มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

นาที่แห่งการตรัสรู้


 

โครงการธรรมศึกษาวิจัย

นาทีแห่งการตรัสรู้

: ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก

อรรถกถา ฎีกาตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์คัมภีร์

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา

ตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช  ๒๕๕๐พิมพ์ครั้งที่ ๑  ๕๐๐ เล่ม

เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

บทที่ ๑

นาทีแห่งการตรัสรู้

ทรงตริตรึกก่อนตรัสรู้

ภิกษุ. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้นั่นเทียวได้เกิดความปริวิตกขึ้นว่าอะไรหนอเป็นรสอร่อยในโลก?

อะไรเป็นโทษในโลก? อะไรเป็นอุบายเครื่องออกไปจากโลก?

ภิกษุ. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าสุขโสมนัสที่ปรารภโลกเกิดขึ้นนี่เองเป็นรสอร่อยในโลก. โลกที่ไม่เที่ยงทรมานมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดานี่เองเป็นโทษในโลก. การนำออกเสียสิ้นเชิงซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลินในโลกนี่เองเป็นอุบายเครื่องออกไปจากโลกได้.

ภิกษุ. ! ตลอดเวลาเพียงไรที่เรายังไม่รู้จักรสอร่อยของโลกว่าเป็นรสอร่อย, ยังไม่รู้จักโทษของโลกว่าเป็นโทษ, ยังไม่รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออกตามที่เป็นจริง, ตลอดเวลาเพียงนั้นเรายังไม่รู้สึกว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวดามารพรหมหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.

ภิกษุ. ! เมื่อใดแลเราได้รู้จักรสอร่อยของโลกว่าเป็นรสอร่อยรู้จักโทษของโลกว่าเป็นโทษรู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออกตามที่เป็นจริงด้วยอาการอย่างนี้แล้วเมื่อนั้นเรารู้สึกว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวดามารพรหมหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.

๑.  ปฐมสูตรสัมโพธิวรรคตติยปัณณาสก์ติก. อํ. ๒๐/๓๓๒/๕๔๓.

ก็แหละญาณทัศนะเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่าความหลุดพ้น

ของเราไม่กลับกำเริบชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายบัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่มิได้มีอีกดังนี้

ทรงพิจารณาอุบายเพื่อการตรัสรู้

ภิกษุ. ! เราได้เที่ยวไปแล้วเพื่อแสวงหารสอร่อย (คือเครื่องล่อใจสัตว์) ของโลก. เราได้พบรสอร่อยนั้นแล้ว. รสอร่อยในโลกมีประมาณเท่าใด,เราเห็นมันอย่างดีด้วยปัญญาของเราเท่านั้น.

ภิกษุ. ! เราได้เที่ยวไปแล้วเพื่อแสวงหา (ให้พบ) โทษ (คือความร้ายกาจ) ของโลก.เราได้พบโทษของโลกนั้นแล้ว. โทษในโลกมีเท่าใด, เราเห็นมันอย่างดีด้วยปัญญาของเราเท่านั้น.

ภิกษุ. ! เราได้เที่ยวไปแล้วเพื่อแสวงหาอุบายเครื่องออกจากโลกของโลก. เราได้พบอุบายเครื่องออกนั้นแล้ว. อุบายเครื่องออกจากโลกมีอยู่เท่าใด

เราเห็นมันอย่างดีด้วยปัญญาของเราเท่านั้น.

ภิกษุ. ! ตลอดเวลาเพียงไรที่เรายังไม่รู้เท่ารสอร่อยของโลก

ว่าเป็นรสอร่อย (เครื่องล่อใจสัตว์), ไม่รู้จักโทษของโลกโดยความเป็นโทษ, ไม่รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออกตามที่เป็นจริง, ตลอดเวลาเพียงนั้นแหละเรายังไม่เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวดามารพรหมในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.

๑.  บาลีทุติยสูตรสัมโพธิวรรค.ติก. อํ.. ๒๐/๓๓๓/๕๕๔, บาลีนี้และบาลีต่อไปที่ทรงเล่านี่เองแสดงชัดเจนว่าทำไมจึงออกผนวช. คือทรงเห็นว่าถ้าไม่ออกก็ไม่มีโอกาสแสวงสิ่งที่ทรงประสงค์จะรู้.

ภิกษุ ! เมื่อใดแลเราได้รู้ยิ่งซึ่งรสอร่อยของโลกว่าเป็นรสอร่อย,รู้โทษของโลกโดยความเป็นโทษ, รู้อุบายเครื่องออกของโลกว่าเป็นอุบายเครื่องออกตามที่เป็นจริง, เมื่อนั้นแหละเรารู้สึกว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวดามารพรหมหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ก็แหละญาณทัศนะเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแก่เราว่าความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ,ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย, บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีก,ดังนี้.

ทรงพิจารณาก่อนตรัสรู้

ภิกษุ. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ได้เกิดความรู้สึกอันนี้ขึ้นว่าเราพึงทำวิตกทั้งหลายให้เป็นสองส่วนเถิด.

ภิกษุ. ! เราได้ทำกามวิตกพยาปาทวิตกวิหิงสาวิตกสามอย่างนี้ให้เป็นส่วนหนึ่ง, ได้ทำเนกขัมมวิตกอัพยาปาทวิตกอวิหิงสาวิตกสามอย่างนี้ให้เป็นอีกส่วนหนึ่งแล้ว.

ภิกษุ. ! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาทมีเพียรมีตนส่งไปอยู่อย่างนี้

กามวิตกเกิดขึ้นเราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่ากามวิตกเกิดแก่เราแล้ว, กามวิตกนั้นย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้างเบียดเบียนผู้อื่นบ้างเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย(คือทั้งตนและผู้อื่น) บ้าง, เป็นไปเพื่อความดับแห่งปัญญาเป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้นไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน.

ภิกษุ. ! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่ฯลฯ๒อย่างนี้กามวิตกย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุ. ! เราได้ละและบรรเทากามวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้วกระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว.

. เทวธาวิตักกสูตรสีหนาทวรรคมู.. ๑๒/๒๓๒/๒๕๒, ตรัสที่เชตวัน.

. เห็นอย่างนี้คือเห็นอย่างว่ามาแล้วเช่นมีการเบียดเบียนตนเป็นต้น.

ภิกษุ. ! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาทมีเพียรมีตนส่งไปอยู่อย่างนี้

พยาปาทวิตกเกิดขึ้นเราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่าพยาปาทวิตกเกิดแก่เราแล้ว,

ก็พยาปาทวิตกนั้นย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้างเบียดเบียนผู้อื่นบ้างเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง, เป็นไปเพื่อความดับแห่งปัญญาเป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้นไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. ภิกษุ. ! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่ฯลฯอย่างนี้พยาปาทวิตกย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุ. ! เราได้ละและบรรเทาพยาปาทวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้วกระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว.

ภิกษุ. ! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาทมีเพียรมีตนส่งไปอยู่อย่างนี้

วิหิงสาวิตกเกิดขึ้นเราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่าวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้ว,

ก็วิหิงสาวิตกนั้นย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้างเบียดเบียนผู้อื่นบ้างเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง, เป็นไปเพื่อความดับแห่งปัญญาเป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้นไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. ภิกษุ. ! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่ฯลฯอย่างนี้วิหิงสาวิตกย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุ. ! เราได้ละและบรรเทาวิหิงสาวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้วกระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว.

ภิกษุ. ! ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดมากจิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้นถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงกามวิตกมากก็เป็นอันว่าละเนกขัมมวิตกเสียกระทำแล้วอย่างมากซึ่งกามวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในกาม. ถ้าภิกษุตรึกตรองตามถึงพยาปทวิตกมากก็เป็นอันว่าละอัพยาปาทวิตกเสียกระทำแล้วอย่างมากซึ่งพยาปาทวิตก, จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการพยาบาท. ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงวิหิงสาวิตกมากก็เป็นอันว่าละอวิหิงสาวิตกเสียกระทำแล้วอย่างมากซึ่งวิหิงสาวิตก,

จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการทำสัตว์ให้ลำบาก.

ภิกษุ. ! เปรียบเหมือนในคราวฤดูสารทคือเดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝนคนเลี้ยงโคต้องเลี้ยงฝูงโคในที่แคบเพราะเต็มไปด้วยข้าวกล้าเขาต้องตีต้อนห้ามกันฝูงโคจากข้าวกล้านั้นด้วยท่อนไม้เพราะเขาเห็นโทษคือการถูกประหารการถูกจับกุมการถูกปรับไหมการติเตียนเพราะมีข้าวกล้านั้นเป็นเหตุข้อนี้ฉันใด,

ภิกษุ. ! ถึงเราก็ฉันนั้นได้เห็นแล้วซึ่งโทษความเลวทรามเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย, เห็นอานิสงส์ในการออกจากกามความเป็นฝักฝ่ายของความผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย.

ภิกษุ. ! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาทมีเพียรมีตนส่งไปอยู่อย่างนี้

เนกขัมมวิตกย่อมเกิดขึ้น.อัพยาปาทวิตกย่อมเกิดขึ้น.... อวิหิงสาวิตกย่อมเกิดขึ้น. เราย่อมรู้แจ้งชัดว่าอวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้ว, ก็อวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเบียดเบียนผู้อื่นหรือเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย,

แต่เป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญแห่งปัญญาไม่เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้นเป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. แม้เราจะตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดคืนก็มองไม่เห็นภัยที่จะเกิดขึ้นเพราะอวิหิงสาวิตกนั้นเป็นเหตุ. แม้เราจะตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดวัน, หรือตลอดทั้งกลางคืนกลางวันก็มองไม่เห็นภัยอันจะเกิดขึ้นเพราะอวิหิงสาวิตกนั้นเป็นเหตุ.

ภิกษุ. ! เพราะเราคิดเห็นว่าเมื่อเราตรึกตามตรองตามนานเกินไปนัก

กายจะเมื่อยล้า, เมื่อกายเมื่อยล้าจิตก็อ่อนเพลีย, เมื่อจิตอ่อนเพลีย

จิตก็ห่างจากสมาธิ, เราจึงได้ดำรงจิตให้หยุดอยู่ในภายในกระทำให้มีอารมณ์

อันเดียวตั้งมั่นไว้ด้วยหวังอยู่ว่าจิตของเราอย่าฟุ้งขึ้นเลยดังนี้.

. ที่ละด้วยจุดนี้หมายความว่าตรัสทีละวิตกแต่คำตรัสเหมือนกันหมดผิดแต่ชื่อเท่านั้น, ทุกวิตกมีเนื้อความอย่างเดียวกัน.

ภิกษุ. ! ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดมากจิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้น. ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงเนกขัมมวิตกมากก็เป็นอันว่าละกามวิตกเสียกระทำแล้วอย่างมากซึ่งเนกขัมมวิตก ; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการออกจากกาม. ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอัพยาปาทวิตกมากก็เป็นอันว่าละพยาปาทวิตกเสียกระทำแล้วอย่างมากในอัพยาปาทวิตกจิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการไม่พยาบาท. ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกมากก็เป็นอันว่าละวิหิงสาวิตกเสียกระทำแล้วอย่างมากในอวิหิงสาวิตก. จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการไม่ยังสัตว์ให้ลำบาก.

ภิกษุ. ! เปรียบเหมือนในเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนข้าวกล้าทั้งหมดเขาขนนำไปในบ้านเสร็จแล้ว๑คนเลี้ยงโคพึงเลี้ยงโคได้. เมื่อเขาไปพักใต้ร่มไม้หรือไปกลางทุ่งแจ้งพึงทำแต่ความกำหนดว่านั่นฝูงโคดังนี้ (ก็พอแล้ว) ฉันใด,

ภิกษุ. ! ถึงภิกษุก็เพียงแต่ทำความระลึกว่านั่นธรรมทั้งหลายดังนี้ (ก็พอแล้ว)ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุ. ! ความเพียรเราได้ปรารภแล้วไม่ย่อหย่อนสติเราได้ดำรง

ไว้แล้วไม่ฟั่นเฟือนกายสงบระงับไม่กระสับกระส่ายจิตตั้งมั่นมีอารมณ์

อันเดียวแล้ว.

ภิกษุ. ! เรานั้นเพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายได้เข้าถึงปฐมฌานมีวิตกวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่.(คำต่อไปนี้เหมือนในตอนที่กล่าวด้วยการตรัสรู้ข้างหน้า ).

. คำแปลตรงนี้ข้าพเจ้าถือเอาตามที่ได้สอบสวนสันนิษฐานแล้วคือฉบับบาลีเป็นสพฺพปสฺเสสุ คามนฺตสมฺภเวสุมีผู้แปลกันต่างตามแต่จะให้คล้ายรูปศัพท์เพียงใด. ข้าพเจ้าเห็นว่าต้องแก้บาลีนั้นเป็นสพฺพสสฺเสสุจึงจะได้ความเพราะอรรถกถาแก้คำหลังไว้ดังนี้คามนฺตสมฺภเวสติ

คามนฺตอาหเฎสุปปญจ. /๑๑๑. ขอจงใคร่ครวญด้วย. บาลีคือพระไตรปิฎกเล่ม๑๒หน้า๒๓๖

บรรทัดนับลง.

ทรงกำหนดสมาธินิมิตก่อนตรัสรู้๑

อนุรุทธะ. ! นิมิตนั้นแหละเธอพึงแทงตลอดเถิด. แม้เราเมื่อครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ยังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ก็จำแสงสว่างและการเห็นรูปทั้งหลายได้. ต่อมาไม่นานแสงสว่างและการเห็นรูปของเรานั้นได้หายไป.เกิดความสงสัยแก่เราว่าอะไระเป็นเหตุอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้นหายไป?

อนุรุทธะ. ! เมื่อคิดอยู่ก็เกิดความรู้ (ดังต่อไปนี้) ว่า : -

วิจิกิจฉา (ความลังเล) แลเกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว,

ก็เพราะมีวิจิกิจฉาเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉาจะไม่บังเกิดขึ้นแก่เราได้อีกฯลฯ.(มีคำระหว่างนี้เหมือนท่อนต้นไม่มีผิดทุกตอนตั้งแต่คำว่าอนุรุทธะ ! มา )อมนสิการ (ความไม่ทำไว้ในใจคือไม่ใส่ใจ) แลเกิดขึ้นแก่เราแล้ว,

สมาธิของเราเคลื่อนแล้วก็เพราะมีอมนสิการเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป.เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉาและอมนสิการจะไม่เกิดขึ้นแก่เราได้อีก.

ถีนมิทธะ (ความเคลิ้มและง่วงงุน) แลเกิดขึ้นแก่เราแล้ว,

สมาธิของเราเคลื่อนแล้วเพราะมีถิ่นมิทธะเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉาและอมนสิการ, และถีนมิทธะจะไม่บังเกิดขึ้นแก่เราได้อีก.

๑.  บาลีอุปักกิเลสสูตรสุญญตวรรคอุปริ. . ๑๔/๓๐๒/๔๕๒.

ตรัสแก่พระเถระรูปคืออนุรุทธะนันทิยะกิมพิละ, ทรงอาลปนะว่าอนุรุทธทั้งหลาย ! พระบาลีตอนนี้ผู้ศึกษาควรใคร่ครวญเป็นพิเศษ,เฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาสมาธิภาวนา.

ฉัมภิตัตตะ (ความสะดุ้งหวาดเสียว) แลบังเกิดขึ้นแก่เราแล้ว,

สมาธิของเราเคลื่อนแล้วเพราะมีฉัมภิตัตตะเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เหมือนบุรุษเดินทางไกลเกิดผู้มุ่งหมายเอาชีวิตขึ้นทั้งสองข้างทางความหวาดเสียวย่อมเกิดแก่เขาเพราะข้อนั้นเป็นเหตุฉะนั้น. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, และฉัมภิตัตตะจะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

อุพพิละ (ความตื่นเต้น) แลเกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเรา

เคลื่อนแล้วเพราะมีอุพพิละนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เหมือนบุรุษแสวงหาอยู่ซึ่งขุมทรัพย์ขุมเดียวเขาพบพร้อมกันคราวเดียวตั้งห้าขุมความตื่นเต้นเกิดขึ้นเพราะการพบนั้นเป็นเหตุฉะนั้นเราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะและอุพพิละจะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

ทุฏฐุลละ (ความคะนองหยาบ) แลเกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเรา

เคลื่อนแล้วเพราะมีทุฏฐุลละนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ,ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, และทุฏฐุลละจะไม่เกิดแก่เราได้อีก.อัจจารัทธวิริยะ (ความเพียรที่ปรารภจัดจนเกินไป) แลเกิดขึ้น

แก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้วเพราะมีอัจจารัทธวิริยะนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เปรียบเหมือนบุรุษจับนกกระจาบด้วยมือทั้งสองหนักเกินไปนกนั้นย่อมตายในมือฉะนั้น. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฏฐุลละ,และอัจจารัทธวิริยะจะไม่เกิดแก่เราได้อีก  อติลีนวิริยะ (ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป) แลเกิดขึ้นแก่เราแล้ว,สมาธิของเราเคลื่อนแล้วเพราะมีอติลีนวิริยะนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป.เปรียบเหมือนบุรุษจับนกกระจาบหลวมมือเกินไปนกหลุดขึ้นจากมือบินหนีเสียได้ฉะนั้น. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฏฐุลละ, อัจจารัทธวิริยะและอติลีนวิริยะจะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

อภิชัปปา (ความกระสันอยาก) แลเกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้วเพราะมีอภิชัปปาเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ,ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฏฐุลละ, อัจจารัทธวิริยะ, อติลีนวิริยะและอภิชัปปาจะไม่เกิดขึ้นแก่เราได้อีก.

นานัตตสัญญา (ความใส่ใจไปในสิ่งต่าง) แลเกิดขึ้นแก่เราแล้ว,

สมาธิของเราเคลื่อนแล้วเพราะมีนานัตตสัญญานั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฏฐุลละ,อัจจารัทธวิริยะ, อติลีนวิริยะ,อภิชัปปา, และนานัตตสัญญาจะไม่เกิดแก่เราได้อีก  รูปานํอตินิชฌายิตัตตะ (ความเพ่อต่อรูปทั้งหลายจนเกินไป) แลเกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้วเพราะมีอตินิชฌายิตัตตะเป็นต้นเหตุ.

เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฏฐุลละ,อัจจารัทธวิริยะ, อติลีนวิริยะ, อภิชัปปา, นานัตตสัญญา, และรูปานํอตินิชฌายิตัตตะจะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

ดูก่อนอนุรุทธะ. ! เรารู้แจ้งชัดวิจิกิจฉา (เป็นต้นเหล่านั้น) ว่าเป็นอุปกิเลสแห่งจิตแล้วจึงละแล้วซึ่งวิจิกิจฉา (เป็นต้นเหล่านั้น) อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสีย.

ดูก่อนอนุรุทธะ. ! เรานั้นเมื่อไม่ประมาทมีเพียรมีตนส่งไปอยู่ย่อมจำแสงสว่างได้แต่ไม่เห็นรูป (หรือ) ย่อมเห็นรูปแต่จำแสงสว่างไม่ได้เป็นดังนี้ทั้งคืนบ้างทั้งวันบ้างทั้งคืนและทั้งวันบ้าง.ความสงสัยเกิดแก่เราว่าอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่เราจำแสงสว่างได้แต่ไม่เห็นรูป (หรือ) เห็นรูปแต่จำแสงสว่างไม่ได้ทั้งคืนบ้างทั้งวันบ้างทั้งคืนและทั้งวันบ้าง?

ดูก่อนอนุรุทธะ. ! ความรู้ได้เกิดแก่เราว่าสมัยใดเราไม่ทำรูปนิมิตไว้ในใจแต่ทำโอภาสนิมิตไว้ในใจสมัยนั้นเราย่อมจำแสงสว่างได้แต่ไม่เห็นรูป.สมัยใดเราไม่ทำโอภาสนิมิตไว้ในใจแต่ทำรูปนิมิตไว้ในใจ, สมัยนั้นเราย่อมเห็นรูปแต่จำแสงสว่างไม่ได้ตลอดทั้งคืนบ้างตลอดทั้งวันบ้างตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะ. ! เราเป็นผู้ไม่ประมาทมีเพียรมีตนส่งไปอยู่ย่อมจำแสงสว่างได้นิดเดียวเห็นรูปก็นิดเดียวบ้าง, จำแสงสว่างมากไม่มีประมาณเห็นรูปก็มากไม่มีประมาณบ้างความสงสัยเกิดแก่เราว่าอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่เราจำแสงสว่างได้นิดเดียงเห็นรูปก็นิดเดียวบ้าง, จำแสงสว่างได้มากไม่มีประมาณเห็นรูปก็มากไม่มีประมาณตลอดทั้งคืนบ้างตลอดทั้งวันบ้างตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง?

ดูก่อนอนุรุทธะ. ! ความรู้ได้เกิดแก่เราว่าสมัยใดสมาธิของเราน้อย

สมัยนั้นจักขุก็มีน้อย, ด้วยจักขุอันน้อยเราจึงจำแสงสว่างได้น้อยเห็นรูปก็น้อย.

สมัยใดสมาธิของเรามากไม่มีประมาณสมัยนั้นจักขุของเราก็มากไม่มีประมาณ,ด้วยจักขุอันมากไม่มีประมาณนั้นเราจึงจำแสงสว่างได้มากไม่มีประมาณเห็นรูปได้มากไม่มีประมาณ, ตลอดคืนบ้างตลอดวันบ้างตลอดทั้งคืนทั้งวันบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะ. ! ในกาลที่เรารู้แจ้งว่า (ธรรมมี) วิจิกิจฉา(เป็นต้นเหล่านั้น) เป็นอุปกิเลสแห่งจิตแล้วและละมันเสียได้แล้วกาลนั้นย่อมเกิดความรู้สึกขึ้นแก่เราว่าอุปกิเลสแห่งจิตของเราเหล่าใดอุปกิเลสนั้นๆเราละได้แล้ว, เดี๋ยวนี้เราเจริญแล้วซึ่งสมาธิโดยวิธีสามอย่าง.

ดูก่อนอนุรุทธะ. ! เราเจริญแล้วซึ่งสมาธิอันมีวิตกวิจาร, ซึ่งสมาธิอันไม่มีวิตกแต่มีวิจารพอประมาณ, ซึ่งสมาธิอันไม่มีวิตกไม่มีวิจาร, ซึ่งสมาธิอันมีปิติ, ซึ่งสมาธิอันหาปีติมิได้, ซึ่งสมาธิอันเป็นไปกับด้วยความยินดี,และสมาธิอันเป็นไปกับด้วยอุเบกขา. ดูก่อนอนุรุทธะ. ! กาลใดสมาธิอันมีวิตกมีวิจาร (เป็นต้นเหล่านั้นทั้งอย่าง) เป็นธรรมชาติอันเราเจริญแล้ว, กาลนั้นญาณเป็นเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่าวิมุติของเราไม่กลับกำเริบ,

ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย, บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีกดังนี้.

ทรงกั้นจิตจากกามคุณในอดีตก่อนตรัสรู้๒

ภิกษุ. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์

อยู่มีความรู้สึกเกิดขึ้นว่ากามคุณห้าที่เป็นอดีตที่เราเคยสัมผัสมาแล้วแต่ก่อน

. สมาธิเจ็ดอย่างในที่นี้คงเป็นของแปลกและยากที่จะเข้าใจสำหรับนักศึกษาทั่วไปเพราะแม้แต่ในอรรถกถาของพระบาลีนี้ก็แก้ไว้ไม่ละเอียดท่านแก้ไว้ดังนี้ :- (สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจารท่านไม่แก้เพราะได้แก่ปฐมฌานนั้นเองจะโดยจตุกกนัยหรือปัญจกนัยก็ตาม). สมาธิที่ไม่มีวิตกแต่มีวิจารพอประมาณได้แก่ทุติยฌานสมาธิในปัญจกนัย. สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารได้แก่ฌานทั้งสามเบื้องปลายทั้งในจตุกกนัยและปัญจกนัย. สมาธิมีปีติได้แก่ทุกติกฌานสมาธิ. สมาธิไม่มีปีติได้แก่ทุกทุกฌานสมาธิ. สมาธิเป็นไปกับด้วยความยินดีได้แก่ติกจตุกกฌานสมาธิ. สมาธิเป็นไปกับด้วยอุเบกขาได้แก่จตุตถฌานแห่งจตุกกนัยหรือปัญจมฌานแห่งปัญจกนัย. --ปปัญจ. . . . ๖๑๔.

ผู้ปรารถนาทราบรายละเอียดพึงศึกษาจากตำราหรือผู้รู้สืบไป. สมาธิเหล่านี้ตามอรรถกถากล่าวว่าทรงเจริญในคืนวันตรัสรู้ที่มหาโพธิ.

. บาลีจตุตถสูตรโลกกามคุณวรรคสฬา, สํ. ๑๘/๑๒๑/๑๗๓.

ได้ดับไปแล้วเพราะความแปรปรวนก็จริงแต่โดยมากจิตของเราเมื่อจะแล่นก็แล่นไปสู่กามคุณเป็นอดีตนั้น, น้อยนักที่จะแล่นไปสู่กามคุณในปัจจุบันหรืออนาคตดังนี้.

ภิกษุ. ! ความตกลงใจได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าความไม่ประมาทและสติเป็นสิ่งซึ่งเราผู้หวังประโยชน์แก่ตนเองพึงกระทำให้เป็นเครื่องป้องกันจิตในเพราะกามคุณห้าอันเป็นอดีตที่เราเคยสัมผัสมาและดับไปแล้วเพราะความแปรปรวนนั้น.

ภิกษุ. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้, แม้จิตของพวกเธอทั้งหลายเมื่อจะแล่นก็คงแล่นไปในกามคุณห้าอันเป็นอดีตที่พวกเธอเคยสัมผัสมาและดับไปแล้วเพราะความแปรปรวน (เหมือนกัน)โดยมาก, น้อยนักที่จะแล่นไปสู่กามคุณในปัจจุบันหรืออนาคต. ภิกษุ. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ความไม่ประมาทและสติจึงเป็นสิ่งที่พวกเธอผู้หวังประโยชน์แก่ตัวเองพึงกระทำให้เป็นเครื่องป้องกันจิตในเพราะเหตุกามคุณห้าอันเป็นอดีตที่พวกเธอเคยสัมผัสมาและดับไปแล้วเพราะความแปรปรวนนั้น.

คำสำคัญ (Tags): #ตรัสรู้
หมายเลขบันทึก: 512390เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 

ทรงค้นวิธีแห่งอิทธิบาทก่อนตรัสรู้

ภิกษุ. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่มีความสงสัยเกิดขึ้นว่าอะไรหนอเป็นหนทางเป็นข้อปฏิบัติเพื่อความเจริญแห่งอิทธิบาท?

ภิกษุ. ! ความรู้ข้อนี้เกิดขึ้นแก่เราว่าภิกษุ๒นั้นย่อมเจริญ

. ปฐมสูตรอโยคุฬวรรคมหาวาร. สํ.๑๙/๓๖๒/๑๒๐๕.

. นักบวชชนิดภิกษุนั้นมีอยู่ก่อนพระองค์อุบัติ.

อิทธิบาทอันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่งอันมีสมาธิสัมประยุตต์ด้วยฉันทะเป็นประธานว่าด้วยอาการอย่างนี้ฉันทะของเราย่อมมีความหดเหี่ยวจักไม่มีความหยุดนิ่ง, ความหดอยู่ในภายในและความฟุ้งไปในภายนอกก็จักไม่มี, และเราเป็นผู้มีสัญญาในกาลก่อนและเบื้องหน้าอยู่ด้วยก่อนนี้เป็นเช่นใดต่อไปก็เช่นนั้น, ต่อไปเป็นเช่นใดก่อนนี้ก็เช่นนั้นเบื้องล่างเช่นใดเบื้องบนก็เช่นนั้น, เบื้องบนเช่นใดเบื้องล่างเช่นนั้น. กลางคืนเหมือนกลางวันกลางวันเหมือนกลางคืน: เธอย่อมอบรมจิตอันมีแสงสว่างด้วยทั้งจิตอันเปิดแล้วไม่มีอะไรพัวพันให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้(ข้อต่อไปอีกข้อก็เหมือนกันแปลกแต่ชื่อแห่งอิทธิบาทเป็นวิริยะ จิตตะวิมังสา, เท่านั้นพระองค์ทรงพบการเจริญอิทธิบาทด้วยวิธีคิดค้นอย่างนี้).

  ทรงเห็นคุณโทษเบญจขันธ์ก่อนตรัสรู้๑

ภิกษุท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ความสงสัยได้เกิดขึ้นแก่เราว่าอะไรหนอเป็นรสอร่อยของรูป,อะไรเป็นโทษของรูป, อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้นไปได้จากรูป? อะไรหนอเป็นรสอร่อยของเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ, อะไรเป็นโทษของเวทนาสัญญา...สังขาร...วิญญาณ, อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้นไปได้จากเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ?

ภิกษุ. ! ความรู้ข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่าสุขโสมนัสใดที่อาศัยรูปแล้วเกิดขึ้นสุขและโสมนัสนั้นแลเป็นรสอร่อยของรูป; รูปไม่เที่ยงเป็น

. บาลีปัญจมสูตรภารวรรคขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๔/๕๙.

ทุกข์มีการแปรปรวนเป็นธรรมดาด้วยอาการใดอาการนั้นเป็นโทษของรูป,การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจการละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปเสียได้นั้นเป็นอุบายเครื่องออกไปพ้นจากรูปได้.(ในเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณก็นัยเดียวกัน).

ภิกษุ. ! ตลอดเวลาเพียงไรที่เรายังไม่รู้จักรสอร่อยของอุปาทานขันธ์ทั้งห้าว่าเป็นรสอร่อยไม่รู้จักโทษว่าเป็นโทษไม่รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออกตามที่เป็นจริง, ตลอดเวลาเพียงนั้นเรายังไม่รู้สึกว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกนี้พร้อมทั้งเทวดามารพรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.

ภิกษุ. ! เมื่อใดแลเรารู้จักรสอร่อยของอุปาทานขันธ์ทั้งห้าว่าเป็น

รสอร่อยรู้จักโทษว่าเป็นโทษรู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออกตามเป็นจริง, เมื่อนั้นเราก็ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวดามารพรหมหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.ก็แหละญาณทัศนะเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่าความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ, ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย, บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่มิได้มีอีก, ดังนี้.

ภิกษุ. ! เราได้เที่ยวแสวงหาแล้วซึ่งรสอร่อยของรูป, เราได้พบ

รสอร่อยของรูปนั้นแล้ว, รสอร่อยของรูปมีประมาณเท่าใดเราเห็นมันแล้วเป็นอย่างดีด้วยปัญญาของเรามีประมาณเท่านั้น.

๑.  บาลีฉัฏฐสูตรภารวรรคขนฺธ. สํ.๑๗/๓๖/๖๑.

ภิกษุ. ! เราได้เที่ยวแสวงหาให้พบโทษของรูป, เราได้พบโทษของรูปนั้นแล้ว. โทษของรูปมีประมาณเท่าใดเราเห็นมันแล้วเป็นอย่างดีด้วยปัญญาของเราเท่านั้น.

ภิกษุ. ! เราได้เที่ยวแสวงหาแล้วซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกจากรูป,เราได้พบอุบายเครื่องออกจากรูปนั้นแล้ว. อุบายเครื่องออกจากรูปมีประมาณเท่าใดเราเห็นมันแล้วเป็นอย่างดีด้วยปัญญาของเราเท่านั้น.

(ในเวทนาและสัญญาสังขารวิญญาณก็มีนัยอย่างเดียวกัน. และตอนท้ายก็มีว่ายังไม่พบโทษของรูปเป็นต้นเพียงใดยังไม่ชื่อว่าได้ตรัสรู้เพียงนั้นต่อเมื่อทรงพบแล้วจึงชื่อว่าตรัสรู้และมีชาติสิ้นแล้วภพใหม่ไม่มีอีกต่อไปเหมือนกันทุกสิ่งที่พระองค์ทรงค้นซึ่งยังมีอีกอย่างคือเรื่องธาตุ,

เรื่องอายตนะ, เห็นว่าอาการเหมือนกันหมดต่างกันแต่เพียงชื่อจึงไม่นำมาใส่ไว้ในที่นี้ด้วย).

ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ก่อนตรัสรู้

ภิกษุ. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ได้เกิดความรู้สึกอันนี้ขึ้นว่าสัตว์โลกนี้หนอถึงทั่วแล้วซึ่งความยากเข็ญย่อมเกิดแก่ตายจุติและบังเกิดอีก, ก็เมื่อสัตว์โลกไม่รู้จักอุบายเครื่องออกไปพ้นจากทุกข์คือชรามรณะแล้วการออกจากทุกข์คือชรามรณะนี้จักปรากฏขึ้นได้อย่างไร”.

ภิกษุ. ! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเมื่ออะไรมีอยู่หนอชรามรณะจึงได้มี : ชรามรณะมีเพราะปัจจัยอะไรหนอ”.

๑.  ทสมสูตรพุทธวรรคอภิสมยสํยุตต์นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑/๒๖.

ภิกษุ. ! ได้เกิดความรู้สึกด้วยปัญญา, เพราะการคิดโดยแยบคาย,

แก่เราว่าเพราะชาตินี่เองมีอยู่ชรามรณะจึงได้มี : ชรามรณะมีเพราะชาติเป็นปัจจัย ;

- เพราะภพนี่เองมีอยู่ชาติจึงได้มี : ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย;

- เพราะอุปาทานนี่เองมีอยู่ภพจึงได้มี : ภพมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

- เพราะตัณหานี่เองมีอยู่อุปาทานจึงได้มี:อุปาทานมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ,

- เพราะเวทนานี่เองมีอยู่ตัณหาจึงได้มี : ตัณหามีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ,

- เพราะผัสสะนี่เองมีอยู่เวทนาจึงได้มี : เวทนามีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ,

- เพราะสฬายตนะนี่เองมีอยู่ผัสสะจึงได้มี:ผัสสะมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ,

- เพราะนามรูปนี่เองมีอยู่สฬายตนะจึงได้มี : สฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ,

- เพราะวิญญาณนี่เองมีอยู่นามรูปจึงได้มี : นามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ,

- เพราะสังขารนี่เองมีอยู่วิญญาณจึงได้มี:วิญญาณมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย ,

- เพราะอวิชชานี่เองมีอยู่สังขารจึงได้มี : สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย; ดังนี้ : เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร , เพราะสังขาร

เป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ, เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป, เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดสฬายตนะ. เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ,เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา, เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา.เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน, เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ,เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ, เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามารณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส. ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ. ! ดวงตาญาณปัญญาวิชชาแสงสว่างในสิ่งที่เรา

ไม่เคยฟังมาแต่ก่อนได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่าความเกิดขึ้นพร้อมแห่งทุกข์ !

ความเกิดขึ้นพร้อม ! ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ. ! ความฉงนได้มีแก่เราอีกว่าเมื่ออะไรไม่มีหนอชรามรณะ

จึงไม่มี : เพราะอะไรดับไปหนอชรามรณะจึงดับไป”.

ภิกษุ. ! เพราะการคิดโดยแยบคาย, ได้เกิดความรู้สึกด้วยปัญญา

แก่เราว่าเพราะชาตินี่เองไม่มีชรามรณะจึงไม่มี:ชรามรณะดับเพราะ

ชาติดับ,

- เพราะภพนี่เองไม่มีชาติจึงไม่มี : ชาติดับเพราะภพดับ,

- เพราะอุปาทานนี่เองไม่มีภพจึงไม่มี : ภพดับเพราะอุปาทานดับ,

- เพราะตัณหานี่เองไม่มีอุปาทานจึงไม่มี : อุปาทานดับเพราะตัณหาดับ

- เพราะเวทนานี่เองไม่มีตัณหาจึงไม่มี : ตัณหาดับเพราะเวทนาดับ,

- เพราะผัสสะนี่เองไม่มีเวทนาจึงไม่มี : เวทนาดับเพราะผัสสะดับ,

- เพราะสฬายตนะนี่เองไม่มีผัสสะจึงไม่มี : ผัสสะดับเพราะสฬายตนะดับ,

- เพราะนามรูปนี่เองไม่มีสฬายตนะจึงไม่มี : สฬายตนะดับเพราะ

นามรูปดับ,

- เพราะวิญญาณนี่เองไม่มีนามรูปจึงไม่มี : นามรูปดับเพราะวิญญาณดับ ,

- เพราะสังขารนี่เองไม่มีวิญญาณจึงไม่มี : วิญญาณดับเพราะสังขารดับ

- เพราะอวิชชานี่เองไม่มีสังขาร. จึงไม่มี : สังขารดับเพราะอวิชชาดับ; ดังนี้ :เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับ, เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ,

เพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ, เพราะนามรูปดับสฬายตนะจึงดับ,

เพราะสฬายตนะดับผัสสะจึงดับ, เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ, เพราะ

เวทนาดับตัณหาจึงดับ, เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ, เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ, เพราะภพดับชาติจึงดับ, เพราะชาติดับชรามรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสจึงดับ, ความดับไม่เหลือแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ. ! ดวงตาญาณปัญญาวิชชาแสงสว่างในสิ่งที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่าความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ! ความดับไม่เหลือ !ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ทรงเกิดญาณทัศนะเป็นขั้นๆก่อนตรัสรู้๑

ภิกษุ ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็น

โพธิสัตว์เราย่อมจำแสงสว่างได้แต่ไม่เห็นรูปทั้งหลาย

๑.  ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่ตำลบคยาสีสะ, บาลีจาลวรรคอฏ.อํ. ๒๓/๓๑๑/๑๖๑

ภิกษุ. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าถ้าเราจะจำแสงสว่างได้ด้วยเห็นรูปได้ด้วยข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นของเรา.

ภิกษุ. !โดยสมัยอื่นอีกเราเป็นผู้ไม่ประมาทมีเพียรมีตนส่งไปอยู่ก็จำแสงสว่างได้ด้วยเห็นรูป.ได้ด้วย, แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ร่วมไม่ได้เจรจาร่วมไม่ได้โต้ตอบร่วมกับเทวดาทั้งหลายเหล่านั้น.

ภิกษุ. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้นก็ได้ด้วยตลอดถึงการโต้ตอบร่วมกับเทวดา.เหล่านั้นก็ได้ด้วย. ข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งของเรา.

ภิกษุ. ! โดยสมัยอื่นอีกเราเป็นผู้ไม่ประมาทมีเพียรมีตนส่งไปอยู่ก็...โต้ตอบกับเทวดา.เหล่านั้นได้ด้วยแต่ไม่รู้ได้ว่าเทวดาเหล่านี้มาจากเทพนิกายไหน.

ภิกษุ. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้นก็ได้ด้วยตลอดถึงการรู้ได้ว่าเทวดาเหล่านี้มาจากเทพนิกายนั้นด้วยแล้วข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นของเราภิกษุ. ! โดยสมัยอื่นอีกเราเป็นผู้ไม่ประมาทมีเพียรมีตนส่งไปอยู่ก็...รู้ได้ว่าเทวดาเหล่านี้มาจากเทพนิกายนั้นแต่ไม่รู้ได้ว่าเทวดาเหล่านี้เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้นด้วยวิบากแห่งกรรมอย่างไหน.

ภิกษุ. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้น

ก็ได้ด้วยตลอดจนถึงรู้ได้ด้วยว่าเทวดาเหล่านี้เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้นได้ด้วยวิบากของกรรมอย่างนี้แล้วข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นของเรา.

ภิกษุ. ! โดยสมัยอื่นอีกเราเป็นผู้ไม่ประมาทมีเพียรมีตนส่งไปแล้วแลอยู่ก็...รู้ได้ว่าเทวดาเหล่านี้เคลื่อนจากโลกนี้

ไปอุบัติในโลกนั้นได้ด้วยวิบากของกรรมอย่างนี้ๆแต่ไม่รู้ได้ว่าเทวดาเหล่านี้ๆมีอาหารอย่างนี้มีปรกติเสวยสุขและทุกข์อย่างนี้เทวดาเหล่านี้ๆมีอายุยืนเท่านี้ตั้งอยู่ได้นานเท่านี้ ...เราเองเคยอยู่ร่วมกับเทวดา.เหล่านี้หรือไม่เคยอยู่ร่วมหนอ. ภิกษุ. ! โดยสมัยอื่นอีกเราเป็นผู้ไม่ประมาทมีเพียรมีตนส่งไปแล้วแลอยู่ก็...รู้ได้ตลอดถึงข้อว่าเราเคยอยู่ร่วมกับเทวดา.เหล่านี้หรือไม่แล้ว.

ภิกษุ. ! ตลอดเวลาเพียงไรที่ญาณทัศนะที่เป็นไปทับซึ่งเทวดาอันมีปริวัฏฏ์แปดอย่างของเรายังไม่บริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแล้ว; ตลอดเวลาเพียงนั้นเรายังไม่ปฏิญญาว่าตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวดามารพรหมในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.

ภิกษุ. ! เมื่อใดแลญาณทัศนะที่เป็นไปทับซึ่งเทวดาอันมีปริวัฏฏ์แปดอย่างของเราบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแล้ว, เมื่อนั้นเราก็ปฏิญญาว่าตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวดามารพรหมในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ก็แหละปัญญาเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแก่เราว่าความหลุดพ้ของเราไม่กลับกำเริบชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายบัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีกต่อไปดังนี้.

ทรงทำลายความขลาดก่อนตรัสรู้๑

พราหมณ์ ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่มีความรู้สึกว่าเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยวเป็นเสนาสนะยากที่จะเสพได้ความสงัดยากที่จะทำได้ยากที่จะยินดีในการอยู่ผู้เดียวป่าทั้งหลายเป็นประหนึ่งว่านำไปเสียแล้วซึ่งใจแห่งภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิ.

. ภยเภรวสูตรมูลปริยายวรรคมู.. ๑๒/๒๙/๓๐. ทรงเล่าแก่ชาณุสโสณีพราหมณ์ที่เชตวัน.

พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดมีกรรมทางกายไม่บริสุทธิ์เสพเสนาสนะสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยวอยู่, เพราะโทษคือกรรมทางกายอันไม่บริสุทธิ์ของตนแลสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นย่อมเรียกร้องมาซึ่งความขลาดและความกลัวอย่างอกุศล. ส่วนเราเองหาได้เป็นผู้มีกรรมทางกายอันไม่บริสุทธิ์แล้วเสพเสนาสนะสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยวไม่ : เราเป็นผู้มีกรรมทางกายอันบริสุทธิ์.ในบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีกรรมทางกายอันบริสุทธิ์และเสพเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยวเราเป็นอริยเจ้าองค์หนึ่งในพระอริยเจ้าเหล่านั้นพราหมณ์ ! เรามองเห็นความเป็นผู้มีกรรมทางกายอันบริสุทธิ์ในตนอยู่จึงถึงความมีขนอันตกสนิทแล้ว (ไม่ขนพอง) อยู่ในป่าได้.

พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดมีวจีกรรมไม่บริสุทธิ์,....มีมโนกรรมไม่บริสุทธิ์, ...มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์, ...มีอภิชฌามากมีความกำหนัดแก่กล้าในกามทั้งหลาย, ...มีจิตพยาบาทมีดำริชั่วในใจ, ...มีถีนมิทธะกลุ้มรุมจิต,...มีจิตฟุ้งขึ้นไม่สงบ, ...มีความระแวงมีความสงสัย,...เป็นผู้ยกตนข่มท่าน, ...เป็นผู้มักหวาดเสียวมีชาติแห่งคนขลาด,...มีความปรารถนาเต็มที่ในลาภสักการะและสรรเสริญ, ...เป็นคนเกียจคร้านมีความเพียรเลวทราม, ...เป็นผู้ละสติปราศจากสัมปชัญญะ,...มีจิตไม่ตั้งมั่นมีจิตหมุนไปผิด, ...มีปัญญาเสื่อมทรามเป็นคนพูดบ้าน้ำลาย, .(อย่างหนึ่งๆ) ...เสพเสนาสนะสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยวอยู่เพราะโทษ (อย่างหนึ่งๆ) นั้นของตนแลสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นย่อมเรียกร้องมาซึ่งความขลาดและความกลัวอย่างอกุศล. ส่วนเราเองหาได้เป็นผู้ (ประกอบด้วยโทษนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง) มีวจีกรรมไม่บริสุทธิ์(เป็นต้น) ไม่ : เราเป็นผู้มีวจีกรรมอันบริสุทธิ์ (และปราศจากโทษเหล่านั้น

. บาลีกล่าวทีละอย่างซ้ำกันถึง๑๖ครั้งในที่นี้ใช้ละคราวเดียวกันทุกอย่าง). ในบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีวจีกรรมอันบริสุทธิ์ (เป็นต้น) และเสพเสนาสนะสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยวเราเป็นอริยเจ้าองค์หนึ่งในพระอริยเจ้าเหล่านั้น. พราหมณ์ ! เรามองเห็นความเป็นผู้มีวจีกรรมอันบริสุทธิ์ (เป็นต้น)ในตนอยู่จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกสนิทแล้วแลอยู่ในป่าได้.

พราหมณ์ ! ความตกลงใจอันนี้ได้มีแก่เราว่าถ้ากระไรในราตรีอันกำหนดได้แล้วว่าเป็นวัน๑๔, ๑๕และค่ำแห่งปักข์สวนอันถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ป่าอันถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ต้นไม้อันถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์เหล่าใดเป็นที่น่าพึงกลัวเป็นที่ชูชันแห่งโลมชาติเราพึงอยู่ในเสนาสนะเช่นนั้นเถิดบางทีเราอาจเห็นตัวความขลาดและความกลัวได้. พราหมณ์ ! เราได้อยู่ในเสนาสนะเช่นนั้นในวันอันกำหนดนั้นแล้ว.พราหมณ์ ! เมื่อเราอยู่ในเสนาสนะเช่นนั้นสัตว์ป่าแอบเข้ามาหรือว่านกยูงทำกิ่งไม้แห้งให้ตกลงมาหรือว่าลมพัดหยากเยื่อใบไม้ให้ตกลงมา :

ความตกใจกลัวได้เกิดแก่เราว่านั่นความกลัวและความขลาดมาหาเราเป็นแน่ความคิดค้นได้มีแก่เราว่าทำไมหนอเราจึงเป็นผู้พะวงแต่ในความหวาดกลัวถ้าอย่างไรเราจะหักห้ามความขลาดกลัวนั้นเสียโดยอิริยาบถที่ความขลาดกลัวนั้นมาสู่เรา.

พราหมณ์ ! เมื่อเราจงกรมอยู่ความกลัวเกิดมีมาเราก็ขืนจงกรม

แก้ความขลาดนั้น,ตลอดเวลานั้นเราไม่ยืนไม่นั่งไม่นอน. เมื่อเรายืนอยู่

ความกลัวเกิดมีมาเราก็ขืนยืนแก้ความขลาดนั้น, ตลอดเวลานั้นเราไม่จงกรมไม่นั่งไม่นอน. เมื่อเรานั่งอยู่ความกลัวเกิดมีมาเราก็ขืนนั่งแก้ความขลาดนั้น,ตลอดเวลานั้นเราไม่จงกรมไม่ยืนไม่นอน. พราหมณ์ ! เมื่อเรานอนอยู่ความขลาดเกิดมีมาเราก็ขืนนอนแก้ความขลาดนั้น. ตลอดเวลานั้นเราไม่จงกรมไม่ยืนไม่นั่งเลย.

ธรรมที่ทรงอบรมอย่างมากก่อนตรัสรู้๑

ภิกษุ. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตวิ์อยู่, เราได้อบรมทำให้มากแล้วซึ่งธรรมห้าอย่าง. ธรรมห้าอย่างอะไรบ้างธรรมห้าอย่างคือเราได้อบรมอิทธิบาทอันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่งซึ่งได้แก่ธรรมที่มีสมาธิสัมปยุตต์ด้วยฉันทะ...วิริยะ...จิตตะ...วิมังสาเป็นประธานและความเพียรมีประมาณโดยยิ่งเป็นที่ห้า.

ภิกษุ. ! เพราะความที่เราได้อบรมทำให้มากในธรรมมีความเพียรมีประมาณโดยยิ่งเป็นที่ห้า,เราได้น้อมจิตไปเฉพาะต่อธรรมใดๆซึ่งควรทำ

ให้แจ้งโดยปัญญาอันยิ่งเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว,ในธรรมนั้นๆเราได้ถึงแล้วซึ่งความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยานในขณะที่อายตนะยังมีอยู่.

ภิกษุ. ! ถ้าเราหวังว่าเราพึงมีอิทธิวิธีมีประการต่าง : ผู้เดียว

แปลงลงรูปเป็นหลายคน, หลายคนเป็นคนเดียว, ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง

ทำที่แจ้ง,ให้เป็นที่กำบัง, ไปได้ไม่ขัดข้องผ่านทะลุฝาทะลุกำแพงทะลุภูเขาดุจไปในอากาศว่าง, ผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ, เดินได้เหนือน้ำเหมือนเดินบนดิน, ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีกทั้งที่ยังนั่งขัดสมาธิคู้บัลลังก์. ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์อันมีฤทธิ์อานุภาพมากอย่างนี้ได้ด้วยฝ่ามือ, และแสดงอำนาจทางกายเป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้

ดังนี้ก็ตาม, ในอิทธิวิธีนั้นเราก็ถึงแล้วซึ่งความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยานในขณะที่อายตนะยังมีอยู่.

. บาลีอัฏฐมสูตรสัญญาวรรคปญฺจ. อํ. ๒๒/๙๔/๖๘.

ภิกษุ. ! หรือถ้าเราหวังว่าเราพึงทำให้แจ้งซึ่ง...ฯลฯ...เจโตวิมุติปัญญาวิมุติอันไม่มีอาสวะเพราะหมดอาสวะด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลอยู่ดังนี้ก็ตาม. ในวิชชานั้นๆเราก็ถึงแล้วซึ่งความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยานในขณะที่อายตนะยังมีอยู่.วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุดก่อนตรัสรู้๑

ภิกษุ. ! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกายหรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตามย่อมมีขึ้นไม่ได้ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิใดสมาธินั้นภิกษุย่อมจะได้โดยไม่หนักใจได้โดยไม่ยากโดยไม่ลำบากเลย.

ภิกษุ. ! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกายหรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตามย่อมมีขึ้นไม่ได้ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิไหนกันเล่า? ภิกษุ. ! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกายหรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตามย่อมมีขึ้นไม่ได้ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ.

ภิกษุ. ! เมื่อบุคคลเจริญอานาปานสติสมาธิอยู่อย่างไรเล่าความหวั่นไหวโยกโคลงของกายหรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตามย่อมมีขึ้นไม่ได้?

ภิกษุ. ! ภิกษุในกรณีนี้ไปสู่ป่าหรือโคนไม้หรือเรือนว่างก็ตามแล้วนั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า. ภิกษุนั้นหายใจออกเข้าก็มีสติหายใจออกก็มีสติ.

. บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๙, /๑๓๒๔,. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่เชตวันปรารภพระมหากัปปินะ

เข้าสมาธินั่งนิ่งไม่ไหวติงจนเป็นปรกตินิสัย.

เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว,

เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว

เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น,

เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น.

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝนโดยหลักว่าเราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวงหายใจออกอยู่”, ว่าเราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวงหายใจเข้าอยู่”.

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝนโดยหลักว่าเราจักเป็นผู้ทำกายสังขาร

ให้สงบรำงับอยู่หายใจออกอยู่”,

ว่าเราจักเป็นผู้ทำกายสังขารให้สงบรำงับอยู่หายใจเข้าอยู่

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝนโดยหลักว่าเราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งปีติหายใจออกอยู่, ว่าเราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งปีติหายใจเข้าอยู่

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝนโดยหลักว่าเราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อม

เฉพาะซึ่งสุขหายใจออกอยู่”, ว่าเราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งสุข

หายใจเข้าอยู่”.

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝนโดยหลักว่าเราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขารหายใจออกอยู่”, ว่าเราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขารหายใจเข้าอยู่”.

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝนโดยหลักว่าเราจักเป็นผู้ทำจิตตสังขาร

ให้สงบรำงับอยู่หายใจเข้าอยู่”, ว่าเราจักเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้สงบรำงับอยู่หายใจเข้าอยู่เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝนโดยหลักว่าเราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิตหายใจออกอยู่”, ว่าเราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิตหายใจเข้าอยู่เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝนโดยหลักว่าเราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์บันเทิงอยู่หายใจออกอยู่”, ว่าเราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์บันเทิงอยู่หายใจเข้าอยู่เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝนโดยหลักว่าเราจักเป็นผู้ดำรงจิตให้ตั้งมั่นอยู่หายใจออกอยู่”, ว่าเราจักเป็นผู้ดำรงจิตให้ตั้งมั่นอยู่หายใจเข้าอยู่เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝนโดยหลักว่าเราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปลดปล่อยอยู่หายใจออกอยู่”, ว่าเราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปลดปล่อยอยู่หายใจเข้าอยู่”.

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝนโดยหลักว่าเราจักเป็นผู้มองเห็นความไม่เที่ยงหายใจออกอยู่”, ว่าเราจักเป็นผู้มองเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้าอยู่”.เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝนโดยหลักว่าเราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความจางคลายหายใจออกอยู่”, ว่าเราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นเครื่องจางคลายหายใจเข้าอยู่”.เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝนโดยหลักว่าเราจักเป็นผู้มองเห็น

ธรรมเป็นความดับสนิทหายใจออกอยู่”, ว่าเราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นเครื่องดับสนิทหายใจเข้าอยู่เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝนโดยหลักว่าเราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นเครื่องสลัดกลับหลังหายใจออกอยู่”, ว่าเราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นเครื่องสลัดกลับหลังหายใจเข้าอยู่”. ดังนี้.

ภิกษุ. ! เมื่อบุคคลเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิอยู่อย่างนี้แลความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายหรือความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตามย่อมมีขึ้นไม่ได้. ฯลฯ

ภิกษุ. ! แม้เราเองก็เหมือนกันในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ยังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมคืออานาปานสติสมาธินี้เป็นส่วนมาก. เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมากกายก็ไม่ลำบากตาก็ไม่ลำบากและจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่มีอุปาทาน.

ภิกษุ. ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ถ้าภิกษุหวังว่ากายของเราก็อย่าลำบากตาของเราก็อย่าลำบากและจิตของเราก็จงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่มีอุปาทานเถิดดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ. ! ในเรื่องนี้ถ้าภิกษุหวังว่าความครุ่นคิดอันเกี่ยวข้องไป

ทางเหย้าเรือนของเราจงหายไปอย่างหมดสิ้นดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ. ! ในเรื่องนี้ถ้าภิกษุหวังว่าเราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าปฏิกูลต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูลดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ. ! ในเรื่องนี้ถ้าภิกษุหวังว่าเราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูลต่อสิ่งที่ปฏิกูลดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจในอานาปานสติสมาธ

 

ภิกษุ. ! ในเรื่องนี้ถ้าภิกษุหวังว่าเราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าปฏิกูลต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูลดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ. ! ในเรื่องนี้ถ้าภิกษุหวังว่าเราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูลต่อสิ่งที่ปฏิกูลดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ. ! ในเรื่องนี้ถ้าภิกษุหวังว่าเราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึก

ว่าปฏิกูลทั้งต่อสิ่งที่ปฏิกูลและต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูลดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้น

จงทำในใจในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ. ! ในเรื่องนี้ถ้าภิกษุหวังว่าเราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูลทั้งต่อสิ่งที่ปฏิกูลและต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูลดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ. ! ในเรื่องนี้ถ้าภิกษุหวังว่าเราพึงเป็นผู้ไม่ใส่ใจเสียเลยทั้งต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและต่อสิ่งที่ปฏิกูลทั้งสองอย่างแล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติสัมปชัญญะเถิดดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.

(ต่อแต่นี้มีตรัสทำนองนี้เรื่อยไปจนถึงความหวังจะได้ปฐมฌานทุติยฌานคติยฌาน จตุตถฌานอากาสานัญจายตนะวิญญาณัญจายตนะอากิญจัญญายตนะเนวสัญญานาสัญญายตนะและสัญญาเวทยิตนิโรธเป็นที่สุดว่าผู้ต้องการพึงทำในใจในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี).

ทรงพยายามในเนกขัมมจิต

และอนุปุพพวิหารสมาบัติก่อนตรัสรู้๑

อานนท์ ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ความรู้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเนกขัมมะ (ความหลีกออกจากกาม)เป็นทางแห่งความสำเร็จ, ปวิเวก(ความอยู่สงัดจากกาม) เป็นทางแห่งความสำเร็จดังนี้, แต่แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไปไม่เลื่อมใสไม่ตั้งอยู่ได้ไม่หลุดออกไปในเนกขัมมะทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

. บาลีนวก. อํ. ๒๓/๔๕๗/๒๔๕. ตรัสแก่พระอานนท์ที่อุรุเวลกัสสปนิคมของชาวมัลละในมัลลกรัฐ. เนื่องจากตปุสสคหบดีได้เข้าเผ้าและกราบทูลถึงข้อที่พวกฆราวาสย่อมมัวเมาติดในกามอยู่เป็นปรกติ, เนกขัมมะคือการหลีกออกมาเสียจากกามนั้นปรากฏแก่พวกเขาดุจถ้ำหรือเหวลึกที่มืดยิ่งเป็นที่น่าหวาดกลัวยิ่ง.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในกามทั้งหลายเป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็นยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มากและทั้งอานิสงส์แห่งการออกจากามเราก็ยังไม่เคยได้รับเลยยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าถ้ากระไรเราได้เห็นโทษในกามทั้งหลายแล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มากได้รับอานิสงส์ในการหลีกออกจากกามแล้วพึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละจะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไปพึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้หลุดออกไปในเนกขัมมะโดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเราจึงแล่นไปจึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้หลุดออกไปในเนกขัมมะโดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์ !เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแลเพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายจึงบรรลุฌานที่อันมีวิตกวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่.

อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือฌานที่นี้การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในทางกามก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ(ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุขแล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวางเพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าเพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสียถ้ากระไรเราเพราะสงบวิตกวิจารเสียได้พึงบรรลุฌานที่๒เป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายในนำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียวไม่มีวิตกวิจารมีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่เถิดดังนี้.

อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไปไม่เลื่อมใสไม่ตั้งอยู่ได้ไม่หลุดออกไปในอวิตกธรรม (คือฌานที่) นั้นทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอเป็นเหตุ

เป็นจัจจัยที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น

อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในวิตกธรรมเป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็นยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มากและทั้งอานิสงส์แห่งอวิตกธรรมเราก็ยังไม่เคยได้รับเลยยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าถ้าหากเราได้เห็นโทษในวิตกแล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มากได้รับอานิสงส์ในอวิตกธรรมแล้วพึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้,ข้อนั้นแหละจะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไปพึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้หลุดออกไปในอวิตกธรรมโดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ

อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเราจึงแล่นไปจึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้หลุดออกไปในอวิตกธรรม (คือฌานที่) นั้นโดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแลเพราะสงบวิตกวิจารเสียได้จึงบรรลุฌานที่๒เป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายในนำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียวไม่มีวิตกวิจารมีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่

อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือฌานที่นี้การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในวิตกก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุขแล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวางเพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าเพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย

ถ้ากระไรเราเพราะความจางไปแห่งปีติพึงอยู่อุเบกขามีสติแลสัมปชัญญะและพึงเสวยสุขด้วยนามกายบรรลุฌานที่อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติอยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่เถิดดังนี้.

อานนท์ !แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไปไม่เลื่อมใสไม่ตั้งอยู่ได้ไม่หลุดออกไปในนิปปีติกฌาน(คือฌานที่)นั้นทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในปีติเป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็นยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มากและทั้งอานิสงส์แห่งนิปปีตกฌานเรายังไม่เคยได้รับเลยยังไม่เคยรู้รสเลย;จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าถ้าหากเราได้เห็นโทษในปีติแล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มากได้รับอานิสงส์ในนิปปีติกฌานแล้วพึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละจะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไปพึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้หลุดออกไปในนิปปีติกฌานโดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ

อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเราจึงแล่นไปจึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้หลุดออกไปในนิปปีติกฌาน (คือฌานที่) นั้นโดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ !เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแลเพราะความจางไปแห่งปีติจึงเกิดอุเบกขามีสติแลสัมปชัญญะและย่อมเสวยสุขด้วยนามกายบรรลุฌานที่อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติอยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่.

อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือฌานที่การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในปีติก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ(ในทางจิต)

แก่เรา,เหมือนผู้มีสุขแล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวางเพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าเพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสียถ้ากระไรเราเพราะละสุขและทุกข์เสียได้เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสแลโทมนัสในกาลก่อนพึงบรรลุฌานที่อันไม่มีทุกข์และสุขมีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่เถิดดังนี้.

อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไปไม่เลื่อมใสไม่ตั้งอยู่ไม่หลุดพ้นออกไปในอทุกขมสุข (คือญาณที่ ) นั้นทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้นอานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดแก่เราว่าเพราะว่าโทษในอุเบกขาสุขเป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็นยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มากและอานิสงส์แห่งอทุกขมสุขเรายังไม่เคยได้รับเลยยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าถ้าหากเราได้เห็นโทษในอุเปกขาสุขแล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มากได้รับอานิสงส์ในอทุกขมสุขแล้วพึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้,ข้อนั้นแหละจะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไปพึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้หลุดออกไปในอทุกขมสุขโดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเราจึงแล่นไปจึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้หลุดออกไปในอทุกขมสุข (คือฌานที่) นั้นโดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแลเพราะละสุขและทุกข์เสียได้เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนจึงบรรลุฌานที่อันไม่ทุกข์ไม่สุขมีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่. อานนท์ !แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือฌานที่นี้การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในอุเบกขาก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ

(ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุขแล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวางเพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าเพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสียถ้ากระไรเราเพราะผ่านพ้นรูปสัญญา (ความกำหนดหมายในรูป)

โดยประการทั้งปวงได้, เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา (ความกำหนดหมายอารมณ์ที่กระทบใจ), เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งความกำหนดหมายในภาวะต่าง (นานัตตสัญญา) พึงบรรลุอากาสานัญจายตนะอันมีการทำในใจว่าอากาศไม่มีที่สิ้นสุดแล้วแลอยู่เถิดดังนี้.

อานนท์ !แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไปไม่เลื่อมใสไม่ตั้งอยู่ได้ไม่หลุดออกไปในอากาสานัญจายตนะนั้นทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในรูปทั้งหลายเป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็นยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มากและทั้งอานิสงส์แห่งอากาสนัญจายตนะเราก็ยังไม่เคยได้รับเลยยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าถ้าหากเราได้เห็นโทษในรูปทั้งหลายแล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มากได้รับอานิสงส์ในอากาสนัญจายตนะแล้วพึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละจะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไปพึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้หลุดออกไปในอากาสานัญจายตนะโดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเราจึงแล่นไปจึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้หลุดออกไปในอากาสนัญจายตนะนั้นโดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์ !เมื่อเป็นเช่นนั้นเราแลเพราะผ่านพ้นรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงเสียได้เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญาเพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งนานัตตสัญญาจึงบรรลุอากาสานัญจายตนะอันมีการทำในใจว่าอากาศไม่มีที่สิ้นสุดแล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคืออากาสานัญจายตนะนี้การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในรูปทั้งหลายก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ(ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุขแล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวางเพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสียถ้ากระไรเราเพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้วพึงบรรลุวิญญาณัญจายตนะอันมีการทำในใจว่าวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดแล้วแลอยู่เถิดดังนี้

อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไปไม่เลื่อมใสไม่ตั้งอยู่ได้ไม่หลุดออกไปในวัญญาณัญจายตนะนั้นทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในอากาสานัญจายตนะเป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็นยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มากและทั้งอานิสงส์แห่งวิญญาณัญจายตนะเราก็ยังไม่เคยได้รับเลยยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าถ้าหากเราได้เห็นโทษในอากาสานัญจายตนะแล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มากได้รับอานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนะแล้วพึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละจะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไปพึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้หลุดออกไปในวิญญาณัญจายตนะโดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเราจึงแล่นไปจึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้หลุดออกไปในวิญญาณัญจายตนะนั้นโดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! เราแลผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้วจึงบรรลุวิญญาณัญจายตนะอันมีการทำในใจว่า”“วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด"แล้วแลอยู่.

อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือวิญญาณัญจายตนะนี้การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในอากาสานัญจายตนะก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ(ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุขแล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวางเพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าเพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสียถ้ากระไรเพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้วพึงบรรลุอากิญจัญญายตนะอันมีการทำในใจว่าอะไรไม่มีแล้วแลอยู่เถิดดังนี้. อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไปไม่เลื่อมใสไม่ตั้งอยู่ได้ไม่หลุดออกไปในอากิญจัญญายตนะนั้นทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในวิญญญาณัญจายตนะเป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็นยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มากและทั้งอานิสงส์แห่งอากิญจัญญายตนะเราก็ยังไม่เคยได้รับเลยยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าถ้าหากเราได้เห็นโทษในวิญญาณัญจายตนะแล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มากได้รับอานิสงส์ในอากิญจัญญายตนะแล้วพึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละจะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไปพึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้หลุดออกไปในอากิญจัญญายตนะโดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเราจึงแล่นไปจึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้หลุดออกไปในอากิญจัญญายตนะนั้นโดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์ ! เราแลผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้วจึงบรรลุอากิญจัญญายตนะอันมีการทำในใจว่าอะไรไม่มี" แล้วแลอยู่.

อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมอากิญจัญญายตนะนี้การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในวิญญาณัญจายตนะก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุขแล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวางเพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าเพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสียถ้ากระไรเราเพราะผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว

พึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ๑แล้วแลอยู่เถิดดังนี้.

อานนท์ !แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไปไม่เลื่อมใสไม่ตั้งอยู่ได้ไม่หลุดออกไปในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้นทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในอากิญจัญญายตนะเป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็นยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มากและทั้งอานิสงส์แห่งเนวสัญญานสัญญายตนะเราก็ยังไม่เคยได้รับเลยยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ !ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าถ้าหากเราได้เห็นโทษในอากิญจัญญายตนะแล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มากได้รับอานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้วพึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละจะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไปพึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้หลุดออกไปในเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.อานนท์ !โดยกาลต่อมา

. เนวสัญญานาสัญญายตนะคืออรูปฌานขั้นที่สงบถึงขนาดที่เรียกว่ามีความรู้สึกก็ไม่ใช่ไม่มีความรู้สึกก็ไม่ใช่เป็นความสงบในขั้นที่ยากที่คนธรรมดาจะเข้าใจได้ขึ้นไปแล้ว.

เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเราจึงแล่นไปจึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้

หลุดออกไปในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้นโดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ !เราแลผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้วจึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้วแลอยู่.

อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือเนวสัญานาสัญญายตนะนี้การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในอากิญจัญญายตนะก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต)แก่เรา, เหมือนผู้มีสุขแล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวางเพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าเพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสียถ้ากระไรเราผ่านพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้วพึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วแลอยู่เถิดดังนี้.

อานนท์ !แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไปไม่เลื่อมใสไม่ตั้งอยู่ได้ไม่หลุดออกไปในสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็นยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มากและทั้งอานิสงส์แห่งสัญญาเวทยิตนิโรธเราก็ยังไม่เคยได้รับเลยยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าถ้าหากเราได้เห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มากได้รับอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วพึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละจะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไปพึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้หลุดออกไปในสัญญาเวทยิตนิโรธโดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเราจึงแล่นไปจึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้หลุดออกไปในสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นโดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

อานนท์เราแลผ่านพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้วจึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วแลอยู่ (ไม่มีอาพาธอะไรอีกต่อไป). อนึ่งอาสวะทั้งหลายได้ถึงความสิ้นไปรอบเพราะเราเห็น (อริยสัจจ์สี่) ได้ด้วยปัญญา.ทรงอธิษฐานความเพียร

ภิกษุ. ! เราได้รู้ถึงธรรมสองอย่างคือความไม่รู้จักพอในกุศลธรรมทั้งหลายและความเป็นผู้ไม่ถอยหลังในการตั้งความเพียรเราตั้งความเพียรคือความไม่ถอยหลังว่าหลังเอ็นกระดูกจักเหลืออยู่เนื้อและเลือดในสรีระจักเหือดแห้งไปก็ตามทีเมื่อยังไม่ลุถึงประโยชน์อันบุคคลจะลุได้ด้วยกำลังบุรุษด้วยความเพียรของบุรุษด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้วจักหยุดความเพียรนั้นเสียเป็นไม่มีเลย" ดังนี้. ภิกษุ. ! เรานั้นได้บรรลุความตรัสรู้เพราะความไม่ประมาทได้บรรลุโยคักเขมธรรมอันไม่มีอื่นยิ่งไปกว่าเพราะความไม่ประมาทแล้ว.

ความฝันครั้งสำคัญก่อนตรัสรู้๒

ภิกษุ. ! ความฝันครั้งสำคัญ (มหาสุบิน) อย่างได้ปรากฏแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งเมื่อก่อนแต่การตรัสรู้ยังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่. อย่างคืออะไรบ้างเล่า? คือ:-

. บาลีปัญจมสูตรกัมมกรณวรรคทุก. อํ. ๒๐/๖๔/๒๕๑..

. บาลีฉัฎฐสูตรพราหมณวรรคปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๖๗/๑๙๖.

มหาปฐพีนี้เป็นที่นอนอันใหญ่ของตถาคตจอมเขาหิมวันต์เป็นหมอน

มือข้างซ้ายพาดลงที่สมุทรด้านตะวันออกมือข้างขวาพาดลงที่สมุทรด้านตะวันตกเท้าทั้งสองหย่อนลงที่สมุทรด้านทักษิณ.

ภิกษุ. ! นี้เป็นมหาสุบินข้อที่

ได้มีแล้วแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งเมื่อก่อนแต่การตรัสรู้ยังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ข้ออื่นอีก.

หญ้าคา๑งอกขึ้นจากสะดือขึ้นไปสูงจดฟ้า.

ภิกษุ. !นี้เป็นมหาสุบินข้อที่

ได้มีแล้วแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งเมื่อก่อนแต่การตรัสรู้ยังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ข้ออื่นอีก.

หนอนทั้งหลายมีสีขาวหัวดำคลานขึ้นมาตามเท้าจนถึงเข่า.

ภิกษุ. ! นี้เป็นมหาสุบินข้อที่

ได้มีแล้วแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ยังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ข้ออื่นอีก.

นกทั้งหลายสี่จำพวกมีสีต่างกันมาแล้วจากทิศทั้งสี่หมอบลงที่ใกล้เท้าแล้วกลายเป็นสีขาวหมด.

ภิกษุ. ! นี้เป็นมหาสุบินข้อที่

ได้มีแล้วแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ยังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ข้ออื่นอีก.

ตถาคตได้เดินไปบนอุจจาระกองใหญ่เหมือนภูเขาอุจจาระมิได้เปื้อนเลย. ภิกษุ. ! นี้เป็นมหาสุบินข้อที่

ได้มีแล้วแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ยังไม่ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่.

ภิกษุ. ! ข้อว่ามหาปฐพีนี้เป็นที่นอนใหญ่ของตถาคตจอมเขาหิมวันต์เป็นหมอนมือข้างซ้ายพาดลงที่สมุทรด้านตะวันออกมือข้างขวาพาด

๑.  ศัพท์นี้บาลีเป็นติริยานามติณชาติแปลว่าหญ้าแพรกก็เคยแปลกัน.

ลงที่สมุทรด้านตะวันตกเท้าทั้งสองหย่อนลงในสมุทรด้านทักษิณนั้นเป็นมหาสุบินข้อที่เพื่อให้รู้ข้อที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

ข้อว่าหญ้าคางอกจากสะดือขึ้นไปสูงจดฟ้าเป็นมหาสุบินข้อที่๒เพื่อให้รู้ข้อที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคแล้วประกาศเพียงไรแก่มนุษย์และเทวดา (ขึ้นไปถึงพรหม).

ข้อว่าหนอนทั้งหลายมีสีขาวหัวดำคลานขึ้นมาตามเท้าจนถึงเข่านั้นเป็นมหาสุบินข้อที่๓เพื่อให้รู้ข้อที่คฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวเป็นอันมากถึงตถาคตเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต.

ข้อว่านกสี่จำพวกมีสีต่างกันมาจากทิศทั้งสี่หมอบลงที่เท้าแล้วกลายเป็นสีขาวหมดนั้นเป็นมหาสุบินข้อที่เพื่อให้รู้ข้อที่วรรณะสี่จำพวกเหล่านี้คือกษัตริย์พราหมณ์เวสส์ศูทร์ได้ออกจากเรือนมาบวชในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วอย่างไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนย่อมทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอันไม่มีอื่นยิ่งไปกว่าได้ข้อว่าตถาคตเดินไปบนกองอุจจาระใหญ่เหมือนภูเขาอุจจาระไม่เปื้อนเลยนั้นเป็นมหาสุบินข้อที่เพื่อให้รู้ข้อที่ตถาคตเป็นผู้มีลาภในบริกขารคือจีวรบิณฑบาตเสนาสนะและคิลานปัจจยเภสัชทั้งหลายแต่ตถาคตไม่ติดจมไม่หมกใจในลาภนั้น,เมื่อบริโภคก็บริโภคด้วยความเห็นโทษมีปัญญาเป็นเครื่องออกไปพ้นจากทุกข์ได้.อาการแห่งการตรัสรู้

 

 

เหตุการณ์ระหว่างการตรัสรู้

หลังมาฉันอาหารหยาบ

ราชกุมาร ! ครั้นเรากลืนกินอาหารหยาบทำกายให้มีกำลังได้แล้ว,

เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายจึงบรรลุฌานที่มีวิตกวิจาร

. โพธิราชกุมารสูตรราชวรรค..๑๓/๔๕๗/๕๐๕, สคารวสูตรพราหมณวรรค..๑๓/๖๘๕๖/

๗๕๔,. ตอนนี้ปาสราสิสูตรไม่มี, ต่อไปในสคารวสูตรสูตรก็ไม่มี.

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้จึงบรรลุฌานที่เป็นเครื่องผ่องใสในภายในเป็นที่เกิดสมาธิแห่งใจไม่มีวิตกวิจารมีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่. เพราะความจางไปแห่งปีติย่อมอยู่อุเบกขามีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกายบรรลุฌานที่อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข. และเพราะละสุขและทุกข์เสียได้เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน

จึงได้บรรลุฌานที่อันไม่ทุกข์ไม่สุขมีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่.เรานั้นครั้นเมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกิเลสปราศจากกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงานถึงความไม่หวั่นไหวตั้งอยู่เช่นนี้แล้วได้น้อมจิตไปเฉพาะต่อบุพเพสิวาสานุสสติญาณ. เรานั้นระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อนได้หลายประการคือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้างสองชาติสามชาติสี่ชาติห้าชาติ,สิบชาติยี่สิบชาติสามสิบชาติสี่สิบชาติห้าสิบชาติ, ร้อยชาติพันชาติแสนชาติบ้าง, ตลอดหลายสังวัฏฏกัปป์หลายวิวัฏฏกัปป์หลายสังวัฏฏกัปป์และวิวัฏฏกัปป์บ้าง, ว่าเมื่อเราอยู่ในภพโน้นมีชื่ออย่างนั้นมีโคตรมีวรรณะมีอาหารอย่างนั้น,ๆเสวยสุขและทุกข์เช่นนั้นมีอายุสุดลงเท่านั้น; ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้เกิดในภพโน้นมีชื่อโคตรวรรณะอาหารอย่างนั้น, ได้เสวยสุขและทุกข์เช่นนั้นมีอายุสุดลงเท่านั้น; ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วมาเกิดในภพนี้. เรานั้นระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อนได้หลายประการพร้อมทั้งอาการและลักขณะดังนี้

ราชกุมาร ! นี่เป็นวิชชาที่ที่เราได้บรรลุแล้วในยามแรกแห่งราตรี. อวิชชาถูกทำลายแล้ววิชชาเกิดขึ้นแล้ว, ความมืดถูกทำลายแล้วความสว่างเกิดขึ้นแทนแล้ว,เช่นเดียวกับที่เกิดแก่ผู้ไม่ประมาทมีเพียรเผาบาปมีตนส่งไปแล้วแลอยู่,โดยควรฯเรานั้นครั้นเมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกิเลสปราศจากกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงานถึงความไม่หวั่นไหวตั้งอยู่เช่นนี้แล้วได้น้อมจิตไปเฉพาะต่อจุตูปปาตญาณ. เรามีจักขุทิพย์บริสุทธิ์กว่าจักขุของสามัญมนุษย์, ย่อมแลเห็นสัตว์ทั้งหลายจุติอยู่บังเกิดอยู่, เลวทรามประณีต,มีวรรณะดีมีวรรณะเลว, มีทุกข์มีสุข. เรารู้แจ้งชัดหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า

ผู้เจริญทั้งหลาย ! สัตว์เหล่านี้หนอประกอบกายทุจริตวจีทุจริตมโนทุจริตพูดติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลายเป็นมิจฉาทิฏฐิประกอบการงานด้วยอำนาจ

มิจฉาทิฏฐิ,เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไปล้วนพากันเข้าสู่อบายทุคติวินิบาตนรกฯ

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! ส่วนสัตว์เหล่านี้หนอประกอบกายสุจริตวจีสุจริตมโนสุจริตไม่ติเตียนพระอริยเจ้า, เป็นสัมมาทิฏฐิประกอบการงานด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ,เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไปย่อมพากันเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์. เรามีจักขุทิพย์บริสุทธิ์ล่วงจักขุสามัญมนุษย์เห็นเหล่าสัตว์ผู้จุติอยู่บังเกิดอยู่เลวประณีตมีวรรณะดีวรรณะทรามมีทุกข์มีสุข. รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมได้ฉะนี้.

ราชกุมาร ! นี้เป็นวิชชาที่ที่เราได้บรรลุแล้วในยามกลางแห่งราตรี. อวิชชาถูกทำลายแล้ววิชชาเกิดขึ้นแล้ว, ความมืดถูกทำลายแล้วความสว่างเกิดขึ้นแทนแล้ว, เช่นเดียวกับที่เกิดแก่ผู้ไม่ประมาทมีเพียรเผาบาปมีตนส่งไปแล้วแลอยู่,โดยควรเรานั้นครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกิเลสปราศจากกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงานถึงความไม่หวั่นไหวตั้งอยู่เช่นนี้แล้วก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ, เราย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่านี่ทุกข์,นี่เหตุแห่งทุกข์, นี่ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี่ทางให้ถึงความดับไม่มีเหลือแห่งทุกข์; และเหล่านี้เป็นอาสวะทั้งหลาย, นี้เหตุแห่งอาสวะทั้งหลาย, นี้ความดับไม่มีเหลือแห่งอาสวะทั้งหลาย, นี้เป็นทางให้ถึงความดับไม่มีเหลือแห่งอาสวะทั้งหลาย. เมื่อเรารู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้จิตก็พ้นจากกามาสวะภวาสวะ

และอวิชชาสวะ. ครั้นจิตพ้นวิเศษแล้วก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าจิตพ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, ความมืดถูกทำลายแล้วความสว่างเกิดขึ้นแทนแล้ว, เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์จบแล้วกิจที่ต้องทำได้ทำสำเร็จแล้วกิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความ(หลุดพ้น)เป็นอย่างนี้มิได้มีอีก

ราชกุมาร ! นี่เป็นวิชชาที่๓ ที่เราได้บรรลุแล้วในยามปลายแห่งราตรี. อวิชชาถูกทำลายแล้วเช่นเดียวกับที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาทมีเพียรเผาบาปมีตนส่งไปแล้วแลอยู่, โดยควรฯสิ่งที่ตรัสรู้ ๑

ภิกษุ. ! มีสิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งอยู่สองอย่างที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะด้วย. สิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งนั้นคืออะไร? คือการประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลายอันเป็นการกระทำที่ยังต่ำเป็นของชาวบ้านเป็นของคนชั้นบุถุชนไม่ใช่ของพระอริยเจ้าไม่ประกอบด้วยประโยชน์, และการประกอบความเพียรในการทรมานตนให้ลำบากอันนำมาซึ่งความทุกข์ไม่ใช่ของพระอริยเจ้าไม่ประกอบด้วยประโยชน์, สองอย่างนี้แล.

ภิกษุ. ! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางที่ไม่ไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้นเป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้วเป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุเป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้อันยิ่งเพื่อความตรัสรู้พร้อมเพื่อนิพพาน.

. บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔. ตรัสแก่ภิกษุทั้งห้าทิ่อิสิปตนมฤคทายวัน.

ภิกษุ. ! ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลางที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่งสองอย่างนั้นเป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ. ! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้นคือข้อปฏิบัติอันเสมือนหนทางอันประเสริฐประกอบอยู่ด้วยองค์แปดประการนี่เอง. แปดประการคืออะไรเล่า? คือความเห็นที่ถูกต้องความดำริที่ถูกต้องการพูดจาที่ถูกต้องการทำการงานที่ถูกต้องการอาชีพที่ถูกต้องความพากเพียรที่ถูกต้องความรำลึกที่ถูกต้องความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้องภิกษุ. ! นี้แลคือข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้วเป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุทำให้เกิดญาณเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้อันยิ่งเพื่อความตรัสรู้พร้อมเพื่อนิพพาน.

ภิกษุ. ! นี้แลคือความจิรงอันประเสริฐเรื่องความทุกข์คือความเกิดก็เป็นทุกข์ความแก่ก็เป็นทุกข์ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์๑ความตายก็เป็นทุกข์, ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักเป็นทุกข์ความพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์,กล่าวโดยย่อขันธ์ห้าที่ประกอบด้วยอุปาทานเป็นทุกข์.

ภิกษุ. ! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐเรื่องแดนเกิดของความทุกข์คือตัณหาอันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีกอันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลินอันเป็นเครื่องให้เพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ,ได้แก่ตัณหาในกามตัณหาในความมีความเป็นตัณหาในความไม่มีไม่เป็น.

ภิกษุ. ! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐเรื่องความดับไม่เหลือของความทุกข์คือความดับสนิทเพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้นนั่นเอง

. ในบาลีพระไตรปิฎกสยามรัฐมีคำว่าพฺยาธิปิทุกฺขาด้วย, ซึ่งฉบับสวดมนต์ไม่มี, แต่ไปมีบทว่าโสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสาปิทุกฺขา, ซึ่งในพระไตรปิฏกไม่มีคือความสลัดทิ้งความสละคืนความปล่อยความทำไม่ให้มีที่อาศัยซึ่งตัณหานั้น.

ภิกษุ. ! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐเรื่องข้อปฏิบัติอันทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์คือข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐอันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้ได้แก่ความเห็นที่ถูกต้องความดำริที่ถูกต้องการพูดจาที่ถูกต้องการทำการงานที่ถูกต้องการอาชีพที่ถูกต้องความพากเพียรที่ถูกต้องความรำลึกที่ถูกต้องความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง.

ภิกษุ. ! จักษุเกิดขึ้นแล้วญาณเกิดขึ้นแล้วปัญญาเกิดขึ้นแล้ววิชชาเกิดขึ้นแล้วแสงสว่างเกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อนเกิดขึ้นแก่เราว่านี้คือความจริงอันประเสริฐคือความทุกข์, เกิดขึ้นแก่เราว่าก็ความจริงอันประเสริฐคือความทุกข์นี้เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้, เกิดขึ้นแก่เราว่าก็ความจริงอันประเสริฐคือความทุกข์นี้เราตถาคตกำหนดรู้รอบแล้ว.

ภิกษุ. ! จักษุเกิดขึ้นแล้วญาณเกิดขึ้นแล้วปัญญาเกิดขึ้นแล้ววิชชาเกิดขึ้นแล้วแสงสว่างเกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อนเกิดขึ้นแก่เราว่านี้คือความจริงอันประเสริฐคือแดนเกิดของทุกข์,เกิดขึ้นแก่เราว่าก็ความจิรงอันประเสริฐคือแดนเกิดของทุกข์นี้เป็นสิ่งที่ควรละเสีย,เกิดขึ้นแก่เราว่าก็ความจริงอันประเสริฐคือแดนเกิดของความทุกข์นี้เราตถาคตละได้แล้ว

ภิกษุ. ! จักษุเกิดขึ้นแล้วญาณเกิดขึ้นแล้วปัญญาเกิดขึ้นแล้ววิชชาเกิดขึ้นแล้วแสงสว่างเกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อนเกิดขึ้นแก่เราว่านี้คือความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของความทุกข์, เกิดขึ้นแก่เราว่าก็ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของความทุกข์นี้เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง, เกิดขึ้นแก่เราก็ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของความทุกข์นี้เราตถาคตได้ทำให้แจ้งแล้ว.

ภิกษุ. ! จักษุเกิดขึ้นแล้วญาณเกิดขึ้นแล้วปัญญาเกิดขึ้นแล้ววิชชาเกิดขึ้นแล้วแสงสว่างเกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อนเกิดขึ้นแก่เราว่านี้คือความจริงอันประเสริฐคือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์, เกิดขึ้นแก่เราว่าก็ความจริงอันประเสริฐคือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์นี้เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดมี, เกิดขึ้นแก่เราว่าก็ความจริงอันประเสริฐคือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์นี้เราตถาคตได้ทำให้เกิดมีแล้ว.

ภิกษุ. ! ตลอดกาลเพียงไรที่ญาณทัศนะเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริง

ของเราอันมีปริวัฏฏ์สามมีอาการสิบสองในอริยสัจจ์ทั้งสี่เหล่านี้ยังไม่เป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี; ตลอดกาลเพียงนั้นเรายังไม่ปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลกมารโลกพรหมโลกในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาแลมนุษย์.

ภิกษุ. !เมื่อใดญาณทัศนะเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริงของเราอันมีปริวัฏฏ์สามมีอาการสิบสองในอริยสัจจ์ทั้งสี่เหล่านี้เป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี; เมื่อนั้นเราก็ปฏิญญาว่าเป็นผู้ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลกมารโลกพรหมโลกในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาแลมนุษย์.

เกิดแสงสว่างเนื่องด้วยการตรัสรู้๑

ภิกษุ. ! เมื่อใดตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ, ใน

. บาลีสัตตมสูตรภยวรรคจตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๗/๑๒๗.

ขณะนั้นแสงสว่างอันโอฬารจนหาประมาณมิได้ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้, ได้ปรากฏขึ้นในโลกพร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ถึงแม้ในโลกันตริกนรกอันโล่งโถงไม่มีอะไรปิดกั้นแต่มืดมนหาการเกิดแห่งจักขุวิญญาณมิได้อันแสงสว่างแห่งพระจันทร์และพระอาทิตย์อันมีฤทิธิ์อานุภาพอย่างนี้ส่องไปไม่ถึงนั้นแม้ในที่นั้นแสงสว่างอันโอฬารหาประมาณมิได้ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้ก็ได้ปรากฏขึ้นเหมือนกัน.สัตว์ที่เกิดอยู่ที่นั้นรู้จักกันได้ด้วยแสงสว่างนั้นพากันร้องว่าท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย ! ผู้อื่นอันเกิดอยู่ในที่นี้นอกจากเราก็มีอยู่เหมือนกันดังนี้.

ภิกษุ. ! นี้แลเป็นอัศจรรย์ครั้งที่สามที่ยังไม่เคยมีได้บังเกิดมีขึ้นเพราะการบังเกิดแห่งตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแผ่นดินไหวเนื่องด้วยการตรัสรู้๑

ดูก่อนอานนท์ ! เหตุปัจจัยที่ทำให้ปรากฏการไหวแห่งแผ่นดินอันใหญ่

หลวงมีอยู่แปดประการ.

ดูก่อนอานนท์ ! เมื่อใดตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ; เมื่อนั้นแผ่นดินย่อมหวั่นไหวย่อมสั่นสะเทือนย่อมสั่นสะท้าน. อานนท์ ! นี้เป็นเหตุปัจจัยที่คำรบห้าแห่งการปรากฏการไหวของแผ่นดินอันใหญ่หลวง.

. บาลีอัฏ. อํ. ๒๓/๓๒๓/๑๖๗. ตรัสแก่พระอานนท์ที่ปาวาลเจดีย์เมืองเวสาลี.

ภิกษุ. ! ก็เมื่อเราเป็นผู้มีความเกิดความแก่ความเจ็บความตาย

เป็นธรรมดามีความโศกเป็นธรรมดามีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาด้วยตน,ก็รู้จักสิ่งที่มีความเกิดแก่เจ็บตายโศกเศร้าหมองเป็นธรรมดา. ครั้นรู้แล้วจึงได้แสวงหานิพพานอันไม่เกิดไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตายไม่โศกไม่เศร้าหมองเป็นธรรมดาอันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งไปกว่าอันเกษมจากโยคธรรม. เราก็ได้บรรลุพระนิพพานนั้น. อนึ่งปัญญาเครื่องรู้เครื่องเห็นได้เกิดแก่เราว่าความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบการเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายภพเป็นที่เกิดใหม่มิได้มีอีกดังนี้.

. ปาสราสิสูตรโอปัมมวรรค.. ๑๒/๓๒๓/๓๒๐.

เริ่มแต่ตรัสรู้แล้วทรงประกอบด้วยพระคุณธรรมต่าง

จนเสด็จไปโปรดปัญจวัคคย์บรรลุผล.

มีเรื่อง:

- ทรงเป็นลูกไก่ตัวพี่ที่สุด

- ทรงเป็นผู้ข่มอินทรีย์ได้

- ทรงมีตถาคตพลญาณสิบทรงมีเวสารัชชญาณ

-ทรงมีวิธีรุกข้าศึกให้แพ้ภัยตัว

-ทรงมีธรรมสีหนาทที่ทำเทวโลกให้สั่นสะเทือนทรงมีธรรมสีหนาทอย่างองอาจ

-สิ่งที่ใครไม่อาจท้วงติงได้ -ไม่ทรงมีความลับที่ต้องช่วยกันปกปิด-ทรงเป็นอัจฉริย

-มนุษย์ในโลก

-ทรงต่างจากมนุษย์ธรรมดา

ทรงบังคับใจได้เด็ดขาด

-ไม่ทรงติดแม้ในนิพพาน

ทรงมีความคงที่ไม่มีใครยิ่งกว่า

--ทรงยืนยันในคุณธรรมของพระองค์ได้

-ทรงยืนยันพรหมจรรย์ของพระองค์ว่าบริสุทธิ์เต็มที่

-สิ่งที่ไม่ต้องทรงรักษาอีกต่อไป

-ทรงฉลาดในเรื่องที่พ้นวิสัยโลก

-ทรงทราบทิฏฐิ

วัตถุอันลึกซึ้งหกสิบสอง

-ทรงทราบส่วนสุดและมัชฌิมาปฏิปทาทรงทราบ

พราหมณสัจจ์

-ทรงทราบพรหมโลก

-ทรงทราบคติห้าและนิพพาน

- ทรงแสดงฤทธิ์ได้เพราะอิทธิบาท

-ทรงมีอิทธิบาทเพื่อยู่ได้ถึงกัปป์

- ทรงเปล่งเสียงคราวเดียวได้ตลอดทุกโลกธาตุ

- ทรงมีปาฎิหาริย์สาม

- เหตุที่ให้ได้นามว่าตถาคต

-เป็นสัมมาสัมพุทธะเมื่อคล่องแคล่วในอนุปุพพวิหารสมาบัติ

- เป็นสัมมาสัมมาสัมพุทธะเมื่อทราบอริยสัจจ์สิ้นเชิง

ไม่ทรงเป็นสัพพัญญูทุกอิริยาบถ

- ทรงยืนยันความเป็นมหาบุรุษ

- ไม่มีใครเปรียบเสมอ

ไม่ทรงอภิวาทใคร

- ทรงเป็นธรรมราชา

- ทรงเป็นธรรมราชาที่เคารพธรรม

- ทรงคิดหาที่พึ่งสำหรับพระองค์เอง

- ถูกพวกพราหมณ์ตัดพ้อ

- มารทูลให้นิพพาน

ทรงท้อพระทัย

ในการแสดงธรรม

-พรหมอาราธนา

- ทรงเห็นปวงสัตว์เปรียบด้วยบัวสามเหล่า

- ทรงแสดงธรรมเพราะเห็นความจำเป็นของสัตว์บางพวก - ทรงเห็นลู่ทางที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์

-ทรงระลึกหาผู้ควรรับปฐมเทศนา

-เสด็จพาราณสีพบอุปกาชีวก

-การแสดงปฐมเทศนา

-การประกาศธรรมจักรที่อิสิปตนมฤคทายวัน

-แผ่นดินไหวเนื่องด้วยการแสดงธรรมจักร

-เกิดแสงสว่างเนื่องด้วยการแสดงธรรมจักร

-จักรของพระองค์ไม่มีใครต่อต้านได้

-ทรงหมุนแต่จักรที่มีธรรมราชา (เป็นเจ้าของ)

- การปรากฏของพระองค์คือการปรากฏแห่งดวงตาของโลกอันใหญ่หลวง

   

  ประวัติผู้รวบรวมเรียบเรียงเขียน

ชื่อสกุล  นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท