อาคารเรียนและห้องเรียนในศตวรรษที่ ๒๑


ผมจึงตั้งข้อสังเกต/คำถาม ว่า เวลานี้หน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ (และในมหาวิทยาลัย) ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคาร ทราบแล้วหรือยัง ว่าต้องเปลี่ยนแบบมาตรฐานของห้องเรียนเสียใหม่ สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญการออกแบบอาคารการศึกษา ทราบเรื่องนี้แล้วหรือยัง


          การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ เปลี่ยนไปจากเดิม (ศตวรรษที่ ๒๐) อย่างมากมาย  รูปแบบการเรียนรู้ในห้องเรียนเปลี่ยนจากการถ่ายทอดหรือบอกความรู้ (สมัยผมเรียน ครูบอกให้จด  แม้ตอนเรียนมหาวิทยาลัย ก็ยังเป็นการเล็กเชอร์ให้จด) มาเป็นเรียนโดย นร./นศ. ทำกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจขึ้นในสมองและจิตใจของตน


          ห้องเรียนจึงต้องเปลี่ยนจาก “ห้องเรียนโดยครูสอนหน้าชั้น”  มาเป็น “ห้องเรียนโดย นร. ลงมือทำเป็นทีม”  การออกแบบก่อสร้างห้องเรียนจึงต้องเปลี่ยนไป  จากออกแบบ classroom เป็นออกแบบ studio (ห้องทำงาน)  เพราะเวลานี้ นร. ต้องเรียนโดยการ “ทำงาน” หรือเรียนโดยลงมือทำ


          ผมจึงตั้งข้อสังเกต/คำถาม ว่า  เวลานี้หน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ (และในมหาวิทยาลัย) ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคาร  ทราบแล้วหรือยัง ว่าต้องเปลี่ยนแบบมาตรฐานของห้องเรียนเสียใหม่   สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญการออกแบบอาคารการศึกษา ทราบเรื่องนี้แล้วหรือยัง


          สถาปัตยกรรมมีส่วนช่วยหนุน หรือขัด การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑  วงการสถาปัตยกรรมไทย ตระหนักถึงความจำเป็น ที่จะต้องเปลี่ยนหลักการออกแบบโครงสร้างทางกายภาพ ให้สอดคล้องกับการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ แล้วหรือยัง 


          วงการออกแบบโรงเรียนและมหาวิทยาลัย น่าจะได้มีการสัมมนากันสักครั้ง  ว่ารูปแบบที่เหมาะสมของอาคาร  และบริเวณโรงเรียน สำหรับศตวรรษที่ ๒๑ ควรเป็นอย่างไร  และน่าจะมีการประกวด อาคารสถานที่โรงเรียนแห่งศตวรรษที่ ๒๑



วิจารณ์ พานิช
๒๓ พ.ย. ๕๕


หมายเลขบันทึก: 511584เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 08:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2012 07:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอให้ความเห็นในฐานะเป็นที่ปรึกษาด้านการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี โดยทีมของรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาการศึกษาได้ทราบเรื่องนี้แล้ว และกำลังดำเนินการปรับเปลี่ยนและผลีกดันนโยบายต่างๆออกมาตาม่ลำดับ โดยมีจุดเริ่มต้นจากการวางผังแม่บทเกี่ยวกับพื้นที่การเรียนรู้หรือ Learning Space ทั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งในปัจจุบันมีอาคารสำนักหอสมุดที่เป็นต้นแบบของการออกแบบพื้นที่ในการเรียนรู้แบบเรียนรู้ร่วมกัน Collaborative Space มีการปรับโครงสร้างหลักสูครการศึกษาใหม่หมดแบบ Integrated Curriculum โดยอาศัยจุดเริ่มต้นจากโมเดลของ Flipped Classroom กำลังอยู่ในระหว่างก่อสร้างห้องเรียนต้นแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนในโมเดลดังกล่าว มีการสร้างหน่วยงาน Cops เพื่ออบรมอาจารย์ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน  และกำลังสร้างหน่วยงานวิจัยในเรื่องที่ได้กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดครับ ซึ่งโครงการทั้งหมดทางมหาลัยได้เริ่มทำมาระยะหนึ่งแล้วครับ หากผู้ใดสนใจแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือต้องการคำแนะนำใดๆที่ทางผมหรือมหาวิทยาลัยพอช่วยเหลือได้ก็ยินดีครัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท