ระบบเตือนภัย


แบบไร้สายอัจฉริยะ
เตือนน้ำท่วม ไฟใหม้ทาง sms รวดเร็ว ทันใจ โครงงานคอมพิวเตอร์ชนะเลิศระดับประเทศจาก สสวท. โดย สินีนาฎ ทาบึงกาฬ ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบสื่อสารไร้สายได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรา เพราะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในด้านอำนวยความสะดวกในด้านการสื่อสารข้อมูล ระบบไร้สายทำให้เรามีอิสระในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ในขณะที่ใช้งาน หรือทำให้งานต่างๆสะดวกขึ้นกว่าเดิมมาก เช่น โทรศัพท์มือถือ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาย เป็นต้น “ระบบเตือนภัยไร้สายอัจฉริยะ” โครงงานคอมพิวเตอร์ฝีมือของนายธนัท ตรีรัตนกุลวงศ์ (นัด)และนายปิยเมษฐ์ วสุนทพิชัยกุล (บึก) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) โดยมี ดร. ยอดเยี่ยม ทิพย์สุวรรณ์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นที่ปรึกษา เพิ่งคว้ารางวัลชนะเลิศจากการประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ระดับประเทศของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มาหมาด ๆ โครงงานนี้เป็นการรวม ระบบไร้สาย, ระบบ Sensor, ระบบสื่อสารแบบ Ad hoc และระบบการแจ้งเตือนด้วย SMS เข้าด้วยกัน และทำงานร่วมกันเรียกว่า “ระบบเตือนภัยไร้สายอัจฉริยะ” และนำมาประยุกต์ให้เข้ากับ Application ด้านการเฝ้าระวัง หรือ ด้านการเตือนภัยธรรมชาติ เช่น การดูแลติดตามพื้นที่บริเวณหนึ่งๆ หรือ การเฝ้าระวังภัยน้ำท่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาด้านการสิ้นเปลืองพลังงานซึ่งเป็นข้อจำกัดของระบบไร้สาย ด้วยระบบการสื่อสารแบบ Ad hoc เพื่อคิดขั้นตอนวิธีการ (Algorithm) ที่ใช้ในการสร้างเส้นทางการส่งข้อมูล (Routing) ของระบบ Ad hoc เพื่อสร้างอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตรวจวัดข้อมูลอุณหภูมิ และระดับน้ำ และส่งข้อมูลด้วยระบบไร้สาย และสร้างระบบเตือนภัยไร้สาย ที่สามารถแจ้งเตือนด้วยการส่งข้อความ SMS เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาโครงงาน ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ บอร์ดวงจรอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โทรศัพท์มือถือ ส่วนขั้นตอนการดำเนินงาน เริ่มจาก กำหนดฟังก์ชันการทำงานและเงื่อนไขที่ต้องการของระบบออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ออกแบบและสร้างแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) และประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆลงไป เขียน Flow Chart การทำงานของระบบ ตั้งแต่ระดับระบบโดยรวม จนไปถึงระดับโปรแกรมบนตัว Microcontroller เขียนโปรแกรมการทำงานลงไปใน Microcontroller ทดสอบการทำงานของระบบ เขียนโปรแกรมส่วนแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ และปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น นัด เล่าว่า “เนื่องจากอุปกรณ์เตือนภัยเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยธรรมชาติ อุปกรณ์เตือนภัยชิ้นนี้สามารถช่วยให้รับรู้ถึงภัยที่กำลังจะเกิดขึ้นได้รวดเร็ว ทำให้แก้ปัญหาได้ทันเวลาและลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้มากจากระบบเตือนภัยปกติ ที่ต้องต่อสายไปยังเซนเซอร์แต่ละตัว ยิ่งเซนเซอร์มีมากก็ต้องใช้สายมาก เกิดความยุ่งยากในการติดตั้งและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่เมื่อใช้ระบบไร้สาย ก็สามารถทำได้ง่าย ใช้ต้นทุนต่ำ เพียงแค่นำตัวบอร์ดเซนเซอร์ไปวางในจุดที่ต้องการ และมีระยะในการสื่อสารได้ไกล เนื่องจากเซนเซอร์แต่ละตัวสามารถถ่ายทอดข้อมูลไปยังเซนเซอร์ใกล้เคียงได้ และตัว Module นี้ก็ได้ออกแบบมาให้ประหยัดพลังงาน ใช้แบตเตอรี่ขนาด AA 2 ก้อนหรือแผงโซล่าเซลล์ แรงดัน 2-3 โวลต์ ก็สามารถทำงานได้” การทำงานของระบบเตือนภัย ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนเก็บข้อมูล ซึ่งก็คือ Wireless Sensor ทำหน้าที่วัดค่าอุณหภูมิและตรวจวัดน้ำ และส่งข้อมูลไปให้ส่วนรวบรวมข้อมูล และส่วนรวบรวมข้อมูล ทำหน้าที่รับข้อมูลจาก Wireless Sensor ทุก ๆ ตัว หลักการทำงานคือ ส่วนเก็บข้อมูลจะรับข้อมูลของ Wireless Sensor ที่ส่งต่อๆกันมาตลอดเวลา และแสดงผลข้อมูลของ Wireless Sensor แต่ละตัว ถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ระดับน้ำสูง หรือค่าตรวจวัดอุณหภูมิสูงเกินกว่ากำหนด ตัวรับจะส่งเสียงเตือนและส่งข้อความ SMS ไปยังโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้ทันที การทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยส่วนสำคัญๆ ดังนี้ Microcontroller ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆของวงจร ทำงานตามโปรแกรมที่ผู้ใช้ได้เขียนโปรแกรมลงไป วงจรนี้ใช้ Microcontroller MCS-51 รุ่น AT89S52 Wireless Transceiver ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลแบบไร้สาย ที่มา www.eduzones.com
หมายเลขบันทึก: 51369เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2006 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นความคิดที่สร้างสรรค์..คนไทยก้อเก่งเหมือนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท