การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง  :  การปลูกถั่งงอก

สำหรับ  :  เด็กอายุ  5 – 6  ขวบ

มโนทัศน์การเรียนรู้  การปลูกถั่วงอกเกิดจากการที่เราได้รับประทานผักที่มีประโยชน์  แต่การปลูกผักให้ 

    เจริญงอกงามนั้นทำได้หลายวิธี  ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีประโยชน์มากน้อยแตกต่างกันออกไป

เป้าหมาย  

  1. ฝึกให้เด็กรู้จักกระบวนการคิด วางแผน ทำงานอย่างเป็นขั้นตอน รู้จักการแก้ปัญหาร่วมกัน และสรุปผลการทดลอง
  2. ส่งเสริมให้เด็กรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และมีส่วนร่วมในการเรียน
  3. ส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออกด้วยการพูด การแสดงความคิดเห็นถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์เดิม
  4. สนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง เห็นความสำเร็จของผลงาน และภูมิใจในผลงาน ของตนเอง

สิ่งที่เด็กต้องปฏิบัติ  :  ช่วยกันวางแผนในการปลูกถั่วงอก  และช่วยกันคอยดูแลจนกว่าจะงอกงาม

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

  Ÿ  ครูทักทายเด็ก  และสนทนาว่าเด็กชอบรับประทานผักชนิดใดมากที่สุด

  Ÿ  ครูบอกกิจกรรมและจุดประสงค์ของกิจกรรม

อุปกรณ์ที่เตรียม

1.   เมล็ดถั่วเขียว 

2.  น้ำ 

3.  กระดาษทิชชู  

4.  ถ้วยพลาสติก 

5.  กะละมัง

ขั้นดำเนินการ

1.  ให้นักเรียนนำกระดาษทิชชูถ้วยพลาสติกจากบ้าน

2.  ครูนำถั่วเขียวที่เตรียมไว้ใส่กะละมังแล้วให้เด็กสัมผัส พร้อมตั้งคำถามให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง
  - เด็กๆ จับถั่วเขียวแล้วรู้สึกอย่างไร
  - ทำไมต้องแช่ถั่วเขียวในน้ำ

3.  นำน้ำอุ่นเทใส่กะละมังถั่วเขียวให้ท่วม แช่ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง

4.   เมื่อครบ 1 ชั่วโมงแล้วให้เด็กๆ ลองสัมผัสถั่วเขียวที่แช่น้ำ พร้อมตั้งคำถามให้เด็กตอบ ให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง
  - เด็กจับถั่วเขียวแล้วรู้สึกอย่างไร
  - ถั่วเขียวที่แช่น้ำมีลักษณะอย่างไร

5.   ครูสาธิตการปลูกถั่วเขียว โดยนำกระดาษทิชชูวางบนจาน หรือถ้วย  2 - 3 ชั้น แล้วพรมน้ำให้กระดาษทิชชูเปียก แล้วนำถั่วเขียวที่แช่น้ำไว้โรยบนกระดาษทิชชูที่เปียกให้กระจายๆกัน จากนั้นนำกระดาษทิชชู ปิดทับ 3 – 4 ชั้นแล้วพรมน้ำกระดาษทิชชูให้ชุ่ม เป็นอันเสร็จ

6.  เด็กทุกคนทดลองปลูกด้วยตนเองตามวิธีการที่ครูได้สาธิต  ครูคอยดูแลและให้คำแนะนำ แต่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

7.  เมื่อเด็กทุกคนปลูกถั่วเขียวครบแล้ว ให้นำไปวางเรียงบนหลังตู้ จากนั้นเด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันโดยให้เด็กช่วยกันคิดวิธีการดูแลรักษาถั่วเขียว
  - ทำอย่างไรถั่วเขียวจะเจริญเติบโต
  - ในห้องเรียนเรามีหนูเราจะป้องกันไม่ให้หนูมากัดกินถั่วเขียวได้อย่างไร

8.   ครูให้นักเรียนช่วยกันสังเกตการเจริญเติบโต ครูสังเกตความสนใจ และบันทึกคำพูดเด็ก

9.   เมื่อถั่วเขียวกลายเป็นถั่วงอกที่โตเต็มที่ ให้เด็กๆ เก็บถั่วงอกของตนเอง โดยลอกเปลือกสีเขียวออก เด็ดรากออก  ใส่ถังล้างน้ำให้สะอาด นำไปรับประทานเป็นอาหารได้

ผลปรากฏต่อเด็ก

1  พัฒนาการทางด้านร่างกาย เด็กได้เคลื่อนไหว ประกอบเพลง “มากินผัก”
    2  พัฒนาการด้านจิตใจ  เด็กมีความใจเย็น รู้จักการรอคอยการเจริญเติบโตของถั่วงอก เอาใจใส่ต่อ  งานที่ได้รับมอบหมาย และเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง
     3  พัฒนาการด้านสังคม เด็กรู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การปรับตัวอยู่ร่วมกันในสังคม และการช่วยกับเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย
     4  พัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กรู้จักการสังเกต การสัมผัส การทดลองวางแผนการทำงานก่อนลงมือปฏิบัติจริง และการดูแลเอาใจใส่ในงานจนเกิดผลสำเร็จ
     5  เด็กเกิดความภาคภูมิใจในผลงานอย่างมาก สังเกตการเจริญเติบโตของถั่วงอกของตนเองทุกวัน และยังคอยสอบถาม สังเกตการเจริญเติบโตของถั่วงอกของเพื่อน รู้จักการเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างถั่วงอกของตนเองและของเพื่อน 
    6  เด็กๆ อยากชิมถั่วงอกของตนเอง จากการสอบถามความรู้สึกของเด็กๆ ต่อถั่วงอกของตนเอง ทำให้ทราบว่าอยากจะลองรับประทานถั่วงอกของตนเองที่ปลูก และอยากชิมถั่วงอกของเพื่อนด้วย

คำสำคัญ (Tags): #สีม่วง
หมายเลขบันทึก: 511891เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท