492. ใจ "แจ้ง" กับผลงาน "จริง"


เมื่อสองสามวันก่อนอ่านหนังสือของปรมาจารย์ด้าน OD คือท่านศาสตราจารย์ Cumming และ Worley ท่านเขียนหนังสือเรื่อง Bulit to Change (บิล์ ทู เชนต์) เป็นหนังสือที่กล่าวถึงการสร้างกลไก ดีๆ ในองค์กรที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างได้ผลและยั่งยืนกว่า หนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลต่อการทำงานด้านการเป็นที่ปรึกษา OD ของผมในหลากมิติครับ ตั้งแต่ผมทำวิทยานิพนธ์ด้าน OD ในระดับปริญญาเอก (ผมทำเรื่อง Appreciative Inquiry ที่เป็นสาขาหนึ่งของ OD ครับ) 


เปิดมาหน้าหนึ่ง ผมก็เห็นสมการนี้ครับ

Performance (เพอร์ฟอร์แมนซ์) = Motiavtion (โมติเวชั่น)  x Abilities (อะบิลิตี้)

ท่านบอกว่า ผลงาน (การที่มนุษย์คนหนึ่งจะทำอะไรได้ไกล ได้ดีแค่ไหน) คือผลคูณของ “แรงจูงใจ” ของเขาเอง และ “ความสามารถ” ของผู้นั้น อืมเรื่องนี้ทำให้ผมตาสว่างอยู่หลายเรื่องครับ เช่นผมเห็นคนเก่งๆ (ที่ดูเก่ง) ในสังคมที่ผมต้องเกี่ยวพันด้วย  มันเป็นอย่างนี้จริงๆ บางคนดูเก่งครับ แต่ทำงานออกมาไม่ได้เรื่อง ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมครับ มีครั้งหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน ก่อนผมจะรู้จัก AI ปรากฏว่ามีลูกศิษย์คนหนึ่งที่ผมสอนในวิชาความคิดสร้างสรรค์ ผมสอนการคิด และให้เขียนความคิดลงในสมุด เห็นผลของการคิดของเขานั้นออกมาบรรเจิดครับ เสร็จแล้วเขาก็ทำงานมาส่ง มารู้ทีหลังครับ ว่าเธอเอางานของรุ่นพี่อีกห้องมาส่ง ทั้งๆ ที่ตอนเธอคิดนั้น ออกมาดีมาก อีกคนหนึ่งผมรู้เลยครับว่าจบปริญญาตรีด้านงานออกแบบมา คิดออกมาดีมาก พอส่งงาน ไม่นาน ผมก็เดินไปเจองานแบบเดียวกันที่ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัย 

ในทางกลับกันผมเจอเด็กหลายคน เช่น อาจารย์ครับ ผมไม่อยากจบครับ อยากเรียน อยากเรียนจนตั้งธุรกิจได้จริงๆ ที่สุด คนคนนี้ก็ใช้เวลาทำงานกับผมอยู่ปีครึ่ง (เพื่อน 3 เดือน) ที่สุดเปิดร้านได้จริงๆ ได้ถึงสองร้าน และยังเริ่มขายลิขสิทธิ์ ทำนอง Franchise ให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ และชอบแนวคิดเขา


ชัดไหมครับว่าผลงาน (Performance) ของเด็กสองคนแรก ไม่น่าจะออกมาแค่นี้ ก็เพราะอะไรครับ ทั้งสองขาด Motivation ที่จะทำอะไรดีๆ ครับ แต่แรงจูงใจ ที่ว่าก็มีเรื่องหนึ่งที่ผมอยากพูดมากๆ ครับ คือแนวคิดการ Copy and Paste การขโมยผลงานคนอื่นๆ  หรือการอ้างถึงผลงานคนอื่น ของสองคนแรก ซึ่งบอกตรงๆ ว่าเห็นเรื่องนี้ดาดดื่นมากๆ แม้กระทั่งในหมู่คนทำงานเก่ง คนเรียนเก่ง ไม่ต้องเด็กปริญญาตรี ปริญญาโท หรอกครับ โตๆ กันแล้วนี่แหละ หลายครั้ง ผมเจอที่ผมสอนๆ ไปไปปรากฏลงบน Powerpoint คนอื่นๆ แถมที่น่าตกใจคือ ท่านใส่เครื่องหมาย Copyright ด้วยครับ นี่คือสาเหตุที่ระยะหลังผม ถึงแม้จะเขียน Blog เผยแพร่ความคิดด้าน Appreciative Inquiry ที่ผมเอาไปผสมผสานไว้กับศาสตร์ต่างๆ เวลาพัฒนาเป็น Model (โมเดล) ใหม่ หลักสูตรใหม่ ผมจะใส่เครื่องหมาย © ® ไปด้วยครับ ไม่ใช่หวงไว้กับตัวครับ แต่เป็นการหวงเพื่อจะได้ให้ได้ ต่อไป เพราะไม่อยากแปลกใจ รู้สึกขัดเขิน ที่เห็นความคิดของเราไปปรากฏขึ้นอยู่บนงานของคนอื่นโดยไม่บอกที่มา และที่สุดเราก็ไม่กล้าสอน “สิ่งที่เราคิดขึ้นมา” ครับ เพราะดูเหมือนผมไป Copy ความคิดท่านนั้นอีกครับ

ไม่ว่าเรื่องนี้จะมีพัฒนาการต่อไปอย่างไรในสังคมไทย สิ่งที่ผมอยากบอกเลยครับว่า สังคมไทยอาจไม่พัฒนา เพราะอุปสรรคด้าน Copy and Paste นี่แหละครับ ผมบอกตรงๆ ผมสังเกตมานานแล้วนับสิบปี นักศึกษาที่ติด Copy and Paste นี่ จะคิดจะทำอะไรมันก็ “ปึก” ไปหมดครับ ไม่ว่าจะระดับตรีโทเอก สิ่งที่ผมมองเห็นคือ “ปัญญาที่มืดบอด” ท่านเหล่านี้จะไม่สามารถ “ตกผลึก” ความรู้เก่าๆ ที่ทำมาได้ มักตกหล่น บางทีสอบไปก็จะอ่อนใจ ถึงขั้นต้องพูด “คุณครับ ที่คุณอุตส่าห์ศึกษามานั้น โทษครับ ถ้าเดินไปห้องสมุด เดี๋ยวนี้ คุณจะพบว่า เขาตอบโจทย์ที่คุณตั้งคำถามไป ตั้งแต่ 60 ปีก่อนแล้วครับ”

จะเห็นจริงๆ ว่าการขโมย การไม่ซื่อสัตย์ต่อผลงานตอนเอง ต่อคนอื่น มีผลต่อความสามารถ (Abilities) ครับ และพูดตรงๆ มีผลต่อทุกอย่างๆ Motivation ก็จะไม่มี ไม่ตื่นเต้นกับสิ่งที่ทำครับ มัน “บิดเบือน” ความจริงๆ ไปหมดครับ แต่ตรงข้ามครับ คนที่อดทนไม่ Copy and Paste ไม่ตั้งหน้าตั้งตาลอกใคร ขโมยใคร ผมกลับเห็นการเติบโตของความคิด เห็น “ไฟ” (เป็น Motivation ประเภทหนึ่ง)   ลูกศิษย์ผมสามคน  ก้าวไปในทิศทางที่ต่างๆกันครับ ผมเห็นความก้าวหน้าในอาชีพที่แตกต่างๆกันจริงๆ 

ผมสรุปได้อย่างครับ ผมเห็นความสัมพันธ์ การ Copy and Paste นี่คือการผิดศีลข้อหนึ่งครับคือ อทินนาทานัง คือไม่ลักทรัพย์ใคร ที่ถ้kคุณลักทรัพย์สินใคร คุณก็จะต้องผิดอีกข้อหนึ่งคือ “มุสา” ซึ่งคือการโกหก ผมเห็นเลยครับว่า ถ้าคนคนหนึ่งทั้งขโมยและโกหก เขาจะไม่แสดงอะไรที่มันเป็นแง่มุมของปัญญา ออกมาเลย คุณจะไม่เห็นความสามารถ เห็นแรงจูงใจของเขา และไม่ต้องพูดถึง Performance ที่จะออกมาแบบลวงๆครับ แต่หากมนุษย์คนหนึ่งไม่มุสา และไม่โกหก ผมเห็นเลยครับว่า มันจะเป็นแรงผลักเรื่องความสามารถและแรงจูงใจ คนกลุ่มนี้จะเข้ามาสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ร่วมกันคุณและเขาก็จะสามารถสร้างสรรค์อะไรดีๆ ให้กับวงการนั้นๆ สังคมนั้นๆ ได้เลย

สรุปแล้วผมเห็นอีกมิติหนึ่งครับ คือ “ศีล” ครับ ที่มีส่วนผลักดันเรื่องความสามารถ และแรงจูงใจ ก่อให้เกิดสมรรถนะ ขีดความสามารถและความสำเร็จที่ตามมาได้เลยครับ ผมเลยขอต่อยอดจาก Performance = Motivation x Abilities

เป็น Real Performance (รีล เพอร์ฟอร์มานซ์)  = Transcendental Life (ทรานเซ็นเด้นทอล ไลฟ์)x Motivation x Abiltiies (© Pinyo Rattanaphan 2012)

ผมมองว่าคนเรานี่อาจด้วยความไม่ตระหนัก หรือด้วยอะไรก็ตาม เหมือนนักศึกษาสองคนแรกของผม เขาไม่ได้สร้างผลงานที่ดี หรือผลงานที่แท้จริงออกมา ส่วนคนที่สามได้ดึง Motivation และ Abilities ที่แท้จริงมาใช้ด้วยความมีคุณธรรมของเขาคือไม่ Copy and Paste และไม่โกหก 

ตรงนี้แหละครับที่ผมมองว่า Performance ไม่พอ เราต้องดึงผลงานที่ “แท้จริง” หรือ Real Performance ออกมาให้ได้ เลยเป็นที่มาของคำว่า Real Performance ส่วนคำว่า Transcendental Life ผมใช้คำนี้เพราะว่า Transcendental แปลว่าอะไรที่เหนือกว่าธรรมดา เกินความเข้าใจ มักมีการใช้คำนี้ เวลาที่อะไรมันเกินความเข้าใจ ผมมองว่า Transcendental Life เป็นชีวิตที่อยู่ใน “บุญ” (ตามมุมมองศาสนาพุทธ) คือ ไม่เลยครับ ไม่ผิดศีลเลยล่ะ อย่างต่ำเลย แม้คนอื่นจะไม่รู้ก็ตาม แม้ในที่ลับ แม้มีโอกาส ก็ไม่ทำ  เมื่อใช้ชีวิตอยู่ในบุญ ก็จะทำให้ Motivation และ Abilities เติบโตมาเองอย่างมีทิศทาง มีความหมาย และทรงพลัง

ท่านอาจใช้คำอื่นก็ได้ เช่น แทน Transcendental Life ด้วย Spirituality หรืออะไรก็ได้ เอาไว้สื่อกับต่างชาติครับ ส่วนภาษาไทย ก็ง่ายๆ สมการจะเป็นดังนี้ครับ

ผลงานที่แท้จริง = คุณธรรม (เลือกใช้คำนี้ เพราะใช้ได้ทุกศาสนาดีครับ) x แรงจูงใจ x ความสามารถ (© Pinyo Rattanaphan 2012)

ผมมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และเป็นเรื่องที่ต้องพูดต้องทำกันมากๆ ดูจุดใต้ตำตอ เป็นเรื่องพื้นฐานครับ แต่กลับดูลึกลับ ดูเหมือนทำง่าย แต่ถ้าไม่ตระหนัก อาจถูกดึงดูดด้วยอะไรก็ไม่รู้ จนทำอะไรออกมาไม่เข้าท่า และผมเลือกใช้คำนี้ เพราะเป็นกลางกับทุกศาสนาครับ 

คุณธรรมใดๆก็ตามล้วนดีและผลักมนุษย์ให้ไปไกลกว่าเดิมทั้งนั้นครับ ตั้งแต่ยุคไหนต่อยุคไหนมาแล้วครับ

จากเรื่องราวดังกล่าวทำให้ผมได้คิดว่า ในยุคใหม่หากเราอยากให้องค์กรไปไกลกว่าเดิม ผมจะไม่มองเพียงความสามารถที่ปรากฏ และแรงจูงใจที่เราเห็นกันอยู่ดาดดื่น ผมอาจต้องมองให้มองให้ลึกกว่านั้น

ผมเริ่มเอาสมการนี้ไปวิเคราะห์องค์กรแล้วครับ ก็เห็นมุมมองอะไรที่ลึกขึ้น เช่นบางที่พี่กินเหล้ากันทั้งบริษัทครับ โอย ต้องมาว่ากันที่ศีลแล้วครับ ไม่งั้นเอาความรู้อะไรใส่เข้าไปก็ยากครับ ต่อให้ที่ปรึกษาเป็นเทวดา ก็ยากจะแก้ครับ เพราะยากที่จะดึงความสามารถที่ “แท้จริง” ออกมาได้ ตอนนี้ผมเลือกที่จะใส่มิติเรื่องนี้เข้าไปในโครงการ OD Consulting Project ของผมไม่ว่าจะเป็นการสอนการทำบริษัทที่ปรึกษาแล้วครับ แล้วเริ่มพัฒนาโครงการ OD แบบ “เนียนๆ” ใส่คุณธรรมเข้าทุกมิติครับ ว่าตั้งแต่การประเมินองค์กรในภาพรวมเลยครับ แล้วผมก็เจอหนทางอะไรบางอย่างที่จะทำให้การบริหารผลงาน (Performance Management) หรือโครงการ OD Consulting Project อะไรก็ตามเป็นไปได้อย่างสร้างสรรค์ เหนื่อยน้อยลง "น่า" จะยกระดับผลประกอบการขององค์กรได้ดีกว่า ยั่งยืนกว่า สังคมได้อะไรมากกว่าด้วยครับ


ทั้งหมดนี้ เพียงเล่าให้ฟังครับ ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ 


หมายเลขบันทึก: 511327เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2012 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2013 23:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • Real Performance (รีล เพอร์ฟอร์มานซ์) = Transcendental Life (ทรานเซ็นเด้นทอล ไลฟ์)x Motivation x Abiltiies (© Pinyo Rattanaphan 2012) 
    ชอบจังคะ อาจารย์ได้เพิ่มเสริม ให้ AI แข็งแรงลึกซึ้งขึ้นไปอีก

 

สวัสดีครับอาจารย์ปัทมา

เป็นการตั้งข้อสังเกต ผ่านประสบการณ์จริง มันเห็นตามนั้นจริงๆครับ

ขอบคุณอาจารย์ที่แวะมานะครับ

ปิ๊งมากค่ะ

เพราะสงสัยว่า ทำไมคนเก่งๆๆมาก จึงไม่มีผลงานเชิงวิชาการ อาจเป็นเพราะขาดแรงจูงใจนี่เอง

เข้าใจกับคำว่า"ปึก" อย่างยิ่งครับอาจารย์...

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ภิญโญ

ผลงานที่แท้จริง = คุณธรรม (เลือกใช้คำนี้ เพราะใช้ได้ทุกศาสนาดีครับ) x แรงจูงใจ x ความสามารถ (© Pinyo Rattanaphan 2012)

หนูก็เชื่ออย่างนั้น ค่ะ ด้วยศรัทธาอันแรงกล้า ในตัวเรา นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท