ระดับที่ปลอดภัยของรังสีไม่แตกตัว ชนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) กับอันตรายต่อสุขภาพ


เสาสัญญาณมือถือ ทำให้เป็นโรคจากสิ่งแวดล้อม หรือเกิดความผิดปกติต่างๆขึ้นจริงหรือไม่


ระดับที่ปลอดภัยของรังสีไม่แตกตัว ชนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) กับอันตรายต่อสุขภาพ

มีข่าวการร้องเรียนเรื่อง เสาสัญญาณมือถือ ทำให้เป็นโรคจากสิ่งแวดล้อม หรือเกิดความผิดปกติต่างๆขึ้น รวมถึงระดับที่ปลอดภัยเหมาะสมหรือไม่

ความถี่ ขนาดที่ได้รับ ระยะห่างจากแหล่งกำเนิด และระดับที่ปลอดภัยควรเป็นเท่าไรกันแน่

จึงได้การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ในเรื่อง ผลต่อสุขภาพ ชนิดของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

EMF หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะแบ่งเป็น 2 สนาม คือ
สนามไฟฟ้า Electrical Field กับ สนามแม่เหล็ก Magnetic Field 

EF จะมีหน่วยเป็น Volts/m
MF หน่วยเป็น G หรือ Ampares/m
ทั้งสองสนามนี้จะตั้งฉากกัน
ส่วน Power density หน่วยเป็น Watt/m2

EF จะลดลงเมื่อมีวัตถุกำบัง ส่วน MF สามารถทะลุทะลวงได้



ปริมาณที่ได้รับขึ้นกับ ความถี่ ระยะห่างจากแหล่งกำเนิด ลักษณะการแผ่รังสีของแหล่งกำเนิด วัตถุกำบัง(EF)

Spectrum of EMF มีความถี่แตกต่างกันมาก
โดย ความถี่ของสัญญาณมือถือแบ่งเป็น 
CDMA 0.8-0.9GHz 
GSM900 0.9GHz
GSM1800 1.8GHz
3G 2.1GHz

ICNIRP จะกำหนด General Public 10MHz-10GHz ที่การสัมผัสทั่วร่างกายไว้ที่ 0.08W/kg ครับ

ส่วนในปี 2008 India adopted the Guideline developed ICNIRP for mobile towers
ตามความถี่ 0.4GHz-2GHz โดยใช้สูตร f/200
โดย f เป็น MHz


ทำให้ได้ค่าดังนี้
CDMA/GSM900 = 4.5W/m2
GSM1800 = 9.2W/m2
3G = 10W/m2


ส่วน Inter-ministerial committee(IMC) recommended General Public ดังนี้
400-2000MHz = f/2000 W/m2
2-300GHz =1 W/m2
ทำให้ได้ค่าดังนี้
CDMA/GSM900 = 0.45W/m2
GSM1800 = 0.92W/m2
3G = 1W/m2


ส่วนค่าที่อ้างว่าระดับปลอดภัยที่ควรจะเป็น 0.001W/m2 จะเป็นของ Austria 
และ Bio-initiative Report 2007 ซึ่งกำหนด
Cumulative RF exposure ไว้ดังนี้
Outdoor 0.001W/m2
Indoor 0.0001W/m2


ส่วน Australia 2010, BUND 2007(Germany)
กำหนดไว้ต่ำถึง 0.00001W/m2 หรือ 10 microW/m2



ส่วน  Extremely Low frequancy (ELF) คือ รังสีช่วงความถี่ต่ำมากของคลื่นแม่เหล็ก
Magnetic Field 3-3000 Hz ได้แก่ สิ่งก่อสร้างเช่น เสาไฟฟ้าแรงสูงซึ่ง IARC จัดให้เป็นสิ่งที่ก่อมะเร็ง Group 2B
ทำให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ 
แต่ระดับความสัมพันธ์ในการก่อมะเร็งยังไม่ชัดเจนในมนุษย์

ข้อมูลเพิ่มเติม

http://www.icnirp.de/documents/emfgdl.pdf

http://www.scribd.com/doc/68012413/10/ICNIRP-Guidelines

http://www.dot.gov.in/miscellaneous/IMC%20Report/IMC%20Report.pdf

http://monographs.iarc.fr/ENG/Monographs/vol80/volume80.pdf

หมายเลขบันทึก: 512263เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2013 10:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณข้อมูลดีๆจะได้นำไปบอกต่อแก่ชุมชน  ผลกระทบทางด้านสุขภาพ ที่ต้องหลีกเลี่ยง ไม่ต้องทำ HIA


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท