสริมให้เป็นพื้นที่ที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน (Collaborative Learning) แต่จะมีความต่างที่การจัดการข้อมูลหรือ Virtual Space ที่จะคัดเลือกข้อมูลที่มีคุณค่าให้กับผู้ใช้แต่ละรายที่แตกต่างกัน เนื่องจากกลุ่มคนทั้งสองมีความสนใจในข้อมูลหรือความรู้ที่ไม่เหมือนกัน (Individual Study)

หมายเลขบันทึก: 515288เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2013 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2013 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท