รัฐพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioural Political Science ) บทที่๑


ด้วยบันทึกนี้. ผมดร. กระจ่าง พันธุมนาวิน ขออ้าง Originality ของวิชารัฐศาสตร์ แขนงใหม่

รัฐศาสตร์แขนงนี้ เป็นแนวทางที่จะพยายามเข้าใจ/อธิบาย ปรากฏการณ์ทางรัฐศาสตร์ ด้วยหลักคิด/ทฤษฎี จากหลากหลายวิชา

(Disciplines ) แทนที่จะใช้หลักคิดของรัฐศาสตร์แบบจารีต (Traditional Political Science )


วิธีดีที่สุด คืออธิบายด้วยตัวอย่างจริง ของไทย

      นักวิชาการไทยส่วนมากมักบ่นวิจารณ์ว่า การพัฒนาการเมืองแนวประชาธิปไตย ของไทย วนเวียนอยู่กับที่ มาตลอด ๘๐ปีตั้งแต่ ๒๔๗๕

แต่ก็ยังไม่ได้เห็น/ยินท่านใด เสนอคำอธิบายที่ ชัดเจน และ สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ เลย

      คำอธิบายแนว รัฐพฤติกรรมศาสตร์ มีดังนี้ : 

       การพัฒนาทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน ( ๕๐ปีขึ้นไป ) จะเกิดได้ต่อเมื่อมีผู้ใช้อำนาจอย่างเป็นเอกภาพเพียง

บุคคล/คณะบุคคลเดียวเป็นเวลายาวนานพอสมควรที่การริเริ่มทางการเมืองนั้นๆมีโอกาสลงรากฐานได้มั่นคงทนทานต่อการแทรกแซง

แย่งชิงจากกลุ่มอื่น.  ตัวอย่าง :

        การปฏิวัติในอังกฤษโดย Oliver Cromwell และพวก มีอำนาจเต็มกว่า ๑๐ปีต่อเนื่อง

        การปฏิวัติในฝรั่งเศสสับสนวุ่นวายหลายปี จนกระทั่ง Napoleon Bonarparte มาจัดการให้เกิดเสถียรภาพ( ตามแบบของแก )

        การปฏิวัติประชาธิปไตยในเยอรมันี ( สาธารณรัฐ Weimar ) ก็ไปไม่ถึงไหนจนกระทั่งคนเพี้ยน Adolf H. ได้อำนาจเด็ดขาดจึง

           ขับเคลื่อนต่อไปได้.  (เจริญรุ่งเรือง หรือ หายนะเป็นต่างประเด็น อย่าปนกัน )

        การปฏิรูปการปกครองของญี่ปุ่นยุคใหม่สำเร็จได้เพราะ นายพล MacArthur และกองทัพยึดครองประเทศญี่ปุ่นให้เสถียรภาพ

           อยู่ถึง ๑๐ ปีเช่นกัน

        การปฏิวัติการปกครองของจีนเริ่มเมื่อ ค.ศ. ๑๙๑๑. แต่กว่าจะเข้าที่ และขับเคลื่อนได้ ก็เมื่อ เหมา เจ๋อ ตุง และคณะ ชนะเด็ดขาด

          เมื่อ ค.ศ. ๑๙๔๙

                 หรือ ล่าสุดดู การปฏิวัติ " ดอกมะลิ " ( Arab Spring/ Jasmine Revolution ) ที่นักวิชาการตะวันตกเชียร์หนักหนา

      เข้า ๓ ปีแล้วยังฆ่ากันไม่เลิก

                       ฯลฯ เป็นต้น

          การปฏิวัติการปกครองไทย ที่เริ่มเมื่อ ๐๖๐๐น. ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้น มีเอกภาพทางความคิดประการเดียวคือ แย่งอำนาจ

     การปกครองจากพระมหากษัตริย์ มาอยู่ในมือของ "ประชาชน ". แต่มีพหุภาพทางความคิดเกี่ยวกับระบบวิธีปกครองประเทศ

    อย่างน้อยก็ ๒ ความคิดคือ  ๑) เผด็จการด้วยกำลังอาวุธ. ตามแนว Fascism/ Naziism  ๒) เผด็จการสังคมนิยมนำโดยกรรมาชน

      บุคคลที่มีความเห็นต่างขั้วกันดังกล่าว เริ่มการชิงไหวชิงพริบกันเกือบจะทันที ที่พระมหากษัตริย์ยอมสละอำนาจให้ (ดูเอกสารรัฐสภา

      ๒๔๗๖ )  ฝ่ายที่คิดตื้นๆกว่าก็เชื่อมั่นในอำนาจอาวุธที่กดหัวคนมาแต่โบร่ำโบราณ จึงเสริมสร้างกำลัง และประเพณีการใช้กำลังอาวุธ

      ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งนั้นสุขุมแยบยลกว่า มองเห็นว่าในโลกอนาคต พลังความรู้และปัญญา ของชนหมู่มากอาจเอาชนะอำนาจดิบๆของ

      ผู้ถืออาวุธได้  จึงเปิดเขื่อนความกระหายอยากทางความรู้ และ ปัญญา ของมหาชน ด้วยการทลายการผูกขาดการศึกษาชั้นสูง

      ของอภิสิทธิ์ชน และ ชนชั้นกลางที่ เริ่มจากการปฏิรูปการศึกษาในรัชกาลที่๕. ตั้งแต่ ๒๔๗๖เป็นต้นมาคนหนุ่มสาวเด็กชนบท

      สามารถศึกษาจนได้ปริญญา แม้จะยากจนเพียงใด ก็มาอาศัยวัด และข้าวบิณทบาตร เรียนไปทำงานไปจนสำเร็จตามความใฝ่ฝันได้

      ประวัติศาสตร์กำลังพิสูจน์อยู่ขณะนี้ว่า. ฝ่ายใดเมื่อ ๒๔๗๕เป็นฝ่ายที่ฉลาดกว่ากัน

           อย่างไรก็ตามการแย่งชิงอำนาจการปกครอง ตั้งแต่๒๔๗๕ ไม่มีผู้ชนะเด็ดขาดจน กระทั่งการรัฐประหาร พฤศจิกายน ๒๔๙๐

    ในช่วง ๑๐ปี หลังจากนั้น การพัฒนาการเมืองและการพัฒนาประเทศได้เริ่มขึ้นใหม่ แถมทำท่าจะไปได้ดีอีกด้วย เมื่อผู้นำผู้สืบทอด

      สามารถกุมอำนาจเบ็ดเสร็จได้อีก ๖ ปีจนถึง ๒๕๐๖

          แต่น่าเสียดายที่ว่า เหตุการณ์ทั้งภายนอก และ ภายใน ตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๐๖ ถึง ๒๕๒๓ ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจอีกโดยไม่มีผู้ชนะ

       เด็ดขาด. ช่วง๒๕๒๓ ถึง ๒๕๓๐ ดูเหมือนจะมีผู้ถืออำนาจเด็ดขาด แต่ ไร้จิตวิญญาณของนักปฏิรูป/ปฏิวัติ จึงเสียโอกาสการพัฒนา

       การเมืองที่ดีไป

            หลังจากความฝันของผู้เลิศปัญญายุค ๒๔๗๕ ที่สร้างปัญญาไว้สู้กับอาวุธได้เป็นจริงตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๐เป็นต้นมาเหล่าผู้มี

      ปัญญากลับหันมาแย่งชิงอำนาจการปกครองกันเองโดยใช้อาวุธใหม่แห่งยุคคือ เงิน ทำให้ไม่มีผู้ชนะเด็ดขาด ตลอด ๒๕ ปีที่ผ่านมา

      อีกรอบหนึ่ง. และจะเป็นเช่นนี้ต่อไปจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะชนะเด็ดขาด และครองอำนาจได้ไม่น้อยกว่า ๑๐ปี

            เกาหลีใต้ผงาดขึ้นเท่าญี่ปุ่น เพราะ Pak Chung Hee วางรากฐาน( ผมไม่ได้บอกว่าการเป็นเผด็จการของเขาดีนะ )

            จีนมีวันนี้เพราะ เติ้งตัดสินใจต้องมีผู้ชนะเด็ดขาดที่ เทียน อัน เหมิน

       จงศึกษา รัฐศาสตร์ จากมิติ พฤติกรรมบุคคล โดยเฉพาะ ผู้นำ และพฤติกรรมสังคมของ ผู้ตาม

          แล้วเราจะมีโอกาสเข้าใจปรากฏการณ์การเมือง ของไทย และของโลก ได้ ถ่องแท้ขึ้น

          ยุคของรัฐพฤติกรรมศาสตร์ได้ เกิดขึ้น แล้ว


    

    

            





       

หมายเลขบันทึก: 513831เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2012 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ธันวาคม 2012 11:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณ ความรู้ใหม่ นี้ค่ะ ท่านอาจารย์  โลกอนาคต พลังความรู้และปัญญา ของชนหมู่มาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท