จัดการเรียนการสอนวิชาพุทธวิธีการบริหารงานโดยใช้หลักอริยสัจ ๔


จัดการเรียนการสอนวิชาพุทธวิธีการบริหารงานโดยใช้หลักอริยสัจ ๔

๑.  บทนำ

  ด้วยวิทยาลัยสงฆ์พะเยา  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา ได้ตระหนักถึงพันธะกิจของมหาวิทยาลัยในส่วนของการผลิตบัณฑิตและการบริการวิชาการแก่สังคม  และได้ตระหนักถึงหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพที่พึงประสงค์ มีความรู้เกี่ยวกับวิชาการทางพระพุทธศาสนา  เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่เพื่อนำไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

     ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๖ วรรค ๒  ความว่า ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิจัย ส่งเสริม และให้บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์  รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

  และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ในแต่ละระดับการศึกษา  ดังนั้น วิทยาเขตพะเยา จึงได้ตระหนักและตอบสนองพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยการจัดทำประชุมสัมมนา เรื่อง การทำวิจัยชั้นเรียน  โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาเป็นพิธีกรบรรยาย เพื่อให้ความรู้แก่คณาจารย์ของวิทยาเขตพะเยา  เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 

   วิชาพุทธวิธีการบริหารงานเป็นวิชาที่พระนิสิตสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ  วิชาเอกการจัดการเชิงพุทธ ชั้นปีที่ ๔ เป็นวิชาพระพุทธศาสนาประยุกต์  จำนวน  ๒ หน่วยกิต เพื่อให้พระนิสิตได้ทราบถึงกระบวนการเรียนการสอนของวิชาพุทธวิธีการบริหารงานในแง่มุมต่าง ๆ  เช่น ได้ทราบถึงแนวคิดและทฤษฎีหลักการบริหารงาน การนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ในการแก้ปัญหาสำคัญของสังคม วิเคราะห์ คุณค่าของพุทธธรรมและคุณค่าของวิชาการบริหารในเชิงเปรียบเทียบ

  การวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพุทธวิธีการบริหารงานโดยแบ่งสาเหตุของปัญหาไว้  ๓ ระดับคือ ปัญหาด้านหลักสูตร  ปัญหาด้านผู้เรียน และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นปัญหาการเรียนการสอนดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาและแก้ไขให้กระจ่างชัด เพื่อนำผลการศึกษาเหล่านั้นมาพัฒนากระบวนการการสอนดังกล่าว โดยใช้หลักของอริสัจ ๔ มาแก้ปัญหา[1] ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ระดับ คือ  

  ๑. ระดับทฤษฎี แบ่งออกเป็น  ๓ ขั้นตอน คือ

  ๑.๑ ขั้นกำหนดปัญหา ได้แก่ การทำเข้าใจว่าปัญหาการเรียนการสอนคืออะไร อยู่ที่ไหน และมีขอบเขตอย่างไร

  ๑.๒ ขั้นสืบสาวหาสาเหตุ คือหยั่งหาสาเหตุของปัญหาหรือ ปัญหาเกิดจากอะไร

  ๑.๓ ขั้นตั้งสมมติฐาน คือให้เห็นกระบวนการที่แสดงว่าการแก้ปัญหาเป็นไปได้และอย่างไร

  ๒. ขั้นการเฟ้นหามรรค  ซึ่งแยกออกเป็น  ๓  ขั้นตอน

  ๒.๑ เอสนา  คือ ขั้นตอนการแสวงหาข้อพิสูจน์ หรือขั้นทดลอง ขั้นวิจัยและการเก็บข้อมูล

  ๒.๒ วิมังสา  คือ ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อทำการตรวจสอบว่าใช้ได้จริงหรือไม่เพียงใด

  ๒.๓ อนุโพธ  คือ ขั้นสรุปผลการวิเคราะห์ ซึ่งจะเป็นการตัดสินสิ่งที่ผิดออกไป เลือกมรรคที่แท้ที่จะนำไปสู่ผล คือ การแก้ปัญหาการเรียนการสอน

  จากการวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนอันเกิดมาจากสาเหตุของปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านตัวผู้เรียน  และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าว  หากวิเคราะห์ให้ลึกลงไปจะพบว่าเป็นการวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่สามารถแก้ไขได้โดยใช้หลักอริยสัจ ๔ มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรม เพื่อนำไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ จากการศึกษาวิเคราะห์แล้ว พบว่า เกิดจากปัญหาดังต่อไปนี้ คือ

   ๑.ปัญหาด้านหลักสูตร (ทุกข์)

๑.๑ อาจารย์เน้นการสอนด้านเนื้อหามากกว่าด้านกระบวนการเรียนรู้

๑.๒ อาจารย์ไม่ส่งเสริมให้พระนิสิตได้ศึกษาค้นคว้าคำตอบหรือแก้ปัญหาด้วยตนเอง

๑.๓ อาจารย์ขาดวิธีการสอนที่หลากหลาย ที่สามารถเรียนรู้จากแหล่งความรู้ สื่อ อุปกรณ์และวิธีการต่าง ๆ

๑.๔หลักสูตรไม่ครอบคลุมเนื้อหาและกว้างขวางเพียงพอ และไม่สอนตามแผนการสอน

  ๒. การแก้ปัญหา (สมุทัย)

     ๒.๑การสอนด้วยการลงมือกระทำ (learning  by  doing)

  ๒.๒การสอนด้วยกิจกรรมและประสบการณ์แทนหนังสือหรือพูดให้ฟังเพียงอย่างเดียว

  ๒.๓การสร้างทักษะในการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อความเข้าใจด้วยวิธีการตั้งคำถาม 

  ๒.๔ การสร้างเรื่อง หรือหาบทความที่ไม่มีในหนังสือมาวิเคราะห์

  ๒.๕ ใช้สื่อการสอนประกอบ (power  point) และสอนตามแผนการสอนที่วางไว้

 ๓. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (นิโรธ)

  ๓.๑ การวัดผลและเมินผลการเรียนรู้ 

  ๓.๒ บันทึกผลหลังการสอน

 ๔. ขั้นสรุปและรายงานผล  (มรรค)

    - การพัฒนา  การปรับปรุง  และการแก้ไขปัญหา

๒. อภิปรายผล

   ๒.๑ ปัญหาด้านหลักสูตร :  (ทุกข์)

   ๑.มีเนื้อหาไม่ครอบคลุม และกว้างขวางเพียงพอ

   ๒.การเรียนการสอนไม่เป็นไปตามแผนการสอนที่กำหนดไว้

   ๓.เวลาการเรียนการสอนน้อยเกินไป อาจารย์ควรจะมีเวลาสอนให้มากกว่านี้ควรสอนตามขั้นตอนและแผนการสอนที่กำหนดไว้

   ๔.ให้เพิ่มการค้นคว้างานในเอกสารตำราต่าง ๆ  และให้ส่งใบงานหรือรายงานการให้ผลการเรียนควรให้แต่ละบทให้มากกว่านี้ 

   ๕. มีความรู้พื้นฐานทางด้านศัพท์ภาษาบาลีน้อย ไม่ค่อยจะเข้าใจศัพท์ธรรมะบางศัพท์ที่มีความลึกซึ้งมากเกินไป

    ๖. ผู้บริหารขาดปฏิสัมพันธ์กับพระนิสิต  ผู้บริหารที่เป็นอาจารย์ ควรจะอุทิศเวลาให้การเรียนการสอนให้มากกว่านี้

  ๗.  ห้องเรียน ห้องน้ำ ต้องปรับปรุงเร่งด่วน  น้ำดื่มไม่ค่อยจะสะอาด และมีไม่เพียงพอ 

  ๘.สื่อการเรียนการสอนในห้องเรียนไม่ได้รับการดูแล สื่อบางอย่างไม่ทันสมัยควรเพิ่มสื่อการสอนที่หลากหลายให้มากกว่าน

   

   ๒.๒ สาเหตุด้านหลักสูตร (สมุทัย)

   ๑. เนื้อหาของหลักสูตรวิชาพุทธวิธีการบริหารงาน มีความครอบคลุมเนื้อหา และกว้างขวาง เพียงพอ

     ๒.จำนวนหน่วยกิต ๒ หน่วยไม่มากและไม่น้อยเกินไป

     ๓.มีความพึงพอใจในกระบวนการเรียนสอนของอาจารย์ 

     ๔.อาจารย์ผู้สอน มีความเข้าใจเนื้อหา มีความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอด  และมีความตั้งใจในการสอน เพื่อมุ่งหวังพัฒนาพระนิสิต ให้เป็นบุคลากรทางพระพุทธศาสนาที่มีคุณค่ายิ่ง 

    ๒.๓  การแก้ปัญหาเกี่ยวกับหลักสูตร  (นิโรธ) 

   ๑.เน้นการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพและทันสมัย
   ๒.พัฒนาหลักสูตรให้ส่งเสริมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

   ๓.การเน้นพระนิสิตเป็นสำคัญ โดยอาจารย์คำนึงถึงคุณค่าที่พระนิสิตจะได้รับเป็นหลักและเอื้อประโยชนต่อพระนิสิตให้มากที่สุด
   ๔.กำหนดคุณลักษณะของพระนิสิตที่พึงประสงค์เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการผลิตที่ชัดเจนและมีคุณภาพ
     ๕.การปลูกฝังและพัฒนาทักษะทั้งทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านภาษาและด้านการสื่อสารให้กับพระนิสิต
     ๖.การปลูกฝังและพัฒนาทักษะทางด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การวิเคราะห์
     ๗.การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม โดยวิธีการสอดแทรกในการเรียนการสอน
   ๘.มีการกำหนดภาระงานที่เหมาะสมและชัดเจน ได้แก่ การสอนการวิจัย การให้บริการทางวิชาการและการทำนุบำรุงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
     ๙.มีการประเมินการสอนของอาจารย์ โดยการเน้นการประเมินเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการสอนของอาจารย์ให้มีประสิทธิภาพ
     ๑๐.ส่งเสริมให้อาจารย์ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอน โดยการกำหนดเป็นภาระงานที่จะต้องปฏิบัติและจัดสรรงบประมาณสนับสนุนตลอดจนอำนวยความสะดวก รวมทั้งจัดหามาตรการที่จะช่วยกระตุ้น จูงใจในการดำเนินการวิจัย

๓.สรุปผล  (มรรค)

   ๑.มีการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพและทันสมัยพัฒนาหลักสูตรให้ส่งเสริมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

  ๒.เน้นการเรียนการสอนของพระนิสิตเป็นสำคัญโดยอาจารย์คำนึงถึงคุณค่าที่พระนิสิตจะได้รับเป็นหลักและเอื้อประโยชนต่อพระนิสิตให้มากที่สุด
   ๓.กำหนดคุณลักษณะของพระนิสิตที่พึงประสงค์เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการผลิตที่ชัดเจนและมีคุณภาพ  การปลูกฝังและพัฒนาทักษะทั้งทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านภาษาและด้านการสื่อสารให้กับพระนิสิต การปลูกฝังและพัฒนาทักษะทางด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การวิเคราะห์ และการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมโดยวิธีการสอดแทรกในการเรียนการสอน
  ๔.มีการกำหนดภาระงานที่เหมาะสมและชัดเจน ได้แก่ การสอนการวิจัย การให้บริการทางวิชาการและการทำนุบำรุงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มีการประเมินการสอนของอาจารย์ โดยการเน้นการประเมินเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการสอนของอาจารย์ให้มีประสิทธิภาพ 
   ๕.ส่งเสริมให้อาจารย์ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอน โดยการกำหนดเป็นภาระงานที่จะต้องปฏิบัติและจัดสรรงบประมาณสนับสนุนตลอดจนอำนวยความสะดวก รวมทั้งจัดหามาตรการที่จะช่วยกระตุ้น จูงใจในการดำเนินการวิจัย

   ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย เรื่อง  [2]การปรับปรุงการสอนรายวิชาการวิจัยในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติในชั้นเรียนตามแบบจำลองคุณภาพ

   รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนตามแบบจำลองคุณภาพ ประกอบด้วยแนวคิดของการวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยปฏิบัติการกับแบบจำลองคุณภาพ

  การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยที่มุ่งแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน อาจใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพหรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการก็ได้[3]  ส่วนการวิจัยปฏิบัติการเป็นการวิจัยที่ดำเนินการโดยผู้ปฏิบัติงาน  เพื่อตรวจสอบผลการปฏิบัติของตนและแสวงหาแนวทางในการปรับปรุงให้การปฏิบัติงานนั้นดีขึ้นกว่าเดิม [4]  การวิจัยปฏิบัติการเป็นกระบวนการแก้ปัญหาขั้นตอนตามวงจรคุณภาพแบบ  P-D-C-A  ที่อาจารย์ผู้สอนดำเนินการในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่องในรูปของเกลียวสว่าน(spiral) ขณะที่การวิจัยปฏิบัติการดำเนินการไปในแต่ละรอบ ปัญหาการเรียนรู้ก็จะรับการแก้ไขและคุณภาพการเรียนรู้จะได้รับการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันอาจารย์ผู้สอนเองก็ได้เรียนรู้วิธีการปฏิบัติการสอนของตนและปรับปรุงวิธีปฏิบัติการสอนของตนให้ดีขึ้นอย่างตลอดเวลาเช่นกัน แบบจำลองคุณภาพเป็นแบบจำลองการวิจัยที่ผู้วิจัยนำมาจากแนวคิดของเทคนิคการควบคุมคุณภาพ(Quality Control Circle : QCC) ที่ขยายวงจรการแก้ปัญหาแบบ PDCA ให้มีวิธีปฏิบัติการแก้ปัญหาที่เป็นระบบ มีขั้นตอนและเป็นวิทยาศาสตร์ จนสามารถนำมาใช้พัฒนาคุณภาพได้ดีและสามารถประยุกต์วิธีการดังกล่าวมาใช้พัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการต่างๆ รวมถึงการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้ เทคนิคการควบคุมคุณภาพดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นให้ประกอบด้วย(ก)กิจกรรมการวิจัย ๗ ขั้นตอน (ข)เครื่องมือการวิจัย ๗ ชนิด และ(ค)เรื่องราวการวิจัย ๗ ตอน[5]

กล่าวโดยสรุปว่า การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนตามแบบจำลองคุณภาพ  เป็นรูปแบบการวิจัยการวิจัยในชั้นเรียนแบบหนึ่งที่ใช้รูปแบบของการวิจัยปฏิบัติการร่วมกับแบบจำลองคุณภาพ  ที่พัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งให้เป็นรูปแบบใหม่ของการวิจัยในชั้นเรียนสำหรับอาจารย์ เพื่อให้อาจารย์ได้ริเริ่มปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนด้วยรูปแบบการวิจัยที่ง่าย สะดวก เป็นขั้นเป็นตอน ไม่ยุ่งยากและเป็นภาระทางการสอน และสามารถช่วยแก้ไขปัญหาในชั้นเรียนแก่ผู้เรียนได้ทันท่วงทีเมื่อการวิจัยนั้นเสร็จสิ้นลง  ผู้วิจัยคาดหวังว่า เมื่ออาจารย์สามารถวิจัยในชั้นเรียนได้แล้ว เขาจะเกิดการเรียนรู้และพัฒนารูปแบบการวิจัยนี้ไปให้กว้างขวาง ลึกซึ้งและมั่นคงมากขึ้นกว่าเดิมได้ด้วยตัวอาจารย์เองตามหลักการของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

   

๔.  ข้อเสนอแนะ

   จากการวิจัยครั้งนี้ ผู้สอนมีข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงหรือพัฒนาการสอน ดังนี้

    ๑.อาจารย์ผู้สอนควรนำแบบอย่างที่ดีจากผลงานวิจัยของพระนิสิตและข้อพร่องที่พบไปใช้เป็นกรณีศึกษาในการสอนครั้งต่อไป เพื่อเป็นการนำเสนอตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม

   ๒.มหาวิทยาลัยควรให้การฝึกอบรมวิจัยในชั้นเรียนให้แก่อาจารย์อย่างต่อเนื่องและทุกภาคการศึกษาเพื่อให้อาจารย์สามารถทดลองทำวิจัยได้อย่างสมบูรณ์

     ๓.อาจารย์ผู้สอนควรจัดให้มีเน้นกิจกรรมการนำเสนอผลงานการวิจัยและวิพากษ์ผลการวิจัยในชั้นเรียนให้มากขึ้น ทั้งการสะท้อนความคิดจากผลการวิจัย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการวิจัย และการวิพากษ์ผลการวิจัย จากอาจารย์ผู้สอน  และจากพระนิสิต

  .อาจารย์ผู้สอนควรจัดให้มีระบบการจัดการความรู้การวิจัยในชั้นเรียนของพระนิสิต โดยจัดให้มีแหล่งความรู้ เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน  วิธีปฏิบัติที่ดีทางการวิจัยในชั้นเรียน  การสนับสนุนและช่วยเหลือนิเทศพระนิสิต และแหล่งรวบรวมผลงานวิจัยในชั้นเรียน การจัดประชุมทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานการวิจัยในชั้นเรียน



[1] พระราชวรมุนี : ๒๕๓๕  :  ๗๓๑ - ๗๓๒

[2]  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา  กรุดทอง  :  มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา :  ๒๕๕๐.

[3]  ผ่องพรรณ  ตรัยมงคลกูล  :  ๒๕๔๘.

[4]  กิตติพร  ปัญญาภิญโญผล  :  ๒๕๔๙.

[5]  วีระพงษ์  เฉลิมจีระรัตน์ :  ๒๕๔๔.

หมายเลขบันทึก: 513913เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2012 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ธันวาคม 2012 09:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท