KM-DMHT 2012 : เรียนรู้เครื่องมือ BAR, AAR


ไม่ว่าผลงานจะออกมาดีหรือไม่ดี เกิดการเรียนรู้ได้ทั้งหมด จะออกเป็น action ในครั้งต่อไป ใช้ได้กับงานทุกเรื่อง

วันที่ 25 ธันวาคม 2555 (ต่อ)

หลังพัก รับประทานอาหารกลางวัน เราจัดให้ผู้เข้าประชุมเข้ากลุ่มย่อย 15 กลุ่ม ตามหมายเลขในป้ายชื่อ แต่ละกลุ่มมีทีมงาน สคส. และทีมงานของเครือข่ายเบาหวานดูแลกลุ่มละ 1 คน คุณธวัช หมัดเต๊ะ รับหน้าที่ดำเนินกิจกรรมตลอดช่วงบ่าย



ทีมงานยกป้ายหมายเลขกลุ่มเรียกแขก



คุณธวัช หมัดเต๊ะ

ก่อนเริ่มกิจกรรมคุณอ้อม อรพิณ ชูเกาะทวด พาผู้เข้าประชุมยืดเส้นยืดสายในช่วงเวลาสั้นๆ (กำมือ แบมือ ไก่ ปาก ปีก ตูด) ทีมงานเครือข่ายพากันไปเป็นหางเครื่องโชว์ท่าอยู่บนเวที



คุณอรพิณ ชูเกาะทวด สาธิตท่าทาง



หางเครื่อง




ทำตามกันทุกคน

เราใช้กิจกรรมเชฟกะทะเหล็ก ที่ตั้งชื่อดูดีว่า CA Award – Chef Kra-Ta-Lek Accreditation Award เป็นกิจกรรมให้ผู้เข้าประชุมได้เรียนรู้เครื่องมือ BAR, AAR คุณธวัชบอกผู้เข้าประชุมว่าได้จำลองให้ง่ายกว่าในรายการทีวี แจ้งกติกาการแข่งขันและเกณฑ์การให้คะแนน (เอกสารที่ใช้ในกิจกรรม Download ได้ที่นี่ )

ให้ทุกกลุ่มปรึกษาหารือกัน ส่งผู้แข่งขันสะบัดไข่ 5 คน แข่งขัน 2 รอบ รอบที่ 1 แข่ง 3 คน (ใช้วิธีการเหมือนกัน) รอบที่ 2 แข่ง 2 คน (ใช้วิธีการเหมือนกัน) กลุ่มต้องคุยกันก่อนว่าจะทำงานรูปแบบใดดี มีคำแนะนำในการทำ One meeting ให้

ในการ BAR ให้ตั้งเป้าหมาย CA ระดับใด? ทำไม? อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ แบ่งหน้าที่กันอย่างไร? ให้ทุกคนมีส่วนร่วมกับผลงานของกลุ่ม ส่วน AAR ก็ให้ทบทวนเป้าหมาย อะไรที่ทำได้ดี เพราะอะไร อะไรที่ยังทำได้ไม่ดี เพราะอะไร หากต้องปฏิบัติภารกิจนี้ในรอบถัดไปจะปรับปรุงตรงจุดใด อย่างไร

ผู้เข้าประชุมทุกกลุ่มทำงานกันอย่างตั้งใจ มีการให้คะแนนแต่ละกลุ่ม สุดท้ายมี 2 กลุ่มคือกลุ่ม 3 และกลุ่ม 14 ได้คะแนน 49 คะแนนเท่ากัน แต่ของรางวัล (DVD เปิดงาน) มีจำกัด จึงต้องให้แต่ละกลุ่มส่งคน (คนที่ 6) ขึ้นมาประลองสะบัดไข่กันบนเวที จนเหลือผู้ชนะเพียงกลุ่มเดียว แจก DVD ไปคนละ 1 แผ่น 20 คนพอดี





บรรดาเชฟกะทะเหล็ก

คุณธวัช wrap up ว่า ไม่ว่าผลงานจะออกมาดีหรือไม่ดี เกิดการเรียนรู้ได้ทั้งหมด จะออกเป็น action ในครั้งต่อไป ใช้ได้กับงานทุกเรื่อง AAR เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ระหว่างการทำงาน (เปรียบเหมือนระหว่างการพักยกของนักมวย การชกยังไม่จบ พี่เลี้ยงและนักมวยต้อง AAR กัน) ใช้เวลาไม่มากนัก ยกตัวอย่างการ BAR, AAR การจัดค่ายเบาหวาน

BAR & AAR ช่วยอะไรได้บ้าง

  • ฝึกให้ทีมงานไม่หลุดจากเป้าหมาย ตอบได้ว่าสิ่งที่ทำนั้นเพื่ออะไร? Goal & Action
  • ฝึกให้ทีมงานสังเกต ตั้งคำถามกับตัวเอง กระตุ้นความคิดในขณะทำงาน Learning Sense
  • บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของทีม Learning Environment
  • มีพื้นที่เรียนรู้แบบรวมหมู่ Team Learning
  • ทำให้คนคุ้นชิน ทำจนติดเป็นประจำ Learning Culture

ต้องทำบ่อยๆ ทำเรื่อยๆ ตอนทำใหม่ๆ การพูดจะหยาบๆ ทำๆ ไปจะคมขึ้น... ถ้าอยากได้อะไรที่สดใหม่ ก็ให้คนพรรษาน้อยพูดก่อน จะเป็นธรรมชาติ ช่วงแรกๆ ต้องให้เวลา ตั้งคำถาม การทำ BAR, AAR เหมือนการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ ทำบ่อยๆ จะเกิดเป็น culture… การเรียนรู้และบรรยากาศ เป็นสิ่งที่ต้องทำคู่กัน ในการ AAR ต้องพยายามฟังให้มากที่สุด บรรยากาศสำคัญ ระวังอย่าให้เข้าสู่ mode discussion

การเรียนรู้มักเกิดได้ดีในบรรยากาศแบบพี่แบบน้อง ถ้าบรรยากาศไม่ดี คนจะไม่แชร์กัน  ตัวอย่างเช่น วงจิบน้ำชายามบ่าย วงพูดคุยในระหว่างการทำงาน... เทคนิคไม่ซับซ้อน ใช้คำถามเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้คนคุยกันและสร้างบรรยากาศให้คนเปิดใจ

สุดท้ายเราให้ผู้เข้าประชุม AAR โดยแจกกระดาษรูปหัวใจให้ทุกคนเขียน มีคนที่ได้พูด (และได้ DVD กลับไป)

  • ผู้เข้าประชุมจาก รพ.ทับช้าง จ.พิจิตร อยากได้ความรู้และเอาไปปรับใช้ได้ ได้ตามเป้า ที่เกินเป้าคือความสนุก สิ่งที่ได้น้อย กิจกรรมทำในกลุ่มใหญ่ อาจมีส่วนร่วมน้อย ได้อะไรเอากลับไปใช้บ้าง – ได้ความรู้เรื่องโรค และ BAR, AAR จะนำไปใช้ในที่ทำงาน
  • ผู้เข้าประชุมจาก รพ.พระนครศรีอยุธยา อยากได้รูปแบบ (การทำงาน) ของที่อื่นๆ มาฟังได้หลักการ สิ่งที่ได้น้อย- กฏ กติกา ของกระบวนการกลุ่ม จดไม่ทัน อยากได้เพิ่มเติม
  • ผู้เข้าประชุมจาก รพ.พระนารายณ์มหาราช จ.ลพบุรี มาครั้งแรก อยากจะรู้นวัตกรรมใหม่ๆ ได้ตามความคาดหมาย อย่างน้อย BAR, AAR ได้เครือข่าย ได้วิธีคิด การจัดการกับปัญหา การเรียนรู้ในการเข้ากลุ่ม KM 3 ระดับ ที่ได้น้อย-คิดไม่ออก จะนำหลักที่สอนไปใช้ในหน่วยงานและในกลุ่มคนไข้
  • ผู้เข้าประชุมจาก วพบ...(จำชื่อไม่ได้) คาดหวังการทำ KM ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง อยากเรียนรู้ไปกับผู้ปฏิบัติ แล้วเอาไปประยุกต์ในการเรียนการสอน ก็ได้ตามคาด เป็น workshop ที่เป็นรูปธรรม อะไรที่ยังได้น้อย-เรื่องเบาหวาน อาจยังไปไม่ถึง (คงมีในวันต่อๆ ไป) จะเอาอะไรกลับไปใช้-อยากได้ VDO ตอนเช้า
  • ผู้เข้าประชุมจาก รพ.นวมินทร 9 เพิ่งมาครั้งแรก ต้นสังกัดไม่ค่อยส่งมา หาข้อมูลแล้วเสนอผู้บริหารเอง อยากได้เรื่องการจัดการกลุ่มเสี่ยง อยากมีความรู้ ยังไม่ได้ครบตามเป้า ที่เกินเป้าคือได้ไอเดียจากอาจารย์เทพตามหลัก 3 อ. ได้เพื่อนเยอะแยะ จะเอา BAR, AAR กลับไปใช้
วัลลา ตันตโยทัย
หมายเลขบันทึก: 514764เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2013 20:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มกราคม 2013 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์ มีความสุขเบิกบานกับงานเพื่อสังคมนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท