ค้นคว้าเพิ่มเติมจากเรื่องที่อาจารย์สอนในห้อง


การต่อตัวต้านทานและแบตเตอรี่

     เนื่องจากกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ในชิ้นสวนต่างๆ ของวงจรขึ้นกับความต้านทานของตัวต้านทาน และแรงเคลื่อนไฟฟ้าของแบตเตอรี่ ดังนั้นการนำตัวต้านทานหรือแบตเตอรี่มาต่อกัน จะทำให้ความต้านทานรวมและแรงเคลื่อนไฟฟ้ารวมเปลี่ยนไปอย่างไร และมีผลต่อกระแสไฟฟ้าในวงจรอย่างไร

16.4.1 การต่อตัวต้านทาน
     ในการนำตัวต้านทานสองตัวมาต่อกันแล้วนำไปต่อกับแบตเตอรี่จะสามารถทำได้ 2 รูปแบบ คือการต่อตัวต้านทาน ดังรูป 16.30 ก  เรียก การต่อแบบอนุกรม</b>  ส่วนการต่อตัวต้านทานดังรูป 16.30 ข  เรียก  <b>การต่อแบบขนาน</b> 



 


รูป 16.30 การต่อตัวต้านทาน

  ถ้านำตัวต้านทานที่ต่อทั้งสองรูปแบบไปต่อกับแบตเตอรี่ กระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทานแต่ละตัว และความต่างศักย์ระหว่างปลายของตัวต้านทานแต่ละตัวจะเป็นอย่างไร จะศึกษาได้จากการทดลอง  16.3  ซึ่งสรุปผลได้ดังนี้
  ในวงจรไฟฟ้าที่มีตัวต้านทานต่อแบบอนุกรม  พบว่า
  1.  กระแสไฟฟ้าในวงจรเท่ากับกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทานแต่ละตัว
  2.  ความต่างศักย์ระหว่างปลายของตัวต้านทานเท่ากับผลบวกของความต่างศักย์ระหว่างปลายของตัวต้านทานแต่ละตัวที่ต่อแบบอนุกรม
  ในวงจรไฟฟ้าที่มีตัวต้านทานต่อแบบขนาน  พบว่า
1. กระแสไฟฟ้าในวงจรเท่ากับผลบวกของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทานแต่ละตัว
2.ความต่างศักย์ระหว่างปลายของตัวต้านทานแต่ละตัวมีค่าเท่ากัน และเท่ากับความต่างศักย์ระหว่างปลายของตัวต้านทานที่ต่อแบบขนาน
จากข้อสรุปดังกล่าว นำมาวิเคราะห์หา ความต้านทานรวม หรือความต้านทานสมมูล (equivalent resistance) ของตัวต้านทานที่ต่อกัน ได้ดังนี้


ก. ความต้านทานรวมของตัวต้านทานที่ต่อแบบอนุกรม

 
รูป 16.31 การหาความต้านทานรวมของตัวต้านทานที่ต่อแบบอนุกรม



จากรูป 16.31 ก. เราทราบว่า \displaystyle V = V_1 + V_2
จากกฎของโอห์ม จะได้ \displaystyle IR = I_1 R_1 + I_2 R_2
เมื่อ R คือความต้านทานรวมของ \displaystyle R_1  และ \displaystyle R_2ที่ต่อแบบอนุกรม  ดังในรูป 16.31 ข. 
เนื่องจาก     \displaystyle I = I_1 = I_2
ดังนั้น     \displaystyle R = R_1 + R_2

ถ้าต่อตัวต้านทาน n ตัว  แบบอนุกรม  จะได้ความต้านทานรวม  ดังนี้
    [tex]\displaystyle R = R_1+ R_2 + R_3 + ... + R_n[/tex   (16.9)


ข. ความต้านทานรวมของตัวต้านทานที่ต่อขนาน



 
รูป 16.32 การหาความต้านทานเมื่อต่อตัวต้านทานแบบขนาน


จากกฎของโอห์ม จะได้ \displaystyle \frac{V}{R} = \frac{{V_1 }}{{R{}_1}} + \frac{{V_2 }}{{R_2 }}<br />

เมื่อ R คือความต้านทานรวมของ \displaystyle R_1  และ \displaystyle R_2 ที่ต่อแบบขนาน  ดังในรูป 16.32 ข. 
เนื่องจาก     \displaystyle V = V_1 = V_2
ดังนั้น     \displaystyle \frac{1}{R} = \frac{1}{{R{}_1}} + \frac{1}{{R_2 }}
ถ้าต่อตัวต้านทาน n ตัว แบบขนาน จะได้ความต้านทานรวม  ดังนี้
     \displaystyle \frac{1}{R} = \frac{1}{{R{}_1}} + \frac{1}{{R_2 }} + \frac{1}{{R{}_3}} + ... + \frac{1}{{R_n }}    (16.10)

  - ตัวต้านทานสองตัวที่ต่อแบบอนุกรม และต่อแบบขนาน ความต้านทานรวมของแต่ละกรณี ต่างกันอย่างไร และมีผลต่อกระแสไฟฟ้าในวงจรอย่างไร

   ในการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรม ความต้านทานรวมจะมากกว่าความต้านทานรวมกรณีต่อแบบขนาน จึงทำให้กระแสไฟฟ้าในวงจรที่ต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมมีค่าน้อยกว่ากระแสไฟฟ้าในวงจรที่ต่อตัวต้านทานแบบขนาน
   ความรู้ข้างต้น ช่วยให้เราสามารถเลือกตัวต้านทานหนึ่งตัว หรือมากกว่ามาต่อกันเพื่อให้ได้ความต้านทานรวมที่ต้องการ ซึ่งนอกจากจะต่อแบบอนุกรมหรือแบบขนานก็ได้แล้ว อาจนำการต่อทั้งสองรูปแบบมาต่อปนกันได้อีก เรียกว่า การต่อแบบผสม

การประยุกต์ความรู้เรื่องการต่อตัวต้านทาน
การแบ่งศักย์
ความรู้เรื่องการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมนำไปใช้ในการแบ่งความต่างศักย์ในวงจรตัวต้านทานที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า 
ตัวแบ่งศักย์ (potential divider)<  ศึกษาได้จากการทดลอง 16.4  เรื่องตัวแบ่งศักย์



 
รูป 16.33 การแบ่งความต่างศักย์โดยใช้ตัวต้านทาน

 
    จากวงจรในรูป 16.33 ก.  ตัวต้านทาน \displaystyle R_1 และ \displaystyle R_2  ต่อกันแบบอนุกรม และต่อกับแบตเตอรี่
 \displaystyle V_{in}  เป็นความต่างศักย์ระหว่างปลายของตัวต้านทาน \displaystyle R_1 และ \displaystyle R_2  ที่ต่อแบบอนุกรม
 \displaystyle V_1  เป็นความต่างศักย์ระหว่างปลายของตัวต้านทาน \displaystyle R_1
 \displaystyle V_{out}  เป็นความต่างศักย์ระหว่างปลายของตัวต้านทาน \displaystyle R_2 
  ให้ \displaystyle V_{out}  เป็นความต่างศักย์ที่ต้องการซึ่งแบ่งแยกจาก \displaystyle V_{in}  โดยใช้ตัวต้านทาน R1 และ R2  ที่มีความต้านทาน \displaystyle R_1 และ \displaystyle R_2  ตามลำดับ โดยหาค่าได้ดังนี้
  จากกฎของโอห์ม     \displaystyle V_{in}&nbsp; = I(R_1&nbsp; + R_2 )      (ก)
  และ       \displaystyle V_{out}&nbsp; = IR_2        (ข)
  จากสมการ (ก) และ (ข) จะได้ \displaystyle V_{out}&nbsp; = \frac{{R_2 }}{{R_1&nbsp; + R_2 }}V_{in}  (16.11)
  จากสมการ (16.11) แสดงว่า [Unparseable or potentially dangerous latex formula. Error 1 ]   
  หรือกล่าวได้ว่า กระแสไฟฟ้าที่เข้าจุด   a  เท่ากับผลบวกของกระแสไฟฟ้าที่ออกจากจุด a
  เมื่อพิจารณาที่จุด b จะได้ \displaystyle I&nbsp; = I_1&nbsp; + I_2 = Iหรือกล่าวได้ว่า  ผลบวกของกระแสไฟฟ้าที่เข้าจุด b เท่ากับกระแสไฟฟ้าที่ออกจากจุด b


รูป 16.34 กระแสไฟฟ้าที่ผ่านจุด a และ b


     สรุปได้ว่า ผลรวมของกระแสไฟฟ้าที่เข้าจุดใดๆ ในวงจรเท่ากับผลรวมของกระแสไฟฟ้าที่ออกจากจุดนั้นเสมอ  ซึ่งแสดงว่าประจุไฟฟ้าที่ผ่านจุดต่างๆในวงจรมีค่าคงตัว จึงเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์ประจุไฟฟ้าทุกประการ

16.4.2 การต่อแบตเตอรี่
     แบตเตอรี่เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้กันแพร่หลาย ถ้านำแบตเตอรี่มาต่อ จะทำได้กี่แบบ และแรงเคลื่อนไฟฟ้ารวมของแบตเตอรี่จะเป็นเท่าใด
การต่อแบตเตอรี่แบบอนุกรม

การต่อแบตเตอรี่แบบอนุกรมเป็นการนำขั้วตรงข้ามของแบตเตอรี่แต่ละก้อนต่อเรียงกันไป สามารถวิเคราะห์หาแรงเคลื่อนไฟฟ้ารวมได้ดังนี้



 
รูป 16.35 การต่อแบตเตอรี่แบบอนุกรม



  พิจารณาแบตเตอรี่สองก้อนที่ต่ออนุกรม และต่อกับตัวต้านทานที่มีความต้านทาน R ดังรูป 16.35 ก  แบตเตอรี่แต่ละก้อนมีแรงเคลื่อนไฟฟ้า \displaystyle E_1  และ \displaystyle E_2 และมีความต้านทานภายใน \displaystyle R_1  และ \displaystyle R_2 ตามลำดับ ถ้ากระแสไฟฟ้าในวงจรเท่ากับ I ความต่างศักย์ระหว่างขั้วแบตเตอรี่เท่ากับ \displaystyle V_1  และ \displaystyle V_2  และความศักย์ระหว่างจุด a และ b เท่ากับ \displaystyle V_{ab}  จะได้
 \displaystyle V_{ab} = V_1 +V_2 
  จากสมการ (16.6)  จะได้   \displaystyle V_{ab} = (E_1 - Ir_1) + (E_2 - Ir_2) 
 
  จากรูป 16.35 ก  สามารถเขียนวงจรเทียบเท่าได้ดังรูป 16.35 ข  เมื่อ  E  เป็นแรงคลื่อนไฟฟ้ารวม
  และ  r  เป็นความต้านทานรวมของแบตเตอรี่ทั้งสอง
  จาก     \displaystyle V_{ab} = E - Ir  (ข)
  เทียบสมการ (ก)  และ (ข)  จะได้
     \displaystyle E = E_1 + E_2   
  และ   \displaystyle r = r_1 + r_2   
 
        ดังนั้น ในการต่อแบตเตอรี่แบบอนุกรม แรงเคลื่อนไฟฟ้ารวมเท่ากับผลบวกของแรงเคลื่อนไฟฟ้าของแต่ละก้อน และความต้านทานภายในรวมเท่ากับผลบวกของความต้านทานภายในของแบตเตอรี่แต่ละก้อน
  ในการต่อแบตเตอรี่แบบอนุกรม ถ้าต่อขั้วชนิดเดียวกันเข้าด้วยกัน จะทำให้แรงเคลื่อนไฟฟ้ารวมลดลง ดังนั้นในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องใช้แบตเตอรี่หลายก้อนต่อแบบอนุกรม ต้องระวังการต่อขั้วผิด ควรสังเกตเครื่องหมาย +  และ -  บนก้อนแบตเตอรี่แต่ละก้อนและช่องใส่แบตเตอรี่ในเครื่องใช้ไฟฟ้า

การต่อแบตเตอรี่แบบขนาน
การต่อแบตเตอรี่แบบขนานเป็นการนำขั้วชนิดเดียวกันของแบตเตอรี่แต่ละก้อนมาต่อกัน ซึ่งสามารถวิเคราะห์หาแรงเคลื่อนไฟฟ้ารวมได้ดังนี้


 
รูป 16.36 การต่อแบตเตอรี่แบบขนาน


   ดังนั้น  ถ้านำแบตเตอรี่หลายก้อนที่แต่ละก้อนมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเท่ากันและความต้านทานภายในเท่ากัน มาต่อแบบขนาน แรงเคลื่อนไฟฟ้ารวมเท่ากบแรงเคลื่อนไฟฟ้าของแบตเตอรี่ก้อนเดียวและความต้านทานภายในรวมเท่ากับความต้านทานภายในของแบตเตอรี่ก้อนเดียวหารด้วยจำนวนแบตเตอรี่
  ด้วยเหตุนี้การต่อแบตเตอรี่เพื่อใช้งาน จึงมักต่อแบบอนุกรม เพื่อให้ได้แรงเคลื่อนไฟฟ้ารวมเพิ่มตามที่ต้องการ ส่วนการต่อแบบขนาน จะใช้เฉพาะกรณีที่ต้องการใช้พลังงานไฟฟ้านาน โดยแรงเคลื่อนไฟฟ้ายังคงเท่าเดิม

  - เซลล์สุริยะเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์โดยตรง เซลล์สุริยะแต่ละเซลล์มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 0.5 โวลต์ ถ้าต้องการนำไปเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าของมอเตอร์ขนาด 6 โวลต์ จะต้องใช้เซลล์ทั้งหมดกี่เซลล์ และต่อกันอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 513731เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2012 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2012 08:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท