เคล็ดลับสร้างสรรค์ความสุข : สู่เส้นทางชุมชน ๕


พัฒนาระบบงานอย่างต่อเนื่อง ใช้ข้อมูลเป็นฐาน คนทำงานภาคภูมิใจ

(ต่อจากสู่เส้นทางชุมชน  ๔  บันทึก)


การพัฒนาระบบงานทันตกรรมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

โดย  ทพญ.นฤพร  ชูเสน  โรงพยาบาลพนมไพร  จังหวัดร้อยเอ็ด

คุณหมอตั๊กของชาวพนมไพร (โดยกำเนิด)  นำเสนอกรอบกิจกรรม  ๗  หมวด 

ในการพัฒนาระบบงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)  ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ดเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๓  ได้แก่  กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มเป้าหมาย 

๑.   กลุ่มหญิงตั้งครรภ์

๒.   เด็ก  ๐ – ๒ ปี

๓.   กลุ่มผู้สูงอายุ

๔.   ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก / อนุบาล

๕.   โรงเรียนประถมศึกษา

๖.   ในชุมชน

๗.   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล


ประชากรที่ CUP (Contracting Unit for Primary Care) พนมไพร – หนองฮี  รับผิดชอบประมาณ  ๑  แสน ๕ พันกว่าคน  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  ๓๖  แห่ง  โรงเรียนประถมศึกษา  ๖๖  โรงเรียน  มีทันตแพทย์  ๓  คน  ทันตาภิบาล รวม  ๘  คน  สามารถขยายบริการทันตกรรมประเภทการใส่ฟันเทียม (ฟันปลอม)  จนถึง รพ.สต.  ลดการเดินทางของประชาชน  ไม่จำเป็นต้องนั่งรถมาถึงตัวอำเภอที่ตั้งโรงพยาบาลพนมไพร

และที่เป็นจุดเด่น คือ  การออกแบบระบบข้อมูลเอง  จัดเก็บข้อมูลที่ต้องใช้เหมือนกันทั้ง  ๒๒  รพ.สต.  นำมาวิเคราะห์  เห็นทิศทางที่จะพัฒนาระบบงานให้ดีขึ้น  นิเทศงานใน รพ.สต.สม่ำเสมอ

ใช้ข้อมูลเป็นฐานในการวางแผน  ตัดสินใจ  ออกแบบกระบวนการทำงานอย่างสอดคล้องกับปัญหาของพื้นที่  และสมดุลกับจำนวนทันตบุคลากรที่มี

ผลงานที่ภาคภูมิใจ  “การพัฒนาระบบบริการทันตกรรมใน รพ.สต.”  ได้นำเสนอในเวทีระดับประเทศ  ๒  ปี  ๒๕๕๔  และ  ๒๕๕๕  จัดโดยสำนักทันตสาธารณสุข  กรมอนามัย

อีกรางวัล  รองชนะเลิศระดับเขต  CUP ดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากแม่และเด็ก  ปี ๒๕๕๕

ในระดับอำเภอเอง  ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดผลงาน CQI (Continuous Quality Improvement) เรื่อง ฟันสวยด้วยมือเรา  จากการดำเนินงานโรงเรียนเครือข่ายเด็กไทยฟันดี

ย้ำความเชื่อว่า  การพัฒนาระบบการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ  ทำให้เห็นปัญหาชัดเจนขึ้น  แก้ปัญหาได้ตรงจุด

^_,^


ถึงวันนี้ที่เป็นพี่น้องในเครือข่ายทันตแพทย์ผู้นำสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก  รู้จักน้องตั๊กมา  ๓  ปีกว่า  พัฒนาการก้าวกระโดดมากมาย  น้องตั๊กบอกเอง  “ปีแรกมีงานกลุ่มเดียว  เดี๋ยวนี้ตั๊กมีทุกกลุ่มแล้วนะคะ”

ได้ยินน้ำเสียงแห่งความสุขชัดเจน  แววตาฉายชัดระยับพราวด้วยความภูมิใจ  นี่สิรางวัลที่สัมผัสได้....ด้วยตนเอง  เติบโตจากภายใน

สัดส่วนจึงควรเป็น “ผู้ให้”  มากกว่า “ผู้รับ”  แล้วไงคะ


สอดคล้องกับ AAR ที่น้องตั๊กเขียนและกล่าวในวันสุดท้าย

“สิ่งที่ทำให้ตัวเองได้เรียนรู้มากที่สุดในการมาประชุมครั้งนี้ คือ การสัมภาษณ์คุณลี (อายุ จือปา)  

ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะตัวเองเคยเข้าร่วมการประชุมในลักษณะนี้มาหลายครั้ง  ความแปลกใหม่ของสิ่งที่ได้เรียนรู้จึงค่อย ๆ ลดลง  

แต่ทุก ๆ ครั้ง  ก็ยังคงเป็นการเติมไฟแห่งฝัน  เติมพลังแห่งศรัทธาในการจะก้าวเดินต่อไปบนทางสายนี้...ไม่มีเปลี่ยนแปลง

บทสัมภาษณ์เพียงช่วงเวลาชั่วโมงเศษ ๆ  เพียงการเล่าเรื่องราวอย่างเรียบง่ายจากชายหนุ่มอายุเพียง ๒๗  ปี  แต่สามารถสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ สู่สังคมมากมาย  

สามารถเติมไฟแห่งฝัน  สามารถปลุกพลังศรัทธาต่อสิ่งที่เรียกว่า “ความดี” ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

....อยากขอบคุณ.....คุณลี....  ที่ทำให้เราได้หันกลับมามอง..ทบทวนตัวเองอีกครั้งว่า  เราเดินทางมาถูกทางแล้วหรือยัง..

เพลิดเพลินกับสองข้างทางมากเกินไปหรือเปล่า..สนุกกับทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามา  จนทำให้การก้าวเดินไปข้างหน้าช้าลงกว่าที่เคย?

..... คุ้มกันหรือไม่กับการพยายามเรียนรู้  ใส่ใจในทุกรายละเอียด  จนทำให้..จุดหมายปลายทางยังคงห่างไกล ทั้ง ๆ ที่ถ้าตั้งใจเดินก็คงจะถึงได้ในไม่ช้า..

เรารออะไรอยู่..เราอยากเรียนรู้รายละเอียดในระหว่างทางอีกมากเท่าไหร่ 


“สมดุลของชีวิต” อยู่ตรงไหน?  แค่ไหนที่เรียกว่าพอดี..

หรือเพียงแค่เราพอ..ทุกอย่างก็จะดี  พอ ณ จุดตรงนี้  เพื่อที่พร้อมจะก้าวต่อไป  เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ  โดยใส่ใจรายละเอียดเท่าที่จำเป็น  ต่อก้าวย่างต่อไป?

เรา.....ต้องใช้เวลาเรียนรู้อีกนานแค่ไหน  จึงจะรู้ว่า..อะไรคือความ “สมดุล”  ของชีวิต..

หรือคำ ๆ นี้  ไม่มีอยู่จริง  เป็นเพียงการ “สมมุติ” ขึ้นในแต่ละช่วงขณะของชีวิต 

จุดสมดุลของชีวิตในวันนี้กับวันพรุ่งนี้  ต้องเหมือนกันหรือไม่..  หรือเป็นเพียงการสมมุติไปในแต่ละวัน

เหมือนเส้นเหลืองกลางถนนที่คดเคี้ยวไปตามถนน

แต่ถนนนั้น  ก็พาเรามุ่งไปยังจุดหมาย..เพียงรอเราก้าวไป..”

^_,^


แล้วจะมีบันทึกถึงคุณลี  อายุ  จือปา  โดยเฉพาะอีกต่างหากนะคะ

แม้จะต่างกันตรงจุดเริ่มประเด็นที่ทำ  แต่มีความเหมือนกับน้องตั๊กที่ชอบพัฒนาถิ่นฐานบ้านของเรา  เมืองไทยของเรา

ทุก ๆ ที่  ทุกแห่ง ๆ  คนเล็กเคลื่อนโลกได้

สวัสดีนะคะ


หมายเลขบันทึก: 510643เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2012 18:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ดีจังเลย ทำ CQI ลงสู่ชุมชนเลยนะคะ เยี่ยมมากๆๆ เลยนะคะ

ลงชุมชน เพื่ิอชุมชน โดยชุมชน ของชุมชน คนชุมชน ร่วมด้วย ช่วยกัน นะคะ

ขอบคุณค่ะ

..... คุ้มกันหรือไม่กับการพยายามเรียนรู้  ใส่ใจในทุกรายละเอียด  จนทำให้..จุดหมายปลายทางยังคงห่างไกล ทั้ง ๆ ที่ถ้าตั้งใจเดินก็คงจะถึงได้ในไม่ช้า..

 

เรารออะไรอยู่..เราอยากเรียนรู้รายละเอียดในระหว่างทางอีกมากเท่าไหร่ 

 

“สมดุลของชีวิต” อยู่ตรงไหน?  แค่ไหนที่เรียกว่าพอดี..

หรือเพียงแค่เราพอ..ทุกอย่างก็จะดี  พอ ณ จุดตรงนี้  เพื่อที่พร้อมจะก้าวต่อไป  เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ  โดยใส่ใจรายละเอียดเท่าที่จำเป็น  ต่อก้าวย่างต่อไป?

เรา.....ต้องใช้เวลาเรียนรู้อีกนานแค่ไหน  จึงจะรู้ว่า..อะไรคือความ “สมดุล”  ของชีวิต..

หรือคำ ๆ นี้  ไม่มีอยู่จริง  เป็นเพียงการ “สมมุติ” ขึ้นในแต่ละช่วงขณะของชีวิต 

จุดสมดุลของชีวิตในวันนี้กับวันพรุ่งนี้  ต้องเหมือนกันหรือไม่..  หรือเป็นเพียงการสมมุติไปในแต่ละวัน

เหมือนเส้นเหลืองกลางถนนที่คดเคี้ยวไปตามถนน

แต่ถนนนั้น  ก็พาเรามุ่งไปยังจุดหมาย..เพียงรอเราก้าวไป..”

.....................................

อืมม... กำลังภายในคุณหมออ้อ...เพียบบบ

ความเข้าใจทีม ทะลุทะลวงทั่วถึง ...

ขอเชียร์เลยหละ

"หรือเพียงแค่เราพอ..ทุกอย่างก็จะดี  พอ ณ จุดตรงนี้  เพื่อที่พร้อมจะก้าวต่อไป  เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ  โดยใส่ใจรายละเอียดเท่าที่จำเป็น  ต่อก้าวย่างต่อไป?"

ฮูลา ฮูลา เฮ่ เฮ่ :)))

สาธุค่ะ :)

ขอบคุณค่ะพี่เปิ้น กำลังใจมาไวดีจัง

ชอบเสียงเชียร์จังค่ะ  คุณ

Ico48 Tawandin

 

การได้ไปอบรม หรือประชุมกับผู้ที่ทำงานด้วยกัน.. ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ ให้เรามากมายนะคะคุณหมออ้

ใช่เลยค่ะคุณรพี

 

Ico48 kunrapee

เราจะอบอุ่น  รู้สึกว่าแม้ตัวจะห่างกัน  

แต่เรามีเพื่อนร่วมเดินทาง  ที่มีจุดหมายเดียวกันเสมอ

เพื่อชุมชน เพื่อถิ่นฐานบ้านเรา เพื่อคนไทยด้วยกัน

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท