KM กับการยอมรับข้อด้อยของตัวเอง


การยอมรับในข้อด้อยของตัวเอง

           การจัดการความรู้ หรือ KM มีกลวิธีหลายอย่างเพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเองหรือองค์กร   โดย KM แนว สคส. เน้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) ระหว่างเพื่อนร่วมงานและองค์กร    ซึ่งดิฉันคิดว่าจุดเริ่มต้นที่จะทำให้การ ลปรร. นั้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังไว้ คือ การเตรียมความพร้อมของผู้ที่จะเข้า ลปรร. ซึ่งถือเป็นการเตรียมความพร้อมในระดับปัจเจก   

          วันนี้ดิฉันได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งที่เขียนถึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนหรือการพัฒนาตัวเอง ซึ่งคิดว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการเตรียมความพร้อมของผู้ที่จะ ลปรร. คือ “การยอมรับในข้อด้อยของตัวเอง” โดยผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ได้เขียนเรียงร้อยเรื่องราวเชิงบทกวีที่น่าอ่านเอาไว้ว่า

มีประตูวิเศษบานหนึ่ง
ที่สามารถพาเราไปยังดินแดนแห่งการพัฒนาปรับปรุง
ผู้คนที่อาศัยอยู่ในดินแดงแห่งนี้ ล้วนฝึกฝนและพัฒนาตนเอง
จนกลายเป็นคนที่น่าคบหามากขึ้น มีวิสัยทัศน์กว้างไกลมากขึ้น
และกลายเป็นคนที่ดีขึ้นในแง่มุมต่างๆ ของชีวิต

ถ้าหากไม่มีประตุวิเศษที่ว่ากั้นขวางอยู่
เชื่อว่าใครหลายๆ คน  คงอยากข้ามเข้าไปท่องเที่ยวในดินแดนแห่งนี้
ประตูที่กล่าวถึงนี้ มีชื่อว่า ประตูแห่งการยอมรับ
หรือมีชื่อเต็มว่า
“ประตูแห่งการยอมรับในข้อด้อยของตนเอง”

ประตูนี้ไม่สามารถที่จะให้ใครเปิดแทนกันได้
ผู้ที่ต้องการเข้าไปพัฒนาตนเอง
จะต้องทำการเปิดด้วยมือของตนเท่านั้น
และเครื่องมือที่จะใช้เปิดประตูบานนี้ได้
ก็คือ กุญแจแห่งการรับฟัง
หรือมีชื่อเต็มว่า
“กุญแจแห่งการรับฟังด้วยหัวใจที่เปิดกว้าง”

ณ เวลานี้.....
ดินแดนแห่งการพัฒนาปรับปรุง ยังรอเราอยู่เสมอ
เพียงแต่เราอาจต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า..........
เราพร้อมหรือยัง......ที่จะยอมรับว่า...... ”ตัวเองยังไม่ดีพอในบางเรื่อง”.....
นั่นแหละ....คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนตัวเอง เป็นคนใหม่...ที่ดีกว่า....

          การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หากผู้เข้าร่วมไม่เปิดใจยอมรับความด้อยของตัวเอง...หรือไม่เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น....เนื่องด้วยมีความมั่นใจในตัวเองสูงหรือบางท่านถูกครอบงำโดยไม่รู้ตัวจากคำชมเชยจากผู้อื่นอยู่เสมอว่าตนเก่ง ทำให้มองไม่เห็นข้อด้อยของตน..ซึ่งคนกลุ่มนี้ในทาง KM จัดว่าอยู่ใน กลุ่มที่คนที่ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไร ที่ถือเป็นจุดอันตรายในการทำ KM ให้ประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวัง

 

 

หมายเลขบันทึก: 51485เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2006 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 14:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท