รถไฟเหาะติดสกี (ตอน ๒)


รถไฟเหาะติดสกี (ตอน ๒)

จีนเขาประเดิมรถไฟแม่เหล็กยก (MagLev) สายยาวจากปักกิ่งไปกวางโจวแล้ว ระยะทาง2200 กม. วิ่งที่ความเร็ว 300 กม. ต่อ ชม. ข้อเสียของรถไฟนี้คือราคาแพง  (ซึ่งจะทำให้ค่าโดยสารแพงไปด้วย) 

ผมจึงได้คิดรถไฟอากาศยก (AeroLev) ไว้แล้ว และเขียนอธิบายไว้แล้วในตอนที่ ๑  แต่วันนี้จะมาโมไอเดียให้มีนน.เบาและราคาถูกลงไปกว่าเดิมอีก 

ตอนก่อนผมคิดว่าจะใช้ระบบล้อตามปกติในการเข้าจอดออกจอดจากสถานี  (แต่ล้อเล็กลงกว่าปกติมาก)  แต่มาคิดว่ามันหนัก แพง  ผมเลยขอปรับเป็นระบบสกี (ไม่มีล้อ)  แต่เราต้องหาวัสดุที่ฉาบลื่น ทั้งรางและสกี (เทคโนวัสดุตอนนี้มีมากหลายในเรื่องนี้)  หรือ ใช้ระบบน้ำมันหล่อลื่นช่วย  แบบนี้เบา และถูกกว่าระบบล้อมาก

อ้าวมันลื่นแล้วจะเบรกอย่างไรล่ะ อ๋อ...เราก็ใช้แบบเครื่องบินแหละครับ มีระบบเบรกอากาศช่วย หรือ อาจทำเป็นหม้อลมอัดอากาศไว้ แล้วพ่นไอย้อนทางเพื่อช่วยเบรก หรือใช้ระบบฉีดน้ำย้อนทาง  โดยน้ำนั้นฉีดออกมาจากใต้ราง แบบระบบส่งเครื่องบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน ..เรื่องนี้ไม่ยากหรอกครับ ทำได้แน่  ถ้ายุ่งยากนัก ก็ทำเบรกก้ามปูหนีบรางมันเลย  (แต่เราไม่อยากให้ยานมันหนักเกินจำเป็นน่ะครับ)

สำหรับท่านที่พลาดโอกาสอ่านตอนแรก ขออธิบายเสริมว่า

รถไฟบินนี้  เป็นรถไฟหัวปลาม้า (ไม่ใช่หัวกระสุน) วิ่งบนรางแต่ไม่มีล้อ  รูปร่างมองแนวข้างจะคล้ายปลาม้า  (หรือปลาบึกก็ได้)  แต่จริงๆแล้วมันคือแพนอากาศครับ (air foil) หรือปีกเครื่องบินนี่เอง เพียงแต่เป็นปีกเครื่องบินที่สั้นมากคือ สั้นเพียง ๕ เมตร (เท่ากับความกว้างของลำตัวรถไฟ)  แต่กว้าง ๕๐ เมตร (คือความยาวตัวรถไฟนั่นเอง)  เราจะทำเป็นปีกสองชั้น ปีกบนเล็กกว่าปีกล่าง และมีระบบป้องกันการม้วนของอากาศที่ปลายปีกด้วย (ไม่งั้นแรงยกตัวจะไม่เหลือเลย) (ตรงนี้ขออุบรายละเอียดไว้ก่อน  เดี๋ยวฝรั่ง จีน ญุ่นมันมาลอกไปซะก่อน)

ระบบนี้ห้องโดยสารก็คือตัวปีกเสียเอง  ความสูงของเคบินคือ ๕-๗  เมตร แล้วแต่การออกแบบ ทำให้บรรจุคนได้สองชั้น คำนวณแล้วได้ ๔๐๐-๖๐๐ คน

ประเมินแรงยกของปีกได้ประมาณ 150,000 กก.  ซึ่งน่าจะพอยกคน ๔๐๐ คนได้ (หนัก40,000 กก.)   สำหรับแรงฉุดเมื่อเครื่องยกตัวจากรางแล้วประมาณ 1500 กก. เท่านั้นเอง  ทำให้ประหยัดน้ำมันมาก  ประเมินได้ว่าจะใช้เครื่องยนต์เพียง1700 แรงม้า ประมาณกำลังรถปิคอัพ 12 คันรวมกัน

เครื่องยนต์เราจะใช้เครื่องยนต์เครื่องบิน ตอนก่อนผมเสนอให้ใช้เครื่องไอพ่น ระบบ high bypass turbo-fan (ตอนนั้นยังไม่ได้คำนวณกำลังงาน)  แต่ถ้ากำลังน้อยขนาดนี้ใช้เครื่อง เทอร์โบพรอพสักสองเครื่องก็พอแล้ว  (turbo prop)  เป็นปีกใบพัด ไม่ใช่ไอพ่น  จะได้ถูก ทนทาน และ เสียงเงียบกว่า  ไม่หนวกหูชุมชน

พอมันลอยตัวแล้วระบบรางจะคอยเป็นพี่เลี้ยง guide แบบแตะเบาๆ เป็นบางเวลาเท่านั้น เพื่อประคองยามมีแรงภายนอกกระทำ เช่น ลมแรง

ยานรถไฟลอยแบบนี้นอกจากจะถูกกว่า maglev หลายเท่าแล้ว ยังประหยัดน้ำมันกว่าสองสามเท่าเป็นอย่างน้อย เพราะรูปทรงเราเป็นแบบปีกแพนอากาศ ซึ่งมี สปส. แรงฉุด ประมาณ 0.01เท่านั้น ในขณะที่รูปหัวกระสุนยาวๆนั้น ประมาณ 0.03 (แรงต้านอากาศมากกว่า 3 เท่า กินน้ำมันมากกว่า 3 เท่า) หมายความว่า ค่าโดยสารของเราจะถูกกว่าเขา 2-3 เท่า สบายๆ

ถ้ารัฐบาลไทยคิดจะทำจริงๆ ผมว่าน่าทำได้ไม่ยาก และไม่แพง เพียงแต่ว่าจะกล้าคิดกล้าทำเองไหมเท่านั้นเอง เพื่อศักดิ์ศรีของประเทศชาติและประชาชน  หรือว่า ต้องการแต่ซื้อฝรั่งลูกเดียว 

ทำให้ดีๆ มันจะทั้งเร็วและถูกกว่านั่งรถไฟธรรมดาเสียอีก 

...คนถางทาง (๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๕) 

หมายเลขบันทึก: 514216เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2012 06:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ธันวาคม 2012 06:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

โครงการนี้ถ้ารัฐจะทำ เพียงแค่เอาเิงินอุดหนุนรถยนต์คันแรกมาทำ ก็สำเร็จแล้ว  ชื่อเสียงประเทศจะขจรกระจายไปทั่วโลก  

พบ.คิดคามไม่ทัน คร๊อก!!!!!!!

โครงการอย่างนี้มันต้องทำงานเป็นทีมครับ ความยากมันอยู่ตรงนี้ไหมครับ แค่ผมนึกภาพงานสัมมนานักวิชาการเพื่อ kickoff โครงการก็สยองแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท