493. ปฏิบัติการ "พลิกสมอง แล้วเปลี่ยนโลก"


ประสบการณ์การบวชสามเดือนของข้้าพเจ้าที่วัดป่าธรรมอุทยาน จังหวัดขอนแก่น (ตอนที่ 8)

ผมชอบที่จะหาหนังสือดีๆมาอ่าน ซื้อหนังสือไปมากครับ โดยที่บางครั้งไม่รู้หรอกว่าดีจริงไหม บางเล่มก็เพียงรู้สึกว่า “มันเข้าท่าแฮะ” ก็ซื้อหามาอ่าน เช่นเล่มนี้ครับ เขียนโดย Danial H. Pink มีชื่อว่า  A Whole New Mind  : Why right-brainers will rule the future ชื่อแปลเป็นไทย ชื่อภาษาไทยคือ “พลิกสมองเปลี่ยนโลก” แค่ชื่อภาษาอังกฤษนี่น่ากลัวมาก เพราะมีคำเชื่อมว่า “ทำไม คนใช้สมองซีกขวาจะครองโลก”  นี่แหละครับกระตุกให้ผมต้องซื้อหามาอ่าน


Credit: http://www.danpink.com/books/whole-new-mind


อ่านไปก็จับใจความได้คร่าวๆครับ ว่ายุคปัจจุบันหมด ยุคของคนใช้สมองซีกซ้ายแล้วครับ คือจำเป็นต้องมี แต่อาจหากินลำบาก เป็นบริษัทก็จะต้องไปแข่งขันเรื่องราคา เพราะเน้นแต่ลดต้นทุน เป็นประเทศก็ยากจนลงแน่นอน ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างหลายๆบริษัทที่เน้นใช้สมองซีกขวา ที่เป็นสมองส่วนของการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ที่ในที่สุดสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ดีๆ ออกมาได้ ครับ เช่น Apple คุณจะเห็นว่ามีการใช้สมองซีกขวาอย่างชัดเจน แล้วครองโลกไปเลย ส่วนจีนใช้สมองซีกซ้ายครับก็รับผลิตด้วยต้นทุนถูกๆ ไป ตอนนี้ยุ่งแล้วครับ เพราะพม่าถูกกว่า และถ้าย้อนไป ก่อนหน้าที่ Apple ตกต่ำ ก็เพราะ CEO ไปไล่สตี๊ฟ จ๊อฟออกแล้วปกครองบริษัทด้วยการใช้สมองซีกซ้าย เอาตัวเลข มาวัดกันเกินเหตุ เรียกว่าแทบล่มจมตกขอบไปเลย...ที่สุดคณะกรรมการบริษัทต้องหาทางเชิญสตี๊ฟ จ๊อบกลับมา แล้วเปิดโอกาสให้ท่านใช้สมองซีกขวาอย่างเต็มที่ ที่สุดเราก็เห็นอะไรที่ปฏิวัติโลกตามมาตั้งแต่ I-POD, I-Tune, I-Phone จนถึง I-Pad

....

ครับแนวคิดคือเราต้องใช้สมองซีกขวาครับ จึงจะเอาตัวรอดและเติบโตได้ กรอบการมองโดยใช้สมองซีกขวา มีหกแนวทางครับคือ


Credithttp://divergentmba.wordpress.com/category/books-ways-of-thinking/a-whole-new-mind/

1.  Design (ดีไซน์) คือการ “ออกแบบ” ครับ ไม่ใช้เน้นแต่การใช้งาน หรือ Function (ฟังชั่น) อย่างเดียว ถ้าคุณมอง Apple คุณจะค้นพบว่า Apple ใช้ง่ายมากครับ เป็นความจงใจของ Apple เลย คนสูงอายุญี่ปุ่นนิยมใช้ Ipad มาก เอากระทั่งกล่อง สตี๊ฟยังคิดแล้วคิดอีกว่าทำไงผู้บริโภคจะแกะผลิตภัณฑ์ออกมาใช้ได้ไม่ยาก 

2.  Story (สตอรี่) “มีเรื่องราว” ไม่ใช่ใช้เหตุผลกันอย่างเดียว ถ้าคุณใช้ Apple คุณจะเห็นเรื่องราวของสตีฟ จ๊อฟ ชัดเจนมาก การออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีเรื่องราว มีตำนานความดิ้นรน สุนทรพจน์ขอสตีฟ จ๊อฟ เวลาเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เแทบจะเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของโลก มีคนติดตามนับล้านๆ พูดง่ายๆ ทุกอย่างมีเรื่องเล่าหมด

3.  Symphony (ซิมโฟนี่) หมายถึง “ความกลมกลืน ต่อเนื่อง” ไม่ใช่ดีเรื่องหนึ่ง ไปเสียเรื่องหนึ่งครับ หลายคนซื้อ Apple ด้วยเหตุผลว่ามันมีระบบนิเวศน์ (Ecosystem) ของมันเอง ครับ มี App รองรับ มีผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อกันอย่างไร้ที่ติ กลมกลืน

4.  Emphaty (เอ็มพาที่)  คือ “ความเมตตา สงสาร” ไม่ใช่แค่เน้นแค่ “ตรรกะ” แทนที่ศิลปินจะกังวลเรื่องการถูกขโมยผลงาน หากออกเป็น CD  ทาง Apple ก็มี I-tune ให้ศิลปินขายเพลงครับ ในราคาถูกเพียงหนึ่งดอลล่าร์ต่อเพลง ซึ่งสตีฟพูดไว้ว่า จะเป็นแนวทางที่ลดแรงจูงใจให้คนขโมยเพลง เพราะราคาไม่แพง แถมศิลปินสามารถเข้าถึงตลาดในวงกว้างกว่า

5.  Play (เพลย์) คือ” การเล่น”ไม่ใช่จริงจังอย่างเดียว เล่นด้วย คุณจะเห็น Apple มีความสร้างสรรค์ เล่นกับผู้บริโภค ตั้งแต่ตราสินค้า การออกแบบครับ ไม่จริงจังเกินเหตุ

6.  Meaning (มีนนิ่ง) แปลว่า “มีความหมาย” (ไม่ใช่ทำเพื่อเงินเป็นที่ตั้ง) ครับ แนวคิดของ Apple คือการเปลี่ยนแปลงโลก เช่นสตี๊ฟ จ๊อฟรู้สึกรำคาญมือถือที่ใช้อยู่ เลยสร้างแนวคิด I-phone ขึ้นมา นี่ก็เปลี่ยนโลกของสมาร์ท โฟนไปเลย  คุณจะเห็นว่า I-tune เปลี่ยนอุตสาหกรรมดนตรีไปเลย I-Pad Iphone ล้วนเปลี่ยนโลก  แต่ถ้าดูประวัติระยะหลังจะเห็นว่าก่อนตาย สตีฟพัฒนาอะไรๆไว้เยอะมาก โดยเฉพาะช่วงที่รู้ว่าเป็นมะเร็ง เรียกว่ามีมรณสติ ยิ่งคิดยิ่งทำ ไม่รอวันเวลา ไม่กลัวอะไร นี่แหละครับเรียกว่า “ค้นหาความหมายของชีวิตจนเจอ” เขาเจอว่าเกิดมาเพื่ออะไร แล้วจะต้องทำอะไรบ้าง แล้วเงินมันตามมาเองครับ


Credithttp://www.yalibnan.com/2011/02/28/steve-jobs-is-a-biological-arab-american-with-roots-in-syria-apple/

ตรงนี้เป็นสิ่งที่ผมอ่านประวัติของสตีฟ และ Apple จากนั้นลองเอามาใส่ในแนวคิด A Whole New Mind ผมเรียกชื่อย่อว่า (WNM) อันนี้ผมตีความเอาเอง เพราะไม่รู้หรอกว่าสตีฟจะคิดตามนี้ไหม แต่อาจไกล้เคียง เพราะเคยเรียนกับศาสตราจารย์เบแนม ทบิซซี่ ท่านเคยเป็นโค้ชให้สตีฟ ท่านนี้เน้นเรื่องการสร้างภาวะผู้นำที่ใช้สมองซีกขวามากๆ ดูแล้วเนื้อหามีจุดร่วมกันอยู่  หลังผมอ่านดูก็ตกใจครับว่าสมองซีกขวาครองโลกจริง เราจะเห็นว่าองค์กรที่ไปไกลมากๆ มีอิทธิพลมากๆ มีการใช้สมองซีกขวามาก โดยเฉพาะ Apple นี่ใช้มันทุกมิติครับ

ฟังแล้วอยากเปลี่ยนโลกบ้างไหมครับ

ผมและเพื่อนๆเองก็อยากพลิกโลกใบเล็กของเรา เราจึงเริ่มจาก

"ปฏิบัติการพลิกสมอง"

ไม่กี่เดือนที่ผ่านมาผมมีโอกาส "พลิกสมอง" แล้วได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างคือ เรื่องแรกสมัยอยู่วัดป่าธรรมอุทยาน ตอนบวชสามเดือนมีโอกาสรู้จักสุภาพบุรุษสองท่านคืออาจารย์ดร.กิตติ  จากกรมทางหลวงชนบท และอาจารย์ทัช จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร  ท่านทั้งสองถือเป็นกัลยาณมิตรทางธรรมครับ หลังบวชไปสักสองเดือน เราก็มานั่งสนทนาธรรมว่า ออกไปเราจะทำอะไรดี เพราะเราเห็นคุณค่าของธรรมะมากๆ เราจะอยู่ในทางโลกโดยใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย ได้อย่างไร ด้วยพื้นฐานที่เราสามคนเป็นวิศวกรด้วยแล้ว อาจารย์กิตติจบทางด้านโยธา อาจารย์ทัชสอนด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ผมเองก็จบวิศวะมา



(ภาพวนตามเข็มนาฬิกา: อาจารย์ดร.กิตติจากกรมทางหลวงชนบท ผม อาจารย์ทัชจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และก้องจากราชนาวี) 

เรามีโอกาสเล่าเรื่องเรื่องดีๆ ผ่านการตั้งคำถามดีๆ แบบ Appreciative Inquiry ครับ อาจารย์ทัชมีโอกาสพานักศึกษาคิดค้นงานเป็น App ที่เตือนภัยน้ำท่วมครับ นี่ชัดเลยมากจากควาเมมตา ได้รับรางวัลระดับชาติ ออกรายการทีวีมาแล้ว อาจารย์กิตติก็เล่าถึงการใช้ชีวิตอย่างมีความหมายของอาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษาของท่าน การสอนลูกให้เป็นผู้นำ ความงดงามของการใช้ชีวิตของวิศวกรท่านหนึ่งที่เน้นการให้ ให้กับชุมชนด้านศาสนาของท่านเอง ส่วนผมเองได้แบ่งปันเรื่องราวของเมืองเช่น เมืองแห่งหนึ่งในบราซิลที่ต้องการให้คนพิการไปไหนมาไหนได้สะดวก ก็เลยพัฒนาเมืองเช่นปรับทางเดินเท้าให้ราบเรียบ ป้ายรถเมล์กยกระดับเป็นชานชาลา ให้คนพิการเข็นรถขึ้นรถเมล์ได้สะดวก ส่วนรถเมล์ก็ตัดบันไดออก ให้คนพิการสามารถเข็นรถขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องให้ใครมาช่วยเหลือมาก

จะเห็นว่าสิ่งที่เราเล่า คืออะไรที่เกี่ยวข้องกับการรู้สึกมี “Meaning” หรือควาหมายในชีวิต มีศูนย์กลางอยู่ที่ Empathy คือความเมตตา ครับ ที่เหลือไม่ว่าจะเป็น Design อะไรนี่ตามมาเอง เรามองกันว่าวิศวกรรม ควรมีฐานอยู่มี่ความเมตตาครับ ที่สุดเราลองผูกคำมันกลายเป็น Compassionate Engineering หรือ “วิศวกรรมบนฐานของความเมตตา” (© Kitti Manokhoon, Thanathat Lim and Pinyo Rattanaphan 2012) เพียงเราเอาควาเมตตา สงสาร อยากเห็นเพื่อนมนุษย์ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เราจะได้งานวิศวกรรมที่ดี แก้ปัญหาสังคม ยกระดับความเป็นอยู่ได้ ด้วยต้นทุนไม่สูงครับ 

พวกเราคุยกันว่าเราจะใช้ชีวิตสร้างสรรค์ Compassionate Engineering ของพวกเรา ในฐานะเราเป็นอาจารย์ เราทำอะไรได้มากมายครับ และสักวันเราอาจมีสาขา มีภาควิชานี้ขึ้นมาจริงๆ ก็ได้ ตอนนี้หลังสึกเราก็กลับไปใช้แนวคิดนี้ในการทำงาน ครับ 

เริ่มเปลี่ยนแปลง "โลกใบเล็ก"

เช่นผมเองก็เอาแนวคิด Compassionate Engineering ไปสอนแล้วล่ะครับ โดยผ่านกระบวนการ WNM คืออะไรครับ ผมมองว่าในการทำธุรกิจ เรามักวิคราะห์สิ่งแวดล้อมธุรกิจด้วย PESTE ครับ คือดูว่าการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเป็นไง ตอนนี้ผมมองใหม่ ลองชวนนักศึกษาใช้ WNM เป็นอย่างไรบ้าง เช่นตอนนี้ Design เป็นอย่างไร มี Emphaty ไหม  

น่าแปลกที่เจอช่องโหว่ เช่นอะไรใคร เราจะเจอการประท้วงของบ้านเรานี่ ไม่ว่าฝ่ายไหนครับ ต้องบอกเลย หวังดีกันจริงครับ แต่ขาดสมองซีกขวา ขาดจินตนาการครับ เลยจบลงด้วยความรุนแรง ลองดูสิครับ มีการประท้วงที่สร้างสรรค์น่ารักอยู่ทั่วโลกครับ ครั้งหนึ่งผมไปนิวยอร์ค เห็นการประท้วงน่ารักมากครับ เขาต่อต้านการทำร้ายสัตว์ เขาก็พากันแต่งตัวสีดำ ออกมากลางไทม์แควร์ มาเต้นช้าๆ ครับ จำลองเป็นความทรมานของสัตว์ คนสนใจกันมากครับ ในรัสเซียมีการประท้วงครับ พากันมาแล้วเปิดเสียงมือถือให้ดังพร้อมกันครับ นี่ก็เท่ห์ไปอีกแบบ มีกรณีหนึ่ง มีชายคนหนึ่ง เขาเห็นว่าสมัยนี้คนไม่ค่อยอบอุ่น เขาเลยเดินมาข้างถนน ขึ้นป้ายว่า “Free Hug” คือกอดฟรี ตอนแรกคนว่าบ้า ตอนหลังคนมากอดมากขึ้นๆ จนเป็นข่าว จนเป็นปรากฏการณ์มีการเลียนแบบไปทั่วโลกครับ ที่สุดถ้าเรา WNM เราจะเป็นอะไรที่สร้างสรรค์ไม่รุนแรง ได้ผล ไม่ก่อให้เกิดความแค้นครับ

คุณจะเห็นสองสามเรื่องที่ผ่านมานี่คือ Play ครับคือ “การเล่น” เอาการเล่น ไม่ใช่ความจริงจังเคียดขึ้งมาใช้ในการรณรงค์ต่างๆ นี่คือผมยกตัวอย่างให้นักศึกษาครับ 


credithttp://en.wikipedia.org/wiki/Play_(activity)

จากนั้น ก็พากันไปวิเคราะห์ในหลายๆ เรื่อง และหาทางออก พร้อมคนที่เขารู้ว่าน่าจะช่วยเหลือให้ความคิดดังกล่าวเป็นจริงขึ้นมาได้  ได้ทั้งช่องว่าง และทางออก คนช่วยในคราวเดียวกัน ตอนนี้ผมเอามาเป็น WNM ทางเลือกหนึ่งในการวิเคราะห์ธุรกิจ และสังคมครับ ผมตั้งชื่อว่า A-Whole-New-Mind Analysis หรือ WNM Analysis (© Pinyo Rattanaphan 2012) นี่ครับ ผมมองว่ามันช่วยวิเคราะห์อะไรได้ดีกว่า PESTE ที่เป็นอะไรที่ซีกซ้ายมากๆ แล้วเจอแต่ความหดหู่ หาทางออกไม่ได้ พอลองใช้ WNM Analysis นี่ปรากฏว่านักศึกษา MBA จะชอบมากๆ เพราะเห็นภาพและเห็นทางออกชัดเจนกว่า 

นี่แหละครับปฏิบัติการ"พลิกสมอง เปลี่ยนโลก" ของเรา 


ครับเพียงเล่าให้ฟัง ลองพิจารณาดูนะครับ

หมายเลขบันทึก: 511480เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2012 08:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2013 00:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณเรื่องราวดีดีที่แบ่งปัน อ่านแล้วเพิ่มพลังสมองมากค่ะ

เคยมีคนบอกว่า พี่แก้วเป็นคนไม่มีศิลปะเอาเสียเลย จะพยายามใช้สมองซีกขวามากขึ้น

เราจะเริ่มต้นยังไงดีคะ

สวัสดีครับพี่แก้ว

เท่าที่ผมรู้จักพี่แก้วมา ดูจากงานเขียนของพี่ พี่มีศิลปะโดยธรรมชาติคือตรง Empathy ครับ ตรงนี้เป็นจุดแข็งเลยครับ

อีกเรื่องตามที่ผมเคยไปอบรมให้พี่พี่อาจเป็น Connector หรือผู้เชื่อมต่อ ตรงนี้อาจพัฒนาศิลปะของการเป็น Salesman เพิ่มขึ้นมาครับ น่าจะช่วยได้

อีกเรื่องอาจใช้ U-theory ซึ่งสองเรื่องที่แนะนำ ผมจะเขียนเพิ่มโดยละเอียดในตอนต่อไปครับ

นับถือพี่มากครับ อ.โย

มีหนังสือภาษาไทยครับ A Whole New Mind แต่ต้องสั่งซื้อนะครับ เพราะไม่เห็นในร้านหนังสือมานานแล้วครับ

 

 

บันทึกของท่านอาจารย์สวยมากครับ..น่าชวนติดตาม...และมุมกล้องที่สวยมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท